กฎหมายครอบครัวอิสลาม 1 2 2564 (Asst.Prof.Dr.Abdulramae Sulong)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

ศึกษาถึงความหมาย เนื้อหา รูปแบบ องค์ประกอบ และหลักเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นของการหมั้นและการสมรส ประเภทของผู้ต้องห้ามในการสมรส องค์ประกอบและเงื่อนไขของการสมรส ค่าสมรส การหย่าร้าง การฟะซัค อิดดะฮฺ การคืนดีและหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวใน ประเทศไทย


2135444 หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (ผศ.เอกฉัตร วิทยอภิบาลกุล)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

ความหมาย วิวัฒนาการของวิชาชีพกฎหมายรวมทั้งงานในหน้าที่ของนักกฎหมายโดยเน้นด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวชิาชีพทั้งทางด้านจิตใจและบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับ

2134442 ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ผศ.เอกฉัตร วิทยอภิบาลกุล)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

การควบคุมการใช้อำนาจของรัฐฝ่ายปกครองโดยองค์กรตุลาการ เขตอำนาจศาลปกครอง องค์กรศาลปกครอง วิธีพิจารณาคดีปกครองและการบังคับคดีปกครอง กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารราชการ

กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 2/2564 ภาค กศ.บป (อ.ชลธิชา สุรัตนสัญญา) สำเนา 1
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

    ประวัติ ความหมายรัฐธรรมนูญ รัฐและรูปของรัฐ รัฐบาลและรูปของรัฐบาล การแบ่งแยกอำนาจ อำนาจอธิปไตยและความเกี่ยวพันระหว่างอำนาจ กฎหมายรัฐธรรมนูญไทย หลักการทั่วไปของการเลือกตั้ง พรรคการเมือง กฎหมาย        การเลือกตั้งของไทย

    History, definitions, and kinds of constitution, states and forms of states, governments and forms of government, separation of powers and relationship among them, Thai constitutional law, general principles of elections, political parties, Thai election law

 


กฎหมายแพ่งและพาณิย์ว่าด้วยมรดก 2/2565 ภาค กศ.บป (อ.ชลธิชา สุรัตนสัญญา)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

กฎหมายการสืบมรดก ให้ทราบถึง เรื่องบทบัญญัติทั่วไป สิทธิโดยชอบธรรม ในการรับมรดก พินัยกรรม วิธีจัดการและแบ่งทรัพย์มรดก มรดกที่ไม่มีผู้รับ อายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะตั๋วเงิน 1/2566 (อ.อารีฟ มะเกะ)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

ลักษณะของตั๋วเงิน

ตั๋วเงินคือเอกสารที่คู่สัญญาใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน เป็นนิติกรรมสองฝ่ายขึ้นไป จัดเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีที่มาจากมูลหนี้เดิม มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน (Reciprocal contract) บุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาตั๋วเงินได้ต้องมีความสามารถตามมาตรา ๑๕๓ และต้องแสดงเจตนาเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินด้วยความสมัครใจตามมาตรา ๑๔๙ ปราศจากความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือการข่มขู่ เช่นเดียวกับการทำสัญญาทั่วไป

ลักษณะสำคัญของตั๋วเงิน คือ

๑. เป็นเอกสารที่เป็นตราสาร กล่าวคือ เป็นหนังสือสัญญาที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่ผู้ทรงตราสาร โดยมาตรา ๘๙๘ บัญญัติให้ตั๋วเงินมีสามประเภท ได้แก่ ตั๋วแลกเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค ตราสารอื่นที่ไม่ใช่ตราสารทั้งสามประเภทนี้ไม่ใช่ตั๋วเงิน เช่น เลตเตอร์ออฟเครดิต, ใบรับของในคลังสินค้า, ใบประทวนสินค้า, ใบหุ้น เอกสารเหล่านี้ แม้เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้แต่ก็ไม่นับว่าเป็นตั๋วเงิน

๒. ตั๋วเงินต้องมีมูลหนี้การออกตั๋วเงินนั้นต้องเป็นการออกเพื่อชำระหนี้ ตั๋วเงินไม่ได้ก่อให้เกิดหนี้ในตัวเอง ดังนั้นหากออกตั๋วเงินโดยไม่มีมูลหนี้ผู้ออกตั๋วไม่ต้องรับผิด เช่น การออกตั๋วเงินเพื่อชำระหนี้การพนันอันหาก่อให้เกิดหนี้ไม่ ตั๋วเงินนั้นไม่อาจบังคับได้เพราะเป็นการออกตั๋วโดยไม่มีมูลหนี้

๓. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน กล่าวคือ ต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง ไม่เปิดโอกาสให้ผู้จ่ายใช้ดุลยพินิจในการจ่าย เช่น กรุณาจ่ายเงินให้แก่นายดำ เช่นนี้ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่นายดำ แม้จะใช้คำว่า โปรดหรือกรุณาก็เป็นเพียงการใช้คำสุภาพเท่านั้น แต่หากว่า ตั๋วเงินมีข้อความ ถ้าจะจ่ายเงิน กรุณาจ่ายให้แก่นายดำ เช่นนี้ ไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งเพราะเปิดโอกาสให้ผู้จ่ายใช้ดุลยพินิจว่าจะจ่ายเงินหรือไม่ ไม่ใช่ลักษณะของตั๋วเงิน   

        คำสั่งต้องปราศจากเงื่อนไขในการจ่ายเงิน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนหรือบังคับหลังก็ตาม เงื่อนไขคือเหตุการณ์ในอนาคตอันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น จะจ่ายต่อเมื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะสอบเข้า ม. ธรรมศาสตร์ได้หรือไม่ถือเป็นการจ่ายโดยมีเงื่อนไข ต้องห้ามตามลักษณะตั๋วเงิน

      ต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นเงินสกุลใดก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนที่แน่นอน เช่น การระบุดอกเบี้ยไว้ ๗ถือว่าเป็นการระบุจำนวนเงินที่แน่นอนเพราะสามารถคำนวณจำนวนเงินที่แน่นอนได้

      ตั๋วเงินแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค


กฎหมายอาญา 1/66(อ.อารีฟ มะเกะ)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

กฎหมายอาญา การจะวินิจฉัยความรับผิดทางอาญานั้น ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตามโครงสร้างความรับผิดอาญา

ลักษณะของกฎหมาย หลักทั่วไปของกฎหมายอาญา ความรับผิดทางอาญา ลักษณะของโทษ การกำหนดโทษ เหตุต่างๆ อันเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญาภาค 1 รวมถึงบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 3และศึกษาหลักเกณฑ์กฎหมายอาญาภาคความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 1 ถึง 12

กฎหมายภาษีอากร 2/2566 ผศ.อารีฟ
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

ภาษีอากร คือเงินที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนตามกฎหมายเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ โดยรัฐก าหนด ว่าประชาชนที่มีรายได้ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ เพื่อรัฐจะได้ใช้เงินส าหรับการใช้จ่ายในด้านต่างๆ ของรัฐบาลเพื่อ เป็นการอ านวยความสะดวก ความสุขต่างๆ ของประชาชน รายได้ของรัฐบาลที่เรียกเก็บเงินภาษีของประชาชน ที่ต้องจ่ายให้รัฐมีรายละเอียดดังนี้ กรมที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี 3 กรมหลักอยู่ในสังกัดกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย กรมสรรพากร กรม ศุลกากร กรมสรรพสามิต ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นกฎหมายที่ให้อ านาจกรมสรรพากร กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม 

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 1/2564 (อาจารย์วานิช ทองเกตุ)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

กระบวนการดำเนินคดีแพ่ง  ให้ทราบถึงการอุธรณ์และฎีกา วิธีพิจารณาชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค3และภาค4

หลักวิชาชีพนักกฎหมาย 1/2564 (อาจารย์วานิช ทองเกตุ)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

ศึกษาในเรื่องวิวัฒนาการของวิชาชีพกฎหมาย หน้าที่และงานของนักกฎหมายในสาขาต่างๆ ตลอดจนมารยาท วินัย อุดมคติและจริยธรรมของนักกฎหมาย องค์การก่อตั้งและควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย

กฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา 1/2564 (อาจารย์วานิช ทองเกตุ)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

ให้ทราบและสามารถอธิบายถึงประวัติ ความเป็นมา หลักการของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมสัญญา การก่อให้เกิดสัญญา การเลิกสัญญา อายุความและกฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

กฎหมายลักษณะพยาน 1/2564 (อาจารย์วานิช ทองเกตุ)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับระบบการค้นหาความจริง

 - เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การสืบพยานหลักฐานของศาล 

- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพยานหลักฐาน

 - เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องหลักการรับฟังและไม่รับฟังพยานหลักฐาน 

- เพื่อให้ผู้เรียนมีการเคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์

กฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ 1/2564 (อาจารย์วานิช ทองเกตุ)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

 1) สามารถอธิบายหลักการ หลักกฎหมาย เกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายและฟื้นฟูกิจการได้ 

2) สามารถนำหลักกฎหมายไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงเพื่อตอบปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคดีล้มละลายและฟื้นฟูกิจการได้

 3) สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับคดีล้มละลายได้

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 1/2564 (อาจารย์วานิช ทองเกตุ)
สาขานิติศาสตร์ (น.บ.)

บททั่วไป วิธีพิจารณาในศาล เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้และความเข้าใจหลักกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค1 โดยการวิเคราะห์หลักกฎหมาย ทฤษฎีและคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อให้สามารถใช้บทบัญญัติทางกฎหมายได้ในทางปฏิบัติ