สัมมนาภาษาไทย (อาจารย์ซูไรดา เจะนิ)
สาขาภาษาไทย (ศศ.บ.)

วิธีการจัดสัมมนา  วิเคราะห์ปัญหาและปรากฏการณ์ในการใช้ภาษาไทยจาก  แหล่งข้อมูลต่าง ๆ  ตลอดจนหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาษาไทย  ศึกษาศิลปะการใช้ถ้อยคำ  รูปแบบที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ทั้งในการพูดและการเขียนจากวรรณกรรม ตลอดจนสื่อมวลชนที่แสดงถึงการสร้างสรรค์ทางภาษาโดยใช้แนวคิดที่ได้จากการศึกษา

พัฒนาการของวรรณกรรมไทย (อาจารย์ซูไรดา เจะนิ)
สาขาภาษาไทย (ศศ.บ.)

พัฒนาการของวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบัน รูปแบบ เนื้อหา แนวคิด กลวิธีการประพันธ์ ประเภทของวรรณกรรมไทย ลักษณะเฉพาะของวรรณคดี คุณค่า ความเชื่อ และค่านิยม ตลอดจนสภาพสังคมและการเมืองที่มีผลต่อวรรณกรรมไทย ศึกษาวรรณกรรมประเภทสารัตถคดี บันเทิงคดี โดยเน้นลักษณะที่เป็นนวลักษณ์ในทางวรรณศิลป์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับวิวัฒนาการของวรรณกรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษามลายูถิ่นกับภาษาไทย (อาจารย์ซูไรดา เจะนิ)
สาขาภาษาไทย (ศศ.บ.)

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษามลายูถิ่นกับภาษาไทยในด้านเสียง คำ ประโยค ความหมาย และสถานการณ์การใช้ภาษา  ภาษาเชิงสังคมและวัฒนธรรม  รวมทั้งประเด็นสำคัญอื่น ๆ เช่น โครงสร้างภาษา การสลับภาษา ทัศนคติต่อภาษา

1
สาขาภาษาไทย (ศศ.บ.)

วรรณกรรมเอกของไทยลกัษณะของวรรณกรรมสำคัญในแต่ละสมัยองค์ประกอบเนื้อหาคุณค่าและวรรณศิลป์ โดยเน้นลักษณะเด่นทําให้วรรณกรรมเรื่องนนไดร้ับการยกย่องใหเ้ป็นวรรณกรรมเอก

วาทการ 1/2564 (ผศ.สวพร จันทรสกุล)
สาขาภาษาไทย (ศศ.บ.)

ความมุ่งหมายของการพูดในชีวิตประจำวัน หลักการพูด การสร้างบุคลิกภาพในการพูด การใช้น้ำเสียง กิริยาท่าทาง การสร้างความมั่นใจในการพูด การใช้ภาษาและกลวิธีการพูด ฝึกการพูดอธิบาย การพูดเล่าเรื่อง การพูดชี้แจงแสดงเหตุผล การตั้งและตอบคำถาม การอภิปราย การกล่าวรายงาน การกล่าวสรุป

การพูดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 1/2566 (ผศ.สวพร จันทรสกุล)
สาขาภาษาไทย (ศศ.บ.)

หลักการและวิธีการพูดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะโฆษก พิธีกร ผู้จัดรายการ และ ฝึกพูดทางวิทยุวิทยุกระจายเสียงและทางวิทยุโทรทัศน์