การจัดกิจกรรมทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย 2/2564(นวพร แซ่เลื่อง)
สาขาการศึกษาปฐมวัย

ออกแบบการจัดกิจกรรมทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 8 ปี โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neurolinguistics Science Process : NLSP) กับการพัฒนาภาษาละการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 8 ปี ศึกษา/วิเคราะห์ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย รูปแบบ/อิทธิพลของบริบทครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย ถอดบทเรียนโปรแกรมการพัฒนาภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ และถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมทางภาษาเพื่อพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) โดยใช้กรณีตัวอย่าง การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ วิเคราะห์ ประเมิน วางแผน ออกแบบกิจกรรม/สื่อการสอนในการสร้างภาษาแม่ ภาษาที่สอง ฟัง พูด อ่าน เขียน และการสื่อสารตามฐานะทางเรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น ทำการทดลองกิจกรรมที่ออกแบบใว้กับเด็กปฐมวัยกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือรายบุคคล เพื่อแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องตรงหลักการเรียนรู้ของสมอง สะท้อนความคิดเพื่อให้มีทักษะในการออกแบบโปรแกรมการเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อในการจัดกิจกรรม/สื่อการสอนในการพัฒนาภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 8 ปี ได้อย่างต่อเนื่อง และสะท้อนคิดเพื่อการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในการพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดี มีความรอบรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

การจัดกิจกรรมความฉลาดทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย 2/2565 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิศา ธรรมบัญชา)
สาขาการศึกษาปฐมวัย

ออกแบบกิจกรรมการจัดกิจกรรมทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของสมองและระบบประสาทวิทยา (Neuroscience : NS) การพัฒนาภาษา และการสื่อสารโดยยึดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neurolinguistics Science Process : NLSP) กับการพัฒนาทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษา/วิเคราะห์ทฤษฎี   และแนวคิดการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย อิทธิพลของบริบทสังคมครอบครัว สังคมโรงเรียน สังคมชุมชน และท้องถิ่น ที่ส่งผลการพัฒนาความฉลาด  ทางอารมณ์ และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ฝึกปฏิบัติการใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และสังคมของกระทรวงสาธารณสุข ถอดบทเรียนโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสังคม และการพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้กรณีศึกษา การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ หรือวิธีอื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์ ประเมิน วางแผน ออกแบบกิจกรรม/สื่อการสอนเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยโดยทำงานร่วมกับผู้ปกครอง และครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ที่ถูกต้องตรงหลักการเรียนรู้ของสมอง บริบททางสังคม วัฒนธรรม และท้องถิ่น ตามหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ออกแบบการประเมินเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม ทดลองใช้กิจกรรมที่ออกแบบไว้กับกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และรายบุคคลเพื่อสะท้อนคิดในการพัฒนาปรับปรุงออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัยให้ตรงวัตถุประสงค์ และสะท้อนความคิดเพื่อให้มีทักษะในการออกแบบโปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อความฉลาดทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปีได้อย่างต่อเนื่อง และประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดี มีความรอบรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

การพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย 1/2565 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิศา ธรรมบัญชา)
สาขาการศึกษาปฐมวัย

ออกแบบการพัฒนาสุขภาวะ และความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 8 ปี โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องการพัฒนาสุขภาวะสำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษา/วิเคราะห์ทฤษฎี และแนวคิดในการพัฒนาสุขภาวะ โรคที่พบบ่อยในเด็กปฐมวัยตามช่วงวัย อุบัติเหตุในบ้าน นอกบ้าน และในโรงเรียน ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดภาวะพัฒนาการ ภาวะโภชนาการ ภาวะสุขภาพ และอนามัยสำหรับเด็กปฐมวัย ฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การบริการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักโภชนาการ ถอดบทเรียนการพัฒนา สุขภาวะ และความปลอดภัย และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศ และต่างประเทศ โดยใช้กรณีศึกษา การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ หรือวิธีอื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์ ประเมิน วางแผน ออกแบบการพัฒนาสุขภาวะ และความปลอดภัยอย่างรอบด้านโดยทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับพัฒนาการ และความแตกต่างระหว่างบุคคลตามฐานะเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทดลองทำกิจกรรมที่ออกแบบไว้กับกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือรายบุคคล เพื่อแก้ไข ส่งเสริม และพัฒนาสุขภาวะสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม สะท้อนความคิดเพื่อให้มีทักษะในการออกแบบโปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อในการจัดกิจกรรมพัฒนาสุขภาวะ และความปลอดภัยทั้งในบ้าน และโรงเรียนอย่างรอบด้านสำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างต่อเนื่อง และสะท้อนคิดเพื่อประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องการพัฒนาสุขภาวะที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดี มีความรอบรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

วิชา การจัดกิจกรรมทางศิลปะระดับการศึกษาปฐมวัย 1/2564(นวพร แซ่เลื่อง)
สาขาการศึกษาปฐมวัย

ออกแบบกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 8 ปี โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของสมองและระบบประสาทวิทยา (Neuroscience: NS)และพัฒนาภาษาและการสื่อสารโดยยึดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neurolinguistics Science Process : NLSP) และการสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ตามระบบประสาทวิทยาของซีรีเบลลัม (Cerebellum)หรือ สมองน้อย กับการการจัดกิจกรรมทางศิลปะที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองสำหรับเด็กปฐมวัย ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ภาษาและการสื่อสารผ่านงานศิลปะที่หลากหลาย ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมศิลปะและรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ความคิดสร้างสรรค์ภาษา ที่หลากหลายถอดบทเรียนโปรแกรมการพัฒนาศิลปะเพื่อกล้ามเนื้อมัดเล็ก ความคิดสร้างสรรค์ ภาษาและการสื่อสาร ในประเทศและต่างประเทศ ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อการพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) ฝึกการใช้แบบประเมินทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ความคิดสร้างสรรค์ ภาษาและการสื่อสารโดยใช้กรณีศึกษา การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆเพื่อวิเคราะห์ วางแผนออกแบบกิจกรรมศิลปะ/สื่อการสอนเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ความคิดสร้างสรรค์ และภาษาและการสื่อสาร ถูกต้องตามหลักการทำงานของสมอง สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการทำงานของสมองโดยทำงานร่วมกับกับผู้ปกครองและครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น พร้อมออกแบบประเมินเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม ทดลองใช้กิจกรรมที่ออกแบบไว้กับกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และรายบุคคล เพื่อแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม สะท้อนคิดเพื่อให้มีทักษะในการออกแบบโปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อการจัดกิจกรรมศิลปะและความคิดสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี อย่างต่อเนื่อง และสะท้อนคิดประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดี มีความรอบรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง