ระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนาทางการเงิน 2/2566 (อ.อุมาพร เชิงเชาว์)
สาขาการเงินการธนาคาร

ความหมาย วัตถุประสงค์ และประเภทของการวิจัยทางการเงิน ขั้นตอนและระเบียบวิธีวิจัยทางการเงิน ฝึกปฏิบัติการวิจัย และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ทางการเงิน การวิเคราะห์และการอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวกับการเงินการธนาคาร โดยเฉพาะการเงินตามหลักศาสนาอิสลามพร้อมทั้งนำเสนอและอภิปรายผล

3120201 กฎหมายธุรกิจเเละสภาพเเวดล้อมทางกฏหมาย (อาจารย์วุฒิชัย คงยัง)
สาขาการเงินการธนาคาร

หลักกฏหมายเเละวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดตั้ง อำนาจหน้าที่การดำเนินงานเเละการยกเลิกประกอบธุรกิจ ในธุรกิจเเบบห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด เเละรูปแบบอื่นๆ กฏหมายว่าด้วยบุคคล นิติกรรม สัญญา รวมทั้งหลักทั่วไปของเอกเทศสัญญาบางประเภทตามประมวลกฏหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ ได้เเก่ ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างเเรงงาน ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ตัวเเทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ ตั๋วเงิน ประกันภัย เเละพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดจาการใช้เช็ค อีกทั้งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ เเละพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ตลาดการเงินและสถาบันการเงินยุคดิจิทัล 2/2566(อ.จรินรัตน์ วรวงศ์พิทักษ์)
สาขาการเงินการธนาคาร

บทบาท และความสำคัญของตลาดการเงิน ตลาดการเงินยุคใหม่ และความท้าทายของตลาดการเงินยุคใหม่ โครงสร้างและนโยบายของสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ประเภทและบริการธนาคารพาณิชย์และสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร การกำกับดูแลตลาดการเงินและสถาบันการเงิน การปรับตัวของสถาบันการเงินในยุคดิจิทัล ประเด็นพิเศษที่เกี่ยวข้องทางด้านตลาดการเงินและสถาบันการเงินในยุคดิจิทัล

การวิเคราะห์สินเชื่อและความเป็นไปได้ของโครงการ 2/2566(อ.จรินรัตน์ วรวงศ์พิทักษ์)
สาขาการเงินการธนาคาร

ความหมาย ความสำคัญและประเภทของสินเชื่อ หลักการวิเคราะห์สินเชื่อ การพิจารณาวงเงินสินเชื่อ ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ การติดตามและการควบคุมสินเชื่อ สินเชื่อที่มีปัญหา ความหมาย และวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทักษะการเจรจาด้านสินเชื่อ กรณีศึกษาการวิเคราะห์สินเชื่อ กระบวนการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน

ภาษีอากรธุรกิจ 2/2564 (อ.อัลอามีน มะแต)
สาขาการเงินการธนาคาร

หลักเกณฑ์ วิธีการประเมินและการจัดเก็บภาษีอากรต่างๆ ตามประมวลรัษฎากร และภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และอากรแสตมป์ และอื่น ๆ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำความเข้าใจในภาษีอากรแต่ละประเภท เช่น ภาษีสรรพากร สรรพสามิต และภาษีศุลกากรและภาษีท้องถิ่นได้ 

2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำความเข้าใจในนโยบาย หลักเกณฑ์ในการจัดเก็บและหลักการในการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีอากรได้

 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำความเข้าในเกี่ยวกับอุทธรณ์ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องภาษีอากรได้ 

4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถคำนวณภาษี ยื่นแบบ เสียภาษีทางธุรกิจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้