โครงสร้างหัวข้อ

  • รายละเอียดรายวิชา

    4116215 พลังงานทดแทน 2 Renewable Energy 2
                          อ.ลุตฟี สือนิ
    อาจารย์ผู้สอน --->  อาจารย์ ลุตฟี  สือนิ
    คำอธิบายรายวิชา
              การนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ระหว่างสถานะก๊าซกับสถานะก๊าซ สถานะก๊าซกับของเหลว และของเหลวกับของเหลว การนำความร้อนจากระบบใช้แสงสว่างกลับมาใช้ ระบบปั๊มความร้อน ฉนวนความร้อน ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการทำโครงการข่ายเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนและระบบสาธารณูปโภค การคำนวณพิจารณาการใช้พลังงานร่วมในกระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีพินธ์การจำแนกชนิดและคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของเชื้อเพลิง การทดสอบและการผลิตเชื้อเพลิงแข็ง เหลว และก๊าซ กระบวนการเผาไหม้สำหรับเชื้อเพลิง อุปกรณ์และเครื่องสันดาปภายใน การทำนายอัตราการเผาไหม้ การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การประเมินความเสี่ยงของอุตสาหกรรมพลังงานและการป้องกัน กฎหมายพลังงานและสิ่งแวดล้อม มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน การศึกษาดูงานนอกสถานที่

    1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ในสถานะต่างๆ เช่น สถานะก๊าซกับก๊าซ สถานะก๊าซกับของเหลว สถานะของเหลวกับของเหลว และจากระบบแสงสว่าง ระบบปั๊มความร้อน ฉนวนความร้อน สามารถคำนวณต้นทุนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน สมบัติทางกายภายและเคมีของเชื้อเพลิงตลอดจนสามารถจำแนกชนิดของเชื้อเพลิง กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงแข็ง เชื้อเพลิงเหลว และเชื้อเพลิงก๊าซ รวมถึงกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง การสันดาป และอัตราการเผาไหม้ได้ 

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับการนำความร้อน การนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ การแลกเปลี่ยนความร้อน การเผาไหม้เชื้อเพลิง และการขยายตัวของวัสดุได้ 

    3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และสามารถวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับพลังงานต่อสิ่งแวดล้อมและการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถประเมินความเสี่ยงของอุตสาหกรรมพลังงาน ตลอดจนสมารถเสนอแนวทางการป้องกันได้ 

    4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายพลังงานและสิ่งแวดล้อม และมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงานได้

    2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานทดแทนเบื้องต้น 

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานทดแทนเบื้องต้น 

    3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และสามารถวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานทดแทนต่อสิ่งแวดล้อม 

    4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายพลังงานและสิ่งแวดล้อม และมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงานทางพลังงาน

  • บทที่ 1 การนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่

    • แหล่งข้อมูล icon

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 1

      การนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่

      หัวข้อเนื้อหาประจำบท

      1.1 บทนำ

      1.2 แนวทางการนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่

      1.3 การเลือกใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนให้เหมาะสมกับงาน

      1.4 แนวทางการตรวจวินิจฉัยและบำรุงรักษาเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

      1.5 กรณีตัวอย่าง

      1.6 สรุป

      คำถามท้ายบทที่ 1

      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

      เพื่อให้นักศึกษาสามารถ

      1. อธิบายความหมายและรูปแบบการนำของความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ได้

      2. สามารถเลือกใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนให้เหมาะสมกับงานได้

      3. วิเคราะห์แนวทางการตรวจวินิจฉัยและบำรุงรักษาเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้

      กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท

      1. การบรรยายประกอบสื่อการสอนในรูปแบบ Microsoft Power point

      2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน

      3. การอภิปรายกลุ่ม

      4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสรุปเป็นผลงาน

      5. การตอบคำถามท้ายบท

      6. การนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

      การวัดและประเมินผล

      1. สังเกตความตั้งใจและความสนใจในการเรียน

      2. สังเกตการให้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

      3. ตรวจจากผลงาน การทำแบบฝึกหัดท้ายบท รายงาน การศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอ

  • บทที่ 2 เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

    • แหล่งข้อมูล icon

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 2

      เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat exchangers)

      หัวข้อเนื้อหาประจำบท

      2.1 บทนำ

      2.2 ชนิดของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

      2.3 สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม

      2.4 ปัจจัยการปนเปื้อนสิ่งสกปรก

      2.5 การวิเคราะห์อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน

      2.6 วิธีหาความแตกต่างอุณหภูมิเฉลี่ยแบบล็อก

      2.7 บทสรุป

      คำถามท้ายบทที่ 2

      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

      เพื่อให้นักศึกษาสามารถ

      1. อธิบายเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนได้

      2. สามารถจำแนกชนิดของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนได้

      3. วิเคราะห์อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนได้

      4. สามารถหาวิธีความแตกต่างอุณหภูมิเฉลี่ยแบบต่างๆ ได้

      กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท

      1. การบรรยายประกอบสื่อการสอนในรูปแบบ Microsoft Power point

      2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน

      3. การอภิปรายกลุ่ม

      4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสรุปเป็นผลงาน

      5. การตอบคำถามท้ายบท

      6. การนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

      การวัดและประเมินผล

      1. สังเกตความตั้งใจและความสนใจในการเรียน

      2. สังเกตการให้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

      3. ตรวจจากผลงาน การทำแบบฝึกหัดท้ายบท รายงาน การศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอ

  • บทที่ 3 การจำแนกชนิดและคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของเชื้อเพลิง

    • แหล่งข้อมูล icon

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3

      การจำแนกชนิดและคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของเชื้อเพลิง

      หัวข้อเนื้อหาประจำบท

      3.1 บทนำ

      3.2 เชื้อเพลิงเหลว

      3.3 เชื้อเพลิงก๊าซ

      3.4 บทสรุป

      คำถามท้ายบทที่ 3

      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

      เพื่อให้นักศึกษาสามารถ

      1. สามารถจำแนกชนิดและคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของเชื้อเพลิงได้

      2. อธิบายชนิดของเชื้อเพลิงแข็งได้

      3. อธิบายชนิดของเชื้อเพลิงเหลวได้

      4. อธิบายชนิดของเชื้อเพลิงก๊าซได้

      กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท

      1. การบรรยายประกอบสื่อการสอนในรูปแบบ Microsoft Power point

      2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน

      3. การอภิปรายกลุ่ม

      4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสรุปเป็นผลงาน

      5. การตอบคำถามท้ายบท

      6. การนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

      การวัดและประเมินผล

      1. สังเกตความตั้งใจและความสนใจในการเรียน

      2. สังเกตการให้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

      3. ตรวจจากผลงาน การทำแบบฝึกหัดท้ายบท รายงาน การศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอ

  • บทที่ 4 การทดสอบและการผลิตเชื้อเพลิงแข็ง เหลว และก๊าซ

    • แหล่งข้อมูล icon

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4

      การทดสอบและการผลิตเชื้อเพลิงแข็ง เหลว และก๊าซ

      หัวข้อเนื้อหาประจำบท

      4.1 บทนำ

      4.2 การวัดค่าความร้อนของเชื้อเพลิง

      4.3 การวิเคราะห์องค์ประกอบของเชื้อเพลิงก๊าซ เชื้อเพลิงเหลว และเชื้อเพลิงแข็ง

      4.4 ลักษณะค่าของความร้อนเชื้อเพลิง

      4.5 การวิเคราะห์ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้

      4.6 บทสรุป

      คำถามท้ายบทที่ 4

      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

      เพื่อให้นักศึกษาสามารถ

      1. สามารถวัดค่าความร้อนของเชื้อเพลิงได้

      2. สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบและลักษณะค่าความร้อนของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดได้

      3. สามารถวิเคราะห์ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ได้

      กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท

      1. การบรรยายประกอบสื่อการสอนในรูปแบบ Microsoft Power point

      2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน

      3. การอภิปรายกลุ่ม

      4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสรุปเป็นผลงาน

      5. การตอบคำถามท้ายบท

      6. การนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

      การวัดและประเมินผล

      1. สังเกตความตั้งใจและความสนใจในการเรียน

      2. สังเกตการให้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

      3. ตรวจจากผลงาน การทำแบบฝึกหัดท้ายบท รายงาน การศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอ

  • บทที่ 5 กระบวนการเผาไหม้สำหรับเชื้อเพลิง อุปกรณ์และเครื่องสันดาปภายใน

    • แหล่งข้อมูล icon

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5

      กระบวนการเผาไหม้สำหรับเชื้อเพลิง อุปกรณ์และเครื่องสันดาปภายใน

      หัวข้อเนื้อหาประจำบท

      5.1 บทนำ

      5.2 เชื้อเพลิงและการเผาไหม้

      5.3 ทฤษฎีการเผาไหม้และการคำนวณการเผาไหม้

      5.4 ปฏิกิริยาและกระบวนการเผาไหม้

      5.5 เครื่องยนต์สันดาปภายใน

      5.6 บทสรุป

      คำถามท้ายบทที่ 5

      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

      เพื่อให้นักศึกษาสามารถ

      1. อธิบายกระบวนการเผาไหม้สำหรับเชื้อเพลิงได้

      2. สามารถอธิบายทฤษฎีการเผาไหม้และการคำนวณการเผาไหม้ได้

      3. สามารถอธิบายปฏิกิริยาและกระบวนการเผาไหม้ได้

      4. สามารถอธิบายของเครื่องยนต์สันดาปภายในและภายนอกได้

      กิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท

      1. การบรรยายประกอบสื่อการสอนในรูปแบบ Microsoft Power point

      2. การศึกษาเอกสารประกอบการสอน

      3. การอภิปรายกลุ่ม

      4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสรุปเป็นผลงาน

      5. การตอบคำถามท้ายบท

      6. การนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

      การวัดและประเมินผล

      1. สังเกตความตั้งใจและความสนใจในการเรียน

      2. สังเกตการให้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

      3. ตรวจจากผลงาน การทำแบบฝึกหัดท้ายบท รายงาน การศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอ

  • บทที่ 6 บทปฏิบัติการที่ 1 การวัดความร้อน

    • แหล่งข้อมูล icon

      บทปฏิบัติการที่ 1

      การวัดความร้อน

      คำนำ

      ความเข้าใจเรื่องการวัดความร้อน (Calorimetry) คือ ขั้นตอนแรกการเข้าสู่วงความรู้ของ

      วิชาที่ว่าด้วยความเคลื่อนไหวเนื่องจากความร้อน (Thermodynamics) ซึ่งคือการศึกษาถึงบทบาท

      ของความร้อนในขบวนการทางฟิสิกส์ ด้วยการเพิ่มของตาชั่ง ( Balance), น้ำแข็ง (Ice)

      และแหล่งกำเนิดความร้อน (Heat Source), เช่นตัวกำเนิดความร้อน (Stream Generator)

      ของ PASCO’s รุ่น TD-8556 อุปกรณ์ชุดแคลอรีมิเตอร์พื้นฐาน (The Basic Calorimeter set)

      จำเป็นต่อการทดลองการวัดความร้อนต่างๆ การนำเข้าสู่ความเข้าใจเรื่องอุณหภูมิและความร้อน

      และแสดงให้เห็นถึงการอนุรักษ์พลังงาน (Conservation of energy)

  • บทที่ 7 บทปฏิบัติการที่ 2 การนำความร้อน

    • แหล่งข้อมูล icon

      บทปฏิบัติการที่ 2

      การนำความร้อน

      คำนำ

      ความร้อนสามารถถูกถ่ายโอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ 3 กรรมวิธี คือ การนำ, การพา

      และ การแผ่รังสี แต่ละกรรมวิธีสามารถถูกวิเคราะห์และให้ผลความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ในแต่ละ

      กรรมวิธีที่แตกต่างกัน ชุดอุปกรณ์การนำความร้อนรุ่น TD-8561 เป็นหนึ่งในการทดลองหาอัตราของ

      การนำความร้อน

  • บทที่ 8 บทปฏิบัติการที่ 3 สมดุลกลทางความร้อน

    • แหล่งข้อมูล icon

      บทปฏิบัติการที่ 3

      สมดุลกลทางความร้อน

      คำนำ

      หลักของการอนุรักษ์พลังงานบอกกับเราว่าถ้าจำนวนของงานถูกเปลี่ยนเป็นความร้อน

      ผลของพลังงานความร้อนต้องเท่ากับจำนวนของงานที่กระทำ แน่นอนว่างานถูกวัดในหน่วยของจูล

      (Joules) และพลังงานความร้อนถูกวัดในหน่วยของแคลอรี่ (Calories) ความเท่ากันไม่ชัดเจนทันที

      ความสัมพันธ์ของปริมาณจูลและแคลอรี่เท่ากัน ความสัมพันธ์นี้เรียกว่าสมดุลกลทางความร้อน

      (Mechanical Equivalent of Heat)

  • บทที่ 9 บทปฏิบัติการที่ 4 เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

    • แหล่งข้อมูล icon

      บทปฏิบัติการที่ 4

      เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

      คำนำ

      ในงานทางวิศวกรรมหลายประเภทต้องอาศัยกระบวนการถ่ายเทความร้อนระหว่างของไหล

      ที่มีอุณหภูมิต่างกัน เช่น การระบายความร้อนของหม้อน้ำในรถยนต์ การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่าง

      คอยล์เย็นกับอากาศเพื่อจ่ายอากาศเย็นไปยังห้องปรับอากาศ ฯลฯ เป็นต้น การแลกเปลี่ยนความร้อน

      ระหว่างของไหลทั้งสองชนิดนี้ล้วนใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat exchanger) ทั้งสิ้น

      ซึ่งการทำงานอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนใช้ทฤษฎีของการถ่ายเทความร้อน รวมถึงใช้ทฤษฎีของการถ่ายเท

      ความร้อน ในการออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อใช้ในงานที่เหมาะสมต่อไป

  • บทที่ 10 บทปฏิบัติการที่ 5 การทดสอบเครื่องยนต์ดีเซล

    • แหล่งข้อมูล icon

      บทปฏิบัติการที่ 5

      การทดสอบเครื่องยนต์ดีเซล

      จุดประสงค์

      เพื่อศึกษาและทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ รวมถึงสัมประสิทธิ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ

      เครื่องยนต์สันดาปภายใน ได้แก่ กำลังเบรก ความดันผลเฉลี่ยเบรก ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะ

      เบรก ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรก อัตราส่วนอากาศต่อเชื้อเพลิง ประสิทธิภาพเชิงปริมาตร และ

      ประสิทธิภาพเชิงกล โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับการทดสอบ

      คำนำ

      เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้ทั่วไปในรถยนต์นั้น จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

      คือ เครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟ (Spark ignition engine, SI engine) หรือที่นิยมเรียกว่า

      เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด (Compression ignition engine,

      CI engine) หรือที่เรียกว่าเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับการทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบเครื่องยนต์ดีเซล

      เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพและสัมประสิทธิ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน