โครงสร้างรายสัปดาห์

  • ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายวิชาภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร

  • สัปดาห์ที่ 2 บทที่ 1 ภาษามลายูเบื้องต้น

    • อิทธิพลของภาษามลายูในประเทศไทย

      ให้ นศ.ชมคลิปวิดีโอและสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องพร้อมอธิบายพอสังเขป

    • กระดานเสวนา icon

      ให้ นศ.ถอดบทเรียน อภิปรายผล และสร้างข้อสรุปคนละ 1 ประเด็น เกี่ยวกับเรื่องราวในคลิป

    • URL icon

      นัดหมายการเรียนแบบถ่ายทอดสดออนไลน์ วันที่ 29 มิถุนายน 2562 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

      ID : 4EtXJq

    • แหล่งข้อมูล icon

      ภาษามลายูกับความจำเป็นในการสื่อสารในประชาคมอาเซียน

      แม้ว่าภาษาไทยเราจะเป็นหนึ่งในภาษาอาเซียนที่มีประเทศสมาชิกหลายประเทศพยายามให้ประชาชนของตัวเองเรียนรู้ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้กับคนไทย ซึ่งจะเป็นช่องทางการค้าขาย และการส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ

      ในส่วนของไทยเราเอง อาจมีประชาชนบางส่วนมีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ  โดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากลที่สามารถสื่อสารได้ทั่วไปทั้งในประเทศทางยุโรป อเมริกา และประเทศในกลุ่มอื่น ๆ  เพราะเป็นภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก  แต่สำหรับในอาเซียน นอกจากภาษาลาวซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยแล้ว  ดูเหมือนเราจะไม่ค่อยใส่ใจกับภาษาอื่นมากนัก ยกเว้นชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้ภาษามลายูถิ่น ซึ่งคลายกับภาษามลายูที่ใช้กันอยู่ในหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหากคนไทยได้เรียนรู้และสื่อสารได้จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลกับทั้งการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและ การรักษาความมั่นคงในภาคใต้

      ภาษามลายู หรือภาษามาเลย์  เป็นภาษาที่ชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย  ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา ใช้กันมาแต่โบราณ  เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์และยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออกด้วย

       ในประเทศอินโดนีเซีย ก็ใช้ภาษานี้แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไปบ้าง  แต่ก็ไม่มากนัก มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซา รีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายู และเมื่อรวมประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์บางส่วน และติมอตะวันออกแล้ว ถือว่าภาษามลายูเป็นภาษาที่มีคนใช้มากอีกภาษาหนึ่งที่คนไทยเราไม่ควรละเลยในการเรียนรู้  ซึ่งจะได้ประโยชน์อย่างมากในการทำการค้าและการท่องเที่ยวกับประชาชนอาเซียน

                การเรียนรู้ภาษามลายู นอกจากสถาบันการศึกษาบางแห่งได้เปิดการเรียนการสอนภาษามลายูเป็นวิชาพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยในการสื่อสารกับประชาชนเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย และทางกลับกันคนไทยเราก็สามารถที่จะไปทำงานต่างประเทศได้  หากเรามีความสามารถในการสื่อสาร และการใช้ในชีวิตประจำวันได้  นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ภายในประเทศ เพราะถ้าหากเรามีความรู้ในด้านภาษา ก็จะสามารถเรียนรู้วิถีวัฒนธรรม และความต้องการของประเทศนั้น ๆ ได้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยเราได้  หรืออย่างน้อยก็เป็นช่องทางการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับประชาชนคนไทยได้อีกมาก

      สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพัทลุง

  • สัปดาห์ที่ 3 บทที 2 ความรู้พื่นฐานเกียวกับภาษามลายู

    เนื่องจากบทเรียนนี้จะเน้นเนื้อหาที่มีรูปภาพดังนั้นให้นักศึกษาเปิดอ่านข้อมูลทั้งหมดในไฟล์ที่ได้แนบไว้ข้่างล่างนะคะ 

  • สัปดาห์ที่ 4 บทที่ 2 (ต่อ)

  • สัปดาห์ที่ 10 กำหนดส่งงานการเผยแพร่ชิ้นงานในสื่อออนไลน์เรื่องการทำอาหารและเย็บผ้าโดยใช้ภาษามลายูมาตรฐาน

  • สัปดาห์ที่ 11 การสุ่มกลุ่มให้นำเสนอชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายและผู้สอนจะคอมเมนเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาให้ดีขึ้น

  • สัปดาห์ที่ 12

    บทที่ 6 เทศกาลต่างๆและ kata bilangan 

  • สฺัปดาห์ที่ 13 บทที่ 7 สถานการณ์ต่างๆ

    เมื่อมนุษย์จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ  สิ่งที่ต้องเตรียมเป็นลำดับต้นๆคือภาษา  ภาษามลายุเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้ใช้เป็นลำดับที่สี่ของโลก  ดังนั้นในบทนี้อาจารย์จะพานักศึกษาจำลองการเดินทางไปมาเลเซีย  เพื่อเป็นพื้นฐานในการใช้ไม่ว่าจะประกอบอาชีพหรือสำหรับการสื่อสารทั่วไป

  • สัปดาห์ที่ 14

    กิจกรรมการจำลองการสนทนาสถานการณ์ต่างๆเป็นรายกลุ่ม

  • สัปดาห์ที่ 15 กิจกรรมการนำเสนอบทสนทนาตามสถานการณ์ต่างๆ

    ทุกกลุ่มเข้ามานำเสนอต่อหน้าอาจารย์

  • 21 กันยายน - 27 กันยายน

  • 28 กันยายน - 4 ตุลาคม

  • 5 ตุลาคม - 11 ตุลาคม