โครงสร้างหัวข้อ

  • วิชา การเขียนภาษาจีน 1

    วิชาการเขียนภาษาจีน 1



        ประวัติและความเป็นมาของตัวอักษรจีน วิธีการเขียนตัวอักษรจีนพื้นฐาน การเขียนเรียบเรียงคำให้เป็นประโยคในภาษาจีน ฝึกการเขียนภาษาจีนในรูปแบบต่างๆ

  • บทที่ 1 ความเป็นมาและวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน


    บทที่ 1 ความเป็นมาและวิวัฒนาของตัวอักษรจีน  (4 ชั่วโมง)

        ต้นกำเนิดความเป็นมาของตัวอักษรจีน วิธีการสร้างตัวอักษรจีน การประดิษฐ์ตัวอักษรจีน รวมถึงวิวัฒนาการของตัวอักษรจีนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความเป็นมาและความหมายของตัวอักษรจีนได้

    2. บอกวิธีการสร้างและการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนได้

    3. บอกวิวัฒนาการของตัวอักษรจันในยุคต่างๆได้

    บนนำ

        อักษรจีน คือ อักษรภาพที่โดยหลักๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน อักษรจีนเป็นหนึ่งในสามอักษรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของโลก และเป็นอักษรที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยอักษรภาพเหมือนของอียิปต์และอักษรรูปลิ่มของสุเมเรียนได้เลิกใช้ไปแล้ว ทฤษฏีการกำเนิดอักษรจีนมีหลากหลาย เช่น การผูกปมเชือก การสลัก และชางเจี๋ยประดิษฐ์อักษร อักษรจีนอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ฮั่นจื้อ (汉字) สัญลักษณ์แต่ละตัวแสดงคำในภาษาจีนและความหมาย มีจุดกำเนิดจากรูปคน สัตว์ หรือสิ่งอื่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป รูปร่างของอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างและไม่เหมือนกับสิ่งที่เลียนแบบอีกต่อไป สัญลักษณ์หลายตัวเกิดจากสัญลักษณ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน อักษรจีนราว 2,000 ตัวที่ใช้ในประเทศจีนและประเทศสิงคโปร์ได้เปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่เขียนง่ายขึ้น แต่ในไต้หวัน ฮ่องกงและมาเก๊ายังใช้อักษรตัวเต็มอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อักษรทั้ง 2 แบบก็ยังได้รับความนิยมจนปัจจุบัน

    ความเป็นมาของตัวอักษรจีน

        การปรากฏของอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดมาจากแหล่งโบราณคดีปั้นปอจาก เมืองซีอันมณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน สามารถนับย้อนหลังกลับไปได้กว่า 5,000 ปี โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่สลักเป็นรูปวงกลม เสี้ยวพระจันทร์และภูเขาห้ายอดบนเครื่องปั้นดินเผา จวบจนถึงเมื่อ 3,000 ปีก่อนจึงก้าวเข้าสู่รูปแบบของอักษรจารบนกระดูกสัตว์ ซึ่งนับเป็นยุคต้นของศิลปะการเขียนอักษรจีน 

        เมื่อปี ค.ศ. 1899 ชาวบ้านจากหมู่บ้านเล็ก ๆแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภออันหยางมณฑลเหอหนันประเทศจีนได้ ค้นพบสิ่งที่เรียกกันว่า ‘กระดูกมังกร’ จึงนำมาใช้ทำเป็นตัวยารักษาโรค ต่อมาเนื่องจากพ่อค้าหวังอี้หรงเกิดความสนใจต่อตัวอักษรบนกระดูก จึงสะสมไว้มีจำนวนกว่า 5,000 ชิ้นและส่งให้ผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษาวิจัย จึงพบว่ากระดูกมังกรนั้นแท้ที่จริงคือกระดูกที่จารึกอักขระโบราณของยุคสมัย ซาง ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 1,300 ปีก่อนคริสตกาล 

    วิธีการสร้างอักษร

        วิธีการสร้างอักษรแบบดั้งเดิมของจีนเรียกว่า “ลิ่วซู” (อักษรหกชนิด) วิธีการสร้างอักษรหกชนิดนี้มี อักษรเหมือนภาพ (เซี่ยงสิง) อักษรบ่งความ (จื่อซื่อ) อักษรรวมความหมาย (ฮุ่ยอี้) อักษรแบบบอกความหมายและเสียง (สิงเซิง) อักษรอธิบายเสียง (จ่วนจู้) อักษรยืม (เจี่ยเจี้ย) แท้จริงแล้วในการสร้างอักษรนั้นมีเพียงสี่ชนิดแรกเท่านั้น สองชนิดหลังเป็นเพียงการใช้อักษรไม่ได้เป็นการสร้างอักษร ดังนั้นจึงมีการเรียกวิธีการสร้างอักษรจีนแบบดั้งเดิมอีกว่า “ซื่อซู” ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอักษรแบบหกชนิดหรือสี่ชนิด คนรุ่นหลังอาศัยการใช้งานที่แท้จริงในสังคม และได้ผ่านการศึกษาวิเคราะห์สรุปเป็นกฎเกณฑ์ได้หลายข้อ กฎเกณฑ์นี้ไม่ได้เพิ่งกำหนดออกมาแล้วนำมาใช้ในการสร้างอักษร แต่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นแล้ว

    การประดิษฐ์ตัวหนังสือจีน

    การประดิษฐ์ตัวหนังสือจีนมี 4 วิธีหลัก ได้แก่ 

    1. อักษรภาพ(象形字)
    2. อักษรบ่งความ(指事字)
    3. อักษรรวมความหมาย(会意字)
    4. อักษรแบบบอกความหมายและเสียง(形声字)
        เมื่อเริ่มเรียนควรพยายามจดจำตัวหนังสือง่ายๆที่พัฒนาจากอักษรภาพ เพราะเกือบทั้งหมดเป็นตัวหนังสือเดี่ยว มีจำนวนขีดน้อย จำง่ายและมีจำนวนไม่มาก แต่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของตัวหนังสือแบบตัวผสมมากมาย
    วิวัฒนาการของตัวอักษรจีน
    อักษรจีนมีวิวัฒนาการดังนี้
    1. จี๋ยกู่เหวินหรืออักษรจารบนกระดูกสัตว์ (甲骨文)
    2. จินเหวินหรืออักษรโลหะ (金文)
    3. อักษรเสี่ยวจ้วนหรือจ้วนเล็ก(小篆)
    4. อักษรลี่ซู(隶书)
    5. อักษรข่ายซู (楷书)
    6. อักษรเฉ่าซู(草书)
    7. อักษรสิงซู(行书)
    สรุป
        เมื่อเริ่มเรียนภาษาจีนควรพายามจำตัวหนังสือง่ายๆที่พัฒนามาจากอักษรภาพเสียก่อน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยเรียนภาษาจีนมาก่อน เพราะว่าตัวหนังสือง่ายๆ้เกือบทั้งหมดเป็นอักษรเดี่ยว มีจำนวนเส้นขีดน้อย เขียนง่าย จำง่ายและมีจำนวนไม่มาก แต่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของตัวหนังสือแบบตัวผสมอย่างกว้างขวาง ดังนั้นการเข้าใจตัวหนังสือประเภทนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความคุ้นเคยกับตัวหนังสือจีนได้เร็วขึ้น และเข้าใจระบบการเขียนภาษาจีนลึกซึ้งยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น จึงรู้สึกสนุกสนานกับระบบการเขียนแปลกใหม่ชนิดนี้ และที่สำคัญที่สุด ตัวหนังสือที่เกิดจากอักษรภาพเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้เรียนจดจำตัวหนังสือตัวอื่น โดยเฉพาะตัวหนังสือแบบตัวผสมง่ายขึ้นอีกด้วย

     
  • บทที่ 2 เส้นขีดตัวอักษรจีน

    บทที่ 2 เส้นขีดตัวอักษรจีน (4 ชั่วโมง)

        ต้ตัวอักษรจีนแต่ละตัวจะประกอบด้วยเส้นขีดที่ชนิดต่างๆ ซึ่งเส้นขีดแต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เส้นขีดตัวอักษรจีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวอักษรจีน การจำเส้นขีดและเขียนเส้นขีดได้ถูกต้องจะทำให้เราเขียนตัวอักษรจีนได้ดีและถูกต้อง

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความหมายของเส้นขีดตัวอักษรจีนได้

    2. บอกประเภทของเส้นขีดตัวอักษรจีนชนิดต่างๆ ได้ 

    3. เขียนเส้นขีดตัวอักษรจีนได้อย่างสวยงามและถูกต้อง

    บทนำ

        ระบบการเขียนภาษาจีนเกิดจากการวาดภาพของคนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาพัฒนาระบบการเขียนที่สมบูรณ์เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน อักษรภาพอาศัยรูปลักษณ์ของตัวอักษรเองแสดงความหมาย กล่าวคือ ในช่วงแรกอักษณภาพส่วนใหญ่เห็นแล้วก็พอจะรู้หรือพอจะเดาได้ว่าหมายถึงอะไร ต่อมาในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมานี้ เพื่อให้ตัวอักษรจีนใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อักษรภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นการลดจำนวนเส้นขีดให้น้อยลง และหันมาใช้เส้นตรงแทนเส้นโค้งบางส่วนที่เขียนยาก อักษรภาพค่อยๆเปลี่ยนไปจนกลายมาเป็นเครื่องหมายการเขียนอย่างเต็มตัวในที่สุด การฝึกเขียนเส้นขีดของตัวอักษรจีนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้เริ่มเรียนภาษาจีนสามารถเขียนภาษาจีนได้ดีและถูกต้อง โดยเส้นขีดของตัวอักษรจีนจะมีลักษณะที่แตกตางกันไป และมีชื่อเรียกเฉพาะในตัวของมันอีกด้วย 

    เส้นขีด

        ส่วนประกอบพื้นฐานของอักษรจีนยังต้องแยกออกมาเป็นเส้นขีด เส้นขีดก็คือตอนที่ลงปากกาตลอดจนยกปากกาเส้นนี้เราเรียกว่าเส้นขีด เส้นขีดเป็นส่วนประกอบของอักษรจีนที่เล็กที่สุด ถึงแม้ว่าตัวอักษรจีนมีเส้นขีดมากมาย แต่ทุกอักษรก็ต้องเริ่มต้นเขียนจากเส้นขีดพื้นฐานของอักษรจีน ดังนั้นการเรียนรู้เส้นขีดพื้นฐานอักษรจีนจึงเป็นขั้นพื้นฐานในการเรียนการเขียนอักษรจีน และเป็นผลดีต่อการจดจำอักษรจีนด้วย เส้นขีดพื้นฐานอัการจีนสามารถแบ่งออกเป็น 32 แบบ ดังนี้ 

    เส้นขีดพื้นฐานอักษรจีน

    ที่มา : http://www.18wk.com/p-856623.html

    สรุป

        สรุปแล้วอักษรจีนมีกี่ชนิดกันแน่ ปัญหานี้ไม่สามารถตอบแยยชัดเจนได้ แต่ในทีนี้เราสามารถแบ่งเส้นขีดออกเป็น 32 รายการ อักษรภาพเหล่านี้ล้วนเป็นอักษรที่เราใช้บ่อยในการเรีนการเขียนภาษาจีน แต่บางอักษรก็ไม่ได้ใช้บ่อย ตัวอักษรภาพที่พบได้บ่อยของอักษรภาพที่มีลำดับขีดน้อยที่สุดเพียงหนึ่งขีด(一 、乙)อักษรภาพส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัวหรือ 2 ตัวขึ้นไป มี 3 ประเภท ได้แก่ ระยะห่าง (三、川、八、心)ระยะติดกัน(丁、卜、弓、上)และระยะตัดกัน(丰、井、也、车)เป็นต้น 


    อกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนภาษาจีน 1

    ppt บทที่ 2 เส้นขีดตัวอักษรจีน

    ใบความรู้การเขียนตัวอักษรจีน 

  • บทที่ 3 ลำดับการเขียนตัวอักษรจีน

    บทที่ 3 ลำดับการเขียนตัวอักษรจีน (4 ชั่วโมง)

        ตัวอักษรจีนแต่ละตัวประกอบด้วยเส้นขีดตัวอักษรจีนชนิดต่างๆ การเขียนตัวอักษรจีนแต่ละตัวจะมีลำดับการเขียนเส้นขีดที่แต่กต่างกันออกไป ลำดับการเขียนตัวอักษรจีนจะทำให้เราเขียนตัวอักษรจีนได้อย่างถูกต้องและราบรื่น ดังนั้นลำดับการเขียนตัวอักษรจีนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเขียนภาษาจีน ซึ่งเราควรให้ความสำคัญและตั้งใจเขียนอย่างจริงจัง

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความของลำดับการเขียนตัวอักษรจีนประเภทต่างๆ ได้

    2. บอกวิธีการเขียนลำดับการเขียนตัวอักษรจีนประเภทต่างๆ ได้

    3. เขียนตัวอักษรจีนตามลำดับการเขียนได้อย่างถูกต้อง

    บทนำ

         ลำดับการขีด คือ การเขียนเส้นขีดต่างๆที่เขียนเป็นลำดับประกอบกันเป็นตัวอักษรจีน 1 ตัว และต้องเขียนขีดหรือเส้นให้ถูกต้องตามลำดับขีด  ลำดับการเขียนก่อนหรือหลังอยู่ในกรอบข้อบังคับของหลักการเขียนอักษรจีนที่กำหนดเป็นหลักมาตรฐานของการเขียนอักษรจีน  เพราะฉะนั้นการเรียนรู้หลักการเขียนตามลำดับขีดที่ถูกต้องของอักษรจีนจะช่วยให้เราสามารถเขียนออกมาได้สัดส่วนที่ถูกต้องและสวยงามตามหลักเกณฑ์ของการเขียนตัวอักษรจีนตัวนั้น

    ลำดับการเขียนตัวอักษรจีน 

        อักษรจีนตั้งแต่สองขีดหรือสองขีดขึ้นไป ในการเขียนอักษรจีนมักจะเกิดปัญหาในการเขียนลำดับขีดของตัวอักษรจีนทุกตัว เส้นขีดก่อนหลังของอักษรทั้งหมดเกิดขึ้นจากประสบการณ์การเขียนของชาวจีน จนตกผลึกออกมาเป็นข้อกำหนด ลำดับเส้นขีดอักษรจีนกับรูปอักษรจีนมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก สำหรับผู้ที่เรียนรู้อักษรจีนช่วงแรกมักจะรู้สึกว่าอักษรจีนมีความซับซ้อน เพราะไม่รู้ว่าต้องเริ่มเขียนตัวอักษรจีนตัวนั้นจากจุดไหนก่อน เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับลำดับการเขียนตัวอักษรจีนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งในการเรียนการเขียนภาษาจีน

    ที่มา : http://blog.mandarinchineseschool.com/2012/01/stroke-order-of-chinese-characters.html

    สรุป

        เพื่อสะดวกในการจำและเขียนอักษรจีน ช่วงศตวรรษที่ 20 ในราวศตวรรษ 5-6 มานี้ รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญในการปรับปรุงเปลี่นแปลงภาษาจีนให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงการปรับเส้นขีดให้น้อยลงและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังปรับมาตรฐานในการพิมพ์ตัวอักษรจีนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน


    อกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนภาษาจีน 1

    ppt บทที่ 3 ลำดับการเขียนตัวอักษรจีนพื้นฐาน

    ใบความรู้การเขียนตัวอักษรจีน

  • บทที่ 4 หมวดคำตัวอักษรจีน

    บทที่ 4 หมวดคำตัวอักษรจีน (4 ชั่วโมง)

        ตัวอักษรจีนส่วนใหญ่จะประกอบด้วยหมวดคำอักษรจีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวบอกความหมายของตัวอักษรจีนตัวนั้น ดังนั้นหมวดคำตัวอักษรจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำตัวอักษรจีนได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถแยกอยะหรือบอกถึงความหมายโดบรวมของตัวอักษรที่มีหมวดคำตัวอักษรเดียวกันได้อีกด้วย 

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความเป็นมาและความหมายของหมวดคำตัวอักษรจีนได้

    2. บอกประเภทของหมวดคำตัวอักษรจีนแต่ละประเภทได้

    3. สามารถแยกส่วนประกอบของตัวอักษรจีนพร้อมทั้งบอกถึงความหมายโดยรวมของอักษรจีนตัวนั้นจากหมวดคำอักษรจีนได้


    บทนำ

        หมวดคำอักษรจีน หมายถึง ดัชนีคำศัพท์ในพจนานุกรมภาษาจีน (หรือภาษาอื่นที่ใช้อักษรจีน) ซึ่งแบ่งตามลักษณะของการประกอบอักษร อักษรจีนแต่ละตัวจะถูกจัดเข้าไว้ในหมวดคำเพียงหมวดเดียว เรียงตามลำดับจำนวนขีดและการเขียน และแต่ละหมวดก็จะมีความหมายไปในทางเดียวกัน

        การแบ่งอักษรจีนเป็นหมวดคำเริ่มต้นขึ้นในอักษรานุกรมซัวเหวินเจี่ยจื้อ (说文解字) เขียนโดย สวี่ เซิ่น (许慎) นักคัมภีรศาสตร์สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก แต่เดิม สวี่ เซิ่น ได้แบ่งหมวดคำอักษรจีนไว้เป็น 540 หมวด ต่อมาพจนานุกรมคังซีในสมัยราชวงศ์ชิง ได้รวบรวมหมวดคำที่คล้ายกันเข้าจนเหลือ 214 หมวด เช่นเดียวกับพจนานุกรมจงหัว และเมื่อมีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อ พจนานุกรมฮั่นหยู่จึงมีหมวดคำ 200 หมวดเท่านั้น (ส่วนพจนานุกรมซินหัวเรียงลำดับตามพินอิน)

    หมวดคำตัวอักษรจีน

        การแบ่งอักษรจีนออกเป็นหมวดคำนั้น นอกจากจะสามารถใช้เป็นดัชนีในพจนานุกรมแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความหมายโดยรวมของอักษรจีนที่อยู่ภายใต้หมวดคำหนึ่ง ๆ เพราะหมวดคำทุกหมวดมีความหมายในตัวเอง เช่นหมวดคำ 人 โดยตัวศัพท์เองแปลว่า คน เมื่อประกอบกับส่วนอื่นจึงมีความหมายที่เกี่ยวกับคน หรือกิริยาอาการของคน เช่นคำว่า 从 คนหนึ่งอยู่หน้าอีกคนหนึ่งอยู่หลัง ความหมายโดยรวมจึงหมายถึง เดินตามกัน หรือคำว่า 众 เป็นลักษณะของคนอยู่รวมกันสามคน ความหมายโดยรวมจึงหมายถึง มวลชน หมวดคำอาจมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อผสมกับส่วนอื่น เช่นหมวดคำ 人 อาจแปลงรูปไปเป็น 亻 ใส่ไว้ที่ข้างซ้ายของอักษร อาทิ 休 他 作 เป็นต้น

        อักษรหมวดคำหลายหมวดสามารถเขียนโดด ๆ ได้ เป็นคำและมีความหมาย เรียกว่า หมวดคำอิสระ เช่น 口 หมายถึงปาก 女 หมายถึงผู้หญิง 水 หมายถึงน้ำ 火 หมายถึงไฟ เป็นต้น แต่บางหมวดถึงแม้จะมีความหมายแต่ก็ไม่สามารถเขียนโดด ๆ ได้ และไม่ถือเป็นคำ เรียกว่า หมวดคำไม่อิสระ เช่น 宀 หมายถึงหลังคา แต่ไม่เป็นคำ ต้องประกอบกับส่วนอื่นจึงจะเป็นคำได้ บางหมวดก็เป็นเพียงรูปแปลงของหมวดคำอื่นเช่น 忄 และ ⺗ เป็นรูปแปลงของ 心 หมายถึงหัวใจ รูปแปลงเหล่านี้จึงเป็นหมวดย่อยของหมวดคำหลัก และจัดอยู่ในหมวดเดียวกันในลำดับพจนานุกรม

        ส่วนที่อยู่ถัดจากหมวดคำ อาจให้ความหมายตามลักษณะที่ปรากฏ หรือให้เพียงแค่เสียงอ่านที่ใกล้เคียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น 好 (hǎo) ประกอบด้วยหมวดคำ 女 หมายถึงผู้หญิงและ 子 หมายถึงลูกชาย เนื่องจากชาวจีนมีคตินิยมว่าถ้าผู้หญิงมีลูกชายเป็นเรื่องดี คำนี้จึงแปลว่า ดี ในขณะที่ 媽/妈 (mā) แปลว่า แม่ ประกอบด้วยหมวดคำ 女 หมายถึงผู้หญิงและ 馬/马 (mǎ) ซึ่งเป็นศัพท์เลียนเสียงเท่านั้น (ความหมายแท้จริงของส่วนหลังคือ ม้า ไม่ได้หมายความว่าเป็นม้าตัวเมีย) แต่ก็มีอักษรจีนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้สัมพันธ์กับความหมายของหมวดคำหรือเสียงเลย ในกรณีนี้การจัดหมวดคำเพียงเพื่อให้สามารถค้นหาได้ในพจนานุกรมเท่านั้น ตัวอย่างเช่น 九 (jiǔ) แปลว่าเก้า จัดอยู่ในหมวดคำ 乙 (yǐ) ซึ่งหมายถึงที่สองหรือหักงอ

        อักษรจีนต่างรูปของคำที่มีความหมายเดียวกันและอ่านเหมือนกัน โดยเฉพาะกับอักษรโบราณที่เลิกใช้หรือไม่นิยมใช้ หรือเป็นอักษรตัวย่อ-ตัวเต็ม ไม่จำเป็นต้องจัดอยู่ในหมวดคำเดียวกัน เช่น 礦 ตัวย่อ 矿 (kuàng) แปลว่าเหมืองแร่หรือสายแร่ ทั้งสองอยู่ในหมวดคำ 石 (หิน) อักษรต่างรูปของคำนี้คือ 鑛 อยู่ในหมวดคำ 金 (ทอง) อีกตัวอย่างหนึ่ง 後 (hòu) แปลว่าข้างหลังหรือหลังจาก อยู่ในหมวดคำ 彳 (ถนนหรือเดิน) ส่วนตัวย่อคือ 后 พบได้ในหมวดคำ 口 (ปาก)

    ตำแหน่งของหมวดคำ

        ตำแหน่งของหมวดคำในอักษรจีนอาจจัดวางอยู่ได้หลายตำแหน่ง ทั้งซ้าย ขวา บน ล่าง คลุมบน ห่อล่าง ล้อมรอบ หรือแม้แต่ทับซ้อนเข้าไปข้างใน การจำแนกหมวดคำอักษรจีนจึงต้องอาศัยประสบการณ์การค้นหาบ่อยครั้ง ทราบว่าหมวดคำที่เปลี่ยนรูปมีอะไรบ้าง ปกติแล้วเรามักจะสังเกตได้ว่าหมวดคำกลุ่มหนึ่งมักจะอยู่ที่ตำแหน่งเดิมตลอดเวลา แต่หากเป็นกรณีพิเศษอื่นก็ต้องจดจำ ตำแหน่งของหมวดคำอักษรจีนสามารถแยกแยะได้ดังนี้ 

    Busyu-hen.svg วางข้างซ้าย เช่น 略 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 田 กับส่วน 各

    Busyu-tsukuri.svg วางข้างขวา เช่น 期 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 月 กับส่วน 其

    Busyu-kanmuri.svg วางข้างบน เช่น 歩 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 止 กับส่วน 少  

    Busyu-ashi.svg วางข้างล่าง เช่น 志 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 心 กับส่วน 士  

    Busyu-ashi2.svg ประกบข้างบนและข้างล่าง เช่น 亘 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 二 กับส่วน 日

    Busyu-ashi3.svg แทรกไว้ตรงกลาง เช่น 昼 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 日 กับส่วนบน 尺 และส่วนล่าง 一

    Busyu-tare.svg คลุมข้างบนและข้างซ้าย เช่น 房 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 戸 กับส่วน 方

    Busyu-nyou.svg ห่อข้างล่างและข้างซ้าย เช่น 起 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 走 กับส่วน 己

    Busyu-kamae.svg ล้อมรอบ เช่น 国 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 囗 กับส่วน 玉

    Busyu-kamae2.svg ล้อมรอบเปิดข้างล่าง เช่น 间 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 门 กับส่วน 日

    Busyu-kamae3.svg ล้อมรอบเปิดข้างบน เช่น 凶 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 凵 กับส่วน 乄

    Busyu-kamae4.svg ล้อมรอบเปิดข้างขวา เช่น 医 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 匚 กับส่วน 矢

    Busyu-kamae5.svg คลุมข้างบนและข้างขวา เช่น 式 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 弋 กับส่วน 工

    Busyu-kamae6.svg ประกบข้างซ้ายและข้างขวา เช่น 街 ประกอบขึ้นจากหมวดคำ 行 กับส่วน 圭

        หมวดคำเดียวกันอาจมีตำแหน่งการวางที่แตกต่างกันได้ ทำให้อักษรบางตัวอาจไม่อยู่ในหมวดคำตามที่คาดการณ์ไว้เช่น 闻 อยู่ในหมวดคำ 耳 แทนที่จะเป็น 门; 化 อยู่ในหมวดคำ 匕 แทนที่จะเป็น 人; 章 กับ 意 อยู่ในหมวดคำ 立 กับ 音 ตามลำดับ เป็นต้น

    สรุป

        ตัวหนังสือจีนส่วนใหญ่เป็นตัวหนังสือที่ส่วนหนึ่งบอกการออกเสียงอีกส่วนหนึ่งบอกความหมาย เรียกว่า “形声字” ตัวอย่างเช่น “妈”ประกอบด้วยสองส่วน คือ “女” และ “马” ทั้งสองส่วน เรีัยกว่า ส่วนประกอบ “偏旁” ส่วนประกอบของตัวอักษรจีนมีทั้งหมด 200 กว่าตัว แต่ที่ใช้บ่อยๆ มีประมาณ 60-80 ตัว หากจำอักษรจีนเดี่ยวและส่วนประกอบได้ 80 ตัว ก็จะสามารถเรียนรู้การประกอบตัวอักษรจีนได้เอง 


    เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนภาษาจีน 1

    ppt บทที่ 4 หมวดคำอักษรจีน

    ใบความรู้การเขียนตัวอักษรจีน

  • บทที่ 5 รูปแบบโครงสร้างพื้นฐานอักษรจีน

    บทที่ 5 รูปแบบโครงสร้างพื้นฐานอักษรจีน  (4 ชั่วโมง)

        ตัวอักษรจีนแต่ละตัวจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่แบ่งเป็นสองประเภท คือ อักษรเดี่ยวและอักษรผสม ซึ่งอักษรเดี่ยวจะเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยอักษรเพียงตัวเดียว ส่วนอักษรผสมนั้นจะเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยตัวอักษรจีนสองดตัวขึ้นไป โดยตัวหนึ่งอาจจะบอกเสียงและอีกตัวหนึ่งบอกความหมายของตัวอักษรนั้น การเข้าใจถึงโครงสร้างของตัวอักษรจีนจะทำให้เราเขียนตัวอักษรจีนได้ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น 

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความเป็นมาและความหมายของรูปแบบโครงสร้างของตัวอกักษรจีนได้

    2. บอกรูปแบบของโครงสร้างของตัวอักษรจีนประเภทต่างๆ พร้อมยกตัวอย่างตัวอักษรในประเภทนั้นๆ ได้

    3. เขียนตัวอักษรจีนตามโครงสร้างตัวอักษรจีนประเภทต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง



    บทนำ

        ในภาษาไทย ตัวอักษรแสดงถึงเสียง หลังจากที่คนเข้าใจการออก้เสียงของตัวอักษรไทยและการสะกดของตัวอักษร โดยทั่วไปก็สามารถเขียนและอ่านได้ แต่ในภาษาจีนนั้นไม่เหมือนกัน การได้ยินคำศัพท์ 1 คำ บางครั้งคนที่อ่านหนังสือตลอดชีวิตก็อาจจะเขียนไม่ได้ หรือเห็นตัวอักษร 1 ตัว ก็ไม่แน่ใจว่าจะสามารถอ่านได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากระบบของตัวอักษรจีนเป็นระบบการเขียนแบบอัการภาพ 

        รูปแบบของตัวอักษรจีนมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับความหมายของตัวอักษร ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร “羊” แสดงให้เห็นถึงลักษณะของศรีษะแพะ ตัวอักษร “休” ปสดงให้เห็นถึง คน ( 亻)ในขณะที่พักและยืนพิงต้นไม้อยู่ (木)แม้ว่ารูปแบบของตัวอักษรจีนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับเสียงของตัวอักษร ตัวอย่างเช่น “洋” มีส่วนประกอบด้านขวา “羊” ซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวอักษรตัวนี้โดยการออกเสียงที่เหมือนกัน แต่การออกเสียงในลักษณะพิเศษของตัวอักษรจีนแบบนี้ยังไม่มีความแน่นอนมากนัก

    รูปแบบของอักษรจีน

        ในประวัติศาสตร์ รูปแบบของตัวอักษรจีนได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายหลายครั้ง รูปแบบของตัวอักษรที่เป็นแบบทางการได้มีการปรากฏผ่าน ตัวอักษรโบราณของจีน ที่แกะสลักไว้บนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ คำจารึกบนเครื่องทองเหลือง ตัวหนังสือรูปจ้วนซู รูปแบบตัวหนังสือลี่ซู ตัวอักษรจีนแบบบรรจง เป็นต้น ตอนนี้ตัวอักษรจีนแบบบรรจงเป็นรูปแบบตัวอักษรของภาษาจีนที่มีการใช้บ่อยที่สุด และมีประวัติศาสตร์ยาวนานเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว นอกจากตัวหนังสือจีนแบบบรรจงแล้ว ตัวหนังสือกึ่งหวัดกึ่งบรรจงก็เป็นรูปแบบในปัจจุบันที่เรามักนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน

    ที่มา : http://www.tcbl-thai.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538741253

    โครงสร้างตัวอักษรจีน

        สำหรับคนไทยส่วนใหญ่เมพื่อได้สัมผัสกับอักษรจีนแล้วจะรู้ว่าแต่ละอักษรไม่เหมือนกันเล แล้วแต่ละตัวอักษรก็คล้ายกับรูปภาพ เวลาเขียนอักษรจีนก็เหมือนกำลังวาดภาพอยู่ ดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย อันที่จริง ถ้าากทุกคนเข้าใจถึงโครงสร้างของตัวอักษรจีนแล้ว ก็จะไม่คิดอย่างนี้ อักษรจีนก็เหมือนๆกับตัวอักษรในภาษาอื่นๆเขียนได้ เพียงแค่วิธีการเขียนจะซับซ้อนอยู่สักหน่อย 

    ส่วนประกอบของตัวอักษร

        ในส่วนของโครงสร้าง อักษรจีนส่วนใหญ่สามารถแยกออกเป็นห่วยเล็กๆได้ เรียกว่าส่วนประกอบของคำ เช่น คำว่า 汉 สามารถแยกได้เป็น 氵กับ 又 ดังนั้น 氵กับ 又 รวมกันเป็น “汉” อักษรส่วนใหญ่มีองค์ประกอบตั้งแต่ 2 ส่วนขึ้นไป เมื่อนำมารวมกันแล้วเกิดเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน เช่น คำว่า 您 นำมาแยกได้เป็นคำว่า 你 และ 心 ดังนั้น 你 กับ 心 รวมกันเป็น 您 นอกจากนี้ 你 ยังสามารถแยกส่วนประกอบออกเป็น 亻กับ 尔 ได้อีกด้วย 

        氵, 又, 亻,小,心 ส่วนประกอบเหล่านี้ไม่สามารถนำมาแยกให้เป็นส่วนที่เล็กกว่านี้ได้อีก เรียกว่าส่วนประกอบพื้นฐาน ส่วน 你 กับ 尔 เพราะว่ายังสามารถแยกเป็นหน่วยที่เล็กกว่าได้อีก ดังนั้นจึงเรียกว่า 复合部件 ส่วนประกอบ 又, 小, 心,尔,你 เหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่มีความหมายในตัวของมันเอง ส่วน 氵, 亻 เป็นส่วนประกอบที่ไม่มีความหมายในตัวเอง จึงเรียกว่า 非成字部件 

    อักษรเดี่ยวและอักษรผสม 

        อักษรจีนบางตัวเกิดจากส่วนประกอบเพียงส่วนเดียว อักษรแบบนี้เรียกว่า อักษรเดี่ยว เช่น 我、面、用 และมีส่วนประกอบ 2 ส่วน หรือ 2 ส่วนขึ้นไป เรียกว่า อักษรผสม ้เช่น 他、要、这 คำที่ใช้บ่อย อักษรเดี่ยวจะไม่เยอะ มีประมาณ 200-300 อักษรจีน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบผสม 

    โครงสร้างของอักษรผสม 

        อักษรผสมเกิดจากส่วนประกอบ 2 ส่วนหรือ 2 ส่วนขึ้นไป ระหว่างส่วนประกอบด้วยกันเองก็มีความเกี่ยวพันกัน เราสามารถแยกส่วนประกอบจากอักษรผสมในครั้งแรก แยกโครงสร้างเป็นกลุ่มย่อยๆได้ 12 ชนิด 

    รูปแบบสัดส่วนโครงสร้างของตัวอักษรจีน

    ที่มา : https://www.51wendang.com/doc/44585e09067d692a1572893a

    สรุป

        อักษรจีนวิวัฒนาการมาจากอักษรภาพ  ความเป็นอักษรภาพยังปรากฏให้เห็นอยู่ไม่น้อยในอักษรจีนปัจจุบัน  อักษรแต่ละตัวเสมือนหนึ่งภาพแต่ละรูป   ด้วยเหตุที่มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม  อักษรจีนจึงได้ชื่อว่าเป็น “อักษรสี่เหลี่ยม”  รูปอักษรทรงสี่เหลี่ยมแต่ละภาพ (หรืออักษรจีนแต่ละตัว) ประกอบขึ้นจากขีดเส้นตั้งแต่ หนึ่งขีดขึ้นไปจนถึงหลายขีด และหลายสิบขีด   อักษรที่มีขีดเส้นประกอบกันเป็นชิ้นเดียวคืออักษรรูปเดี่ยว (ภาพเดี่ยว)  ส่วนลักษณะที่มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนประกอบกันคืออักษรรูปผสม (ภาพคู่หรือภาพหมู่) โครงสร้างของตัวอักษรจีน เป็นสิ่งทีจำเป็นที่จะต้องรู้และจำ  เพราะนอกจากจะทำให้เขียนตัวอักษรจีนได้ถูกต้องแล้ว ยังมีความสำคัญในการมีส่วนช่วยในการเปิดพจนานุกรมอีกด้วย 


    อกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนภาษาจีน 1

    ppt บทที่ 5 รูปแบบโครงสร้างพื้นฐานอักษรจีน

    ใบความรู้การเขียนตัวอักษรจีน

  • บทที่ 6 อักษรพ้องเสียงและอักษรหลายเสียง


    บทที่ 6 อักษรพ้องเสียงและอักษรหลายเสียง  (4 ชั่วโมง)

        ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวอาจจะออกเสียงได้หลายเสียง หรือตัวอักษรจีนบางตัวออกเสียงเหมือนกัน ซึ่งตัวที่ออกได้หลายเสียงเรียกว่า อักษรหลายเสียง ส่วนตัวที่ออกเสียงเหมือนกันเรียกว่าอักษรพ้องเสียง การเรียนรู้ในเรื่องอักษรพ้องเสียงและอักษรหลายเสียงจึงมีความสำคัญไม่น้อยในการเขียนภาษาจีน เพราะหากเราไม่ทำความเข้าใจให้ดี เราอาจจะเขียนตัวอักษรผิดตัวได้ เนื่องจากเป็นตัวอักษรที่มีเสียงเหมือนกัน และบางตัวก็ออกเสียงได้มากกว่าหนึ่งเสียง

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความหมายของอักษรพ้องเสียงและอักษรหลายเสียงได้

    2. บอกอักษรเสียงและอักษรหลายเสียงในแต่ละประเภทได้

    3. เขียนอักษรพ้องเสียงและอักษรหลายเสียงได้อย่างถูกต้อง


    บทนำ

        ตัวอักษรจีนเป็นอักษรพยางค์ ซึ่งเป็นอักษรที่ทำหน้าที่บันทึกหน่วยคำในภาษาจีน โดยเสียงของตัวอักษรจีนมีลักษณะเด่นดังนี้ ประการที่หนึ่ง ตัวอักษรจีนหน้าตาต่างกันออกเสียงเหมือนกันได้ โดยรวมพยางค์เสียงที่ต่างกันทั้งหมดในตัวอักษรจีนทั่วไปที่ใช้กันในสังคมจำนวนราว 7,000 คำ มีแค่ 1,303 พยางค์เสียง เฉลี่ย 1 พยางค์เสียงต่อตัวอักษร 5.37 ตัว ประการที่สอง อตัวอักษรเดียวกัน แต่อ่านได้หลายเสียง 

    อักษรพ้องเสียง 

        ตัวอักษรจีนที่มีเสียงเหมือนกันเรียกว่า อักษรพ้องเสียง ซึ่งอักษรพ้องเสียงในภาษาจีนที่มีมากเกินไปนี้ ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญของนักเรียนชาวต่างชาติที่ศึกษาภาาาจีน อักษรพ้องเสียงในภาษาจีนมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ 

    ชนิดที่ 1 เสียงเหมือนกันเนื่องจากในตัวอักษรมีส่วนหมวดเสียงเป็นตัวเดียวกัน เช่น 

    -成——城(城市)  诚(诚实)
    -乔——桥(大桥)侨(华侨)
    -式——试(考试)拭(擦拭)
    -元——玩(玩耍)顽(顽固)完(完成)
    -占——站(站立)战(战争)
    -正——证(证明)政(政治)症(症状)
    -直——值(值得)植(植物)
    ชนิดที่ 2 รูปตัวอักษรไม่มีส่วนที่เหมือนกัน แต่เสียงอ่านอักษรเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น 
    -不(不好)布(布置)部(部队)
    -风(风景)丰(丰富)疯(疯子)
    -厂(工厂)场(市场)
    -道(知道)到(来到)
    -冬(冬天)东(东西)
    -儿(儿子)而(而且)
    -非(非常)飞(飞机)
    -公(公司)工(工作)功(功夫)
    -和(和好)河(黄河)合(合适)
    •顾(照顾)故(故事)固(顽固)
    •皇(皇帝)黄(黄金)
    •画(画画)话(谈话)化(变化)
    •鸡(公鸡)机(手机)基(基础)
    •教(教书)交(交通)浇(浇水)
    •今(今天)斤(公斤)金(金色)
    •进(进来)近(最近)
    •记(记得)计(计算)
    •厉(厉害)历(历史)力(力量)
    •生(生日)声(声音)升(升级)
    •他(他们)她(她们)它(它们)
    多音字



    ที่มา : https://www.sohu.com/a/36852358_172239

    ตัวอักษรจีน ที่อ่านได้หลายเสียง 多音字




    อักษรหลายเสียง
        ประจำจำนวน 3,500 คำ แต่จะมีประมาณ 400 คำขึ้นไปที่เป็นอักษรหลายเสียง ซึ่งอักษรหลายเสียงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้ 
    ชนิดที่ 1 อักษรหลายเสียงหลายความหมาย รูปการเขียนเป็นรูปเดียวกัน แต่อ่านในเสียงที่ต่างกัน แล้วแสดงความหมาที่ต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น 
    •背——背书、背包
    •差——差点儿、出差
    •长——长短、长大
    •大——大家、大夫
    •倒——摔倒、倒茶
    •得——得到、得走了
    •的——我的、目的、的确
    •发——发现、头发
    •分——分手、身份
    •划——划船、计划
    •种——种类、种树
    •系——系领带、关系
    •假——真假、放假
    •教——教书、教授
    •空——天空、没空
    •难——困难、遇难
    •数——数钱、数学
    •行——旅行、银行
    ชนิดที่ 2 อักษรหลายเสียงความหมายเดียว รูปการเขียนเป็นรูปเดียวกัน ความหมายก็เป็นความหมายเดียวกัน แต่มีเสียงอ่านต่างกัน โดยเสียงอ่านที่ต่างกันของตัวอักษรเหล่านี้แยกออกมาเป็นเสียงอ่านในภาษาพูด และเสียงอ่านในภาษาเขียน เช่น 
    1. 熟:熟悉  shóuxī          成熟  chéngshú
    2. 尾:尾巴  yǐbā             车尾   chē wěi
    3. 血:鸡血  jī xiě            血液   xuèyè
    4. 削:削皮  xiāo pí          瘦削   shòuxuē
    多音多义字
    ตัวอย่าง อักษรหลายเสียงหลายความหมาย 多音多义字 : 发、空
    สรุป
        อักษรที่มีลักษณะเหมือนกัน แค่ออกเสียงต่างกัน เรียกว่า "อักษรพ้องรูปไม่พ้องเสียง" (多音字) ซึ่งอักษรบางตัวนอกจากจะออกเสียงต่างกันแล้ว ยังให้ความหมายที่ต่างออกไปด้วย ส่วนอักษรอีกประเภทคือ อักษรพ้องเสียง (同音字) ซึ่งมีทั้งที่ใช้หมวดช่วยออกเสียงตัวเดียวกันจึงทำให้ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายกัน กับตัวที่เขียนไม่เหมือนกันเลยฟแต่กลับออกเสียงเหมือนกัน โดยอักษรเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับการเรียนของผู้ศึกษาภาษาจีนไม่น้อย เพราะนอกจากผู้เรียนจะต้องจำการเขียน การอ่านและความหมายของตัวอักษรจีนแล้ว ยังต้องเรียนรู้ว่าตัวอักษรจีนตัวไหนมีความพิเศษหรือไม่อย่างไร เพื่อที่จะสามารถใช้ภาษาจีนตัวนั้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 
     
  • บทที่ 7 อักษรรูปคล้ายและอักษรเสียงคล้าย

    บทที่ 7 อักษรรูปคล้ายและอักษรเสียงคล้าย (4 ชั่วโมง)

        ทำความเข้าใจและเรียนรู้อักษรรูปคล้ายและอักษรเสียงคล้ายในภาษาจีน ตัวอักษรจีนส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้านเนื่องากมีเส้นขีดและส่วนประกอบที่คล้ายๆ กัน ทำให้ผู้เรียนอาจจะเกิดความสับสนเวลาเขียน และบางตัวอักษรยังออกเสียงคล้ายกันอีกด้วย ดังนั้น การที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะและจดจำตัวอกักษรที่มีความคล้ายกันทั้งในเรื่องของรูปลักษณะและการออกเสียงจะทำให้ผู้เรียนสามารถเขียนภาษาจีนได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น 

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความเหมายของอักษรรูปคล้ายและอักษรเสียงคล้ายได้

    2. บอกอักษรรูปคล้ายและอักษรเสียงคล้ายประเภทต่างๆ ได้

    3. เขียนอักษรรูปคล้ายและอักษรเสียงคล้ายได้อย่างถูกต้อง


    บทนำ

        นอกจากคำพ้องเสียงที่พยางค์เสียงเดียวกันมีตัวอักษรหลายตัวกับคำหลายเสียงที่ตัวอักษรเดียวกันมีหลายเสียงอ่านแล้ว ในระบบตัวอักษรของจีนยังมีตัวอักษรพิเศาอยู่ 2 ชนิด คือ อักษรรูปคล้ายกับอักษรเสียงคล้าย 

    อักษรรูปคล้าย

        อักษรรูปคล้าย คือตัวอักษรที่มีรูปคล้ายกัน อักษรรูปคล้ายในระบบอักษรจีนมีจำนวนมาก โดยจะคล้ายที่เส้นขีด การเขียน หรือส่วนประกอบของตัวอักษร หรือโครงสร้างเป็นหลัก หากผู้เรียนไม่สังเกตุให้ละเอียด จำแนกแลจดจำอย่างถูกต้องแล้ว จะทำให้เขียนหรืออ่านผิดได้ง่าย ตัดอักษรคล้าย หลักๆมีดังนี้ 

    1. เส้นขีดเหมือนกัน แต่การจัดวางตำแหน่งต่างกัน เช่น 

    上——土

    午——牛

    刀——力

    九——几

    开——井

    元——无

    田——由

    目——且

    2. รูปคล้ายกัน แต่จำนวนเส้นขีดไม่เท่ากัน เช่น 

    目——自  又——叉
    木——本  止——正
    么——公  今——令
    吉——舌  白——百
    厂——广  天——关
    心——必  王——玉
    帅——师  乒——乓
    下——不  小——少
    了——子  火——灭
    3. รูปคล้ายกัน แต่ลักษณะเส้นขีดต่างกัน เช่น 
    毛——手  用——甩
    见——贝  车——东
    开——升  义——叉
    风——凤 
    外——处
    千——干
    名——各
    4. ส่วนหมวดเสียงเหมือนกัน แต่ส่วนหมวดคำต่างกัน เช่น 
    很——狼
    蓝——篮
    密——蜜
    河——何
    字——学
    5. ส่วนประกอบหลักเหมือนกัน แต่การจัดวางตำแหน่งต่างกัน เช่น 
    加——另
    部——陪
    6. เค้าโครงอักษรคล้ายกัน เช่น 
    •具——县
    •使——便
    •要——耍
    •爪——瓜
    •马——鸟
    •找——我
    形近字
    อักษรเสียงคล้าย
        
        อักษรเสียงคล้าย คือ อักษรที่มีเสียงอ่านคล้ายกัน ในภาษาจีนมีอักษรประเภทนี้จำนวนมาก โดยหลักๆ มีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ 
    1. มีพยัญชนะกับสระเหมือนกัน แต่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน โดยอักษรชนดนี้สับสนกันง่าย ตัวอย่างเช่น 
    安——按
    方——放
    很——恨
    司——死
    高——搞
    把——爸
    清——请
    2. มีเสียงสระเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน แต่มีพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ตัวอักษรประเภทนี้มักใช้ในบทกวีจีนเพื่อให้สัมผัสเสียงสระกัน 
    音近字
    สรุป 
       ตัวอักษรจีนปรกอบขึ้นจากเส้นขีด เช่น จุด เส้นขวาง เส้นตั้ง เส้นลากซ้าย เส้นลากขวา เส้นตวัดขึ้น เป็นต้น ลักษณะของตัวอักษรจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่ซ้ำกัน แต่มีจำนวนหนึ่งที่คล้ายกันทั้งรูปแบบและโครงสร้าง แม้จะเขียนต่างกันเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง 
        
  • บทที่ 8 ส่วนประกอบประโยคภาษาจีน

    บทที่ 8 ส่วนประกอบประโยคภาษาจีน (4 ชั่วโมง)

        เรียนรู้ส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของประโยคประโยคภาษาจีน หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษรจีนแล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถนำตัวอักษรไปสร้างเป็นคำศัพท์ และหลังจากนั้นก็จะสามารถนำคำศัพท์ที่ได้เรียนมาแต่งเป็นประโยคได้ ดังนั้น การเรียนรู้ส่วนประกอบของประโยคภาษาจีนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรีนสามารถแดต่งประโยคภาษาจีนได้ดี 

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความหมายของส่วนประกอบประโยคภาษาจีนได้

    2. บอกส่วนประกอบของประโยคภาษาจีนได้

    3. เขียนประโยคภาษาจีนที่ประกอบด้วยส่วนประกอประโยคภาษาจีนต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง


    บทนำ

    ส่วนประกอบประโยคภาษาจีน
    (汉语句子成分)

    ส่วนประกอบของประโยคในภาษาจีนหลักๆมีด้วยกัน 6 ส่วน ดังนี้

    1.(主)主语  บทประธาน
    2.(谓)谓语  บทกริยา
    3.(宾)宾语  บทกรรม
    4.(定)定语  บทขยายนาม
    5.(状)状语  บทขยายกริยา
    6.(补)补语  บทเสริม

    ---------------结果补语  เสริมบอกผล

    ---------------程度补语  เสริมบอกระดับความเข้มข้น

    ---------------趋向补语  เสริมบอกทิศทางการเคลื่อนไหว

    หน้าที่ของส่วนประกอบของประโยคภาษาจีน

    汉语句子成分的分类

       ในส่วนประกอบของประโยคในภาษาจีน "บทประธาน บทกริยา บทกรรม" เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของประโยคที่เรียกกว่า "แกนสำคัญของประโยค" ส่วน "บทขยายนาม บทขยายกริยา บทเสริม" เป็นส่วนประกอบเสริมความหมายของประโยค เปรียบเหมือนเป็นส่วนกึ่งใบของ้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งประโยคภาษาจีนให้เป็น 2 ประเภทในรูปง่ายๆ ได้โดยแบ่งจำนวนส่วนประกอบและโครงสร้างในการประกอบประโยค คือ 

    1. 句子基本成分:(ส่วนพื้นฐานของประโยค)
     

               主语 + 谓语 + 宾语 

               ประธาน + บทภาคแสดง + บทกรรม

                ตัวอย่าง  朋友 + 来 + 泰国

               เพื่อน + มา + ประเทศไทย

    2. 句子补充成分:(ส่วนเสริมของประโยค)
     

    (定语)主语 + (状语)谓语(补语 + (定语)宾语

    (บทขยายนาม) บทประธาน + (บทขยายกริยา) บทกริยา (บทเสริม) + (บทขยายนาม) บทกรรม

    ตัวอย่าง(定语)主语 + (状语)谓语(补语) + (定语)宾语

    (我的)朋友 + (三年前)来了(一次) + (他向往已久的)泰国

    เมื่อสามปีก่อนเพื่อนของฉันได้มาประเทศไทยแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งเป็นประเทศที่เขาใฝ่ฝันมานาน




    ที่มา : http://chinesexpert.blogspot.com/2015/10/blog-post_29.html

    โครงสร้างประโยค

    ขั้นตอนการแบ่งส่วนประกอบประโยคภาษาจีน

        การแบ่งส่วนประกอบของประโยคในภาษาจีน ขั้นตอนแรกสามารถใช้เครื่องหมายเส้นตั้งคู่ "  ll  " แบ่ง "แกนสำคัญ" ซึ่งคือส่วนที่เป็นบทประธานและส่วนที่เป็นบทกริยา (รวมลทกรรมด้วย) ออกมาก่อน แล้วหากยังต้องแบ่งให้ละเอียดอีกค่อยเพิ่มเติมเครื่องหมายแบ่งส่วนประกอบอื่นๆ ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ในการแบ่งส่วนประกอบของประโยค สามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้ 

    1. ขั้นตอนที่ 1 แบ่งแกนสำคัญของประโยค ซึ่งคือ "ส่วนที่เป็นบทประธานและส่วนที่เป็นบทกริยา" ออกมาก่อน

    我的朋友 ll 三年前来了一次 ll 他向往已久的泰国。

    2. ขั้นตอนที่ 2 ระบุคำหลักของแกนสำคัญแต่ละส่วนออกมา 

    我的朋友 ll 三年前来 了一次 ll 他向往已久的 ll 泰国。

    3. ขั้นตอนที่ 3 ระบุส่วนขยายความหรือส่วนเสริมความหมายของคำหลักในแกนสำคัญของประโยคออกมาตามลำดับ ซึ่งคือบทขยายนามบทขยายกริยา และบทเสริม 

    ระบุบทขยายนาม

    (我的)朋友 ll 三年前来了一次(他向往已久的)泰国。

    ระบุบทขยายกริยา

    (我的)朋友 ll {三年前}来了一次(他向往已久的)泰国。

    ระบุบทเสริม

    (我的)朋友 ll {三年前}来了《一次》(他向往已久的)泰国。

    สรุป
        
        ส่วนประกอบของประโยคภาษาจีนโดยหลักแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ นั่นคือ ส่วนประกอบขั้พื้นฐาน และส่วนประกอบเสริม ซึ่งแกนสำคัญของประโยตหรือส่วนประกอบขั้นพื้นฐาน ได้แก่ บทประธาน บทกริยา บทกรรม ส่วน บทขยายนาม บทขยายกริยา และบทเสริททำหน้าที่เป็นส่วนประกอบเสริม การที่ผู้เรียนจะสามารถจำแนกส่วนประกอบของประโยคภาษาจีนได้นั้น ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจส่วนต่างๆของประโยคภาษาจีนให้เข้าใจเสียก่อน จากนั้นก็พยายามฝึกแบ่งส่วนประกอบของประโยคออกจากกัน การทำแบบนี้จะสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงรูปแบบและส่วนประกอบของประโยคที่เจอได้ดีและสามารถเรียงประโยคได้ถูกต้อง 
        
  • บทที่ 9 เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาจีน

    บทที่ 9 เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาจีน (4 ชั่วโมง)

        หลังจากที่ผู้เรียนแต่งประโยคภาษาจีนจากคำศัพท์ที่ได้เรียนมาได้บ้างแล้ว เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีน เพราะเครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีนจะช่วยทำให้ประโยคถูกต้องและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้เรียนต้องศึกษาความหมายและวิธีการใช้งานของเครื่องหมายวรรคตอนให้อย่างละเอียด เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในการเขียนประโยคภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความหายของเครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีนได้

    2. บอกประเภทและวิธีใช้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีนได้

    3. เขียนและใช้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง 


    บทนำ

        ความรู้เรื่องเครื่องหมายวรรคตอนในหลักภาษาจีนเป็นหัวข้อศึกษาที่ควรให้ความสำคัญข้อหนึ่งในการเรียนวิชาภาษาจีน เพราะการเขียนภาษาจีนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เป็นเรื่องสำคัยยิ่ง หากไม่รู้จักวรรคตอนอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพทั้งการเขียนและการอ่าน ความรู้เรื่องการใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างถูกวิธีนั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ ได้อีกด้วย หากผู้เรียนไม่มีความรู้เรื่องเครื่องหมายวรรคตอนก็จะไม่สามารถทำความเข้าใจประโยคภาษาจีนได้อย่างแตกฉานได้

    ความเป็นมาของการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาจีน

        ราวปี ค.ศ. 1919 ซึ่งเป็นช่วงพลิกผันทางวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศจีน ด้วยเหตุและปัจจัยนการดำรงคงอยู่ของชาวจีนรุ้นใหม่หลายประการ รวมไปถึงอิทธิพลจากประเทศตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในจีนในทุกรูปแบบ ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมในหลายๆด้านของชาวจีน โดยเฉพาะผลกระทต่อวัฒนธรรมในด้านการใช้ภาษา กล่าวคือ ชาวจีนสมัยใหม่ได้สร้าและกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ทั้งในภาษาแบบแผนและภาษาพูดเพิ่มขึ้นมากมาย ผลกระทบจากการกำหนดแบบแผนการใช้ "ภาาาปัจจุบัน" (白话文)นั้น โยงไปถึงการกำเนิดสัญลักษณ์ใหม่ๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายวรรคตอนในแต่ละบทบาท ซึ่งในยุคแรกเครื่องหมายวรรคตอนมีเพียง  2 ตัว ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่งเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตัวเป็น 3 ตัว และนิยมใช้ในงานเขียนภาษาจีนมาเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่หลังจากปี ค.ศ. 1919 เป็นต้นมา สัญลักษณ์ในการเขียนภาษาจีนที่เพิ่มขึ้นมากพอที่จะทำให้เราเห็นถึงข้อแตกต่างภายหลังการปฏิรูปวัฒนธรรมและภาษาแบบแผนโบราณมาเป็นวัฒนธรรมภาษาแบบแผนสมัยใหม่ของชาวจีนได้อย่างชัดเจน

    วิวัฒนาการของเครื่องหมายวรรคตอน

        หลังปั ค.ศ. 1951 รัฐบาลจีนให้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกฌฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนบ้างเป็นระยะ ที่สำคัญได้แก่ การปรับเพิ่มเครื่องหมายวรรคตอนจากเดิม 14 ประเภทเป็น 16 ประเภท ดังที่ปรากฏในระเบียบการใช้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีนฉบับแพร่หลายในปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 1990) เครื่องหมายเหล่านี้ประกอบด้วย 

    1. 句号      。     จวี้ห้าว

    2. 问号      ?      เวิ่นห้าว

    3. 叹号      !     ท่านห้าว

    4. 逗号      ,     โต้วห้าว

    5.  顿号    、     ตุ้นห้าว   

    6. 分号     ;     เฟินห้าว

    7. 冒号     :     เม่าห้าว

    8. 引号     “  ”(双引号)‘  ’(单引号)     อิ่นห้าว

    9. 括号     ( )      คั่วห้าว

    10. 破折号      ——     พั๋วเจ๋อห้าว

    11. 省略号     ……     เสิ่งเลวี่ยห้าว

    12. 着重号     .     จั๋วจ้งห้าว

    13. 书名号     《  》      ซูหมิงห้าว

    14. 专名号     _____     จวนหมิงห้าว 

    เครื่องหมายที่เพิ่มขึ้นมา คือ 

    15. 连接号     —     เหลียนเจียห้าว

    16. 间隔号     ·     เจียนเก๋อห้าว 

       สัญลักษณ์ทั้ง 16 ประเภทข้างต้นนี้ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่หยิบยืมมาจากภาษาตะวันตก ได้แก่ เครื่องหมายเวิ่นห้าว [ ?] เครื่องหมายท่านห้าว [ !] เครื่องหมายโต้วห้าว [ ,] เครื่องหมายเม่าห้าว [ :] เครื่องหมายอิ่นห้าว [ “ ” ] เป็นต้น ส่วนสัญลักษณืที่บ่งชี้ถึงอัตลักษณ์ของภาษาจีน ซึ่งชาวจีนคิดค้นเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อให้เหมาะสมต่อธรรมชาติของภาษาจีน ได้แก่ เครื่องหมายซูหมิงห้าว [《 》] ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แสดงถึงชื่อหนังสือ ตำราต่างๆ เครื่องหมายจั๋วจ้งห้าว [ .] ซึ่งวิวัฒนาการมาจากเครื่องหมายที่แต้มไว้ข้างๆ ตัวอักษรจีนเมื่อครั้นที่คำราภาษาจีนถูกจารึกเป็นแนวตั้ง 

    ความสำคัญของเครื่องหมายวรรคตอน

        การประเมินค่าแรงของงานเขียนหรือสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยประเมินตามจำนวนหน้ากระดาษ แต่การประเมินค่าตอบแทนของงาเขียนบทความหรือสิ่งพิมพ์ภาษาจีนจะประเมินค่าตามจำนวนตัวอักษร เล่ากันว่า หลู่ซวิ่น นักเขียนชาวจีนที่มีชื่อเสียงเคยส่งบทความให้สำนักพิมพ์พิจารณาพิมพ์เผยแพร่ ปรากฏว่าทางสำนักพิมพ์ประเมินค่าตอบแทนงานเขียนของท่านโดยนับเฉพาะจำนวนตัวอักษรจีนเท่านั้น หลู่ซว่นจึงแก้ไขบทความของเขาใหม่โดยไม่ใส่เครื่องหมายวรรคตอนใดๆ ทั้งสิ้น บรรณาธิการสำนักพิมพ์อ่านบทความของเขาแล้วรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง หลู่ซวิ่นให้เหตุผลกับทางสำนักพิมพ์ว่า หากทางสำนักพิมพ์เห็นว่าเครื่องหมายวรรคตอนและสัญลักษณ์สำรับงานเขีนนั้นมีความสำคัญ ก็ควรตอบแทนคุณค่าของมันด้วย นับแต่นั้นมา การประเมินค่าแรงของงานเขียนภาษาจีนทุกประเภทจะนับเหมาทั้งตัวอักษรจีนและเครื่องหมายวรรคตอน 

    ที่มา : https://twitter.com/pasajeenteetaek/status/985905049900498944

    การแบ่งประเภทเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาจีน

        เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาจีนที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งสิ้น 16 ประเภท โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 


    กลุ่มที่ 1 เครื่องหมายวรรคตอนที่มีลัษณะเป็นจุด วงกลมและแต้มในภาษาจีนเรียกว่า "เตี่ยนห้าว" (点号)ประกอบด้วยเครื่องหมาย 7 ประเภท

       เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาจีนทั้ง 7 ประเภทนี้ ส่วนใหญ่วางไว้กลางประโยคและท้ายประโยค สามารถแบ่งกลุ่มตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

        ประเภทที่ 1 ใช้แสดงการสิ้นสุดประโยคหรือข้อความ ได้แก่

           句号  เครื่องหมายจบประโยคบอกเล่า  [ 。]

        ตัวอย่างเช่น 

        我去看电影。    ฉันไปดูหนัง

        今天是星期天。    วันนี้เป็นวันอาทิตย์

           问好    เครื่องหมายคำถาม  [ ?]

        ตัวอย่างเช่น 

        你去看电影吗?    คุณไปดูหนังไหม

        你是哪国人?     คุณเป็นคนประเทศไหน

          叹号    เครื่องหมายอัศเจรีย์  [ !]

        ตัวอย่างเช่น 

        站起来!    ยินขึ้น

        太美了!    สวยงามมากๆ 

        ประเภทที่ 2 ใช้เว้นวรรค ได้แก่ 

          逗号    เครื่องหมายจุลภาค  [ ,] 

        ตัวอย่างเช่น

        今天晚上,我想去看电影。    คืนนี้ฉันจะไปดูหนัง

        我哥哥是医生,姐姐是老师。    พี่ชายของฉันเป็นหมอ พี่สาวเป็นคุณครู

          顿号    เครื่องหมายหยุดพักเสียง  [ 、] 

        ตัวอย่างเช่น

        我家有爸爸、妈妈、哥哥和我。    บ้านฉันมีพ่อ แม่ พี่ชายและฉัน 

        我想买些苹果、葡萄和句子。    ฉันอยากซื้อแอปเปิ้ล องุ่นและส้มซักหน่อย 

        ประเภทที่ 3 ใช้แยกความในประโยคออกจากกันเป็นกลุ่มๆ ได้แก่ 

          分号    เครื่องหมายแยกประโยค  [ ;] 

        ตัวอย่างเช่น

        爷爷,就是爸爸的爸爸;奶奶,就是妈妈的妈妈。    คุณปู่ก็คือพ่อของพ่อ คุณย่าก็คือแม่ของแม่ 

       首先,我们是朋友;其次,我们还是亲戚。    ประการที่ 1 พวกเราเป็นเพื่อนกัน ประการที่ 2 พวกเรายังเป็นญาติกันอีกด้วย

          冒号    เครื่องหมายโคลอน  [ :] 

        ตัวอย่างเช่น

        我家有三口人:爸爸、妈妈和我。    ครอบครัวของฉันมี 3 คน : พ่อ แม่และฉัน 

        小王说:“我打算去泰国旅游。”    เสี่ยงหวางพูดว่า : "ฉันวางแผนไปเที่ยวประเทศไทย" 

    กลุ่มที่ 2 เครื่องหมายวรรคตอนที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อกำกับ เน้นคำหรือข้อความในประโยค เรียกว่า "เปียวห้าว" (标号) ประกอบด้วยเครื่องหมาย 9 ประเภท

        เครื่องหมายวรรคตอน 9 ประเภทข้างต้นยังสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานในภาพรวมได้ดังนี้

        ประเภทที่ 1 ใช้กำกับคำหรือข้อความที่ต้องการเน้น ได้แก่ 

           引号     เครื่องหมายอัญประกาศ  “ ”  

           双引号   เครื่องหมายอัญประกาศคู่  [ “ ” ]  

        ตัวอย่างเช่น

        宋猜说:“欢迎你们来泰国玩儿。“    สมชายพูด : "ยินดีต้อนรับพวกคุณมาเที่ยวประเทศไทย" 

          单引号    เครื่องหมายอัญปรกาศเดี่ยว   [ ‘  ’ ]     

        ตัวอย่างเช่น

        宋猜说:“大家都叫我 ’书呆子’ 。”   สมชายพูด : " ทุกคนต่างเรียกฉันว่า หนอนหนังสือ" 

           着重号     เครื่องหมายเน้นข้อความ  [ .] 

        ตัวอย่างเช่น

        北京是中国的首都。    ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจีน

        ประเภทที่ 2 ใช้หมายเหตุคำหรือข้อความในประโยค ได้แก่ 

           括号     เครื่องหมายวงเล็บ  [ (  )] 

        ตัวอย่างเช่น

        她(我的好朋友)是上海人。    เธอ (เพื่อนที่ดีของฉัน) เป็นคนเซี่ยงไฮ้

        ประเภทที่ 3 ใช้ประกอบในรูปประโยค ได้แก่ 

           破折号     เครื่องหมายยติภังค์  [ —— ] 

        ตัวอย่างเช่น

        他回到了他的家乡——北京。    เขากลับมาถึงบ้านเกิดของเขาแล้ว-ปักกิ่ง  

           省略号     เครื่องหมายจุดไข่ปลา  [ ...... ] 

        ตัวอย่างเช่น

        请问,您是......    ขอถามหน่อย คุณคือ......  

           连接好     เครื่องหมายเชื่อมคำ  [ — ] 

        ตัวอย่างเช่น

        他的泰文名字叫 ”宋猜—翁沙旺“。    ชื่อภาษาไทยของเขาคือ สมชาย-วงศ์สว่าง

           间隔号     เครื่องหมายคั่น  [  ·  ] 

        ตัวอย่างเช่น

        我最喜欢的歌手是迈克尔· 杰克孙。    นักร้องที่ฉันชอบมากที่สุดคือ ไมเคิล แจ็คสัน

       ประเภทที่ 4 ใช้ระบุความสำคัญของคำหรือข้อความในประโยค ได้แก่ 

          书名号     เครื่องหมายชื่อหนังสือ  [ 《  》 ] 

        ตัวอย่างเช่น

        这本小说的名字叫《明天》。     นิทานเล่มนี้มีชื่อว่า พรุ่งนี้ 

          专名号     เครื่องหมายสัญประกาศ  [  _____  ] 

        ตัวอย่างเช่น

       司马迁的《史记》是一部伟大的著作。    สื่อจี้ ของซือหม่าเชียนเป็นตำราประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่ง

       เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีน 

    สรุป

        ในสมัยโบราณ คนจีนเขียนหนังสือโดยไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนเลย ทำให้หนังสือโบราณเป็นหนังสือที่อ่านยาก เพราะไม่รู้ว่าจะแบ้่งคั่นประโยคตรงไหนอย่างไร เพื่อให้เข้าใจจึงจำเป็นต้องชำระเนื้อหาในหนังสือด้วยการตัดแบ่งประโยคด้วยเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ให้เหมาะสม และทำให้อ่านเข้าใจได้ การเรียนภาษาจีนในปัจจุบัน กำหนดให้ผู้เรียนต้องต้องรู้จักใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ อย่างถูกต้อง จะได้เขียนสื่อสารกันให้ตรงความหมาย ส่วนผู้อ่านก็สามารถเข้าใจเนื้อหาของข้อความอย่างถูกต้องตามความหมายของผู้เขียน ดังนั้น การใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ให้ถูกต้อง จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้อักษรหรือคำในการประโยคภาษาจีน


    เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนภาษาจีน 1

    ppt บทที่ 9 เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาจีน

    ใบความรู้การเขียนตัวอักษรจีน

  • บทที่ 10 ประเภทของประโยคภาษาจีน

    บทที่ 10 ประเภทของประโยคภาษาจีน (4 ชั่วโมง)

        หลังจากที่ผู้เรียนสามารถแต่งประโยคและใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้อย่างถูกต้องแล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของประโยคภาษาจีนก็เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งจะที่มองข้ามไปไม่ได้ หากเราเข้าใจถึงประเภทของประโยคภาษาจีนแล้ว จะทำให้เราสามารถแต่งประโยคภาษาจีนได้อย่างเข้าใจและตรงตามวัตุประสงค์ที่เราต้องการจะใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร

    ผลการเรียนรู้

    1. บอกความหมายของประเภทประโยคภาษาจีนได้

    2. บอกประเภทของประโยคภาษาจีนประเภทต่างๆ ได้

    3. เขีนประโยคภาษาจีนโดยใช้รูปแบบของประโยคภาษาจีนในประเภทต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง


    บทนำ

        ชนิดของประโยคภาษาจีน คือ ประเภทประโยคที่ได้จากการแบ่งประเภทตามน้ำเสียง ประเภทของประโยคในภาษาจีนมี 4 ชนิด คือ ประโยคบอกเล่า ระโยคคำภาม ประโยคคำสั่ง และประโยคอุทาน 

    ประเภทของประโยคภาษาจีน 

    ที่มา :https://zh-cn.facebook.com/krupnewsornjeen/photos/a.446520305492520/1707374166073788/?type=3&theater

    ประโยคบอกเล่า 

    ความหมาย

        ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่แสดงด้วยนำ้เสียงการบรรยายหรือชี้แจงข้อเท็จจริง ซึ่งประโยคบอกเล่าเป็นประเภทประโยคที่มีการใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน มักจบด้วยเครื่องหมาย “ 。” เช่น 

        妈妈做饭。    แม่ทำกับข้าว

        今天是星期天。    วันนี้เป็นวันอาทิตย์ 

        昨天我和朋友一起去看电影。   เมื่อคืนฉันไปดูหนังกับเพื่อน

    การแบ่งประเภท

    1. ประโยคยืนยัน คือ ประโยคบอกเล่าที่แสดงด้วยน้ำเสียงยืนยัน ตัวอย่างเช่น

        明天是星期六。    พรุ่งนี้เป็นวันเสาร์

        我认识他。    ฉันรู้จักเขา

    2. ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคบอกเล่าที่แสดงด้วยน้ำเสียงปฏิเสธ ตัวอย่างเช่น

        明天不是星期六。    พรุ่่งนี้ไม่ใช่วันเสาร์

        我不认识他。    ฉันไม่รู้จักเขา

    3. ประโยคปฏิเสธรูปซ้อน คือ ประโยคบอกเล่ารูปปฏิเสธ + ปฏิเสธ เพื่อเน้นน้ำเสียงการยืนยัน ตัวอย่างเช่น

        明天不会不是星期六。    พรุ่งนี้ไม่น่าไม่ใช่วันเสาร์ (พรุ่งนี้เป็นวันเสาร์แน่นอน)

        我不是不认识他。   ฉันไม่ใช่ไม่รู้จักคุณ (ฉันรู็จักคุณอยู่แล้ว) 

    ประโยคคำถาม

    ความหมาย

        ประโยคคำถาม คือ ประโยคที่แสดงด้วยน้ำเสียงการตั้งคำถามหรือสงสัย โครงสร้างจะแตกต่างกันไปตามประเภทประโยคคำถามที่ต่างกัน แต่ไม่ว่าเป็นประโยคคำถามใดก็ตาม โดยทั่วไปแล้วมักจะจบด้วยเครื่องหมายคำถาม " ? " เหมือนๆกัน 

    การแบ่งประเภท

        การแบ่งประเภทประโยคคำถาม แบ่งตามความแตกต่างของโครงสร้างและความหมายหลัก จะสามารถแบ่งได้เป็น  ประเภทย่อยๆ คือ 

    1. ประโยคคำถามถูกผิด คือประโยคคำถามที่ตั้งคำถามแล้วกำหนดให้ตอบว่า "ใช่/ถูก" หรือ "ไม่ใช่/ผิด" ซึ่งมีอยู่  แบบดังนี้ 

        1.1 ประโยคบอกเล่า + น้ำเสียงการถาม + เครื่องหมายคำถาม " ? " ซึ่งก็คือประโยคบอกเล่า หากลงท้ายด้วยนำเสียงสูงแสดงถึงการถาม สงสัยก็กล่ยเป็นประโยคคำถามได้ทันที เช่น 

        他?    เขาหรือ

        他也是泰国人?    เขาก็เป็นคนไทยหรือ

        1.2 ประโยคบอกเล่า + คำเสริมแสดงน้ำเสียงการถาม เช่น “吗、吧、啊” + เครื่องหมายคำถาม " ? "  เช่น

        行吗?    ได้ไหม

        他是你弟弟吗?    เขาเป็นน้องชายเธอใช่ไหม

        你很喜欢打篮球吗?    คุณชอบเล่นบาสมากใช่ไหม 

    2. ประโยคคำถามชี้เฉพาะ คือประโยคคำถามที่ถามส่วนที่ไม่รู้โดยเฉพาะเจาะจง โดยใช้คำสรรพนามมาเป็นคำถามหรือคำสรรพนามแสดงการถาม เช่น ”谁”、“什么”、“哪”、“哪儿”、“怎么样”、“为什么” เป็นต้น เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามตอบคำถามอย่างเจาะจงตามสิ่งที่เราไม่ทราบ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

        2.1 ประโยคคำถามชี้เฉพาะ ที่ได้มาจากการนำคำปฤจฉาสรรพนามมาแทนที่ตำแหน่งส่วนที่ต้องการถามในประโยคบอกเล่าทั่วไป เช่น 

       谁是你的老师?    ใครเป็นอาจารย์ของคุณ

       他姓什么?    เขานามสกุลอะไร

       你住在哪儿?    คุณพักอยู่ที่ไหน

        2.2 ประโยคคำถามชี้เฉพาะที่ประกอบขึ้นมาจาก "ประธาน + ล่ะ" เช่น 

        我叫李可,你呢?    ฉันชื่อหลี่เข่อ แล้วคุณล่ะ 

        我是北京人,你呢?    ฉันเป็นคนปักกิ่ง แล้วคุณล่ะ 

        我住在上海,你呢?      ฉันอาศัยอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ แล้วคุณล่ะ 

    3. ประโยคคำถามที่ให้เลือกตอบ คือประโยคคำถามที่ห้ตัวเลือก 2 ตัว หรือ  ตัวขึ้นไป เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเลือกตอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้โครงสร้างในรูปคงที่ คือ “A 还是 B หรือ 是A......还是B” ในการเชื่อมระหว่างตัวเลือกดังกล่าว ตัวอย่างเช่น 

        对还是错?    ถูกหรือผิด

        你要喝茶还是喝咖啡?    คุณจะดื่มชาหรือว่ากาแฟ

       这个给他还是给我?    อันนี้ให้เขาหรือให้ฉัน

    4. ประโยคคำถามในรูปยืนยันและปฏิเสธ คือประโยคคำถามที่มีบทกิริยาประกอบขึ้นมาจากการเรียงข้อความในรูปยืนยันและรูปปฏิเสธตามลำดับ ซึ่งดูจากความแตกต่างของส่วนประกอบของบทกริยาแล้วเราสามารถแบ่งประเภทประโยคคำถามในรูปยืนยัน-ปฏิเสธนี้ได้เป็น 2 แบบหลักๆ คือ 

        4.1 "คำกริยา + ไม่/ไม่ได้ + คำกริยา" หรือ "คำกริยา + หรือยัง" เช่น 

        去不去?    ไปหรือไม่ไป

        你吃不吃饭?   คุณดื่มชาหรือไม่

        他是不是泰国人?    เขาเป็นคนไทยหรือไม่

        4.2 "คำคุณศัพท์ + ไม่ + คำคุณศัพท์" หรือ "คำคุณศัพท์ + หรือยัง" เช่น 

        对不对?    ถูกหรือไม่

        这茶好不好喝?   ชานี้อร่อยหรือไม่

        你累了没有?    คุณเหนื่อยหรือยัง

    ประโยคคำสั่ง

    ความหมาย

        ประโยคคำสั่ง คือ ประโยคแสดงน้ำเสียงที่ต้องการให้ผู้อื่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรืออจจะไม่ต้องการให่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้ ซึ่งน้ำเสียงที่ใช้จะหนักกว่าประโยคบอกเล่า มักจบประโยคด้วยเครื่องหมายอุทาน “ !” (กรณีน้ำเสียงค่อนข้างอ่อนนั้นสามารถจบประโยคด้วยเครื่องหมายบอกเล่า “。” ) มักจะใช้เพื่แสดงความหมายในการสั่ง ห้าม ขอร้อง ตักเตือน กำชับ ยื่นข้อเสนอ ฯลฯ 

    การแบ่งประเภท

        ตามความหมายที่ใช้น้ำเสียงที่ต่างกัน สามารถแบ่งประโยคคำสั่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

        3.1 น้ำเสียงแข็งกร้าว แสดงการสั่งหรือการห้าม 

       立正!    แถวตรง

       出去!    ออกไป

       让他进来!    ใ้ห้เขาเข้ามา 

        3.2 น้ำเสียงค่อนข้าางผ่อนคลาย แสดงการขอร้องหรือการตักเตือน

        请让一下!    ขอทางหน่อย

        您请坐啊!    เชิญนั่งลงสิ 

       麻烦你帮帮忙吧!    รบกวนคุณช่ยหน่อยนะ

    ประโยคอุทาน

    ความหมาย

        ประโยคอุทาน คือ ประโยคที่แสดงด้วยน้ำเสียงเข้มข้นของอารมณ์ต่างๆ จบประโยคด้วยเครื่องหมายอุทาน “!” เสมอ มักจะใช้ในการแสดงอารมณ์อันเข้มข้นรุนแรงอย่างตกใจ อุทาน ดีใจ มีความสุข เป็นทุกข์ โศกเศร้า โมโห เป็นต้น 

    การแบ่งประเภท

        ตามวิธีในการแสดงออกที่ต่างกัน สามารถแบ้่งประโยคอุทานได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

        4.1 ประเภทที่ 1 คือ ประโยคอุทานที่ใช้ประเภทคำ เช่น คำอุทาน คำเสริมน้ำเสียง และคำกริยาวิเศษณ์บอกระดับความเข้มข้น ซึ่งในการแสดงอารมณ์อันเข้มข้นรุนแรง คำอุทาน และคำเสริมน้ำเสียงที่ใช้บ่อยมี “啊、呀、哦” เป็นต้น คำกริยาวิเศษณ์บอกระดับความเข้มข้นที่ใช้บ่อยมี “真(是/的)、太......了、多(么)、极了” ฯลฯ ตัวอย่างเช่น

        真漂亮!    สวยจริงๆ 

        真的好漂亮啊!    สวยมากๆ เลยจริงๆ 

        真是漂亮极了!    สวยสุดๆ เลยจริงๆ 

        4.2 ประเภทที่ 2 คือ ประโยคอุทานที่ใช้เฉพาะน้ำเสียงเพียงอย่างเดียว เพื่อแสดงถึงการเน้นอารมณ์ ซึ่งน้ำเสียงของประโยคอุทานประเภทนี้มีลักษณะเด่นคือการเปลี่ยนน้ำเสียงสูงต่ำ ตัวอย่างเช่น 

        好!    ดี / เยี่ยม

        干净!   สะอ๊าดสะอาด

        干得漂亮!    ทำได้ดีมากๆ เลยทีเดียว

    สรุป

         ประเภทของประโยคที่กล่าวมาข้างต้น หมายถึง การจำแนกประเภทของประโยคจากมุมมองของการใช้น้ำเสียงเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ประโยคภาษาจีนส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสี่ประเภท คือ ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม ประโยคคำสังและประโยคอุทาน แต่ละหมวดหมู่เหล่านี้มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ในเรียนภาษาจีนผู้เรียนจะต้องเข้าใจถึงประเภทของประโยคภาษาจีนเพื่อที่จะสามารถสร้างประโยคภาษาจีนได้อย่างถูกต้องตามแต่ละประเภท 


    เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนภาษาจีน 1

    ppt บทที่ 10 ประเภทของประโยคภาษาจีน

    ใบความรู้การเขียนตัวอักษรจีน