โครงสร้างหัวข้อ

  • รายละเอียดรายวิชา

    4116212 พลังงานทดแทน 1 Renewable Energy 1

    อาจารย์ผู้สอน

    1. อ.ดร.รอมสัน หมาดมานัง
    2. อ.ลุตฟี สือนิ
    คำอธิบายรายวิชา
            สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนาทางพลังงานทดแทน เทคโนโลยีและภาพรวมของแหล่งพลังงานทดแทน การใช้พลังงานทดแทน เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ประกอบด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานจากชีวภาพ การจัดการพลังงาน การศึกษาดูงานนอกสถานที่
    จุดมุ่งหมายของรายวิชา
          1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสถานสถานการณ์พลังงานทดแทนในทั้งในประเทศไทยและสถานการณ์โลกปัจจุบัน
          2. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีทางพลังงานทดแทนจากอดีตถึงปัจจุบัน และสามารถวิเคราะห์แนวโน้มพลังงานทดแทนในอนาคตได้
          3. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจหลักการทำงานและการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานจากชีวภาพ
          4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอแนวทางการจัดการพลังงานในอาคารภาครัฐ และเอกชนได้
    วัตถุประสงค์
            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งของพลังงานทดแทนเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด และทันต่อเหตุการณ์และเทคโนโลยที่เป็นปัจจุบัน

  • บทที่ 1

    • Folder icon

               บทที่ 1

      สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนาทางพลังงานทดแทน 

      1.1 บทนำ

              ปัจจุบัน พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ความต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่แหล่งพลังงานหลักอย่างถ่านหินมีปริมาณจำกัด ทำให้มูลค่าของพลังงานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้ถ่านหินต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงทำให้มนุษย์มีพยายามค้นหาแหล่งพลังงานจากแหล่งอื่นเพื่อมาทดแทนแหล่งพลังงานเดิมที่เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดและเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติถึง 46% ซึ่งต้องอาศัยนำเข้าก๊าซธรรมชาติ 20% โดยเมื่อพิจารณาการใช้ก๊าซธรรมชาติภายในประเทศ พบว่า ถูกนำไปใช้ในการลิตไฟฟ้าสูงถึง 60 % โดยการผลิตก๊าซภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าแนวโน้มการใช้พลังงานยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยจะมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะต้นทุนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติสูงกว่าที่ผลิตในประเทศมาก ซึ่งส่งผลต่อการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาประเทศ

  • บทที่ 2

    • Folder icon

      สถานการณ์พลังงานและการใช้พลังงานของประเทศไทย

               รายงานสถานการณ์พลังงานของกระทรวงพลังงาน ปี 2561 ในภาพรวม พบว่า การใช้พลังงานขั้นต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ขณะที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GDP) 9 เดือนแรก ของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชน รวมถึงการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวต่อเนื่อง ตลอดจนการขยายตัวของการผลิตทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจทั้งสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขายส่ง และขายปลีกสถานการณ์พลังงานและการใช้พลังงานของประเทศไทย

              สำหรับปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย พบว่า ใน พ.ศ. 2560 การใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังแสดงในภาพที่ 3.6 นั่นคือ การใช้พลังงานทดแทน 11,731 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.15 จาก พ.ศ. 2559 โดยมีการใช้พลังงานทดแทนในรูปของไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอลและไบโอดีเซล) คิดเป็นร้อยละ 13.47 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าและความร้อนที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทน มีปริมาณ 2,473 และ 7,322 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ตามลำดับ ส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมีปริมาณการใช้ ประกอบด้วย เอทานอล 733 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และไบโอดีเซล 1,203 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อพิจารณาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551-2560)   

            

  • บทที่ 3

    • Folder icon

                สถานการณ์พลังงานและการใช้พลังงานโลก การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานครั้งสำคัญกำลังเกิดขึ้น โดยมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกับพลังงานของโลกในอนาคต ซึ่งรวมถึงจุดมุ่งหมายและนโยบายของรัฐในการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แสดงให้เห็นเจตจำนงที่สำคัญของรัฐบาลประเทศต่างๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG) ผ่านความตกลงในการมีส่วนร่วมของประเทศต่างๆ (Nationally Determined Contributions หรือ NDCs) การปรับใช้นโยบายต่างๆ เพื่อสนับสนุน NDCs ย่อมจะส่งผลกระทบกับอุปทานและการใช้พลังงานของทุกส่วนในสังคม เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโต และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านภูมิอากาศอย่างมีนัยสำคัญตามความตกลงปารีส จำเป็นต้องอาศัยการกำหนดนโยบายที่ดีและโปร่งใส โดยเปรียบเทียบอย่างระมัดระวังระหว่างค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ นโยบายดังกล่าวจะช่วยจัดการความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และช่วยให้สังคมสามารถบรรลุเป้าหมายสำคัญอื่นๆ ซึ่งครอบคลุมเรื่องของอากาศและน้ำที่บริสุทธิ์ การเข้าถึงพลังงานที่เชื่อถือได้ในราคาที่เหมาะสม และความเติบโตทางเศรษฐกิจของทุกคน

              ในปี 2583 โลกจะใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงเหลวอื่นๆ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) และนิวเคลียร์มากที่สุด ในสัดส่วนร้อยละ 83 และใช้พลังงานหมุนเวียน (ลม แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ) ร้อยละ 9 และพลังงานน้ำร้อยละ 8 นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ด้วยว่า ระหว่างปี 2558-2583 ประเทศในกลุ่ม OECD (ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศในยุโรป) จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ขณะที่ประเทศนอกกลุ่ม OECD จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 5.5 พันล้านตัน สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง เมื่อเทียบกับปริมาณที่ปล่อยในปี 2558 และน้อยกว่าปี 2548 ร้อยละ 19 โดยปี 2548 เป็นปีสหรัฐอเมริกาปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด ถึง 6 พันล้านตัน การใช้ก๊าซธรรมชาติที่เติบโตขึ้นเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีการขุดเจาะ ทำให้ต้นทุนของก๊าซธรรมชาติมีราคาถูกกว่าถ่านหิน และช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่ม OECD อย่างไรก็ตาม การใช้ถ่านหินจะยังคงก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลก และจีนจะยังคงใช้ถ่านหินมากที่สุดในโลก

  • บทที่ 4

    • Folder icon

      พลังงานแสงอาทิตย์

              โลกได้รับพลังงานส่วนใหญ่จากแสงอาทิตย์ โดยแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนพื้นโลกคิดตามแนวตัดขวางเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 178,000 ล้านล้านวัตต์ สะท้อนกลับสู่อวกาศในรูปของรังสีช่วงคลื่นสั้น เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต ประมาณ 35% ถูกดูดกลืนโดยบรรยากาศโลกประมาณ 43% และแผ่กลับคืนบรรยากาศในรูปคลื่นยาว เช่น รังสีอินฟราเรด ประมาณ 22% แสงสว่าง และความร้อน ที่ถูกสร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์ทุกๆ วัน ดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานได้เป็นจำนวนมหาศาล รวมทั้งแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ไม่มีวันหมดอีกด้วย นอกจากนี้ พลังงานแสงอาทิตย์ยังถือเป็นพลังงานสะอาด และเป็นพลังงานทางเลือกสำหรับมนุษย์ใช้แทนที่พลังงานจากฟอสซิล อีกด้วย ดวงอาทิตย์ คือดาวขนาดยักษ์ที่เต็มไปด้วยก๊าซซึ่งประกอบด้วย ไฮโดรเจน และ ฮีเลี่ยม ภายในแกนของดวงอาทิตย์ ปฏิบัติการที่เรียกว่า การปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ได้สร้างพลังงานจำนวนมหาศาลที่เกิดจากไฮโดรเจน ภายในแกน และผสมผสานกันกลายเป็นก๊าซฮีเลียม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ทำการปลดปล่อยพลังงานจากแกนของดาวออกมาสู่พื้นผิว ระหว่างที่เดินทางมาสู่พื้นผิวดวงอาทิตย์ พลังงานดังกล่าวจะใช้เวลาในการแปรสภาพเป็นพลังงานแสงสว่าง แสงสว่างนี้คือสิ่งที่เรียกว่าแสงอาทิตย์ จากบันทึกของ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) แสงอาทิตย์เดินทางมายังโลกด้วยความเร็วแสง หรือประมาณ 186,000 ไมล์ต่อวินาที ทำให้แสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกเพียงแค่ 8 นาทีเท่านั้น ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลก พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาด ไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ อันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 44 เปอร์เซนต์ ในส่วนของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ (เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ ใต้ด้วย

                นอกจากนี้ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สะอาดและไม่มีวันสิ้นสุด แต่ปัญหาสำคัญในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นั้น คือ พื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพราะพื้นที่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะต้องเป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ ดังนั้นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำอยู่ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำอยู่ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ยังมีข้อดีมากมาย เช่น ความเย็นของน้ำจะทำให้การทำงานของแผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และแผงโซล่าบดบังแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบผิวน้ำ ทำให้ช่วยลดการเติบโตของสาหร่ายใต้น้ำ และลดการระเหยของน้ำในอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ดังนั้นในหลายประเทศจึงได้มีการออกแบบและก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์ที่สามารถติดตั้งไว้บนผิวน้ำในทะเลสาบขนาดใหญ่ได้ด้วย


                ภาพ ปริมาณการรับและคายรังสีอาทิตย์ของผิวโลกและชั้นบรรยากาศ 

                ที่มา (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2557)

  • บทที่ 5 พลังงานลม

    • แหล่งข้อมูล icon

      พลังงานลม Wind Energy

             พลังงานลมจัดเป็นพลังงานหมุนเวียนชนิดหนึ่งซึ่งใช้ไม่มีวันหมดและปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งนี้หลายประเทศทั่วโลกให้ความสนใจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม

      ชนิดของกังหันลม

              ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมเพื่อใช้สำหรับผลิตไฟฟ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศทั่วโลกได้ให้ความสนใจ โดยเฉพาะในทวีปยุโรป กังหันลมที่ได้มีการพัฒนากันขึ้นมานั้น มีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าจำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของกังหันจะได้ 2 แบบ คือ

      1) กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)


      กังหันลมแบบแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)

      ที่มา (EF society, 2560)

      เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางของลมโดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม มีอุปกรณ์ควบคุมกังหันให้หันไปตามทิศทางของกระแสลม เรียกว่า หางเสือ และมีอุปกรณ์ป้องกันกังหันชำรุดเสียหายขณะเกิดลมพัดแรง เช่น ลมพายุและตั้งอยู่บนเสาที่แข็งแรง กังหันลมแบบแกนนอน ได้แก่ กังหันลมวินด์มิลล์ ( Windmills) กังหันลมใบเสื่อลำแพน นิยมใช้กับเครื่องฉุดน้ำ กังหันลมแบบกงล้อจักรยาน กังหันลมสำหรับผลิตไฟฟ้าแบบพรอบเพลเลอร์ (Propeller)

      2) กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)

      เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ ซึ่งทำให้สามารถรับลมในแนวราบได้ทุกทิศทาง กังหันลมแบบแนวแกนนอนเป็นแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากออกแบบให้เป็นชนิดที่ขับใบกังหันด้วยแรงยก แต่อย่างไรก็ตาม กังหันลมแบบแนวแกนตั้ง ซึ่งได้รับการพัฒนามากในระยะหลังก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากข้อดีกว่าแบบแนวแกนนอนคือ ในแบบแนวแกนตั้งนั้นไม่ว่าลมจะเข้ามาทิศไหนก็ยังหมุนได้ โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมให้กังหันหันหน้าเข้าหาลม นอกจากนี้แล้วแบบแนวแกน ดังนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบการส่งกำลังวางไว้ใกล้พื้นดินมากกว่าแบบแกนนอน เวลาเกิดปัญหาแก้ไขง่ายกว่าแบบแกนนอนที่ติดอยู่บนหอคอยสูง


      กังหันลมแบบแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)

      ที่มา (EF society, 2017)

  • บทที่ 6 พลังงานน้ำ

    • แหล่งข้อมูล icon

      วัฏจักรของน้ำ (Hydrologic Cycle)

             น้ำเป็นสารประกอบที่เกิดจากไฮโดรเจนและออกซิเจนมีสถำนะเป็นของเหลวมีมำกในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งโลกมีบริเวณที่เป็นมหาสมุทรประกอบอยู่ถึง 3 ใน 4 ส่วน พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกำรหมุนเวียนเป็นวัฏจักรของน้ำขึ้น เมื่อน้ำบนโลกได้รับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ จะทำให้น้ำบนผิวโลกตำมแหล่งต่างๆ ระเหยกลายเป็นไอน้ำและลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นจะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้น เรียกว่า วัฏจักรธรรมชาติของน้ำ ซึ่งทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอย่างสม่ำเสมอ

  • บทที่ 7 พลังงานความร้อนใต้พิภพ

  • บทที่ 8 พลังงานชีวมวลและชีวภาพ

  • บทที่ 9

    • Folder icon

      ขั้นตอนการจัดการพลังงาน

               ตามขอกำหนดของกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑและวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 ซึ่งกำหนดใหโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม จำเปนตองเริ่มใหมีวิธีการจัดการพลังงานเพื่อใหเกิดการใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยวิธีการจัดการพลังงานนั้นตองมีการปฏิบัติอยางเปนขั้นตอน รวมทั้งมีการวางแผนการดำเนินการที่ดีและเหมาะสมกับองคกร เพื่อใหบรรลุตามเปาหมายของการจัดการพลังงาน การดำเนินการสามารถแบงออกไดเปน 8 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การแตงตั้งคณะทำงานดานการจัดการพลังงาน (2) การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องตน (3) การกำหนดนโยบายอนุรักษพลังงาน (4) การประเมินศักยภาพการอนุรักษพลังงาน (5) การกำหนดเปาหมายและแผนอนุรักษพลังงาน และแผนการฝกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษพลังงาน (6) การดำเนินการตามแผนอนุรักษพลังงาน และการตรวจสอบและวิเคราะหการปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษพลังงาน (7) การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน (8) การทบทวน วิเคราะหและแกไขขอบกพรองของการจัดการพลังงาน

  • บทที่ 10

    • Folder icon

               การจัดการพลังงาน

      บทนำ

               ด้วยสถานการณ์การใช้พลังงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่แหล่งพลังงานมีแนวโน้มลดลงในปัจจุบัน ทุกองค์กรหรือหน่วยงานจึงมีความตื่นตัวและเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการพลังงานกันมากขึ้น เพื่อให้องค์กรมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมีความยั่งยืน อันเป็นผลมาจากการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม และปฏิบัติด้วยความตั้งใจ เข้าใจ และร่วมมือกันทุกฝ่าย มีการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างคุ้มค่าหรือน้อยที่สุด แต่บรรลุเป้าหมายตามความต้องการ

              ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์ พ.ศ. 2535 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2535 โดยมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้เกิดวินัยในการอนุรักษ์พลังงานและมีการลงทุนในการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและอาคารเป็นสำคัญ และมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และครอบคลุมกิจกรรมการใช้พลังงานทุกภาคส่วน โดยได้ปรับปรุงเค้าโครงการดำเนินการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายต่อผู้ปฎิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งเพิ่มเติมรายละเอียดทางเทคนิค การเปลี่ยนแปลงตามการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม โดยรัฐมนตรีสามารถออกประกาศเพื่อเปิดโอกาสให้มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายที่เป็นรายละเอียดได้รวดเร็วและปฏิบัติได้ทันท่วงที และสำหรับการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ได้กำหนดให้เจ้าของกิจการดำเนินการจัดการพลังงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์และการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ดังนั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้พัฒนาวิธีการจัดการพลังงาน เป็นการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานทั้งทางพฤติกรรม จิตสำนึก วิธีการจัดการการใช้พลังงาน และเทคนิควิธีการทางวิศวกรรมที่ได้บูรณาการอย่างมีระบบ สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรแต่ละแห่ง โดยกฎกระทรวงมีแนวทางการจัดทำตามการอ้างอิงมาตรฐานต่างๆ ที่เป็นสากล เช่น ISO9001:2000 ISO14001 มอก.18001 ANSI/MSE2000 A Manager System for Energy และ DA2403E:2001 Energy Management-Specificatiobs.