โครงสร้างหัวข้อ

  • แนะนำรายวิชาการเมืองไทยกับการพัฒนา (สัปดาห์ที่ 1)

    รายละเอียดประจำสัปดาห์

    ให้นักศึกษา ศึกษารายละเอียดการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการเมืองไทยกับการพัฒนาโดยมีเนื้อการการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ เกณฑ์การให้คะแนน และให้นักศึกษา ดำเนินการดังนี้

    1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดย click แบบทดสอบ

    2. เข้าเรียนตามห้องเรียนออนไลน์ตามลิงค์ที่แนบ

    หากมีข้อสงสัยหรือเข้ากลุ่มไม่ได้ ให้ติดต่ออาจารย์ค่ะ ที่ 0929545435 หรือ Line Id: ninus.m

  • แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา (สัปดาห์ที่ 2-3)

    รายละเอียดเนื้อหาประจำสัปดาห์

    แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา

    - ความหมายของการพัฒนา

    - ความเป็นมาของการพัฒนา

    - ความหมายของชุมชน

    - ปรัชญาของการพัฒนาชุมชน

    - หลักการและกระบวนการพัฒนาชุมชน

    คำชี้แจงประจำสัปดาห์

    1. ให้นักศึกษาเข้าเรียนตามเวลาเรียน
    2. ศึกษาเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ
    3. ทำแบบฝึกหัดท้ายบท ชิ้นงานที่ 1 ส่งก่อนเรียนสัปดาห์ถัดไปค่ะ
    4. นักศึกษาส่งหัวข้องานวิจัยกลุ่ม
  • วาทกรรมด้านการพัฒนาตามกระแสสังคม (สัปดาห์ที่ 4-5)

    รายละเอียดเนื้อหาประจำสัปดาห์

    วาทกรรมด้านการพัฒนาตามกระแสสังคม

    - ยุคการพัฒนา

    - ทฤษฎีการสร้างความทันสมัย

    - ปฏิบัติการของการพัฒนาในยุค "พัฒนา"

    คำชี้แจงประจำสัปดาห์

    1. ให้นักศึกษาดูคลิปประวัติศาสตร์โลก 1,000,000 ปี ก่อนเข้าเรียนตามเวลาเรียน
    2. ศึกษาเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ
    3. ทำแบบฝึกหัดท้ายบท ชิ้นงานที่ 2 ส่งก่อนเรียนสัปดาห์ถัดไปค่ะ
  • เศรษฐศาสตร์การเมือง (สัปดาห์ที่ 8-9)

    รายละเอียดเนื้อหาประจำสัปดาห์

    เศรษฐศาสตร์การเมือง

    - ความคิดเรื่อง "ปัจเจก" กับ "รัฐ"

    - ความคิดเรื่อง "งาน" และ "การค้าเสรี"

    - จิตวิญญาณแบบทุนนิยม

    - แนวคิดมาร์กซิสต์กับการเมือง

    - ยุคทุนนิยม

    คำชี้แจงประจำสัปดาห์

    1. ให้นักศึกษาเข้าเรียนตามเวลาเรียน
    2. ศึกษาเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ
    3. ศึกษาคลิปวีดีโอ เสรีนิยมกับอิสลาม
  • โลกาภิวัตน์กับการพัฒนา (สัปดาห์ที่ 11-15)

    Highlighted

    รายละเอียดเนื้อหาประจำสัปดาห์

    โลกาภิวัตน์กับการพัฒนา

    -ข้อถกเถียงและภาคปฏิบัติของการ "พัฒนา"

    -วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบ

    - แนวทางการพัฒนาทางเลือกในแบบต่างๆ และแนวโน้มของการพัฒนาในปัจจุบัน

    คำชี้แจงกิจกรรมกลุ่ม

    การสังเคราะห์ปัญหากับการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ 

    1.ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 3 คน หรือ จะดำเนินงานเป็นคู่ 2 คน ตามความสมัครใจ

    2. นักศึกษาเลือกพื้นที่ชุมชนในการดำเนินงานศึกษาโดยยึดพื้นฐานจากกระบวนการวิจัยและพื้นที่เดียวกันกับรายวิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง

    3. ศึกษาพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในทุกมิติ

    4. วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการพัฒนาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น การสัมภาษณ์ การจัดสนทนากลุ่ม การจัดเวทีประชาคม

    5. ใช้เทคนิคหรือกระบวนการตามทฤษฎีการพัฒนาหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลและแผนการพัฒนา

    6. นำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

    7. ส่งรูปเล่มรายงาน 5 บท ประกอบด้วย

    คำนำ

    สารบัญ

    บทที่ 1   ความเป็นมาและความสำคัญของพื้นที่ชุมชน

    ความเป็นมาและความสำคัญของพื้นที่/กลุ่ม

    - เนื้อหาของชุมชนในทุกมิติ เช่น ประวัติชุมชน ข้อมูลทางด้านโครงสร้างสาธารณูปโภค วัฒนธรรมประเพณี ประชากร สถานที่ท่องเที่ยว จุดเด่น จุดอ่อน ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เป็นต้น โดยเน้นเรื่องที่เราสนใจจากการลงพื้นที่

    -วัตถุประสงค์ 

    1.เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ในการดำเนินงานวิจัย 

    2.เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางการพัฒนาของพื้นที่ในการดำเนินการวิจัย

     บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

     - ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับประเด็นปัญหาที่สนใจ

      - งานวิจัยหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหรือพื้นที่   

    บทที่ 3  ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน

    - กลุ่มเป้าหมายการศึกษา

      - ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า

      - การเก็บรวบรวมข้อมูล (เครื่องมืออะไรที่เราใช้ในการเก็บข้อมูล และเก็บอย่างไร)

      - การวิเคราะห์ข้อมูล

      - ระยะเวลาในการศึกษา (แผนการดำเนินงาน)

    บทที่ 4  ผลการดำเนินงาน 

    - ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เช่น

               - บริบทพื้นที่

               - ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาชุมชน/กลุ่ม

              - แผนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาชุมชน/กลุ่ม

    บทที่ 5   อภิปรายผล /ข้อเสนอแนะ

    - อภิปรายสังเคราะห์ผลตามแนวคิด หลักทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาที่ได้ศึกษา

    บรรณานุกรม

    ภาคผนวก 

      - ภาพกิจกรรมการลงพื้นที่เก็บข้อมูล

     - แบบสัมภาษณ์

     - แบบสอบถาม

     - รายชื่อผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์

     - รายชื่อผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม

     - หนังสือเชิญ กำหนดการ คำสั่งและเอกสารราชการคณะผู้จัดทำ

    รายชื่อสมาชิกกลุ่ม เรียงตามรหัสนักศึกษา