โครงสร้างหัวข้อ

    • การสำรวจ icon

      คำนำ

       

      เอกสารประกอบการสอน รายวิชากฎหมายลักษณะตั๋วเงิน รหัสวิชา 2135214  นี้ได้แบ่ง เนื้อหาในการเรียนการสอนไว้ 15 สัปดาห์ และแบ่งหัวข้อไว้ 7 หัวข้อ แต่ละหัวข้อเรื่อง ใช้เวลาการสอนไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ เฉลี่ยตามความยากง่ายของเนื้อหา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการเขียน วินิจฉัย และปรับข้อเท็จจริง โดยเฉพาะ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะที่ 21 บัญญัติเรื่องตั๋วเงินไว้ตั้งแต่มาตรา 898 ถึงมาตรา 1011 ซึ่งตั๋วเงิน นี้ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินโดยเฉพาะ ไม่นำเอาบทบัญญัติในเรื่องอื่นๆ มาใช้บังคับ

      ผู้สอนควรได้ศึกษารายละเอียดแต่ละหัวข้อเรื่องที่สอนจากเอกสาร หนังสือ ตำรา หรือสื่ออื่นๆ ตลอดจนคำพิพากษาฎีกาใหม่ๆ และนำเอาคำพิพากษาฎีกาที่สำคัญเพิ่มเติมอีก หวังว่าเอกสารประกอบการสอนนี้คงอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอนตามสมควร หากท่านที่นำไปใช้มีข้อเสนอแนะ ผู้เขียนยินดีรับฟังข้อคิดเห็นต่างๆ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

       

        อารีฟ  มะเกะ

       6 มิถุนายน 2565

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      สารบัญ

       

      หน้า

      คำนำ                                                                                                          (1)

      สารบัญ                                                                                                        (2)

      สารบัญภาพ                                                                                                  (4)

      แผนบริหารการสอนประจำวิชา                                                                            (5)

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 1                                                                        1

      บทที่ 1  บทนำ                                                                                               2

                1. วิวัฒนาการของกฎหมายตั๋วเงิน                                                               2

                2. สภาพของกฎหมายตั๋วเงิน                                                                     3

                3. คำนิยาม ประเภท และประโยชน์ของตั๋วเงิน                                                4

                4. มาตราสำคัญและตัวบทย่อ                                                                    7

      บทสรุป                                                                                                       11

      แบบฝึกหัดท้ายบท                                                                                          13

      เอกสารอ้างอิง                                                                                                14

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 2                                                                        15

      บทที่ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป                                                                                16

                1. ตั๋วเงิน                                                                                           15

                2. ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อ                                                                17

                3. การผ่อนเวลา                                                                                   20

                4. ผู้ทรง                                                                                            22

      บทสรุป                                                                                                       26

      แบบฝึกหัดท้ายบท                                                                                          29

      เอกสารอ้างอิง                                                                                                30

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3                                                                        31

      บทที่ตั๋วแลกเงิน                                                                                          32

                1. ความหมายชองตั๋วแลกเงิน                                                                    32

                2. วันถึงกำหนดใช้เงิน                                                                             34

                3. การสลักหลัง                                                                                    35

                4. การโอนตั๋วเงิน                                                                                  39

                5. การอาวัล                                                                                        42

                6. การไล่เบี้ย                                                                                       49

      บทสรุป                                                                                                       52

      แบบฝึกหัดท้ายบท                                                                                          55

      หน้า

      เอกสารอ้างอิง                                                                                                57

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4                                                                        58

      บทที่ ตั๋วสัญญาใช้เงิน                                                                                    59

                1. ความหมายตั๋วสัญญาใช้เงิน                                                                   59

                2. การสลักหลัง                                                                                    62

                3. การโอนตั๋วสัญญาใช้เงิน                                                                       63

                4. การอาวัล                                                                                        66

      บทสรุป                                                                                                       67

      แบบฝึกหัดท้ายบท                                                                                          70

      เอกสารอ้างอิง                                                                                                71

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5                                                                        72

      บทที่ เช็ค                                                                                                  73

                1. ลักษณะเบื้องต้นของเช็ค                                                                       73

                2. กำหนดเวลานำเช็คยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงิน                                                 76

                3. ธนาคารรับรองตั๋วเงิน                                                                          79

                4. เช็คขีดคร่อม                                                                                    80

      บทสรุป                                                                                                       83

      แบบฝึกหัดท้ายบท                                                                                          86

      เอกสารอ้างอิง                                                                                                88

      แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6                                                                        89

      บทที่ อายุความ                                                                                           90

                1. อายุความฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน/หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน                             90

                2. อายุความผู้ทรง ฟ้องผู้สลักหลัง หรือผู้สั่งจ่าย                                               91

                3. อายุความผู้สลักพลังฟ้องไล่เบี้ยกันเองหรือฟ้องไล่เบี้ย สั่งจ่าย                            93

      บทสรุป                                                                                                       95

      แบบฝึกหัดท้ายบท                                                                                          97

      เอกสารอ้างอิง                                                                                                98

      แผนบริหารการสอนประจำบททึ่ 7                                                                        99

      บทที่ การปลอม การแก้ไขตั๋วเงิน                                                                       100

                1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในตั๋วเงิน                                                     100

                2. ธนาคารใช้เงินโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อ                                  108

      บทสรุป                                                                                                       109

      แบบฝึกหัดท้ายบท                                                                                          114

      เอกสารอ้างอิง                                                                                                115

      บรรณานุกรม                                                                                                 116

      สารบัญภาพ

       

      หน้า

       

      ภาพประกอบที่ 1                                                                                            37

      ภาพประกอบที่ 2                                                                                            43

      ภาพประกอบที่ 3                                                                                            45

      ภาพประกอบที่ 4                                                                                            51

      ภาพประกอบที่ 5                                                                                            80

      ภาพประกอบที่ 6                                                                                            94

      ภาพประกอบที่ 7                                                                                            94

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       


       


  • รายละเอีดของวิชา มคอ 3

    แบบวางแผนการทำเอกสารประกอบการสอน

     

    รหัสวิชา 2156108

    รายวิชา  กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน                                                     3(3-0-6)

              (Negotiable Instruments and Current Accounts)

     

    คำอธิบายรายวิชา

     

    ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด อันได้แก่ หลักทั่วไปเกี่ยวกับตั๋วเงิน ตั๋วแลกเงิน การรับรองและอาวัล เป็นต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 รวมทั้งศึกษาถึงตราสารเปลี่ยนมือประเภทต่างๆ

     

    วัตถุประสงค์ทั่วไป

     

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด อันได้แก่ หลักทั่วไปเกี่ยวกับตั๋วเงิน ตั๋วแลกเงิน การรับรองและอาวัล เป็นต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 รวมทั้งศึกษาถึงตราสารเปลี่ยนมือประเภทต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตั๋วเงินประเภทต่างๆ ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    3. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำเอา ตั๋วเงินไปใช้ให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

    4. เพื่อให้ผู้เรียนนำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้งานได้จริง แก้ไขสถานการณ์อันเกี่ยวกับการทำสัญญาเฉพาะเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง

    5. เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบรรพ 3 ตั๋วเงิน เพื่อนำเอาไปใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษากฎหมายในระดับสูงขึ้นและใช้งานควบคู่กับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบรรพอื่น รวมถึงกฎหมายทางด้านธุรกิจอื่นๆ ต่อไป

     

    เนื้อหา

     

    บทที่ 1  บทนำ                                                                                     3 ชั่วโมง

    1. วิวัฒนาการของกฎหมายตั๋วเงิน

    2. สภาพของกฎหมายตั๋วเงิน

    3. คำนิยม ประเภท และประโยชน์ของตั๋วเงิน

    4. มาตราสำคัญและตัวบทย่อ

    บทสรุป

    แบบฝึกหัดท้ายบท

    เอกสารอ้างอิง

    บทที่ 2  บทเบ็ดเสร็จทั่วไป                                                                       6 ชั่วโมง

    1. ตั๋วเงิน

    2. ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อ

    3. การผ่อนเวลา

    4. ผู้ทรง

    บทสรุป

    แบบฝึกหัดท้ายบท

    เอกสารอ้างอิง

    บทที่ 3  ตั๋วแลกเงิน                                                                                18 ชั่วโมง

    1. ความหมายชองตั๋วแลกเงิน

    2. วันถึงกำหนดใช้เงิน

    3. การสลักหลัง

    4. การโอนตั๋วเงิน

    5. การอาวัล

    6. การไล่เบี้ย

    บทสรุป

    แบบฝึกหัดท้ายบท

    เอกสารอ้างอิง

    บทที่ 4  ตั๋วสัญญาใช้เงิน                                                                          3 ชั่วโมง

    1. ความหมายของตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. การสลักหลัง

    3. การโอนตั๋วสัญญาใช้เงิน

    4. การอาวัล

    บทสรุป

    แบบฝึกหัดท้ายบท

    เอกสารอ้างอิง

    บทที่ 5  เช็ค                                                                                        9 ชั่วโมง

    1. ลักษณะเบื้องต้นของเช็ค

    2. กำหนดเวลานำเช็คยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงิน

    3. ธนาคารรับรองตั๋วเงิน

    4. เช็คขีดคร่อม

    บทสรุป

    แบบฝึกหัดท้ายบท

    เอกสารอ้างอิง

    บทที่ 6  อายุความ                                                                                 3 ชั่วโมง

    1. อายุความฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน/หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. อายุความผู้ทรง ฟ้องผู้สลักหลัง หรือผู้สั่งจ่าย

    3. อายุความผู้สลักพลังฟ้องไล่เบี้ยกันเองหรือฟ้องไล่เบี้ย สั่งจ่าย

    บทสรุป

    แบบฝึกหัดท้ายบท

    เอกสารอ้างอิง

    บทที่ 7  การปลอม การแก้ไข ตั๋วเงิน                                                            3 ชั่วโมง

    1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในตั๋วเงิน

    2. ธนาคารใช้เงินโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อ

    บทสรุป

    แบบฝึกหัดท้ายบท

    เอกสารอ้างอิง

     

    วิธีการสอนและกิจกรรม

     

    1.เข้าสู่เนื้อหาบทนำ บรรยายประกอบ ตัวบทกฎหมาย

    2.สรุปและซักถาม

    3. กิจกรรมในชั้นเรียน

    4. นักศึกษาค้นหาข้อมูลกรณีศึกษาทางหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

     

    สื่อการเรียนการสอน

     

    1. ตัวบทกฎหมาย

    2. เอกสารประกอบการสอน

    3. คำพิพากษาศาลฎีกา

    4. เครื่องคอมพิวเตอร์

    ฯลฯ

     

    การวัดผลและประเมินผล

     

    การวัดผล  คะแนนสอบปลายภาคเรียน                                  100%

     

    การประเมินผล

     

       คะแนนระหว่าง 90 – 100                                      ได้ระดับ A

       คะแนนระหว่าง 85 – 89                                       ได้ระดับ B+

       คะแนนระหว่าง 75 – 84                                       ได้ระดับฺ B

       คะแนนระหว่าง 70 – 74                                       ได้ระดับ C+

       คะแนนระหว่าง 60 – 69                                       ได้ระดับ C

       คะแนนระหว่าง 55 – 59                                       ได้ระดับ D+

       คะแนนระหว่าง 50 – 54                                       ได้ระดับ D

       คะแนนระหว่าง 0 – 49                                         ได้ระดับ E

     


  • บทที่ 1

    แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 1 บทนำ

     

    เนื้อหาประจำบท

    1. วิวัฒนาการของกฎหมายตั๋วเงิน

    2. สภาพของกฎหมายตั๋วเงิน

    3. คำนิยาม ประเภท และประโยชน์ของตั๋วเงิน

    4. มาตราสำคัญและตัวบทย่อ

    5. บทสรุป

     

    จำนวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง

     

    วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

    เมื่อศึกษาบทที่ 1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. อธิบายวิวัฒนาการของกฎหมายตั๋วเงิน

    2. อธิบายสภาพของกฎหมายตั๋วเงิน

    3. อธิบาย คำนิยาม ประเภท และประโยชน์ของตั๋วเงิน

    4. อธิบายมาตราสำคัญและตัวบทย่อ

     

    วิธีการสอนและกิจกรรม

    1.เข้าสู่เนื้อหาบทนำ บรรยายประกอบ ตัวบทกฎหมาย

    2.สรุปและซักถาม

    3. กิจกรรมในชั้นเรียน

    4. นักศึกษาค้นหาข้อมูลกรณีศึกษาทางหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

     

    สื่อการเรียนการสอน

    1. ตัวบทกฎหมาย

    2. เอกสารประกอบการสอน

    3. เครื่องคอมพิวเตอร์

     

    การวัดผลและประเมินผล

    คะแนนสอบปลายภาคเรียน                                        100%

     

     

     

     

    บทที่ 1

    บทนำ

     

    ตั๋วเงินที่เป็นตราสารที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของพ่อค้าและนักการเงิน โดยเกิดขึ้นจากครั้งแรกจากพ่อค้าสุเมเรียที่อยู่ในดินแดนแถบเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 2,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เนื่องจากชาวสุเมเรียได้ระกอบธุรกิจและการค้าทั้งในระดับภายในอาณาจักรและกับต่างอาณาจักร อันทำให้มีความต้องการตราสารที่ใช้ชำระหนี้ได้สะดวกและปลอดภัยนอกจากนั้นก็เกิดจากการที่พ่อค้ามีความต้องการสินเชื่อในทางการค้า จึงมักมีการให้กู้ยืมหรือสินเชื่อโดยใช้ตั๋วเงิน กล่าวคือ ลูกหนี้ออกหนังสือตราสารให้เจ้าหนี้โดยสัญญาว่าจะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ด้วยตนเองในอนาคต (ตั๋วสัญญาใช้เงิน) หรือลูกหนี้ออกหนังสือตราสารสั่งลูกหนี้ของตนให้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของตน  (ตั๋วแลกเงิน)  และได้มีการใช้ตั๋วเงินในดินแดนเมโสโปเตเมียและดินแดนอื่น จนได้ความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ดังนั้น ในบททนี้จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของกฎหมายตั๋วเงิน คำนิยม ประเภท และประโยชน์ของตั๋วเงิน ตลอดจนมาตราสำคัญและตัวบทย่อ

     

    1. วิวัฒนาการของกฎหมายตั๋วเงิน

     

    ในสมัยเริ่มแรกที่มีการใช้ตั๋วเงินกันในเมโสโปเตเมียมีกฎหมายในอาณาจักรบาบิโลนที่เกี่ยวข้องกับตั๋วเงินแต่ไม่มีรายละเอียด และแม้กระทั่งได้มีการใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในทวีปยุโรป และใช้กันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรปและประเทศอังกฤษในช่วงคริสต์สตวรรษที่ 15-16 นั้น ก็กลับไม่มีกฎหมายตั๋วเงินที่เป็นลายลักษณ์อักษร การปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตั๋วเงินทั้งหลายจึงอยู่ภายใต้บังคับของธรรมเนีนมปฏิบัติ และจารีตประเพณีทางการค้าซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เรียกว่า กฎหมายพ่อค้า (Law merchant)

    กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวข้องกับตั๋วเงินที่มีรายละเอียดครบถ้วนมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส คือกฎหมายตั๋วเงิน ค.ศ. 1673 ซึ่งต่อมาถูกนำไปบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายพาณิชย์ และต่อมาประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปก็มีกฎหมายตั๋วเงินซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรตาม ๆ กันมาทั้งสิ้น เช่น ประเทศเยอรมันมีกฎหมายตั๋วเงินอยู่ในประมวลกฎหมายพาณิชย์ ค.ศ. 1849 และประเทศอังกฤษมีพระราชบัญญัติตั๋วแลกเงิน ค.ศ. 1882 ส่วนประเทศต่าง ๆ ในทวีปอื่น ๆ นอกจากยุโรปก็ได้มีกฎหมายตั๋วเงินโดยเฉพาะ เช่น สิงคโปร์

    นอกจากประเทศต่าง ๆ จะมีกฎหมายตั๋วเงินซึ่งเป็นกฎหมายภายในของแต่ละประเทศแล้วก็ได้มีความพยายามที่จะให้มีกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องตั๋วเงินขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะมีการใช้ตั๋วเงินในวงการธุรกิจระหว่างประเทศกันมาก ในขณะที่กฎหมายของตั๋วเงินประเทศต่าง ๆ ยังมีความแตกต่างกัน อันทำให้เกิดปัญหาในการใช้และการปฏิบัติตามกฎหมายของตั๋วเงินของผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องการให้ประเทศต่าง ๆ มีกฎหมายตั๋วเงินที่มีลักษณะสอดคล้องกัน โดยหากประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวนมากเป็นภาคีสนธิสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับตั๋วเงินแล้ว ประเทศเหล่านี้ก็มีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาเหล่านี้อันจะทำให้ต้องมีการออกกฎหมายภายในซึ่งมีลักษณะเดียวกันและย่อมเป็นการดีต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพราะอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายที่มีลักษณะเดียวกันโดยในปี ค.ศ. 1910 และ ค.ศ. 1912 ได้มีการประชุมสันนิบาตชาติที่จะให้มีกฎหมายเอกรูป (unif0rm law) ในเรื่องตั๋วเงินที่ใช้กันอยู่ภายในประเทศ และได้มีการออกอนุสัญญาว่าด้วยการรวมกฎหมายตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน ค.ศ. 1912 กันที่กรุงเฮก จึงมักเรียกย่อ ๆ ว่าอนุสัญญาเฮก (C0nventi0n 0n the unifiicati0n 0n the Law Ralating t0 Bills 0f Exchange and Pr0miss0ry N0tes, 1912) และได้ร่างกฎหมายเอกรูปขึ้น แต่อนุสัญญาเฮกไม่ได้รับการให้สัตยาบันครบตามจำนวนที่จะมีผลใช้บังคับ ต่อมาจึงได้มีการร่างอนุสัญญา 2 ฉบับ คืออนุสัญญาที่เกี่ยวกับกฎหมายเอกรูปสำหรับเช็ค ค.ศ. 1931 (C0nventi0n Pr0viding a Unif0rm Law f0r Chequens, March 19, 1931) และข้อตกลงเกี่ยวกับการขัดกันบางประการแห่งกฎหมายในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้น ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าอนุสัญญาเจนีวา) ซึ่งก็แก้ไขจากอนุสัญญาเฮก อย่างไรก็ตาม แม้จะมีบางประเทศไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาเจนีวา เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศ  (Civil Law) ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเหล่านี้ก็ได้นำบทบัญญัติอนุสัญญาดังกล่าวไปเป็นแบบอย่างในการร่างกฎหมายภายในด้วย จึงทำให้ปัจจุบันมีระบบกฎหมายตั๋วเงินที่ใช้อยู่ในโลก 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ ระบบคอมมอนลอว์และระบบซิวิลลอว์ที่มีอนุสัญญาเจนีวาเป็นแม่แบบ ซึ่งก็มีบทบัญญัติที่ผสมระหว่างระบบซิวิลลอว์กับคอมมอนลอว์ แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกับซิวิลลอว์มากกว่า

    สำหรับประเทศไทยนั้น เริ่มมีการใช้ตั๋วเงินกันเมื่อการค้าขายกับชาวต่างชาติในลักษณะที่เปิดประเทศในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ในระยะเริ่มแรกนั้นไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ใช้บังคับกับตั๋วเงิน เมื่อมีคดีเกิดขึ้นศาลไทยก็พิจารณาพิพากษาคดีโดยใช้หลักกฎหมายต่างประเทศโดยเฉพาะคือหลักกฎหมายอังกฤษ(คำพิพากษาฎีกาที่ 345 ปี ร.ศ. 128) อย่างไรก็ตามต่อมาประเทศไทยก็มีกฎหมายตั๋วเงินเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นโดยครั้งแรกคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 21 พ.ศ. 2467 และต่อมาก็ได้มีการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่อันเป็นฉบับปัจจุบัน คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 21 พ.ศ. 2471 (มาตรา 898-1011) โดยในการร่างกฎหมายตั๋วเงินของประเทศไทยนี้ได้แบบอย่างจากกฎหมายภายในประเทศต่าง ๆ และอนุสัญญาต่าง ๆ กล่าวคือกฎหมายอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิส ญี่ปุ่น อนุสัญญาเฮกของสันนิบาตชาติ และกฎหมายตั๋วเงินของรัฐนิวยอร์ก จึงทำให้กฎหมายตั๋วเงินของประเทศไทยเป็นระบบที่ผสมระหว่างระบบซิวิลลอว์ของยุโรปและระบบคอมมอนลอว์ ซึ่งกฎหมายตั๋วเงินของประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องที่ผู้เขียนจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไปในบท 2 และบทต่อ ๆ ไป

     

    2. สภาพของกฎหมายตั๋วเงิน

     

    กฎหมายตั๋วเงินของประเทศต่าง ๆ นั้นมีลักษณะหรือสภาพที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันกล่าวคือ มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ตั๋วเงินเป็นตราสารซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการชำระหนี้ซึ่งสามารถโอนกันได้โดยสะดวก(เสาวนีย์ อัศวโรจน์,2559) และผู้รับโอนตั๋วย่อมเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ และสามารถกระทำการต่าง ๆ ที่จะบังคับชำระหนี้ได้เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับตั๋วนั้นเป็นคนแรก มีการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหนีและลูกหนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นการคุ้มครองเจ้าหนี้ เช่นเจ้าหนี้มีสิทธิไล่เบี้ยหากตั๋วขาดความเชื่อถือ มีสิทธิบอกปัดข้อเสนอการใช้เงินบางส่วนมีหน้าที่ยื่นตั๋วเพื่อเรียกเก็บเงิน ตลอดจนได้รับความคุ้มครองหากเป็นผู้ทรงตัวโดยสุจริต เช่นในกรณีที่มีคู่สัญญาหลายคน แต่คู่สัญญาบางคนไม่ต้องรับผิด เพราะไม่มีความสามารถหรือมีความสามรถบกพร่อง คู่สัญญาคนอื่น ๆ ก็ยังคงต้องรับผิดอยู่ การใช้งานตามตั๋วเงินห้ามมิให้มีวันผ่อน ผู้ทรงไม่ต้องคืนตั๋วเงินให้บุคคลที่สูญเสียตั๋วนั้นไปจากการครอบครอง เว้นแต่จะได้รับโอนตั๋วนั้นมาโดยทุจริต หรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้ทรงสามารถบังคับชำระหนี้โดยลูกหนี้ไม่อาจยกข้อต่อสู้อาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้โอนตั๋วนั้นให้ผู้ทรง เว้นแต่การคบคิดกันฉ้อฉล การที่ตั๋วเงินมีลายมือชื่อปลอมไม่กระทบกระทั่งลายมือชื่อที่ลงไว้โดยแท้จริง และผู้ที่ครอบครองตั๋วที่มีลายชื่อปลอมหรือที่ลงไว้โดยปราศจากอำนาจยังสามารถเรียกให้ลูกหนี้ที่ถูกปิดปากมิให้ยกข้อต่อสู้เรื่องลายมือชื่อปลอมหรือที่ลงไว้โดยปราศจากอำนาจขึ้นต่อสู้รับผิดได้

    แต่ก็มีบางกรณีที่กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ตามตั๋วเงินโดยไม่ต้องชำระหนี้ เช่น ข้อความที่ผูกพันให้ลูกหนี้ต้องรับผิด ต้องเป็นข้อความที่กฎหมายตั๋วเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องบัญญัติให้ระบุลงในตั๋วเงินได้ ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินซึ่งระบุชัดเจนว่าตนกระทำการแทนบุคคลคู่สัญญาคนก่อน ๆ ที่มิได้ตกลงกับการผ่อนเวลาให้หลุดพ้นจากความรับผิด ลูกหนี้ผู้ที่ใช้เงินในเวลาที่ตั๋วกำหนดย่อมหลุดพ้นความผิด เว้นแต่จะได้ฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงลูกหนี้บางคนสามารถยกข้อต่อสู้เรื่องผู้ทรงไม่กระทำการบางอย่างที่กฎหมายบังคับไว้เพื่อปฏิเสธความรับผิดได้ เช่น ไม่ทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน ผู้ทรงเช็คไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในเวลากฎหมายกำหนด

    นอกจากนั้น กฎหมายตั๋วเงินก็ให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกมิให้ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน เช่น บุคคลที่จะรับผิดตามตั๋วเงินต้องเป็นบุคคลที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินเท่านั้น บุคคลใดที่มิได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินก็ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินแต่อย่างใด แม้บุคคลนั้นจะเป็นลูกหนี้ร่วมกับบุคคลที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินตามลูกหนี้เดิมอันเป็นเหตุให้มีการออกหรือโอนตั๋วเงินเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ก็ตาม แต่เมื่อบุคคลนั้นมิได้ร่วมลงลายมือชื่อในตั๋วเงินก็ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน

     

    3. คำนิยม ประเภท และประโยชน์ของตั๋วเงิน

     

    ในเรื่องตั๋วเงินนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของตั๋วเงิน จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงคำนิยาม ประเภท และประโยชน์ของตั๋วเงิน เพื่อเป็นพื้นฐานในการที่จะเข้าใจรายละเอียดของตั๋วเงินที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

     

    3.1 คำนิยาม

    แม้กฎหมายตั๋วเงินจะมีบทบัญญัติอยู่ในสภาพ 3 ลักษณะ 21 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่มีบทบัญญัติที่เป็นคำนิยามของคำว่าตั๋วเงินได้ คงมีเพียงบทบัญญัติมาตรา 898 ระบุเพียงว่าตั๋วเงินมี 3 ประเภทคือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็คเท่านั้น และมีคำนิยามของตั๋วเงินแต่ละประเภทไว้ดังนี้

    มาตรา 908 อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินในจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

    มาตรา 982  อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

    มาตรา 987 อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารใช้เงินจำนวนหนึ่งเมือทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน

    อย่างไรก็ตามจำนวนคำนิยามของคำว่า ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินละเช็คดังกล่าวมาแล้วอาจสรุปได้ว่า ตั๋วเงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลคนหนึ่งซึ่งผู้ทำตามตราสารสั่งให้บุคคลอื่นใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ด้วยตนเอง หรือจะใช้เงินให้เมื่อผู้ที่ระบุไว้ในตราสารไม่ใช่เงินตามคำสั่งหรือเมื่อไม่มีการใช้เงินตามข้อผูกพันของตน

     

    3.2 ประเภทตั๋วเงิน

    ประเภทดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 898  คือ ตั๋วแลกเงิน (Bills 0f Exhange) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Pr0miss0ry N0tes) และเช็ค (Cheqes) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    1) ประเภทของตั๋วแลกเงิน

    ในตั๋วแลกเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 908 บัญญัติไว้ว่า  “คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหน่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน “ดังนั้น ตั๋วแลกเงิน จึงเป็นคำสั่งจ่ายเงินของผู้ออกตั๋วแลกเงินโดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในชั้นที่ออกตั๋ว 3 ฝ่ายคือ ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย และผู้รับเงิน และในตั๋วแลกเงินนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ คือระบุชื่อผู้รับเงิน และตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ คือตั๋วที่มิได้ระบุชื่อผู้รับเงิน แต่มีถ้อยคำในลักษณะที่ระบุว่าผู้ถือตั๋วนั้นเป็นผู้รับเงิน

    2) ประเภทของตั๋วสัญญาใช้เงิน

    สำหรับสัญญาใช้เงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 982 บัญญัติว่าคือ “หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน” ดังนั้นในตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะจ่ายเงินของผู้ออกตั๋ว แต่ในตั๋วเงินชนิดนี้มีเพียงชนิดเดียวคือชนิดระบุชื่อ

    3) เช็ค

    ส่วนเช็คนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช มาตรา 987 บัญญัติไว้ว่าคือ “หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน ” ดังนั้น เช็คจึงเป็นคำสั่งจ่ายเงินของผู้ออกเช็คโดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในชั้นที่ออกเช็ค 3 ชนิด เช่นเดียวกับตั๋วแลกเงิน คือ ชนิดระบุชื่อ และชนิดผู้ถือ

    มีข้อสังเกตว่าการที่ตราสารทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวแล้วเป็นตั๋วเงินและเป็นตราสารเปลี่ยนมือก็เพราะเป็นตราสารที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินและสามารถโอนกันต่อไปได้ และทำให้ผู้รับโอนที่สุจริตอาจมีสิทธิดีกว่าผู้โอน สำหรับตราสารอื่น ๆ แม้จะสมารถโอนกันได้ก็ไม่เป็นตั๋วเงินตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามแม้ตราสารบางชนิดมีลักษณะเช่นเดียวกับตั๋วเงินแต่ก็ไม่เป็นตั๋วเงิน เพราะกฎหมายบัญญัติไว้ว่าตั๋วเงินมีเพียงตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คเท่านั้น เช่น เอกสารังต่อไปนี้

    ใบกำกับของ (Inv0ice 0f g00ds) ซึ่งเป็นตราสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเพื่อแสดงรายการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 612 ไม่เป็นตั๋วเงิน เพราะไม่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินและไม่สามารถโอนกันได้

    ใบตราส่ง (Bill 0f Lading) ซึ่งเป็นตราสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเพื่อเป็นหลักฐานการรับขนของให้ตามข้อตกลง โดยมีรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งของนั้น ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับการขนส่ง เช่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ไม่เป็นตั๋วเงิน เพราะไม่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินและไม่ทำให้ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน

    ใบรับของคลังสินค้า (Wareh0use Receipt) ซึ่งเป็นตราสารที่นายคลังสินค้าออกให้แก่ผู้ฝากสินค้าในคลังสินค้าโดยระบุรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการฝากสินค้าและสินค้าที่รับฝากตลอดจนค่าเก็บรักษาและอื่น ๆ และให้สิทธิผู้ฝากของที่จะสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าเหล่านั้นให้ผู้อื่นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 775, มาตรา 776 และมาตรา  778 แต่ตราสารหนี้เป้นเงินและไม่ทำให้ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน

    ใบประทวนสินค้า (Warrant) ซึ่งเป็นตราสารที่นายคลังสินค้าออกให้แก่ผู้ฝากสินค้าในคลังสินค้าโดยระบุรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการฝากสินค้าและสินค้าที่รับฝากและอื่น ๆ และให้สิทธิผู้ฝากสินค้าสลักหลังจำนำสินค้าเพื่อจดแจ้งไว้ในใบประทวนสินค้านั้นโดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้รับจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 775, มาตรา 777 และมาตรา778 แต่ตราสารนี้ก็มิใช่ตั๋วเงินเพราะไม่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินและไม่ทำให้ผู้รับโอนสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter 0f Credit) ซึ่งเป็นเอกสารที่ธนาคาในประเทศของผู้ซื้อสินค้าสั่งให้ธนาคาตัวแทนของตนในประเทศผู้ขายสินค้าให้จ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้านำสินค้าลงเรือเพื่อส่งให้ผู้สั่งซื้อสินค้าซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร โดยผู้ซื้อสินค้าจะเป็นผู้ดำเนินการให้ธนาคารออกตราสารให้และส่งมอบให้แก่ผู้ขายสินค้า และผู้ขายสินค้าจะนำตราสารน้ไปขึ้นเงินได้มื่อสินค้างเรือให้ผู้ซื้อแล้ว เอกสารนี้มิใช่ตั๋วเงินเพราะไม่สามารถโอนันได้

    เอกสารใบสินค้าเชื่อ (Trust Receipt) ซ่งเป็นเอกสารที่ธนาคารของผู้ซื้อสินค้าออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าที่ให้ธนาคารออกเลตเตอร์ออฟเครดิต แต่ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า เพื่อให้รับสินค้าออกจากท่าเรือไปก่อนโดยยังไม่ต้องชำระเงิน แต่สัญญาว่าจะชำระเงินให้ธนาคารภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และตราสารนี้ก็มิใช่ตั๋วเงินเช่นกันเพราะม่สามารถโอนกันได้

    บัตรเงินฝาก (Certificate 0f Dep0sit) เป็นตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนออกให้แก่ผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการรับฝากเงิน และเพื่อแสดงสิทธิ์ของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืน เมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

    จากลักษณะของบัตรเงินฝากที่กล่าวมาแล้วจึงเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกับตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะผู้ออกบัตรเป็นลูกหนี้ของผู้รับบัตร  (ผู้ฝากเงิน) และสัญญาว่าจะใช้เงินคืนแก่ผู้ฝากเงิน และบัตรนี้สามารถโอนกันต่อไปได้และทำให้ผู้รับโอนที่สุจริตอาจมีสิทธิดีกว่าผู้โอนแต่ก็มีความแตกต่างกันในส่วนที่ตั๋วสัญญาใช้เงินมีเพียงประเภทเดียวคือตั๋วระบุชื่อ ในขณะที่บัตรฝากอีก 2 ประเภทคือ บัตรที่ระบุชื่อผู้ฝากและชนิดผู้ถือ และผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินทุนเท่านั้น

     

    4. มาตราสำคัญและตัวบทย่อ

     

    ในเรื่องของตั๋วเงินนั้น มีตัวบทที่จะต้องจดจำเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในหัวข้อนี้จึงได้นำมาตราสำคัญและตัวบทย่อพร้อมตัวอย่าง เพื่อให้ศึกษาได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

    1. มาตรา900 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินต้องรับผิดชอบตามเนื้อความในตั๋วเงิน และวรรคสอง การลงเครื่องหมายอื่นใด หรือลงลายพิมพ์นิ้วมือแทน แม้จะมีพยานรับรอง ไม่ถือเป็นการลงลายมือชื่อตามตั๋วเงิน

    ตัวอย่าง นายอ๊อฟพิมพ์ลายนิ้วมือในตั๋วเงินฐานะผู้สั่งจ่ายเงิน 100,000 บาท ให้นายออย ดังนี้หากผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน นายออยย่อมไม่สามารถฟ้องนายอ๊อฟให้รับผิดในจำนวนเงิน 100,000 บาทได้ตามม.900

    2. มาตรา 901 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า การลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน หากเขียนว่าการทำแทนบุคคลอื่น ย่อมไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน

    3. มาตรา 903 มีหลักง่ายๆและควรจำว่าการใช้เงินตามตั๋วเงินท่านห้ามมิให้ผ่านเวลาการใช้เงิน

    4. มาตรา 904 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

    5. มาตรา 905 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า

    1.เป็นผู้มีตั๋วเงินไว้ในความครอบครอง

    2.ครอบครองในฐานะดังนี้

    -ผู้รับเงิน

    -ผู้รับสลักหลัง

    -ผู้ถือ

    3.ครอบครองโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ

    4.ตั๋วเงินไม่ขาดสาย (เฉพาะการมีตั๋วฯชนิดระบุชื่อ)

    ตัวอย่าง นายอู๊ดใช้ปืนข่มขู่ให้นายแอ๊ดสั่งจ่ายเช็คให้ตนจำนวน 100,000 บาท มิฉะนั้นจะยิงให้ตาย นายแอ๊ดจึงลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่นายอู๊ดไป ดังนี้ถือว่านายอู๊ดครอบครองเช็ดโดยไม่สุจริต จึงไม่เป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมาย

    6. มาตรา 906 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า คู่สัญญาคนก่อน ๆ ได้แก่ผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง แต่ผู้รับอาวัลยังต้องรับผิดเหมือนเดิม

    7. มาตรา 948 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า หากผู้ทรงยอมผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่าย ย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ยคู่สัญญาคนก่อน ๆ ซึ่งมิได้ยอมผ่อนเวลาด้วย

    8. มาตรา 911 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้สั่งจ่ายจะเขียนดอกเบี้ยลงในตั๋วเงินก็ได้ ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ให้คิดตั้งแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน

    9. มาตรา 914 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า กรณีที่ตั๋วเงินขาดความเชื่อถือคือ ผู้จ่ายไม่ยอมรับรอง หรือไม่จ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังย่อมต้องรับผิดใช้เงินแก่ผู้ทรง

    10. มาตรา 915 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะลงข้อกำหนดในตั๋วเงินดังต่อไปนี้ก็ได้

            1.ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนต่อผู้ทรง

    2.ข้อกำหนดลดละหน้าที่ให้แก่ผู้ทรง

    ตัวอย่าง ผู้สั่งจ่ายเขียนข้อความว่า ตั๋วฉบับนี้ไล่เบี้ยข้าพเจ้าไม่ได้ในตั๋วเงินย่อมส่งผลทำให้ผู้ทรงฟ้องผู้สั่งจ่ายให้รับผิดตามตั๋วไม่ได้เลย

    11. มาตรา 916 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า บุคคลผู้ถูกฟ้องตามตั๋วแลกเงินไม่สามารถยกเอาความเกี่ยวพันระหว่างตนเองกับผู้ทรงคนก่อนหรือระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายมาเป็นข้อต่อสู้ผู้ทรงได้ เว้นแต่จะมีการโอนโดยคบคิดกันฉ้อฉล

    ตัวอย่าง แอ๊ดสั่งจ่ายเช็คให้แก่นายเก่งจำนวน 300,000 บาท สลักหลังโอนเช็คฉบับนี้ชำระหนี้ค่าแหวนเพชรให้แก่นายอาร์ท และนายอาร์ทได้โอนเช็คฉบับนี้ต่อให้แก่นายออย ซึ่งรับโอนโดยสุจริต แต่แหวนเพชรดังกล่าวเป็นแหวนปลอม ดังนี้เมื่อเช็คถึงกำหนด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายออยฟ้องเรียกให้นายอ๊อฟรับผิดตามเช็ค นายอ๊อฟจะยกเหตุที่ว่าแหวนเพชรปลอมมาต่อสู้นายออยเพื่อไม่ต้องรับผิดไม่ได้

    12. มาตรา 917 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ตั๋วแลกเงินทุกฉบับย่อมโอนให้แก่กันได้โดยการสลักหลังและส่งมอบวรรคสอง กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเขียนลงด้านหน้าตั๋วแลกเงินด้วยคำว่า เปลี่ยนมือไม่ได้ หรือคำอื่นทำนองเดียวกันนั้น ตั๋วเงินย่อมโอนให้แก่กันได้แต่โดยรูปการณ์

    ตัวอย่าง นาย ก สั่งจ่ายเช็คฉบับหนึ่งให้แก่นาย ข โดยนาย ก เขียนคำว่า เปลี่ยนมือไม่ได้ ที่ด้านหน้าด้วย ดังนี้หากนาย ข ประสงค์จะโอนเช็คฉบับนี้ต่อไปต้องโอนโดยการทำเป็นหนังสือ และจดแจ้งการโอนไปยังผู้สั่งจ่ายด้วยจึงเป็นการโอนโดยชอบ จะโอนเพียงสลักหลังและส่งมอบไม่ได้

    13. มาตรา 923 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า หากผู้สลักหลังเขียนข้อความห้ามสลักหลังสืบไป ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลอันเขาได้สลักหลักให้ภายหลัง

    14. มาตรา 918 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือย่อมโอนให้แก่กันได้โดยการส่งมอบ

    15. มาตรา 921 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า การสลักหลังตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือเป็นเพียงการอาวัลผู้สั่งจ่าย

    16. มาตรา 922 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า การสลักหลังจะทำโดยมีเงือนไขมิได้ หากมีเงือนไขให้ถือเสมือนเงือนไขนั้นมิได้เขียนลงไว้เลย

    วรรคสอง การสลักหลังบางส่วนเป็นโมฆะ

    17. มาตรา 931 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า การรับรองพึงเขียนลงในด้านหน้าตั๋วแลกเงิน ว่ารับรองแล้ว และลงลายมือชื่อผู้จ่าย อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อผู้จ่ายไว้ด้านหน้าก็จัดว่าเป็นการรับรองแล้ว

    18. มาตรา 937 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้จ่ายต้องผูกพันในตั๋วที่ตนรับรอง และต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้คนอื่น ๆ แต่ผู้รับรองนั้นต้องรับผิดยิ่งกว่าคู่สัญญา คือแม้คู่สัญญาจะหลุดพ้นแต่ผู้รับรองอาจไม่หลุดพ้น เช่นในมาตรา 973

    19. มาตรา 938 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า วรรคสอง บุคคลที่จะรับอาวัลนั้น จะเป็นบุคคลภายนอกหรือคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้

    20. มาตรา 939 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า การอาวัลย่อมทำได้โดยเขียนลงในตั๋วเงิน ด้วยคำว่าใช้ได้เป็นอาวัลหรือคำอื่นทำนองเดียวกันและลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล วรรคสาม การลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลอย่างเดียวที่ด้านหน้าตั๋วเงินก็ถือเป็นการอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย วรรคสี่ การอาวัลต้องระบุบุคคลซึ่งตนต้องการอาวัลด้วย หากไม่ระบุถือเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย

    21. มาตรา 940 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเหมือนเช่น บุคคลที่ตนรับอาวัล แม้บุคคลซึ่งตนประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดไปก็ตาม เว้นแต่ทำผิดแบบระเบียบ

    22. มาตรา 959 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้ทรงมีสิทธิ์ไล่เบี้ยได้ในกรณีดังต่อไปนี้

    1.เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดแล้วผู้จ่ายไม่ยอมจ่ายเงิน

    2.ตั๋วเงินยังไม่ถึงกำหนดในกรณีที่ผู้จ่าย ไม่ยอมรับรอง หรือตนเป็นบุคคลล้มละลาย

    23. มาตรา 967 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้สลักหลัง ผู้รับอาวัล ย่อมต้องรับผิดร่วมกันต่อผู้ทรง

    24. มาตรา 971 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้ที่เป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้น หากได้รับโอนตั๋วเงินมาอีกทอดหนึ่งย่อมมีสิทธิ์ไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินได้ แต่ไม่อาจจะไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาซึ่งตนต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนได้

    25. มาตรา 989 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ให้นำบทบัญญัติในตั๋วแลกเงินมาใช้บังคับกับเช็คด้วย เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งเช็ค

    26. มาตรา 990 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า กรณีที่ผู้ทรงนำเช็คที่ออกให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันยื่นแก่ธนาคารเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน หรือเช็คที่ออกให้ใช้เงินต่างเมืองกัน เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ออกเช็ค ผู้ทรงย่อมหมดสิทธิ์ไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่ผู้สั่งจ่ายเสียหาย

    27. มาตรา 991 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ธนาคารจำต้องใช้เงินแก่ผู้ทรง เว้นแต่ 1.เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายไม่พอจ่ายตามเช็ค 2.ผู้ทรงยื่นเช็คแก่ธนาคารเมื่อพ้น 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค 3. ได้รับการบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหาย หรือถูกลักไป

    28. มาตรา 992 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ธนาคารสิ้นสุดอำนาจจ่ายเงินในกรณีต่อไปนี้

    1. มีการบอกห้ามการใช้เงิน

    2.รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย

    3.รู้ว่าผู้สั่งจ่ายเป็นบุคคลล้มละลาย

    29. มาตรา 994 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า หากในเช็คมีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้าเช็คนั้นชื่อว่าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป และต้องใช้เงินตามเช็คให้แก่ธนาคารเท่านั้น

    ถ้าในระหว่างเส้นทั้ง 2 มีชื่อธนาคาร เช็คนั้นชื่อว่าเช็คขีดคร่อมเฉพาะ และใช้เงินตามเช็คได้ เฉพาะแก่ธนาคารอันนั้น

    30. มาตรา 995 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า บุคคลผู้มีอำนาจขีดคร่อมเช็ค

    1.ผู้สั่งจ่ายจะขีดคร่อมเฉพาะหรือทั่วไปก็ได้

    2.ผู้ทรงจะขีดคร่อมเฉพาะหรือทั่วไปก็ได้

    3.ผู้ทรงจะเขียนคำว่าห้ามเปลี่ยนมือลงในเช็คก็ได้

    4.ธนาคารจะขีดคร่อมเฉพาะให้ธนาคารอื่นเรียกเก็บแทนก็ได้หรือจะขีดคร่อมเฉพาะให้ตนเองเป็นผู้เรียกเก็บก็ได้

    31. มาตรา 997 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า กรณีที่มีการขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารมากกว่า 1 ธนาคาร ห้ามมิให้ธนาคารผู้จ่ายใช้เงินตามเช็คนั้นเว้นแต่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บ
    วรรคสอง หากธนาคารผู้จ่ายใช้เงินตามเช็คที่มีขีดคร่อมเฉพาะมากว่า 1 ธนาคาร หรือใช้เงินแก่บุคคลธรรมดานอกจากธนาคาร หรือใช้เงินแก่ธนาคารอื่นนอกจากธนาคารที่ระบุโดยเฉพาะธนาคารผู้จ่ายต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น

    32. มาตรา 998 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ในกรณีที่ธนาคารผู้จ่ายใช้เงินไปโดยสุจริต และไม่ประมาทเลินเล่อถูกต้องตามม.997 กับทั้งผู้สั่งจ่ายหากเช็คตกไปถึงมือผู้รับเงินและให้ถือเป็นการใช้เงินแก่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นแล้ว

    33. มาตรา 999 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ผู้ใดได้รับโอนเช็คขีดคร่อมอันมีข้อความห้ามเปลี่ยนมือ ผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน ข้อสังเกต ม.999 นี้มีผลเช่นเดียวกับม.917 ว.2 ทุกประการ

    34. มาตรา 1000 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า หากธนาคารผู้เรียกเก็บ เรียกเก็บเงินโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ แม้บุคคลผู้นำเช็คเบิกแก่ตนจะไม่มีสิทธิ์หรือมีสิทธิ์อย่างบกพร่องก็ไม่จำต้องรับผิดต่อเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น

    35. มาตรา 1007 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า กรณีที่มีการแก้ไขข้อสำคัญในตั๋วเงิน ตั๋วเงินย่อมเป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้กับผู้ทำการแก้ไข หรือยินยอมในการแก้ไข หรือสลักหลังภายหลังการแก้ไข

    วรรคสอง ในกรณีที่เป็นการแก้ไขไม่ประจักษ์ ตั๋วเงินก็ยังคงสมบูรณ์ ย่อมสามารถบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นได้ทุกคน

    36. มาตรา 1008 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ตั๋วเงินใดมีลายมือปลอมหรือลงลายมือโดยปราศจากอำนาจ ย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ผู้ใดจะอ้างอิงแสวงสิทธิ์อย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ หรือเพื่อให้หลุดพ้นจากการใช้เงิน หรือบังคับการใช้เงินแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นไม่ได้ เว้นแต่คู่สัญญาซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับการใช้เงินถูกตัดบทมิให้ยกข้อลายมือปลอมเป็นข้อต่อสู้

    ความในวรรคก่อนย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงการให้สัตยาบันตั๋วเงินที่ลงลายมือโดยปราศจากอำนาจ

    ตัวอย่าง นายเอ สั่งจ่ายเช็คจำนวน 50,000 บาท ให้แก่นายบี นายบีทำเช็คตกหายไป นายซีเก็บได้ได้ปลอมลายมือชื่อนายบีสลักหลังต่อให้นายดี ซึ่งรับโอนไว้โดยสุจริต ดังนี้หากนายบีมาเรียกให้นายดีคืนเช็คดังกล่าว นายดีต้องคืนให้แก่นายบี จะอ้างว่าได้มาโดยสุจริตจึงไม่ต้องคืนไม่ได้ตามม.1008

    37. มาตรา 949 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ภายใต้บังคับ มาตรา 1009 ผู้ใช้เงินจะหลุดพ้นความรับผิดต่อเมื่อตั๋วถึงกำหนดแล้ว และต้องใช้ไปโดยสุจริตมิได้ฉ้อฉล หรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และต้องพิสูจน์ว่าตั๋วได้โอนมาโดยถูกต้องหรือไม่ คือตั๋วนั้นจะต้องไม่ขาดสาย

    38. มาตรา 1009 มีหลักง่ายๆและควรจำว่า ธนาคารใดใช้เงินไปตามทางค้าปกติ โดยสุจริตไม่ประมาทเลินเล่อ และตั๋วเงินไม่ขาดสายแล้ว แม้ลายมือชื่อผู้สลักหลังจะเป็นลายมือปลอมหรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจก็ให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปโดยถูกระเบียบ

     

    5. บทสรุป

     

    ตั๋วเงินที่เป็นตราสารที่เกิดขึ้นจากการที่พ่อค้ามีความต้องการสินเชื่อในทางการค้า จึงมักมีการให้กู้ยืมหรือสินเชื่อโดยใช้ตั๋วเงิน กล่าวคือ ลูกหนี้ออกหนังสือตราสารให้เจ้าหนี้โดยสัญญาว่าจะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ด้วยตนเองในอนาคต (ตั๋วสัญญาใช้เงิน) หรือลูกหนี้ออกหนังสือตราสารสั่งลูกหนี้ของตนให้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของตน  (ตั๋วแลกเงิน)  จนได้ความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา

    นอกจากตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วก็มีการใช้เช็คตั้งแต่ในช่วงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๖ โดยพวกซัสซาเนีย ซึ่งปกครองอาณาจักรเปอร์เซียหรืออิหร่านในปัจจุบันในช่วงระหว่าง ค.ศ. ๒๒๖-๖๔๑ ได้ใช้เช็คในการค้าเนื่องจากขณะนั้นมีธนาคารเกิดขึ้นแล้วโดยมีชาวอิหร่านและชาวยิวเป็นผู้ดำเนินการ เพราะมีปริมาณการค้าและอุตสาหกรรมที่รุ่งเรืองมากเมื่อเทียบกับอาณาจักรอื่น ๆ จึงต้องการมีตราสารทางเครดิตเพิ่มขึ้นนอกจากตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับมาจากดินแดนเมโสโปเตเมีย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งก็ได้มีการใช้เช็ค และการอาวัล และได้มีการนำตราสารเหล่านี้ไปใช้ในยุโรปแถบฝรั่งเศสโบราณที่เรียกว่าเมโรวินเจียนยุโรป (Merovingian Europe) โดยนักการค้าชาวซีเรีย และเช็คก็ได้รับการยอมรับและนำไปใช้โดยชาวยุโรป เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ โดยมีการพัฒนาต่อไป และในทวีปเอเชียก็มีการใช้ตั๋วเงินในประเทศจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๘ ในยุคราชวงศ์ถังโดยมีการใช้ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระหนี้ทางไกลเช่นกัน

    หลังจากที่ตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้ว ก็ได้กลายเป็นตราสารที่ดีรับการยอมรับและนิยมใช้กันมากเพราะนอกจากตั๋วเงินเป็นตราสารที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างล๔กหนี้และเจ้าหนี้แล้ว ผู้ที่ได้รับตั๋วเงินไว้เพื่อชำระหนี้นั้นหากไม่ประสงค์จะเก็บตั๋วไว้ขึ้นเงินเมื่อตั๋วถึงกำหนด หรือไม่ชำระหนี้ด้วยตั๋วนั้นให้เจ้าหนี้ ก็อาจนำตั๋วนั้นไปโอนขายให้กับบุคลอื่นเพื่อแลกกับเงินสดได้ แม้ตั๋วยังไม่ถึงกำหนด ซึ่งเรียกกันว่าขายลดโดยยอมเสียค่าธรรมเนียมหักส่วนลดให้กับผู้รับซื้อตั๋วนั้น และผู้รับซื้อนั้นก็สามารถนำตั๋วเงินดังกล่าวไปรับเงินจากผู้จ่ายหรือผู้ออกตั๋วได้ เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน และถ้าบุคคลใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้นได้ ด้วยเหตุต่าง ๆ ดังกล่าว ตั๋วเงินจึงเป็นตราสารที่ใช้กันมากในวงการธุรกิจการเงินนอกจากวงการธุรกิจการค้าทั่ว ๆ ไปและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย

    มีข้อสังเกตว่าการที่ตราสารทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวแล้วเป็นตั๋วเงินและเป็นตราสารเปลี่ยนมือก็เพราะเป็นตราสารที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินและสามารถโอนกันต่อไปได้ และทำให้ผู้รับโอนที่สุจริตอาจมีสิทธิดีกว่าผู้โอน สำหรับตราสารอื่น ๆ แม้จะสมารถโอนกันได้ก็ไม่เป็นตั๋วเงินตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามแม้ตราสารบางชนิดมีลักษณะเช่นเดียวกับตั๋วเงินแต่ก็ไม่เป็นตั๋วเงิน เพราะกฎหมายบัญญัติไว้ว่าตั๋วเงินมีเพียงตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คเท่านั้น เช่น เอกสารังต่อไปนี้

    ใบกำกับของ (Inv0ice 0f g00ds) ซึ่งเป็นตราสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเพื่อแสดงรายการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 612 ไม่เป็นตั๋วเงิน เพราะไม่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินและไม่สามารถโอนกันได้

    ใบตราส่ง (Bill 0f Lading) ซึ่งเป็นตราสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเพื่อเป็นหลักฐานการรับขนของให้ตามข้อตกลง โดยมีรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งของนั้น ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับการขนส่ง เช่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ไม่เป็นตั๋วเงิน เพราะไม่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินและไม่ทำให้ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน

    ใบรับของคลังสินค้า (Wareh0use Receipt) ซึ่งเป็นตราสารที่นายคลังสินค้าออกให้แก่ผู้ฝากสินค้าในคลังสินค้าโดยระบุรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการฝากสินค้าและสินค้าที่รับฝากตลอดจนค่าเก็บรักษาและอื่น ๆ และให้สิทธิผู้ฝากของที่จะสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าเหล่านั้นให้ผู้อื่นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 775, มาตรา 776 และมาตรา  778 แต่ตราสารหนี้เป้นเงินและไม่ทำให้ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter 0f Credit) ซึ่งเป็นเอกสารที่ธนาคาในประเทศของผู้ซื้อสินค้าสั่งให้ธนาคาตัวแทนของตนในประเทศผู้ขายสินค้าให้จ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้านำสินค้าลงเรือเพื่อส่งให้ผู้สั่งซื้อสินค้าซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร โดยผู้ซื้อสินค้าจะเป็นผู้ดำเนินการให้ธนาคารออกตราสารให้และส่งมอบให้แก่ผู้ขายสินค้า และผู้ขายสินค้าจะนำตราสารน้ไปขึ้นเงินได้มื่อสินค้างเรือให้ผู้ซื้อแล้ว เอกสารนี้มิใช่ตั๋วเงินเพราะไม่สามารถโอนันได้

    เอกสารใบสินค้าเชื่อ (Trust Receipt) ซ่งเป็นเอกสารที่ธนาคารของผู้ซื้อสินค้าออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าที่ให้ธนาคารออกเลตเตอร์ออฟเครดิต แต่ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า เพื่อให้รับสินค้าออกจากท่าเรือไปก่อนโดยยังไม่ต้องชำระเงิน แต่สัญญาว่าจะชำระเงินให้ธนาคารภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และตราสารนี้ก็มิใช่ตั๋วเงินเช่นกันเพราะม่สามารถโอนกันได้

    บัตรเงินฝาก (Certificate 0f Dep0sit) เป็นตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนออกให้แก่ผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการรับฝากเงิน และเพื่อแสดงสิทธิ์ของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืน เมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

    จากลักษณะของบัตรเงินฝากที่กล่าวมาแล้วจึงเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกับตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะผู้ออกบัตรเป็นลูกหนี้ของผู้รับบัตร  (ผู้ฝากเงิน) และสัญญาว่าจะใช้เงินคืนแก่ผู้ฝากเงิน และบัตรนี้สามารถโอนกันต่อไปได้และทำให้ผู้รับโอนที่สุจริตอาจมีสิทธิดีกว่าผู้โอนแต่ก็มีความแตกต่างกันในส่วนที่ตั๋วสัญญาใช้เงินมีเพียงประเภทเดียวคือตั๋วระบุชื่อ ในขณะที่บัตรฝากอีก 2 ประเภทคือ บัตรที่ระบุชื่อผู้ฝากและชนิดผู้ถือ และผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินทุนเท่านั้น

     

     

     

     

    แบบฝึกหัดท้ายบท

     

    แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบอัตนัย จำนวน  8 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในสมุดรายงาน และส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป

     

    1. ตัวเงินคืออะไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    2. ตั๋วเงินริเริ่มมีในสมัยใดให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    3. สำหรับประเทศไทยนั้น เริ่มมีการใช้ตั๋วเงินกันเมื่อการค้าขายกับชาวต่างชาติในลักษณะที่เปิดประเทศในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ในระยะเริ่มแรกนั้นไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ใช้บังคับกับตั๋วเงิน เมื่อมีคดีเกิดขึ้นศาลไทยก็พิจารณาพิพากษาคดีโดยใช้หลักกฎหมาย ของประเทศใด ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    4. กฎหมายตั๋วเงินของประเทศต่าง ๆ นั้นมีลักษณะหรือสภาพที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    5. ตั๋วเงินมีกีประเภท แต่ละประเภทเป็นอย่างไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    6. จงยกตัวอย่าง ตราสารบางชนิดมีลักษณะเช่นเดียวกับตั๋วเงินแต่ก็ไม่เป็นตั๋วเงิน มาจำนวน 2 ตัวอย่าง

    7. นายอู๊ดใช้ปืนข่มขู่ให้นายแอ๊ดสั่งจ่ายเช็คให้ตนจำนวน 100,000 บาท มิฉะนั้นจะยิงให้ตาย นายแอ๊ดจึงลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่นายอู๊ดไป ดังนี้นายอู๊เป็นผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตใด ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    8. หากผู้สั่งจ่ายเขียนข้อความว่า ตั๋วฉบับนี้ไล่เบี้ยข้าพเจ้าไม่ได้ในตั๋วเงินย่อมส่งผลเป็นประการใดให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เอกสารอ้างอิง

     

    ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์. คำอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2554

    สหธน รัตนไพจิตร.  (2543).  คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน   ( พิมพครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: วิญูชน.

    สามิตร ศิริมาตย.  (2546).  ปญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดความผิดอันเกี่ยวกับการใชเช็ค. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

    อัมพร ณ ตะกั่วทุง.  (2548).  คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   นิติบรรณการ.

    อุทิศ แสนโกศิก.  (2515).  หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพสรรพาสามิต. อุทิศอนุสรณงานศพ.

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    หลักคำพิพากษาศาลฎีกา

     

     

     

     

     

     

     

     

     


  • บทที่ 2

    แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 2 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

     

    เนื้อหาประจำบท

    1. ตั๋วเงิน

    2. ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อ

    3. การผ่อนเวลา

    4. ผู้ทรง

    5. บทสรุป

     

    จำนวนชั่วโมงที่สอน 6 ชั่วโมง

     

    วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

    เมื่อศึกษาบทที่ 2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. อธิบายตั๋วเงิน

    2. อธิบายความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อ

    3. อธิบายการผ่อนเวลา

    4. อธิบายความหมายผู้ทรง

     

    วิธีการสอนและกิจกรรม

    1.เข้าสู่เนื้อหาบทนำ บรรยายประกอบ ตัวบทกฎหมาย

    2.สรุปและซักถาม

    3. กิจกรรมในชั้นเรียน

    4. นักศึกษาค้นหาข้อมูลกรณีศึกษาทางหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

     

    สื่อการเรียนการสอน

    1. ตัวบทกฎหมาย

    2. เอกสารประกอบการสอน

    3. เครื่องคอมพิวเตอร์

    การวัดผลและประเมินผล

    คะแนนสอบปลายภาคเรียน                                      100%

     

     

     

     

     

     

    บทที่ 2

    บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

     

    ตั๋วเงิน หมายถึง เอกสารที่ใช้แทนเงิน ปกติในเวลาที่ทำการซื้อขายทรัพย์สินในราคาสูง ผู้ซื้อจำต้องนำเงินไปชำระให้ผู้ขายซึ่งในการนำเงินไปมาก ๆ ทำให้ไม่สะดวกในการตรวจนับ และ ในการเดินทางก็ไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยปัจจุบันนี้ดังนั้นนักธุรกิจส่วนมากนิยมใช้ ตั๋วเงินแทน ยิ่งกว่าในบางครั้งผู้ซื้อจำต้องชำระหนี้อาจมีเงินสดไม่เพียงพอในขณะนั้น แต่เจ้าหนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการชำระหนี้ ซึ่งถ้าลูกหนี้ออกตั๋วเงินล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ย่อมมีโอกาส เอาตั๋วเงินนั้นมาใช้ก่อนได้ ตั๋วเงินนี้นับว่าเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นทุกวัน แต่ความหมายหรือ คำจำกัดความของตั๋วเงินตามกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นแม่บท เรื่องนี้มิได้บัญญัติไว้ให้ชัดเจนว่าตั๋วเงินคืออะไร เพียงแต่บัญญัติว่า “อันตั๋วเงิน” ตามกฎหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ มีสามประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค

    ในบทนี้ จะเป็นการอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปตั้งแต่มาตรา 898- มาตรา 907 นี้ใช้กับตั๋วทั้ง 3 ประเภท โดยไม่ต้องอ้างมาตราอื่นประกอบ

     

    1. ตั๋วเงิน

     

    “มาตรา 898 อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้มีสามประเภท ๆ หนึ่งคือ ตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่งคือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่ง คือ เช็ค

    จากตัวบทดังกล่าว สรุปได้ว่า ตั๋วเงิน มีสามชนิดคือ

    1. ตั๋วแลกเงิน (มีคู่สัญญา ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย ผู้รับเงิน)

    2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (มีคู่สัญญา ผู้ออกตั๋ว ผู้รับเงิน)

    3. เช็ค (มีคู่สัญญา ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย ผู้รับเงิน

    จากมาตรา 898 ย่อมชี้ให้เห็นว่า เมื่อกล่าวถึงตั๋วเงินย่อมหมายความถึง ตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภท มิได้จำกัดว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

    “มาตรา 899 ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่

    มาตรา 899 เป็นเรื่องที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายตั๋วเงิน ถ้าเขียนลงในตั๋วเงินข้อความนั้นก็ไม่มีผลอะไรเลย ข้อความในตั๋วเงินจะมีผลบังคับตามกฎหมายตั๋วเงินก็เฉพาะที่กฎหมายระบุให้เขียนเท่านั้น หากเขียนข้อความอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายลักษณะนี้บัญญัติไว้แล้ว ผลคือถือเสมือนว่าไม่มีข้อความนั้นเขียนไว้ในตั๋วเลย ตั๋วเงินยังคงสมบูรณ์ มิได้ทำให้ตั๋วเงินนั้นขาดความสมบูรณ์ เสียไป หรือตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด ทั้งนี้ เพราะตั๋วเงินเป็นตราสารที่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ง่าย นิยมใช้ในแวดวงธุรกิจซึ่งต้องอาศัยความเชื่อถือ (Credit) เป็นสำคัญ นอกจากนั้นการดำเนินธุรกิจเกือบทุกประเภท ผู้ดำเนินการมักต้องทำงานแข่งกับเวลา อาจไม่มีเวลามากพอที่จะพิจารณาตรวจตราตั๋วเงินได้อย่างถี่ถ้วน ลำพังการตรวจดูรายการสำคัญของตั๋วเงินแต่ละประเภทก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยเพราะมีตั๋วเงินหมุนเวียนเปลี่ยนมือเข้า – ออกมากมายหลายฉบับในแต่ละวัน จึงไม่สมควรที่จะเขียนข้อความอื่นใดนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติลงไปในตั๋วเงินตามใจชอบ ซึ่งอาจะทำให้เกิดความระส่ำระสายได้ในคนบางคนที่ยังไม่เข้าใจกฎหมายลักษณะนี้อย่างลึกซึ้ง

    ดังนั้น คู่สัญญาในตั๋วเงินไม่ว่าจะเป็นผู้สั่งจ่าย (ตั๋วแลกเงินหรือเช็ค) ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน, ผู้สลักหลัง, ผู้รับอาวัล ฯลฯ จะเขียนข้อความอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้ หากเขียนลงไป ข้อความอย่างอื่นนั้นก็ไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด โดยถือว่ามิได้เขียนข้อความนั้นลงไปหรือข้อความนั้นไม่มีอยู่ในตั๋วเงิน

     

    2. ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อ

     

    “มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

    ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงไดหรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้าง เอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็น ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่

    มาตรา 900 เป็นเรื่องความรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินโดยรับผิดต่อเมื่อได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน โดยอาจลงชื่อ จริง ชื่อย่อ นามสมมติก็ได้ โดยอาจรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง ผู้รับอาวัล  ผู้จ่าย เป็นต้น

    จากมาตรา 900 วรรคแรก

    “บุคคล”                  หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

    “บุคคลธรรมดา”         ต้องมีความสามารถตามหลักทั่วไป (มาตรา 153)

    “นิติบุคคล”              ต้องเป็นไปตามกฎหมายคือได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งและดำเนินกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น นิติบุคคลแสดงเจตนาโดยบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของนิติบุคคลนั้น (ดูมาตรา 65, 66 และ 70)

    “ลายมือชื่อ”แปลได้ว่าชื่อที่เขียนด้วยมือ แต่ถ้าบุคคลใดแขนด้วนทั้งสองข้าง จึงได้ใช้ปากหรือเท้าเขียนแทนลายมือชื่อ ก็น่าจะใช้ได้ และถือว่าเป็นลายมือชื่อที่ถูกต้อง

    คำว่า “ลายมือชื่อ” ก็คือลายเซ็นนั่นเอง บางคนอาจเขียนลายเซ็นของตนจนอ่านไม่ออกและเดาไม่ได้และถ้าปลอมได้ยากแล้วย่อมจัดว่าเป็นลายเซ็นที่ดีและสวยงาม

    คำว่า “ลายมือชื่อของตน” น่าจะแปลว่า ลายมือชื่อของคนที่ลงหรือลายเซ็นของคนที่ลง แม้ว่าลายมือชื่อของคนที่ลงจะไม่ตรงกัน (เป็นคนละชื่อ) ก็ตาม เช่น การปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นหรือลงลายมือชื่อของคนอื่นโดยปราศจากอำนาจ (มาตรา 1008) ย่อมจะมีผลบังคับไปถึงผู้ลงลายมือชื่อนั้นด้วย แม้ว่าผู้ลงลายมือชื่อนั้นจะมิใช่ชื่อนั้นก็ตาม เช่นแดงปลอมลายมือชื่อดำซึ่งเป็นผู้รับเงินตามเช็คฉบับหนึ่งโดยสลักหลังโอนเช็คนั้นไปให้ขาวผู้ทรง เช่นนี้ แดงต้องรับผิดทางแพ่งในฐานะเป็นผู้สลักหลังเช็คนั้นแล้ว (มาตรา 900 วรรคแรก, 914, 989) หากเช็คนั้นธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน สำหรับชื่อของบุคคลนั้น บางคนมีหลายชื่อนอกเหนือจากชื่อจริง เช่น ชื่อเล่น ชื่อย่อ ชื่อสมมุติ หรืออาจใช้ชื่อสกุลก็ได้ หรืออาจใช้ชื่อยี่ห้อซึ่งเป็นชื่อบุคคลในทางการค้าก็ได้ และจะใช้ภาษาหนึ่งภาษาใดก็ได้ แต่ต้องให้ได้ความว่าบุคคลนั้นลงลายมือชื่อด้วยตนเอง

    ดังนั้น การดีดพิมพ์ชื่อของตนลงในตั๋วเงินในฐานะหนึ่งฐานะใดหรือการใช้ตรายางที่แกะเป็นชื่อตัวและหรือชื่อสกุลตัวบรรจงย่อมไม่ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามความในมาตรา 900 วรรคแรก

    ความในมาตรา 900 วรรคแรก หมายความว่า ความรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินจะเกิดขึ้นต่อเมื่อบุคคลนั้นได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน อาจต้องรับผิดในฐานะหนึ่งฐานะใดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และรับผิดอย่างมีขอบเขตจำกัดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น มิใช่รับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน

    ข้อยกเว้นการลงชื่อไม่ต้องรับผิด

    1) ลงลายชื่อในตั๋วเงินโดยเขียนแถลงว่าทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง (มาตรา 901)

    มาตรา 901 หลักก็คือ บุคคลใดที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินไม่ว่าในฐานะใดจะต้องเขียนให้ได้ความชัดเจนว่าลงชื่อแทนบุคคลใดหรือลงชื่อในฐานะทำการแทนผู้ใด โดยระบุชื่อบุคคลที่ตนลงชื่อแทนลงไปด้วย มิฉะนั้นผู้ลงลายมือชื่อจะต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินนั้นเพียงลำพัง หรือรับผิดเป็นการส่วนตัว แต่ถ้าได้เขียนแถลงว่าการกระทำแทนบุคคลอีกคนหนึ่งไว้เด่นชัดแล้ว ผู้ลงลายมือชื่อย่อมไม่ต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น ผู้รับผิดก็คือตัวการที่ถูกระบุว่าทำแทนตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน (มาตรา 820)

    2) ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้หย่อนความสามารถ (มาตรา 902)

    โดยที่คู่สัญญาในตั๋วเงินมีได้หลายคน มาตรา 902 ได้แบ่งบุคคลผู้ลงลายมือชื่อเข้าผูกพันเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินออกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลยและบุคคลที่เป็นคู่สัญญาได้แต่ไม่เต็มผล

    (1) บุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย ได้แก่ บรรดานิติบุคคลทั้งหลายที่มีข้อบังคับไม่ให้ออกตั๋วเงิน สลักหลังตั๋วเงิน หรือรับรองตั๋วเงิน หรือกิจการใดอันเป็นการนอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น ๆ

    (2) บุคคลที่เป็นคู่สัญญาได้แต่ไม่เต็มผล ได้แก่บุคคลที่หย่อนความสามารถหรือผู้ไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาใด ๆ คือผู้เยาว์ คนวิกลจริต (คนไร้ความสามารถ) และคนเสมือนไร้ความสามารถ

    ตั๋วเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง บุคคลที่เข้าร่วมเป็นคู่สัญญาจึงต้องมีความชอบด้วยตามมาตรา 153 (มาตรา 116 เดิม) แต่ความสามารถของบุคคลถือเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา ดังนั้นการที่ตั๋วเงินฉบับหนึ่งมีคู่สัญญาหลายคนอาจมีคู่สัญญาบางคนที่เป็นบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังกล่าว ก็ไม่มีผลทำให้ตั๋วเงินนั้นเสื่อมเสียหรือขาดความสมบูรณ์ไปแต่อย่างใด และไม่เป็นเหตุให้คู่สัญญาอื่นๆ ที่เหลือซึ่งมีความสามารถบริบูรณ์พ้นความรับผิดไปได้ แต่ยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้นอยู่เหมือนเดิม

    3) กรณีที่ผู้ทรงตั๋วเงินยอมผ่อนเวลาใช้เงินให้แก่ผู้จ่าย หรือผู้รับรองโดยที่คู่สัญญาคนก่อนๆ (ผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง) ไม่ยินยอม (มาตรา 903, 906, 948)

    4) กรณีที่ผู้ทรงเช็คเซ็นชื่อลงในเช็คเพื่อเป็นหลักฐานแสดงการรับเงินไปจากธนาคารถือว่าผู้ทรงไม่มีเจตนาที่จะเข้าผูกพันรับผิดสลักหลังเช็คนั้น

    5) กรณีอื่นๆ ในแต่ละเรื่องที่ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินสามารถหลุดพ้นจากความรับผิดได้ เช่น มาตรา 915 (1), 990, 993 วรรคสอง, 1007, 1008

    สำหรับผู้ที่มิได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน โดยทั่วไปแล้วผู้นั้นไม่ต้องรับผิดในฐานะใดแต่ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบท (ถูกกฎหมายปิดปาก) แล้ว บุคคลนั้นอาจต้องรับผิดและถูกผู้ทรงฟ้องบังคับไล่เบี้ยได้ (ดูมาตรา 1008)

    “มาตรา 901 ถ้าบุคคลคนใดลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน และมิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นย่อมเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น

    ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่เขียนว่ากระทำแทนต้องรับผิด เช่น ผู้จัดการห้าง ตัวแทนตัวการ

    ตัวอย่าง ^

    ก เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนสองจำกัด ได้ออกเช็คฉบับหนึ่งระบุจ่ายเงินให้ ข ในเช็คนั้นไม่มีข้อความระบุไว้เลยว่า ก เป็นตัวแทนกระทำการแทนห้างสอง ดังนี้ ถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มีการฟ้องร้องให้รับผิดตามเช็ค  ก จะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 900 วรรคแรก, 901, 914 และ 989 วรรคแรก  ก จะเถียงไม่ได้ว่าตนทำการเป็นตัวแทน เพราะหนึ่งได้ลงนามตนไว้ในเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ถ้า ก ได้เขียนจดแจ้งลงไปในเช็คไว้ชัดเจนว่า “ทำแทนห้างสอง” ดังนี้ เมื่อ ก ถูก ข ฟ้องให้รับผิดตามเช็ค หนึ่งย่อมปฏิเสธความรับผิดเป็นส่วนตัวได้  ข ผู้ทรงจะต้องไปฟ้องเอากับห้างสองที่ถูกอ้างว่าเป็นตัวการ ซึ่งห้างสองจะต้องรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนตามมาตรา 820 ซึ่งเป็นบททั่วไปให้ตัวการรับผิด

    “มาตรา 902 ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อของบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้ ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน

    กรณีผู้ลงลายเมื่อชื่อไม่อาจเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงิน เช่น ห้างไม่มีข้อบังคับให้ออกตั๋วเงิน ดังนี้ ห้างฯ ไม่อาจผูกพันในตั๋วเงิน กรณีผู้เยาว์ลงชื่อในตั๋วเงิน แล้วมีการบอกล้างจาก ผู้แทนโดยชอบธรรม ทำให้ผู้เยาว์ไม่ต้องผูกพัน ทั้งการบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่นในตั๋วเงินแต่อาจเสียไปเฉพาะบุคคลนั้น

    ตัวอย่าง ^

    แดงและดำร่วมกันลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้ ค. ความจริงดำเป็นผู้เยาว์และไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมในการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าว ฉะนั้นถึงแม้ดำจะเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คร่วมกับแดงก็ไม่เต็มผล เพราะผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกล้างการสั่งจ่ายเช็คของดำได้ แต่เช็คนั้นก็ยังมีผลใช้บังคับได้กับแดง กล่าวคือแดงยังคงต้องผูกพันรับผิดตามเช็คนั้นในฐานะผู้สั่งจ่าย

    ตัวอย่าง ^

    หนึ่งเป็นผู้รับเงินในตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งซึ่งสองลูกหนี้สั่งจ่ายให้ ต่อมาหนึ่งได้สลักหลักโอนตั๋วนั้นให้สามซึ่งเป็นผู้เยาว์ สามนำตั๋วนั้นสลักหลังขายลดให้สี่ สี่รับโอนไว้โดยสุจริต ถ้าตั๋วนั้นไม่มีการใช้เงิน สี่เป็นผู้ทรงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยสองผู้สั่งจ่ายและหนึ่งผู้สลักหลังสองและหนึ่งจะอ้างว่าสามเป็นผู้เยาว์ พวกตนจึงไม่ต้องรับผิดเช่นนี้ไม่ได้ เพราะการที่สามเป็นผู้เยาว์นั้นย่อมเป็นข้อต่อสู้ของสามที่จะยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรงเพื่อตนจะไม่ต้องรับผิดได้

     

    “มาตรา 926 เมื่อใดคำสลักหลังมีคำว่า “ราคาเป็นจำนำ” ท่านว่าผู้ทรงจะใช้สิทธิอันเกิดแต่ตั๋วนั้นได้ทั้งนั้น แต่ถ้าผู้ทรงสลักหลังต่อไป การสลักหลังนั้นใช้ได้เพียงในฐานเป็นคำสลักหลังของตัวแทน

    หมายเหตุ การลงลายมือชื่อในฐานะผู้จำนำตั๋วเงินมาตรา 926 การจำนำตั๋วเงินใช้กับตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภท

    ข้อควรพิจารณา

    1. การจำนำตั๋วเงินเป็นสัญญาจำนำอย่างหนึ่งตามมาตรา 747 หากแต่ ต้องทำตามวิธีการตามมาตรา 926 คือผู้จำนำซึ่งเป็นผู้ทรงต้องสลักหลังตั๋วนั้น กับมีข้อความว่า “ราคาเป็นประกัน” หรือ “ราคาเป็นจำนำ”หรือ ข้อความอย่างอื่น

    2. การจำนำตั๋วเงินนี้ใช้กับตั๋วเงินที่ “ยังไม่ถึงกำหนดใช้เงิน” (ทำนองเดียวกับขายลดเช็ค) เช่น ก. เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงิน ถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 30 มีนาคม 2554 ดังนี้ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554. จึงเอาตั๋วแลกเงินไปจำนำไว้กับ ข. เพื่อให้ได้เงินมาก่อน

    3. การสลักหลังจำนำตั๋วเงินตามมาตรา 926 ผู้ที่รับจำนำมีสิทธิเหมือนผู้ทรงที่เป็นตัวแทนนั้นเอง คือมีสิทธิเรียกเก็บเงิน ทำคำคัดค้าน ฟ้องคดี หรือสลักหลังต่อไปได้ แต่ผู้รับสลักหลังต่อไปนั้นก็คงมีสิทธิเท่าที่ผู้ทรงมีอยู่ คือ ผู้รับสลักหลังจากผู้รับจำนำก็ยังคงเป็นผู้รับจำนำอยู่นั้นเอง

    ข้อสำคัญ ผู้จำนำที่สลักหลังให้ผู้รับจำนำนั้นไม่มีความรับผิดต่อผู้รับจำนำ ผู้รับจำนำจะไปไล่เบี้ยเอาแก่ตัวผู้จำนำไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการสลักหลังเพื่อจำนำ ไม่ใช่กรณีที่ผู้ทรงสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ตั๋วเงินพิพาทให้แก่ผู้รับจำนำ การกระทำของผู้จำนำย่อมใช้ได้เพียงในฐานคำสลักหลังของตัวแทนเท่านั้น

    . ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ ข. โดยมี ค. เป็นผู้รับอาวัล จากนั้น ข. ผู้ทรงนำตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังกล่าวไปสลักหลังจำนำไว้แก่บริษัท ส. และต่อมาบริษัท ส. นำตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไปสลักหลังต่อไปให้แก่โจทก์ โจทก์นำตั๋วไปเรียกให้ ก. และ ข. ใช้เงินตามตั๋ว ปรากฏว่า ก. และ ข. ต่างปฏิเสธไม่ใช้เงิน ปัญหาว่า ส. จะมาไล่เบี้ยเอาแก่ ข. ได้หรือไม่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2552)

    การที่ ข. นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาจำนำไว้แก่บริษัท ส. ตาม สัญญาจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินโดย ข. ลงลายมือชื่อเป็นผู้จำนำไว้จึงไม่ใช่กรณีที่ ข. สลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บริษัท ส. ต่อไป การกระทำของ ข. ดังกล่าว ย่อมใช้ได้เพียงในฐานเป็นคำสลักหลังของตัวแทนตามมาตรา 926 วรรค 1ประกอบมาตรา 985 มิใช่ผู้สลักหลังที่ต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังที่ต้องใช้เงินแก่โจทก์ (ฎีกาที่ 6101/2551 วินิจฉัยทำนองเดียว)

    สรุป คือ ผู้สลักหลังเพื่อจำนำไม่มีความรับผิดต่อผู้รับจำนำหรือต่อผู้ที่รับสลักหลังต่อมาจากผู้รับจำนำ ผู้รับจำนำหรือผู้รับสลักหลังต่อมามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาก่อนผู้จำนำเท่านั้น (มีสิทธิไปฟ้องเฉพาะผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว ผู้อาวัล และผู้สลักหลังก่อนผู้จำนำ)

     

    3. การผ่อนเวลา

     

    “มาตรา 903 ในการใช้เงินตามตั๋วเงิน ท่านมิให้ให้วันผ่อน

    มาตาร 903 เป็นการผ่อนวันใช้เงิน ซึ่งหากผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลังไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย โยงมาตรา 948

    การที่ผู้ทรงต้องนำตั๋วแลกเงินไปยื่นต่อผู้จ่ายหรือผู้รับรองให้จ่ายเงินนั้น ตามมาตรา 903 ห้ามมิให้ผ่อนเวลาการใช้เงินออกไปอีก เป็นเพราะการใช้หนี้เงินตามตั๋วเงินนั้น ปกติแล้วก็เป็นการผ่อนเวลากันอยู่ในตัวแล้ว ก่อนที่จะมีการออกหรือโอนตั๋วเงินส่วนมาก มักจะมีความผูกพันในมูลหนี้เดิมก่อนนานแล้ว จึงไม่สมควรที่จะให้มีการผ่อนวันเวลาใช้เงินกันอีก นอกจากนั้นโดยประเพณีการใช้ตั๋วเงินนั้น มักไม่มีการผ่อนผันวันใช้เงินแก่กันเพราะคู่สัญญาในตั๋วเงินที่จะต้องผูกพันรับผิดมีหลายคน ไม่มีผู้ใดต้องการผูกพันรับผิดเป็นเวลายาวนานกว่าระยะเวลาที่กำหนดในตั๋วเงินนั้น เพราะต้องคอยกังวลกันเงินในกระเป๋าสำรองไว้เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดความเสียหายและไม่เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจเท่าที่ควร

    ถ้าผู้ทรงฝ่าฝืน โดยยอมผ่อนเวลาการใช้เงินให้แก่ผู้จ่ายหรือผู้รับรองย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อนๆ ซึ่งมิได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้น (มาตรา 948)

    “คู่สัญญาคนก่อนๆ” คือ ผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังคนก่อนๆ ขึ้นไป (มาตรา 906) ดังนั้น จึงไม่รวมไปถึงผู้รับรอง ผู้รับอาวัล และผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าด้วย

    เช่น   แดง ผู้สั่งจ่ายออกตั๋วแลกเงินสั่งให้กล้าเป็นผู้จ่ายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2547  เขียว สลักหลังส่งมอบให้กอล์ฟ เมื่อครบกำหนดกอล์ฟนำตั๋วแลกเงินในยื่นให้กล้าจ่ายเงิน กล้าขอจ่ายไปในวันที่ 30 สิงหาคม 2547 กอล์ฟยินยอมพอถึงกำหนดวันที่ 30 สิงหาคม 2547 กล้าไม่มีเงินจ่าย ดังนี้ กอล์ฟไล่เบี้ย  แดง และ เขียว ไม่ได้เพราะไม่ได้ยินยอมด้วยในการผ่อนเวลา

    ข้อควรพิจารณา

    1 ผลของมาตรา 903 มีบัญญัติไว้ในมาตรา 948 คือ ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่าย/ผู้ทรงก็จะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อนๆ ซึ่งมิได้ตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้น

    คำว่า “คู่สัญญาคนก่อนๆ” ได้แก่ ผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว และผู้สลักหลังคนก่อนๆ ตามมาตรา 906 แต่ไม่รวมถึงผู้รับอาวัล ฉะนั้นผู้รับอาวัลจึงไม่หลุดพ้นตามมาตรา 940 วรรค2 เพราะมิใช่เรื่องการทำผิดแบบระเบียบ

    ดังนั้น การที่ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปผ่อนเวลาให้กับผู้จ่าย ย่อมทำให้ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มิได้ตกลงด้วยหลุดพ้นจาความรับผิดตามมาตรา 948  แม้ต่อมาภายหลังผู้สั่งจ่ายไปทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อผู้ทรงหนังสือรับสภาพหนี้ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นการสำคัญผิดสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามมาตรา 156 (ฎีกาที่ 921/2501) (เพราะไม่มีหนี้ที่จะให้รับสภาพ) หรือทำนองเดียวกัน หากผู้สั่งจ่าย สั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่แทนเช็คฉบับเดิมให้แก่ผู้ทรง ผู้ทรงก็ไม่อาจนำเช็คฉบับใหม่นั้นมาฟ้องได้ เพราะไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องชำระตามเช็คนั้น

    ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปยอมผ่อนเวลาการจ่ายเงินให้แก่ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยมิได้ตกลงกับผู้สั่งจ่ายเสียก่อน ผู้ทรงตั๋วนั้นย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย และผู้สั่งจ่ายก็พ้นจากความรับผิดตาม ป..พ มาตรา 948 แม้ผู้สั่งจ่ายจะยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่ผู้ทรงก็ถือได้ว่าเป็นการสำคัญผิดในสะระสำคัญแห่งนิติกรรม เพราะขณะนั้นไม่มีหนี้อะไรเหลืออยู่แล้ว หนังสือรับสภาพหนี้ จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 156 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2501)

    ตัวอย่างเช่น ก. สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้ ข. ชำระเงินแก่ ค. วันที่ 20 มีนาคม 2554. สลักหลังโอนให้ ง. เมื่อถึงกำหนดใช้เงินแล้ว ผู้ทรงจะผ่อนวันใช้เงินไม่ได้ตามมาตรา 903

    ปัญหาว่าถ้าถึงวันใช้เงิน 20 มีนาคม 2554 แล้ว หาก ง. ผู้ทรงไปผ่อนวันใช้เงินให้แก่ ข. ผู้จ่ายแล้ว ผลจะเป็นประการใด

    มาตรา 903 ประกอบมาตรา 948 เรื่องตั๋วแลกเงินนั้น “ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินผ่อนเวลาให้ผู้จ่าย ผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาคนก่อนๆซึ่งมิได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้น”

    เมื่อ ง. ยอมผ่อนเวลาการใช้เงินให้แก่ ข. ผู้จ่าย ครั้นครบ 1 เดือน ข. ไม่ยอมจ่ายเงิน ง. ย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาคนก่อนๆ แห่งตั๋วเงิน เช่นนี้ ง. ไม่อาจที่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ ก.,. ได้ เพราะ ก., ค ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังไม่ได้ตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นตามมาตรา 903 ประกอบมาตรา 948

    ส่วน ข. ผู้จ่ายก็มิได้ลงชื่อในตั๋วเงิน ข. ย่อมไม่มีความรับผิดตามตั๋วเงิน (ฎีกาที่ 921/2503)

    2 แต่มาตรา 948 ใช้กับตั๋วแลกเงินเท่าไม่ใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คทั้งนี้เพราะมาตรา 985, 989 มิได้ให้นำเอามาตรา 948 ไปใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คด้วย ดังนั้น แม้มาตรา 903 เป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ใช้กับตั๋วเงินทุกประเภท แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือผู้ทรงเช็คยอมผ่อนเวลา ไม่มีกฎหมายบัญญัติผลเอาไว้ จึงไม่สิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับคู่สัญญาคนก่อนๆ (ฎีกาที่ 442/2521)

    การที่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินยอมผ่อนเวลาให้กับผู้ออกตั๋วนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้รับอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับผู้ออกตั๋วและไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันตามหลักทั่วไปในเรื่องค้ำประกัน จะนำมาตรา 700 มาใช้บังคับไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2521)

    หมายเหตุ

    1. ผู้รับอาวัล มีความรับผิดอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกันตามมาตรา 940 และต้องรับผิดร่วมกันต่อผู้ทรงอย่าลูกหนี้ชั้นต้นตามมาตร 967 ดังนั้น ผู้รับอาวัลจึงไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน (ตามมาตรา 680) จะนำบทบัญญัติเรื่องผู้ค้ำประกันหลุดพ้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาตามมาตรา 700 มาใช้บังคับไม่ได้

    2. กรณีเช็ค ศาลฎีกาวินิจฉัยทำนองเดียวกับตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ ทั้ง ผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง และผู้รับอาวัลไม่หลุดพ้นความรับผิด ผู้ทรงสามารถไปไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลเหล่านี้ได้ (ฎีกาที่ 1595/2509, 1083/2517, 3242/2530)

     

    4. ผู้ทรง

     

    “มาตรา 904 อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

    “ผู้ทรง” หมายถึง ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน ผู้ทรงจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามมูลหนี้ในตั๋วเงินนั่นเอง ความจริงเจ้าหนี้ตามตั๋วเงินหรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามตั๋วเงินไม่ได้ หมายถึง ผู้ทรงคนเดียวแต่รวมถึงทายาทโดยธรรมหรือโดยพินัยกรรมของผู้ทรง และรวมถึงบุคคลผู้เข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงด้วย เช่น ผู้สลักหลังที่ถูกผู้ทรงบังคับให้ใช้เงิน ผู้รับอาวัลและผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าที่ถูกผู้ทรงฟ้องบังคับให้ใช้เงิน หากบุคคลดังกล่าวได้ใช้เงินให้ผู้ทรงไปแล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้ทรงไปบังคับเอากับคู่สัญญาคนก่อนๆ นั้นได้

    ผู้ทรงตั๋วเงิน มีลักษณะสำคัญ 2 ประการประกอบกันคือ

    1. มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง และ

    2. ได้ครอบครองตั๋วเงินไว้ในฐานะหนึ่งฐานะใดใน 3 ฐานะ คือ

        1) ฐานะผู้รับเงิน

        2) ฐานะผู้รับสลักหลัง

        3) ฐานะผู้ถือ

    ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่เรียกว่าผู้ทรง ดังนั้นเพียงถูกระบุชื่อว่าเป็นผู้รับเงินหรือผู้รับสลักหลังตั๋วเงิน แต่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วฯ ยังมิได้ส่งมอบตั๋วเงินให้ หรือเป็นผู้เก็บตั๋วตกหายได้ กรณีเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นผู้ทรงเพราะมิได้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองในขณะนั้น หรือเป็นผู้ทรงที่มิได้มีสิทธิในตั๋วเงินนั้น

    ผู้ทรงในแต่ละฐานะย่อมเกิดขึ้นได้ดังนี้คือ

    1. ผู้ทรงตั๋วเงินในฐานะเป็นผู้รับเงิน เกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายระบุชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินไว้ในตั๋วเงิน เรียกว่า “ตั๋วระบุชื่อ”

    เช่น แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้น้ำเงินจ่ายเงินแก่ขาวจำนวน 10,000 บาท โดยระบุขาวเป็นผู้รับเงิน แล้วมอบตั๋วนั้นให้ขาวไป ดังนี้ขาวเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินนั้นในฐานะเป็นผู้รับเงิน

    2. ผู้ทรงตั๋วเงินในฐานะเป็นผู้รับสลักหลัง เกิดขึ้นได้ในกรณีที่ตั๋วระบุชื่อนั้นถูกสลักหลังและส่งมอบต่อไปอีก

    เช่น ตัวอย่าง ขาวผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อของตนสลักหลังโอนตั๋วนั้นให้แก่เขียวโดยระบุชื่อเขียวเป็นผู้รับสลักหลังหรือเป็นผู้รับประโยชน์ ดังนี้ เขียว เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินนั้นในฐานะเป็น ผู้รับสลักหลัง

    3. ผู้ทรงตั๋วเงินในฐานะผู้ถือ เกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายออกตั๋วเงินโดยมิได้ระบุชื่อผู้รับเงิน แต่ระบุให้จ่ายเงินแก่ “ผู้ถือ” หรือระบุชื่อผู้รับเงินแต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก กรณีเช่นนี้มักปรากฏให้เห็นในรูปแบบของเช็คเป็นส่วนใหญ่ เรียกตั๋วชนิดนี้ว่า “ตั๋วผู้ถือ”

    เช่น แดงออกเช็คสั่งธนาคารขวานทองจ่ายเงินให้ขาวจำนวนเงิน 10,000 บาท โดยมิได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ในแบบพิมพ์ของเช็คนั้นออก แล้วส่งมอบเช็คนั้นให้ขาว ดังนี้ ขาวเป็นผู้ทรงเช็คนั้นในฐานะเป็นผู้ถือ หรือเป็นผู้ทรงเช็คผู้ถือ (ดำคำพิพากษาฎีกาที่ 622/2512 เช็คที่ไม่ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออกเป็นเช็คผู้ถือ)

    4. สลักหลังไม่ขาดสาย

    มาตรา 905 เป็นบทบัญญัติเรื่องผู้ทรงในฐานะผู้รับเงิน ผู้รับการสลักหลัง ผู้ถือโดยอาจพิจารณาในประเด็น ผู้ทรงได้นั้นจะต้องได้ตั๋วเงินมาไว้ในความครอบครองในฐานะต่าง ๆ แล้วการได้ตั๋วเงินมานั้นจะต้องแสดงให้ปรากฏว่าการสลักหลักนั้นไม่ขาดสาย

    5. ผู้รับสลักหลังต้องรับโอนมาโดยไม่ขาดสาย

    “มาตรา  905 ภายในบังคับมาตรา 1008 ผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าได้แสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

    บุคคลใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากความครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิตามวรรคก่อน หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

    ความในวรรคก่อนให้ใช้แก่ตั๋วผู้ถือด้วย”

    ข้อควรพิจารณามาตรา 905

    1. มาตรา 905 เรื่องการสลักหลังนั้นใช้เฉพาะกับผู้สลักหลังตั๋วระบุชื่อเท่านั้น ไม่ใช้กับตั๋วผู้ถือเพราะตั๋วผู้ถือย่อมโอนให้ด้วยการส่งมอบตามมาตรา 918

    2. การสลักหลังจะขาดสายหรือไม่ต้องพิจารณาตามมาตรา 917, 919 และ 920 เรื่องของวิธีการโอนด้วยการสลักหลังตั๋วชนิดระบุชื่อ

    3 จากมาตรา 905 ผู้รับสลักหลังจะเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ผู้รับสลักหลังนั้นต้องพิสูจน์ให้เห็นด้วยว่า ตั๋วเงินนั้นมีการสลักหลังติดต่อมากันมาโดยไม่ขาดสาย

    ซึ่งคำว่า “ สลักหลังไม่ขาดสาย” หมายถึง ตั๋วเงินนั้นได้โอนต่อกันมาเป็นทอดๆจากผู้ทรงคนหนึ่งไปยังผู้ทรงอีกคนหนึ่ง จนถึงผู้ทรงคนปัจจุบัน

    4. มาตรา 905 เรื่องการสลักหลังไม่ขาดสาย ต้องอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 1008 หมายความว่า หากเข้ามาตรา 1008 จะไม่นำมาตรา 905 มาใช้

    มาตรา 1008 วางหลักไว้ว่า ถ้าลายมือชื่อในตั๋วเงินปลอม หรือเป็นลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ ลายมือชื่อนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงแสวงสิทธิผ่านลายมือชื่อเช่นว่านั้นไม่ได้

    ดังนั้น ถ้าลายมือชื่ออันใดในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจให้ไปพิจารณา 1008

    แท้จริงเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ลายมือชื่อสลักหลังในตั๋วเงินอันใดเป็นลายมือชื่อปลอมต้องถือว่าตั๋วเงินนั้นสลักหลังมาโดยขาดสายทันที ผู้รับโอนคนสุดท้ายย่อมไม่เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904, 905 แต่อย่างไรก็ดีผู้รับโอนก็ยังอาจบังคับตามตั๋วเงินนั้นได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 1008 (การจะเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ กับการจะบังคับตามตั๋วเงินได้หรือไม่นั้น เป็นคนละเรื่องกัน)

    ข้อสังเกต เมื่อเข้ากรณีตามมาตรา 1008 อย่าเพิ่งไปฟันธงว่า ผู้รับสลักหลังจะไม่มีสิทธิในตั๋วเงินนั้นเลย เพราะกรณีตามมาตรา 1008 แม้ผู้รับสลักหลังจะไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้รับสลักหลังอาจจะยังคงมีสิทธิตามตั๋วเงินนั้นอยู่ หากแต่สิทธิของเขาบกพร่องเท่านั้น

    ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ที่วินิจฉัยถึงมาตรา 904, 905 และมาตรา 1008

    . สั่งจ่ายเช็คระบุชื่อให้บริษัท A เป็นผู้รับเงินแล้วขีดฆ่าคำว่า ผู้ถือ (เป็นเช็คระบุชื่อ) ต่อมา ข. ซึ่งไม่ได้เป็นกรรมการบริษัท มาลงชื่อสลักหลังโอนเช็คนั้นให้ ค.โดยที่บริษัท มิได้รู้เห็นหรือยินยอม ถ้าต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ค. จะไปฟ้อง ก. ผู้สั่งจ่ายให้รับผิดตามเช็คได้หรือไม่(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2523, 2274/2534)

    ปัญหาวินิจฉัยประการแรก คือ ค. เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ค. จะเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ต้องพิสูจน์ว่า การสลักหลังไม่ขาดสาย (การสลักหลังจะไม่ขาดสายก็ต่อเมื่อ ผู้สลักหลังโอนนั้นเป็นผู้ทรงโดยชอบ)

    กรณีนี้เมื่อเช็คดังกล่าว ข. ผู้สลักหลังโอนมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท A การลงลายมือชื่อของ ข. เป็นการลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจจึงต้องถือว่า ค. มิได้แสดงให้ปรากฏสิทธิของตนว่าการสลักหลังนั้นไม่ขาดสาย (สลักหลังขาดสาย) ค. จึงไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904, 905

    .จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ ก. ผู้สั่งจ่ายใช้เงินตามเช็ค เพราะเป็นการแสวงสิทธิผ่านลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจตามาตรา 1008

    ปัญหาต่อมามีว่า แล้วกรณีนี้ ค. จะเรียกร้องให้ใครรับผิดตามเช็คได้บ้าง

    กรณีนี้ ค. สามารถมาเรียกให้ ข. รับผิดตามเช็คพิพาทได้ เพราะเมื่อ ข. เป็นผู้ลงลายมือชื่อ ข. จึงอยู่ในฐานะผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจขึ้นต่อสู้ ทั้งนี้ตามาตรา 1008 วรรค1 ตอนท้ายประกอบมาตรา 900

    นาย ก. สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะชนิดระบุชื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ฐ. ต่อมาบริษัท ฐ. จดทะเบียนยกเลิกบริษัทและชำระบัญชี หลังจากนั้น ธ. และ ส. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทได้นำเช็คพิพาทไปขายลดให้แก่โจทก์โดยลงลายมือชื่อของ ธ. และ ส. แล้วประทับตราสำคัญของบริษัท ฐ. ปรากฏว่าพอโจทก์เอาเช็คพิพาทไปขึ้นเงินกับธนาคาร ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2547)

    จงวินิจฉัยว่า โจทก์จะนำเช็คพิพาทไปฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ ก. บริษัท ฐ.  ธ. และ ส. ได้หรือไม่

    ฎีกาที่ 2940/2547*** เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะสั่งจ่ายเงินให้แก่บริษัท ฐ. บริษัท ฐ. ซึ่งเป็นผู้ทรงเท่านั้นที่จะทำสัญญาขายลดและสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เมื่อสัญญาขายลดเช็คกระทำขึ้นหลังจากที่บริษัท ฐ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270 วรรคสอง อันถือได้ว่าบริษัท ฐ. ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลแล้ว สัญญาขายลดเช็คดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ทั้งการที่ ธ. และ ส. ลงลายมือชื่อสลักหลังและประทับตราบริษัท ฐ. ในเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ก็เป็นการสลักหลังโอนโดยปราศจากอำนาจย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้เลยตามมาตรา 1008โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904, 905 จำเลยทั้งสามในฐานะผู้สั่งจ่ายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

    การที่บริษัท ฐ. ไม่มีสภาพบุคคลเท่ากับ ธ. และ ส. ได้ขายลดและสลักหลังเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวมีผลเพียงให้โจทก์มีสิทธิจะฟ้องให้ ธ. และ ส. รับผิดต่อโจทก์โดยตรงในฐานะที่นำเช็คพิพาทมาหลอกขาย และในฐานะเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทตามมาตรา 900 เท่านั้น หาทำให้โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยด้วยการสลักหลังไม่ขาดสายตามมาตรา 905 ไม่ เพราะเช็คพิพาทไม่ได้สั่งจ่ายแก่ ธ. และ ส. อันจะทำให้บุคคลทั้งสองมีสิทธิที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ได้โดยชอบ (ฎีกาที่ 2274/2534 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน

    สรุป ตามมาตรา 1008 ตั๋วเงินใด ๆ ก็ตาม ถ้าลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจ ถือว่าการสลักหลังขาดสาย ผู้ที่ได้ตั๋วเงินในครอบครองจะไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบุคคลที่ลงลายมือชื่อ ก่อนลายมือชื่อปลอม หรือลงโดยปราศจากอำนาจนั้นได้

     

    5. บทสรุป

     

    ตั๋วเงิน หมายถึง เอกสารที่ใช้แทนเงิน ปกติในเวลาที่ทำการซื้อขายทรัพย์สินในราคาสูง ผู้ซื้อจำต้องนำเงินไปชำระให้ผู้ขายซึ่งในการนำเงินไปมาก ๆ ทำให้ไม่สะดวกในการตรวจนับ และ ในการเดินทางก็ไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยปัจจุบันนี้ดังนั้นนักธุรกิจส่วนมากนิยมใช้ ตั๋วเงินแทน ยิ่งกว่าในบางครั้งผู้ซื้อจำต้องชำระหนี้อาจมีเงินสดไม่เพียงพอในขณะนั้น แต่เจ้าหนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการชำระหนี้ ซึ่งถ้าลูกหนี้ออกตั๋วเงินล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ย่อมมีโอกาส เอาตั๋วเงินนั้นมาใช้ก่อนได้ ตั๋วเงินนี้นับว่าเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นทุกวัน แต่ความหมายหรือ คำจำกัดความของตั๋วเงินตามกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นแม่บท เรื่องนี้มิได้บัญญัติไว้ให้ชัดเจนว่าตั๋วเงินคืออะไร

    ตั๋วเงิน มีสามชนิดคือ

        1. ตั๋วแลกเงิน (มีคู่สัญญา ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย ผู้รับเงิน)

        2.ตั๋วสัญญาใช้เงิน (มีคู่สัญญา ผู้ออกตั๋ว ผู้รับเงิน)

        3. เช็ค (มีคู่สัญญา ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย ผู้รับเงิน)

    บุคลลจะต้องรับผิดในตั๋วเงินนั้น เป็นเรื่องความรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินโดยรับผิดต่อเมื่อได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน โดยอาจลงชื่อ จริง ชื่อย่อ นามสมมติก็ได้ โดยอาจรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง ผู้รับอาวัล ผู้จ่าย เป็นต้น

    จากมาตรา 900 วรรคแรก

    บุคคลหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

     “ลายมือชื่อแปลได้ว่าชื่อที่เขียนด้วยมือ แต่ถ้าบุคคลใดแขนด้วนทั้งสองข้าง จึงได้ใช้ปากหรือเท้าเขียนแทนลายมือชื่อ ก็น่าจะใช้ได้ และถือว่าเป็นลายมือชื่อที่ถูกต้อง

    คำว่า ลายมือชื่อก็คือลายเซ็นนั่นเอง บางคนอาจเขียนลายเซ็นของตนจนอ่านไม่ออกและเดาไม่ได้และถ้าปลอมได้ยากแล้วย่อมจัดว่าเป็นลายเซ็นที่ดีและสวยงาม

    คำว่า ลายมือชื่อของตนแปลว่า ลายมือชื่อของคนที่ลงหรือลายเซ็นของคนที่ลง แม้ว่าลายมือชื่อของคนที่ลงจะไม่ตรงกัน (เป็นคนละชื่อ) ก็ตาม เช่น การปลอมลายมือชื่อของบุคคลอื่นหรือลงลายมือชื่อของคนอื่นโดยปราศจากอำนาจ (มาตรา 1008) ย่อมจะมีผลบังคับไปถึงผู้ลงลายมือชื่อนั้นด้วย แม้ว่าผู้ลงลายมือชื่อนั้นจะมิใช่ชื่อนั้นก็ตาม

    ดังนั้น การดีดพิมพ์ชื่อของตนลงในตั๋วเงินในฐานะหนึ่งฐานะใดหรือการใช้ตรายางที่แกะเป็นชื่อตัวและหรือชื่อสกุลตัวบรรจงย่อมไม่ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามความในมาตรา 900 วรรคแรก

    หลัก ผู้ใดลงลายมือชื่อ ผู้นั้นต้องรับผิดโดยอาจเชื่อมโยงกับมาตรา 914 ถือเป็นมาตราหัวใจของตั๋วเงิน

    ข้อยกเว้นการลงชื่อไม่ต้องรับผิด

    1) ลงลายชื่อในตั๋วเงินโดยเขียนแถลงว่าทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง (มาตรา 901)

    มาตรา 901 หลักก็คือ บุคคลใดที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินไม่ว่าในฐานะใดจะต้องเขียนให้ได้ความชัดเจนว่าลงชื่อแทนบุคคลใดหรือลงชื่อในฐานะทำการแทนผู้ใด โดยระบุชื่อบุคคลที่ตนลงชื่อแทนลงไปด้วย มิฉะนั้นผู้ลงลายมือชื่อจะต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินนั้นเพียงลำพัง หรือรับผิดเป็นการส่วนตั

    2) กรณีที่ผู้ทรงตั๋วเงินยอมผ่อนเวลาใช้เงินให้แก่ผู้จ่าย หรือผู้รับรองโดยที่คู่สัญญาคนก่อนๆ (ผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง) ไม่ยินยอม (มาตรา 903, 906, 948)

    3)กรณีที่ผู้ทรงเช็คเซ็นชื่อลงในเช็คเพื่อเป็นหลักฐานแสดงการรับเงินไปจากธนาคารถือว่าผู้ทรงไม่มีเจตนาที่จะเข้าผูกพันรับผิดสลักหลังเช็คนั้น

    4) กรณีอื่นๆ ในแต่ละเรื่องที่ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินสามารถหลุดพ้นจากความรับผิดได้ เช่น มาตรา 915 (1), 990, 993 วรรคสอง, 1007, 1008

    สำหรับผู้ที่มิได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน โดยทั่วไปแล้วผู้นั้นไม่ต้องรับผิดในฐานะใดแต่ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบท (ถูกกฎหมายปิดปาก) แล้ว บุคคลนั้นอาจต้องรับผิดและถูกผู้ทรงฟ้องบังคับไล่เบี้ยได้ (ดูมาตรา 1008)

    การผ่อนเวลา ตามมาตรา 903 เป็นการผ่อนวันใช้เงิน ซึ่งหากผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลังไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย โยงมาตรา 948

    การที่ผู้ทรงต้องนำตั๋วแลกเงินไปยื่นต่อผู้จ่ายหรือผู้รับรองให้จ่ายเงินนั้น ตามมาตรา 903 ห้ามมิให้ผ่อนเวลาการใช้เงินออกไปอีก เป็นเพราะการใช้หนี้เงินตามตั๋วเงินนั้น ปกติแล้วก็เป็นการผ่อนเวลากันอยู่ในตัวแล้ว ก่อนที่จะมีการออกหรือโอนตั๋วเงินส่วนมาก มักจะมีความผูกพันในมูลหนี้เดิมก่อนนานแล้ว

    ถ้าผู้ทรงฝ่าฝืน โดยยอมผ่อนเวลาการใช้เงินให้แก่ผู้จ่ายหรือผู้รับรองย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อนๆ ซึ่งมิได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้น (มาตรา 948)

    คู่สัญญาคนก่อนๆคือ ผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังคนก่อนๆ ขึ้นไป (มาตรา 906) ดังนั้น จึงไม่รวมไปถึงผู้รับรอง ผู้รับอาวัล และผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าด้วย

    เช่น  ก้องผู้สั่งจ่ายออกตั๋วแลกเงินสั่งให้กล้าเป็นผู้จ่ายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ก้อยสลักหลังส่งมอบให้กอล์ฟ เมื่อครบกำหนดกอล์ฟนำตั๋วแลกเงินในยื่นให้กล้าจ่ายเงิน กล้าขอจ่ายในวันที่ 30 สิงหาคม 2547 กอล์ฟยินยอมพอถึงกำหนดวันที่ 30 สิงหาคม 2547 กล้าไม่มีเงินจ่าย ดังนี้ กอล์ฟไล่เบี้ย ก้องและก้อยไม่ได้เพราะไม่ได้ยินยอมด้วยในการผ่อนเวลา

    ผู้ทรงหมายถึง ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน ผู้ทรงจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามมูลหนี้ในตั๋วเงินนั่นเอง ไม่ได้ หมายถึง ผู้ทรงคนเดียวแต่รวมถึงทายาทโดยธรรมหรือโดยพินัยกรรมของผู้ทรง และรวมถึงบุคคลผู้เข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงด้วย เช่น ผู้สลักหลังที่ถูกผู้ทรงบังคับให้ใช้เงิน ผู้รับอาวัลและผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าที่ถูกผู้ทรงฟ้องบังคับให้ใช้เงิน หากบุคคลดังกล่าวได้ใช้เงินให้ผู้ทรงไปแล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้ทรงไปบังคับเอากับคู่สัญญาคนก่อนๆ นั้นได้

    ผู้ทรงตั๋วเงิน มีลักษณะสำคัญ 2 ประการประกอบกันคือ

    1. มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง และ

    2. ได้ครอบครองตั๋วเงินไว้ในฐานะหนึ่งฐานะใดใน 3 ฐานะ คือ

    (1) ฐานะผู้รับเงิน

    (2) ฐานะผู้รับสลักหลัง

    (3) ฐานะผู้ถือ

    (4) สลักหลังไม่ขาดสาย

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    คำถามท้ายบท

     

    แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในสมุดรายงาน และส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป

     

    1. ตั๋วเงิน มีกี่ประเภท ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    2. ผู้ทรงคือใคร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    3. ใครบ้างต้องรับผิดในตั๋วเงิน ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    4. มะรอมลีสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อให้บริษัทกุ๊กไก่ เป็นผู้รับเงินแล้วขีดฆ่าคำว่า ผู้ถือ (เป็นเช็คระบุชื่อ) ต่อมา มะนาวาวี ซึ่งไม่ได้เป็นกรรมการบริษัท มาลงชื่อสลักหลังโอนเช็คนั้นให้มะแอโดยที่บริษัท มิได้รู้เห็นหรือยินยอม ถ้าต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มะแอ จะไปฟ้อง มะรอมลี ผู้สั่งจ่ายให้รับผิดตามเช็คได้หรือไม่ ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    5. ขาวผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อของตนสลักหลังโอนตั๋วนั้นให้แก่เขียวโดยระบุชื่อเขียวเป็นผู้รับสลักหลังหรือเป็นผู้รับประโยชน์ ดังนี้ เขียว เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินนั้นในฐานะเป็น ผู้รับสลักหลังหรือไม่ เพราะเหตุใด ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    6. การผ่อนเวลาคืออะไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    7. ถ้าผู้ทรงฝ่าฝืน โดยยอมผ่อนเวลาการใช้เงินให้แก่ผู้จ่ายหรือผู้รับรองย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อนๆ ซึ่งมิได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้น ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    8. . ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ ข. โดยมี ค. เป็นผู้รับอาวัล จากนั้น ข. ผู้ทรงนำตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังกล่าวไปสลักหลังจำนำไว้แก่บริษัท ส. และต่อมาบริษัท ส. นำตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไปสลักหลังต่อไปให้แก่โจทก์ โจทก์นำตั๋วไปเรียกให้ ก. และ ข. ใช้เงินตามตั๋ว ปรากฏว่า ก. และ ข. ต่างปฏิเสธไม่ใช้เงิน ปัญหาว่า ส. จะมาไล่เบี้ยเอาแก่ ข. ได้หรือไม่ ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    9. . สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้ ข. ชำระเงินแก่ ค. วันที่ 20 มีนาคม 2554. สลักหลังโอนให้ ง. เมื่อถึงกำหนดใช้เงินแล้ว ผู้ทรงจะผ่อนวันใช้เงินไม่ได้ตามมาตรา 903 ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    ปัญหาว่าถ้าถึงวันใช้เงิน 20 มีนาคม 2554 แล้ว หาก ง. ผู้ทรงไปผ่อนวันใช้เงินให้แก่ ข. ผู้จ่ายแล้ว ผลจะเป็นประการใด ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    10. โดยที่คู่สัญญาในตั๋วเงินมีได้หลายคน มาตรา 902 ได้แบ่งบุคคลผู้ลงลายมือชื่อเข้าผูกพันเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินออกเป็นกี่ประเภท ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

     

     

     

     

     

     

     

     

    เอกสารอ้างอิง

     

    ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์. คำอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2554

    สหธน รัตนไพจิตร.  (2543).  คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน   ( พิมพครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: วิญูชน.

    สามิตร ศิริมาตย.  (2546).  ปญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดความผิดอันเกี่ยวกับการใชเช็ค. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

    อัมพร ณ ตะกั่วทุง.  (2548).  คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   นิติบรรณการ.

    อุทิศ แสนโกศิก.  (2515).  หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพสรรพาสามิต. อุทิศอนุสรณงานศพ.

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    หลักคำพิพากษาศาลฎีกา

     


  • บทที่ 3

    แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3 ตั๋วแลกเงิน

     

    เนื้อหาประจำบท

    1. ความหมายของตั๋วแลกเงิน

    2. วันถึงกำหนดใช้เงิน

    3. การสลักหลัง

    4. การโอนตั๋วเงิน

    5. การอาวัล

    6. การไล่เบี้ย

    7. บทสรุป

    จำนวนชั่วโมงที่สอน 18 ชั่วโมง

     

    วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

    เมื่อศึกษาบทที่ 3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. อธิบายความหมายชองตั๋วแลกเงิน

    2. อธิบายวันถึงกำหนดใช้เงิน

    3. อธิบายการสลักหลัง

    4. อธิบายการโอนตั๋วเงิน

    5. อธิบายการอาวัล

    6. อธิบายการไล่เบี้ย

     

    วิธีการสอนและกิจกรรม

    1.เข้าสู่เนื้อหาบทนำ บรรยายประกอบ ตัวบทกฎหมาย

    2.สรุปและซักถาม

    3. กิจกรรมในชั้นเรียน

    4. นักศึกษาค้นหาข้อมูลกรณีศึกษาทางหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

     

    สื่อการเรียนการสอน

    1. ตัวบทกฎหมาย

    2. เอกสารประกอบการสอน

    3. เครื่องคอมพิวเตอร์

    การวัดผลและประเมินผล

    คะแนนสอบปลายภาคเรียน                                      100%

     

     

     

    บทที่ 3

    ตั๋วแลกเงิน

     

    ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) หรือ ดราฟท์ (Draft)”  เป็นตราสารที่ผู้ออกตราสารหรือผู้ออกตั๋วสั่งให้บุคคลหนึ่งจ่ายเงินให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งทั้ง 2 แบบหมายความเหมือนกัน และนิยมเรียกว่า ดราฟท์ ส่วนใหญ่หมายถึง ดราฟท์ของธนาคารเอง หรือเป็นตราสารที่ใช้ขึ้นเงินจากธนาคารอื่น .ในบททนี้จะเป็นการศึกษาความหมาย หลักเกณฑ์ และวิธีการต่างๆกี่ยวกับตั๋วแลกเงิน

     

    1. ความหมายของตั๋วแลกเงิน

     

    มาตรา 908 อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือหนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง แก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน

    อันตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือตราสาร ซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งผู้จ่ายให้ใช้เงินแก่ผู้รับเงิน

    ตั๋วแลกเงินมีลักษณะ ดังนี้

    1. เป็นเอกสารอันเป็นตราสาร มีบุคคลเกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่าย ได้แก่

    1.1 ผู้สั่งจ่าย (Drawer) อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้จ่ายตามมูลหนี้เดิมและอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ผู้รับเงิน หรือผู้ถือตามมูลหนี้เดิมและมูลหนี้ในตั๋ว

    1.2 ผู้จ่าย (Drawee) อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ของผู้สั่งจ่ายตามมูลหนี้เดิม

    1.3 ผู้รับเงิน (Payee) อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้สั่งจ่ายตามมูลหนี้เดิมและปัจจุบันเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงินฉบับนี้ด้วย

     

    มาตรา 909 อันตั๋วแลกเงินนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ

    (1) คำบอกกล่าวเป็นตั๋วแลกเงิน

    (2)คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน

    (4)วันถึงกำหนดใช้เงิน (ศึกษาคู่กับมาตรา 913)

    (6)ชื่อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

    (7)วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน”

    ข้อควรพิจารณา

    1. มาตรา 909(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน

    ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค ตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภทนี้ในขณะออกตั๋วเงิน ผู้ให้กำเนินตั๋วเงินมีหน้าที่ต้องกรอกจำนวนเงินลงไป หากไม่กรอกตั๋วเงินนั้นย่อมไม่มีรายการตามที่กฎหมายกำหนดไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วเงิน ไม่ว่าบุคคลใดก็ไม่อาจนำตั๋วเงินดังกล่าวมาฟ้องผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วให้รับผิดได้

    2. มาตรา 909(6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

    2.1 มาตรา 988 (4) เรื่องรายการในเช็คก็บัญญัติไว้ทำนองเดียวกัน ดังนั้น ทั้งตั๋วแลกเงินและเช็คมี 2 ประเภท คือ ตั๋วชนิดระบุชื่อและตั๋วผู้ถือ แต่มาตรา 983(5) เรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีคำว่า “ให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ” ดังนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินจึงมีแต่เพียงตั๋วชนิดระบุชื่อไม่มีตั๋วผู้ถือ หากเขียนคำว่า “หรือผู้ถือ” ลงไป ย่อมไม่มีผลอย่างใดแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 899

    2.2 เช็คหรือตั๋วแลกเงินที่เขียนคำว่า “จ่าย      สด     .” แล้วขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก เป็นตั๋วเงินที่ไม่มีรายการที่กฎหมายกำหนดไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วเงิน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889) จำนำตั๋วเงินนั้นมาฟ้องไม่ได้ (คำพิพากษาศาลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6305/2548)

    3. มาตรา 909(4) วันถึงกำหนดใช้เงิน (ศึกษาในมาตรา 913)

    “มาตรา 910 ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่านระบุบัง คับไว้ใน มาตรา ก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน เว้นแต่กรณีดั่งจะกล่าว ดังต่อไปนี้ คือ

    ตั๋วแลกเงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น

    ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาของ ผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน

    ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย

    ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย คนหนึ่งคนใดทำ การโดยสุจริต จะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้

    มาตรา 910 วรรค 1 ตั๋วแลกเงินอันมีรายการขาดตกบกพร่องตามมาตราก่อนย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

    วรรคท้าย ถ้ามิได้ลงวันที่ออกตั๋ว ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายผู้กระทำการโดยสุจริต จะลงวันที่ถูกต้องแท้จริงลงไปก็ได้

    ข้อควรพิจารณา

    1. ตั๋วแลกเงินที่ขาดรายการดังต่อไปนี้ไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงินจะนำตั๋วแลกเงินนั้นมาฟ้องให้บุคคลใดรับผิดไม่ได้เลยตามมาตรา 910 วรรค1 (ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 910 วรรค 2-5)

    1.1     มาตรา 909(1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

    1.2     มาตรา 909(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน (ดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2548 ในมาตรา 909(2))

    1.3     มาตรา 909(3) ชื่อผู้จ่าย

    1.4     มาตรา 909(6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

    1.5     มาตรา 909(8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

    2. แต่ถ้าเป็นรายการในมาตรา 909(4), (5) และ (7) มาตรา 910 วรรค 2 ถึง วรรค 5 ได้บัญญัติยกเว้นไว้ให้ตั๋วแลกเงินยังคงมีรายการสมบูรณ์

    2.1 ตั๋วแลกเงินที่ไม่ระบุเวลาใช้เงินให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นตามมาตรา 910 วรรค2 ประกอบมาตรา 909(4)

    2.2 ตั๋วแลกเงินที่มิได้แถลงสถานที่ใช้เงินให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงินมาตรา 910 วรรค 3

    2.3 ตั๋วแลกเงินไม่แสดงสถานที่ออกตั๋วให้ถือว่าออก ณ ภูมิลำเนาของผู้จ่าย มาตรา 910 วรรค 4 ประกอบมาตรา 909 (7)

    2.4 ตั๋วแลกเงินไม่ลงวันออกตั๋ว ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายผู้กระทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงไปก็ได้ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบมาตรา 909(7)

    3. มาตรา 910 นี้นำไปใช้กับเรื่องเช็คด้วยโดยผลของมาตรา 989 แต่มิให้นำไปใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินเพราะในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินนี้มาตรา 984 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว (อย่างไรก็ดีมาตรา 984 มีหลักเกณฑ์เหมือนมาตรา 910 ทุกประการ)

    4. มาตรา 910 สาระสำคัญอยู่ในวรรคท้าย ตั๋วแลกเงินย่อมหมายถึงตั๋วสัญญาใช้เงินตามาตรา 984 วรรคท้ายและเช็คตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบมาตรา 989 ด้วย

    5. มาตรา 910 วรรคท้าย นำมาใช้ 2กรณี

    5.1 ตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ออกวันที่ออกตั๋วไว้เลย

    5.2 ตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายขีดเส้นสีดำในช่องวันที่ในตั๋ว (วันที่      -    ) ซึ่งเส้นสีดำนั้น หามีผลอย่างใด แก่ตั๋วแลกเงินไม่ตามมาตรา 899 ถือเป็นกรณีตั๋วแลกเงินมิได้ลงวันที่ออกตั๋ว (คำพิพากษาศาลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542)

    ข้อสำคัญ หากเป็นกรณีที่ตั๋วแลกเงินมีการลงวันที่ออกตั๋วไว้อยู่แล้วแต่ผู้ทรงมาทำการแก้ไขวันที่ออกตั๋ว กรณีเช่นนี้ไม่ใช่มาตรา 910 วรรคท้ายหากแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในตั๋วเงินตามมาตรา 1007 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2534)

    6. ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 904, 905) ต้องกระทำการโดยสุจริตด้วยจึงจะมีอำนาจลงวันที่ออกตั๋วได้

     

    2. วันถึงกำหนดใช้เงิน

     

    “มาตรา 913 อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้น ท่านว่าย่อมเป็น อย่างใดอย่างหนึ่งดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ

    (1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ

    (2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ

    (3) เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น หรือ

    (4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น"

    ข้อควรพิจารณา

    1. มาตรา 913 วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน มีความสำคัญคือ

    1.1 เป็นวันที่ผู้ทรงมีสิทธินำตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อผู้จ่ายหรือผู้ออกตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน

    1.2 เป็นวันเริ่มนับอายุความฟ้องคดีตามตั๋วเงิน

    1.3 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด กรณีไม่มีการใช้เงินตามตั๋วเงิน

    1.4 เป็นวันที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ทรงมีหน้าที่ต้องกระทำการบางอย่าง เช่น การทำคำคัดค้าน

    2. วันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วเงินแต่ละประเภท

    2.1 วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน มีความหมายเหมือนกัน ตามมาตรา 913 คือวันถึงกำหนดใช้เงิน

    ข้อสังเกต เมื่อพิจารณาตามเรื่องรายการในตั๋วแลกเงิน มาตรา 909(4), 983(3) คือวันถึงกำหนดใช้เงิน โดยมาตรา 913 เป็นบทขยายความของมาตรา 909(4) และ 983(3) นั่นเอง

    2.2 วันถึงกำหนดใช้เงินตามเช็ค มาตรา 989 มิได้ให้นำมาตรา 913 มาใช้ และมาตรา 988 เรื่องรายการในเช็คก็มิได้บัญญัติถึงเรื่องวันถึงกำหนดใช้เงินเอาไว้ ฉะนั้นวันถึงกำหนดใช้เงินตามเช็คก็ได้แก่ “วันที่ทวงถาม”

    “วันที่ทวงถาม” หมายถึง วันที่ผู้สั่งจ่ายลงวันที่ในเช็คให้ผู้ทรงมีสิทธินำเช็คไปขึ้นเงินได้

    เช่น ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็ควันที่ 1 มีนาคม 2553 ลงวันที่ในเช็ควันที่ 1 เมษายน 2553 เช่นนี้วันที่ 1เมษายน  2553 จึงเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน (เช็คสามารถลงวันที่ล่วงหน้าได้) และอายุความตามเช็คก็นับแต่วันนั้น

    หมายเหตุ แต่จะเริ่มคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ ก็ต่อเมื่อวันที่มีการเอาเช็คไปขึ้นเงินแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน วันที่ออกตั๋วและวันที่ตั๋วถึงกำหนดใช้เงินอาจเป็นคนละวันกันก็ได้ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินมีอยู่ 4 กรณี

    1.1 มาตรา 913 (1) วันที่กำหนดในตั๋ว คือวันที่ผู้จ่ายหรือผู้ออกตั๋วกำหนดว่าให้จ่ายวันที่เท่าใด

    1.2 มาตรา 913 (2) เมื่อสิ้นเวลาที่กำหนดนับแต่วันที่ออกตั๋ว เช่น 3 เดือนนับแต่วันออกตั๋ว

    1.3 มาตรา 913 (3) เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น

    1.4 มาตรา 913(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้เมื่อได้เห็น

    เช่น ผู้สั่งจ่ายเขียนลงในตั๋วแลกเงินว่า “เมื่อครบ 3 เดือนนับแต่วันที่ได้เห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้ ให้จ่ายเงินตามคำสั่งของ

    ตั๋วชนิดนี้ ผู้ทรงมีหน้าที่ต้องนำตั๋วไปยื่นให้ผู้จ่ายเห็นก่อนแล้วนับแต่วันนั้นไปครบ 3 เดือนจึงจะเป็นวันถึงกำหนดใช้เงิน แต่ทั้งนี้ ผู้ทรงก็อยู่ในบังคับต้องนำตั๋วดังกล่าวไปยื่นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินตามมาตรา 928, 944

     

    3. การสลักหลัง

     

    การสลักหลัง คือการแสดงเจตนาของผู้ทรงที่ประสงค์จะโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วเงินนั้นไปยังผู้รับสลักหลัง การสลักหลังมี 2 วิธี คือ

    1) การสลักหลังเฉพาะ คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้ทรงเดิม) ลงลายมือชื่อของตนเองในตั๋วเงิน พร้อมทั้งระบุชื่อรับประโยชน์หรือสลักหลังลงไปด้วย ผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลังอาจสลักหลังเฉพาะเพื่อโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปตามวิธีการดังกล่าวได้เช่นกัน

    2) การสลักหลังลอย คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้ทรงเดิม) ลงลายมือชื่อของตนโดยลำพังด้านหลังตั๋วเงิน โดยมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลังลงไปด้วย ผู้ทรงในฐานะเป็นผู้ได้รับตั๋วเงินจากการสลักหลังลอย สามารถโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปด้วยการส่งมอบธรรมดาเสมือนเป็นผู้ถือ

    การสลักหลังไม่ขาดสาย หมายถึง การสลักหลังตั๋วเงินโดยโอนรับช่วงติดต่อกันมาตามลำดับจนถึงมือของผู้ทรงคนปัจจุบันโดยไม่ขาดตอน

    ตัวอย่าง

    ก. ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน สั่งให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. จำนวน 1,000 บาท เมื่อ ค. นำไปยื่นให้ ข. จ่ายเงินปรากฎว่า ข. ปฏิเสธการจ่ายเงิน ค. สามารถนำตั๋วแลกเงินมาไล่เบี้ยให้ ก. ผู้สั่งจ่ายรับผิดได้ ตามมาตรา 900, 914

    ตัวอย่าง

    หนึ่งออกตั๋วแลกเงินล่วงหน้าสั่งให้สองจ่ายเงินให้แก่สาม 1,000 บาท สามสลักหลังส่งมอบให้สี่ สี่สลักหลังส่งมอบให้ห้า ห้าสลักหลังส่งมอบให้หก การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนี้ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ

    การสลักหลังขาดสาย หมายถึง การสลักหลังตั๋วเงินไม่ต่อเนื่องกันมาตามลำดับ โดยขาดตอนไปช่วงใดช่วงหนึ่งหรือหลายช่วง เช่น หนึ่งออกตั๋วแลกเงินล่วงหน้าสั่งให้สองจ่ายเงินแก่สาม 3,000 บาท  สามสลักหลังโอนโดยระบุสี่เป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาปรากฏว่าห้าได้สลักหลังโอน ตั๋วนั้นให้หกโดยไม่ทราบว่าห้าได้รับสลักหลังโอนตั๋วนี้มาจากสี่ได้อย่างไร การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวจึงไม่ต่อเนื่องกันตามลำดับ แต่ขาดช่วงจากสี่มาห้า

    ดังนี้ หากไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงิน เพราะการสลักหลังขาดสาย

    สูตรย่อ

    มาตรา 905 ภายใต้บังคับ มาตรา 1008 การสลักหลังไม่ขาดสาย แม้รายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม

    วรรค 2 มีตั๋วเงินแล้วไม่จำต้องสละ เว้นแต่ ได้มาโดยทุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

    ในมาตรา 905 วรรคแรก กล่าวถึงผู้ทรงตั๋วเงินระบุชื่อในฐานะผู้รับสลักหลังจะเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อได้แสดงให้ปรากฏสิทธิว่าตั๋วเงิน (ระบุชื่อ) นั้นได้มีการสลักหลังโอนติดต่อกัน (ต่อเนื่องกัน) โดยไม่ขาดสาย (ในกรณีที่มีการสลักหลังโอนกันต่อ ๆ กันมาหลายราย) แม้ว่าจะมีการสลักหลังลอยไว้เป็นรายที่สุดหรือรายสุดท้ายก็ตาม ก็ให้ถือว่าผู้ที่พิสูจน์สิทธิการได้ตั๋วเงินมาดังกล่าวเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

    หลักเกณฑ์ในมาตรา 905 วรรคสอง มุ่งคุ้มครองผู้ทรงตั๋วเงินที่สุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการได้รับตั๋วเงินนั้นมา เป็นการคุ้มครองผู้ทรงหรือผู้รับโอนตั๋วเงินซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้โอนแม้จะบกพร่องเพียงใด จึงจัดเป็นบทหนึ่งที่กำหนดให้ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน และถือเป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” นั่นคือผู้ทรงที่รับตั๋วเงินนั้นไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งสามารถพิสูจน์สิทธิการได้รับโอนมาตามหลักการในมาตรา 905 วรรคแรก (กรณีที่มีการสลักหลังโอนติดต่อกันมา) ผู้ทรงตั๋วเงินนั้นย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้ทรงตั๋วเงินเดิมหรือเจ้าของเดิมที่ทำตั๋วหายหรือถูกลักไป ฯลฯ

    ตัวอย่าง

    อาจออกเช็คระบุชื่ออ้วนเป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คนั้นออก ระบุสั่งให้ธนาคารฯ จ่ายเงิน 60,000 บาท อ้วนทำเช็คหายไป อ๊อดเก็บได้จึงนำไปสลักหลังปลอมลายมือชื่ออ้วนโอนเช็คให้แก่โอ่งซึ่งรับโอนไว้โดยสุจริต ต่อมาปรากฏว่าเช็คฉบับนี้ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ โอ่งจะฟ้องหรือเรียกร้องผู้ใดให้รับผิดตามเช็คได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

    โอ่งเป็นผู้ทรงหรือไม่ การเป็นผู้ทรงต้องมีเช็คไว้ในครอบครองและการสลักหลังต้องไม่ขาดสาย เช็คหรือตั๋วผู้ถือ อันนี้ไม่มีขาดสายแน่ ๆ แต่หากเป็นเช็คระบุชื่อ หรือตั๋วเงินระบุชื่ออันนี้ขาดสายได้ กรณีตามปัญหาเมื่อนายอ๊อดไปปลอมลายมือชื่อของนายอ้วน ต้องถือว่านายโอ่งผู้ทรงโดยสุจริต ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยผ่านลายมือชื่อปลอมแต่มีสิทธิไล่เบี้ยนายอ้วน  ผู้ปลอมตามมาตรา 900 เพราะการลงลายมือชื่อมิได้บังคับว่าต้องลงลายมือชื่อของตนเอง

    ระบุชื่อ  917 ว. 1 + 919 + 920 ไม่ขาด 905

    การโอนตั๋ว

    ผู้ถือ     918 + 921

     

    ดูเรื่องผู้ทรง มาตรา 904, มาตรา 905 ผู้ทรงต้องมีตั๋วแลกเงินหรือเช็คไว้ในครอบครอง โดยผู้ที่โอนสิทธิในเช็คหรือตั๋วแลกเงิน จะต้องมีสิทธิด้วย หากเป็นบุคคลอื่นอื่นเก็บเช็คหรือตั๋วเงินได้ หากเป็นเช็คหรือตั๋วเงินระบุชื่อ แม้จะสุจริตเพียงใด ต้องคืนแก่เจ้าของแท้จริง

     

    กรณีเป็นเช็คหรือตั๋วและเงินผู้ถือจะไม่มีการสลักหลังขาดสาย ดูเพียงว่าสุจริตหรือไม่

    ตัวอย่าง

    นายหนึ่งเขียนตั๋วแลกเงินสั่งนายสองจ่ายเงิน 1,000 บาท ให้แก่นายสาม นายสามสลักหลังโอนตั๋วฯ ให้นาย ก. นายดำขโมยตั๋วฯ ฉบับนี้จากนาย ก. แล้วปลอมลายมือชื่อของนาย ก. สลักหลังโอนตั๋วฯ ให้นาย ข. นาย ข. สลักหลังโอนตั๋วฯ ให้นาย ค. และนาย ค. สลักหลังโอนตั๋วฯ ให้นาย ง. เมื่อตั๋วฯ ถึงกำหนดนาย ง. เรียกเก็บเงินจากนายสองไม่ได้ นาย ง. จึงทำคำคัดค้านโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้ นาย ง. จะฟ้องบุคคลใดให้รับผิดได้บ้าง

    ดูแผนภูมิประกอบ

     

     

     

     

     

     

     

     


    ปัญหา นาย ง. เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินหรือไม่         คำตอบ คือเป็นผู้ทรงแต่มีเหตุบกพร่องเพราะมาตรา 905 อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1008 กล่าวคือ ลายมือชื่อปลอมบุคคลที่ครอบครองตั๋วเงินไม่สามารถอ้างกับผู้ทรงที่แท้จริงได้ กล่าวคือระหว่าง นาย ก. กับนาย ง. นาย ก. มีสิทธิดีกว่า เพราะลายมือชื่อของนาย ง เป็นลายมือชื่อปลอม นาย ง. ไม่สามารถอ้างอิงในการยึดถือตั๋วเงินไว้ได้(เป็นผู้ทรงหรือไม่นั้นท่านอาจารย์ยังถกเถียงกันอยู่)

    หากนาย ก. ไม่มาเรียกตั๋วเงินคืน นาย ง. จะไล่เบี้ยบุคคลใดได้บ้าง นาย ง. สามารถไล่เบี้ย นาย ค. นาย ข. เพราะลายมือชื่อปลอมไม่กระทบกระทั่งถึงลายมือชื่อที่แท้จริง ตามมาตรา 1006 และสามารถไล่เบี้ยนายดำได้ตามมาตรา 900 ในฐานะผู้ที่ลงลายมือชื่อแต่ไม่สามารถไล่เบี้ยนายหนึ่งผู้สั่งจ่าย นายสอง ผู้จ่าย นายสามผู้สลักหลัง และนาย ก. ได้ เพราะเป็นการไล่เบี้ยผ่านลายมือชื่อปลอมต้องห้าม

    หาก นาย ก. ไปรับรองต่อนาย ข. ว่าลายมือชื่อที่นายดำทำการปลอมเป็นลายมือชื่อของตน อย่างนี้นาย ก. ถูกตัดบทมิให้ยกข้อต่อสู้เรื่องลายมือชื่อปลอม ตามมาตรา 1008 วรรค 1 ตอนท้าย

    นอกจากหากตั๋วเงินถึงกำหนดตั๋ว นาย ก. ไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย หากนายสองผู้จ่ายได้จ่ายเงินตามตั๋วเงินให้ไป นายสองย่อมหลุดพ้นความรับผิด ตามมาตรา 949

    นายดำกับนาย ก. เป็นพี่น้องกัน นาย ก. เกรงว่า นายดำจะมีความผิดอาญา

     

    มาตรา 908“ตั๋วแลกเงินคือหนังสือตราสารและมีข้อความของผู้สั่งจ่ายให้ผู้จ่ายใช้เงินให้แก่ผู้รับเงิน หรือให้ใช้ตามคำสั่งของผู้รับเงิน”

    ข้อสังเกต

    (1) ตั๋วแลกเงินมีคู่สัญญาเบื้องต้น 3 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่ายมีคำสั่งให้ผู้จ่ายใช้เงินแก่ผู้ทรง

    เว้นแต่ กรณีตามมาตรา 921 คู่สัญญาในตั๋วแลกเงินอาจมีเพียง 2 ฝ่ายก็ได้

    (2) เอกสารที่ไม่ระบุว่าเป็นตั๋วแลกเงินย่อมไม่เป็นตั๋วแลกเงิน

    มาตรา 909“รายการสำคัญในตั๋วแลกเงิน คือ (1), (2), (3), (6) และ (8) ประกอบมาตรา 910 หากรายการสำคัญในมาตรา 909 บกพร่องไปแล้วย่อมเป็นผลให้ตั๋วแลกเงินนั้นไม่สมบูรณ์ ส่วนรายการใน (4) (5) และ (7) แม้ไม่ระบุไว้ กฎหมายก็ยกเว้นให้และทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นยังสมบูรณ์ใช้บังคับได้”

    มาตรา 911“ผู้สั่งจ่ายเขียนข้อกำหนดให้มีการคิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินลงในตั๋วแลกเงินนั้นได้ และถ้ามิได้กำหนดให้คิดเมือใดก็ให้คิดกันตั้งแต่วันเดือนปีที่ลงในตั๋วแลกเงินนั้น

    มาตรานี้ บัญญัติให้สิทธิผู้สั่งจ่ายลงข้อกำหนดระบุให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในตั๋วแลกเงินได้อันเป็นประโยชน์แก่ผู้รับเงินหรือผู้ทรง ตามปกติต้องไม่เกิน 15% ต่อปี ถ้าเกินต้องลดลงมาเป็น 15% ต่อปี (มาตรา 654) แต่ถ้าผู้สั่งจ่ายได้เขียนกำหนดดอกเบี้ยลงไว้ในตั๋ว แต่มิได้กำหนดว่าร้อยละเท่าไร ดังนี้ต้องนำมาตรา 7 มาบังคับ คือคิดร้อยละ 7.5 ต่อปี มีปัญหาต่อไปว่าจะเริ่มคิดดอกเบี้ยแต่เมื่อใด ตามปกติแล้วผู้สั่งจ่ายมีอำนาจกำหนดได้ แต่ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้กำหนดไว้ชัดว่าให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด เช่นนี้ มาตรา 911 ท่านให้คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ลงในตั๋ว (หรือวันออกตั๋ว) เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันก่อนวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้น มาตรา 911 นี้ จึงเป็นบทยกเว้นหลักทั่วไปในมาตรา 224 ในเรื่องหนี้ที่บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยได้นับตั้งแต่วันที่หนี้ถึงกำหนดและลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้

    ข้อสังเกต

    (1) มาตรา 911 นี้ นำไปใช้บังคับกับตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย แต่ไม่ใช้กับเช็ค (ในตั๋วสัญญาใช้เงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเสมอ) (ดูมาตรา 985 วรรคแรก)

    (2) ถ้าผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินไม่ลงข้อกำหนดดอกเบี้ยลงในตั๋วแลกเงิน ก็จะไม่คิดให้กันตามมาตรานี้ แม้ต่อมาผู้สั่งจ่ายจะผิดนัดไม่ใช้เงินก็ตาม แต่ผู้ทรงยังมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำนวนเงินในตั๋วได้ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน

    (3) การคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 911 ให้เริ่มนับจากวันที่ลงในตั๋วหรือวันออกตั๋วย่อมได้ดอกเบี้ยมากกว่าการคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 968 (2) ซึ่งผู้ทรงจะเรียกเอาได้โดยนับจากวันที่ตั๋วถึงกำหนดใช้เงินเป็นต้นไป

    (4) ผู้สั่งจ่ายเช็คจะกำหนดดอกเบี้ยในเช็คไม่ได้ เพราะมาตรา 989 วรรคแรก มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 911 ไปใช้บังคับกับเช็คด้วย ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยในเช็ค จึงคิดได้ตามหลักทั่วไปในเรื่องหนี้ กล่าวคือ คิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 คือร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปี ในระหว่างผิดนัด ถ้ามีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในเช็ค กรณีย่อมเป็นผลตามมาตรา 899

     

    4. การโอนตั๋วเงิน

     

    การโอนตั๋วเงินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น บัญญัติเกี่ยวกับการโอนตั๋วเงินไว้ดังนี้

     

    4.1 การโอนตั๋วเงินชนิดระบุชื่อ

    “ตามมาตรา 917 อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

    เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ดั่งนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ

    อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋วนั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายอื่นใดแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีกได้”

    มาตรา 917 วรรคแรก หมายความว่าตั๋วและเงินระบุชื่อทุกฉบับถ้าผู้ทรงประสงค์จะโอนต่อไป ย่อมทำได้ง่ายเพียงสลักหลังและส่งมอบ ถือเป็นการโอนหนี้ตามตั๋วเงินนั้นแล้ว

    ข้อความที่ว่า แม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง” นั้น หมายความว่าตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายมีคำสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินแก่ผู้รับเงินนั้น ตามความหมายในมาตรา 908 ผู้สั่งจ่ายอาจระบุเป็นคำสั่งว่า “ให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเงิน หรือตามคำสั่งของผู้รับเงิน” เช่น ก. ออกตั๋วแลกเงินระบุสั่งให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. ว่า “ให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. หรือตามคำสั่ง ของ ค.” ดังนี้ แม้ว่าจะไม่มีคำว่า “หรือตามคำสั่งของ ค.” อยู่ในตั๋วนั้นเลย ค. ก็มีสิทธิที่จะโอนตั๋วฯ นั้นต่อไปให้บุคคลอื่นด้วยการสลักหลังและส่งมอบ

    การสลักหลัง (Indorsement) เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดในตั๋วเงินนั้นไปยังผู้รับสลักหลัง (ดูมาตรา 920 วรรคแรก) การสลักหลังมีวิธีการตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 919 ควรทำความเข้าใจไว้ก่อนด้วย (ดูมาตรา 919)

    ข้อสังเกต มาตรา 917 วรรคแรก

    การโอนตั๋วระบุชื่อด้วยการส่งมอบเพียงอย่างเดียว การโอนตั๋วฯ ย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 917 วรรคแรก และถือว่าการโอนตั๋วระบุชื่อนั้นขาดตอนหรือขาดสายลง แม้ต่อมาจะโอนถูกต้อง ผู้ทรงก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนได้รับโอนตั๋วฯ นั้นมาจากการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสายตามมาตรา 905 วรรคแรก แต่ตั๋วฯ ระบุชื่ออาจโอนโดยส่งมอบเพียงลำพังก็ได้ ถ้าผู้ทรงได้ตั๋วระบุชื่อนั้นมาจากการสลักหลังลอย (ดูมาตรา 920 วรรค 2(3))

    มาตรา 919 วรรคแรก กล่าวถึงวิธีการสลักหลังตั๋วแลกเงินระบุชื่อ ผู้โอนต้องเขียนคำสลักหลังลงในตั๋วแลกเงิน จะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้ แต่ส่วนใหญ่นิยมสลักหลังด้านหลังตั๋วฯ นั้น ถ้าเนื้อที่ในตั๋วฯ ไม่เพียงพอที่จะเขียนคำสลักหลังได้ อาจเป็นเพราะมีการโอนต่อ ๆ กันมากราย ผู้โอนจะเขียนคำสลักหลังโอนลงในใบประจำต่อก็ได้ตามวิธีการในมาตรา 907 วรรคท้าย และการสลักหลังทุกครั้ง ผู้สลักหลังจะต้องลงลายมือชื่อสลักหลังลงในตั๋วฯ หรือใบประจำต่อนั้นด้วย

    วิธีการสลักหลังตั๋วแลกเงิน ผู้สลักหลังมักจะระบุชื่อและหรือชื่อสกุลของผู้รับสลักหลังลงในตั๋วเงินด้วย เช่น ขาวเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินในฐานะผู้รับเงินประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินของตนให้เขียว ขาวอาจเขียนคำสลักหลังระบุไว้ในตั๋วฯ นั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของตนกำกับไว้ จะลงวันเดือนปีหรือไม่ก็ได้ เช่น

    เมื่อขาวเขียนคำสลักหลังดังกล่าวแล้วมอบตั๋วฯ นั้นให้เขียวไป เขียวในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ย่อมเป็นผู้ทรงในฐานะเป็นผู้รับสลักหลัง การสลักหลังระบุชื่อบุคคลผู้รับสลักหลังดังกล่าว เรียกว่า “สลักหลังเฉพาะ”

    ยังมีวิธีการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินอีกวิธีหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในวรรคท้าย ซึ่งผู้สลักหลังไม่จำต้องระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลัง เพียงลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังเพียงลำพังที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินนั้นหรือด้านหลังใบประจำต่อก็เพียงพอแล้ว การสลักหลังดังกล่าว เรียกว่า “สลักหลังลอย” เช่น ขาวประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินของตนให้เขียว ขาวจึงลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วฯ นั้น แล้วมอบตั๋วฯ นั้นให้เขียวไป เช่นนี้ เขียวย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงที่ได้ตั๋วฯ มาจากการสลักหลังลอยของขาว (ดูมาตรา 905 วรรคแรก)

    จากการศึกษามาตรา 905 วรรคแรก, 917 และ 919 อาจสรุปได้ว่าการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินระบุชื่อมี 2 วิธี คือ

    1. การสลักหลังเฉพาะ ระบุชื่อของผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลังและมีการลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง  วรรค 1

    2. การสลักหลังลอย ไม่ต้องระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลัง เพียงลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังเพียงลำพัง วรรค 2

     

    4.2 การโอนตั๋วเงินแบบสลักหลังลอย

    “มาตรา 920 อันการสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ ตั๋วแลกเงิน

    ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดั่งกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่ง ประการใดก็ ได้ คือ

    (1) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเอง หรือชื่อบุคคลอื่น ผู้ใดผู้หนึ่ง

    (2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้ แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง

    (3) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอก โดยไม่กรอกความลง ในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด”

    มาตรา 920 วรรคแรก กล่าวถึง ผลของการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินตามวิธีการดังกล่าวมาในมาตรา 917 และ 919 (ตั๋วระบุชื่อ) กล่าวคือ การสลักหลังตั๋วแลกเงินเป็นการแสดงเจตนาโอนสิทธิทั้งหลายอันเกิดแก่ตั๋วแลกเงินนั้นทั้งหมดไปยังผู้รับสลักหลัง

    ความในวรรคสองของมาตรา 920 กล่าวถึงสิทธิของผู้ทรงในฐานะที่ได้รับตั๋วแลกเงินมาจากการสลักหลังลอยตามความในมาตรา 919 วรรคท้าย

    เช่น เขียวเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินจากการสลักหลังลอยของขาว เขียวอาจเลือกกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการต่อไปนี้ก็ได้คือ

    1) ระบุชื่อของเขียวเองลงเหนือลายมือชื่อขาวผู้สลักหลังลอย เท่ากับว่าขาวสลักหลังให้เขียว หรือเขียวอาจระบุชื่อบุคคลอื่นที่ตนประสงค์จะโอนตั๋วฯ ต่อไปให้ เช่น เขียวอาจระบุ “จ่ายให้เหลือง” ลงเหนือลายมือชื่อขาว มีผลเท่ากับว่าขาวสลักหลังโอนตั๋วฯ นั้นให้เหลืองโดยตรง หรือ

    2) เขียวอาจสลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปอีกด้วยการลงลายือชื่อตนเองเพียงลำพังเป็นการสลักหลังลอยโอนตั๋วฯ นั้นให้บุคคลอื่นหรือสลักหลังเฉพาะโดยระบุชื่อบุคคลอื่นพร้อมทั้งลงลายมือชื่อของตนโอนตั๋วนั้นต่อไป หรือ

    3) เขียวอาจโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปด้วยการส่งมอบตั๋วฯ นั้นให้กับบุคคลอื่นเช่นให้เหลืองโดยไม่กรอกข้อความใด ๆ และไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใดก็ได้ เมื่อเหลืองได้รับตั๋วฯ นั้นไว้แล้วก็เป็นผู้ทรง และถือว่าเหลืองได้ตั๋วฯ นั้นมาจากการสลักหลังลอยของขาวโดยตรงเหลือย่อมมีสิทธิโอนตั๋วฯ นั้นได้เช่นเดียวกับเขียว

    การโอนตั๋วระบุชื่อตามมาตรา 920 (3) นั้น จึงทำได้ง่ายเพียงการส่งมอบก็สมบูรณ์เช่นเดียวกับตั๋วผู้ถือ แต่ตั๋วฯ นั้นยังคงเป็นตั๋วระบุชื่อตลอดไป ถ้าเหลืองสลักหลังเฉพาะต่อให้น้ำเงิน (ระบุชื่อน้ำเงิน) ตามมาตรา 920(2) ตอนท้าย หากน้ำเงินประสงค์จะโอนตั๋วฯ นั้นต่อไปอีก ก็ต้องสลักหลังและส่งมอบตามวิธีการที่กล่าวแล้วในมาตรา 917 วรรคแรก และ 919

     

    4.3 การโอนตั๋วเงินชนิดผู้ถือ

    ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้เงินแก่ผู้ถือ อาจเรียกให้เข้าใจง่ายและสั้นๆ คือ “ตั๋วผู้ถือ” วิธีการโอนตั๋วผู้ถือนั้นง่ายมาก เพียงผู้โอน (ผู้ทรงคนก่อน) ส่งมอบตั๋วผู้ถือให้ผู้ทรง (ผู้รับโอน) หรือตัวแทนของผู้ทรงก็สมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องสลักหลังโอนดังเช่นตั๋วระบุชื่อตามที่กล่าวแล้วในมาตรา 917 วรรคแรก หากผู้ทรงคนก่อนสลักหลังโอนตั๋วผู้ถือแล้วส่งมอบตั๋วฯ นั้นให้ผู้ทรง เช่นนี้ การโอนตั๋วผู้ถือนั้นย่อมสมบูรณ์เพราะการส่งมอบ มิได้สมบูรณ์เพราะการสลักหลัง แต่ผู้ทรงคนก่อนที่สลักหลังโอนตั๋วผู้ถือนั้น มาตรา 921 บัญญัติให้ถือว่าเป็นการค้ำประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย นั่นคือ ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่าย (มาตรา 921, 940 วรรคแรก) มิใช่รับผิดในฐานะผู้สลักหลังดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 914

    “มาตรา 918 ตั๋วผู้ถือนั้นย่อมโอนได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน”

    ข้อควรพิจารณา

    1. ตั๋วผู้ถือมีเฉพาะในตั๋วแลกเงิน/เช็ค ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีตั๋วผู้ถือตามมาตรา 983 (5)

    หมายเหตุ และในมาตรา 985 ก็มิได้นำมาตรา 918 มิใช้แก่ตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. ตั๋วผู้ถือมี 2 รูปแบบ

       2.1 ตั๋วแลกเงิน/เช็ค มีข้อความว่า “จ่าย      สด        หรือผู้ถือ” เช่นนี้ ย่อมเป็นเช็คผู้ถือ

       2.2 ตั๋วแลกเงิน/เช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน แล้วไม่ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก เช่น “จ่าย     นายA    หรือผู้ถือ” กรณีนี้ ศาลฎีกาตีความว่า ผู้สั่งจ่ายมิได้มีเจตนาให้เพียงแต่ผู้มีชื่อเท่านั้นเป็นผู้รับเงิน หากแต่ให้ชำระแก่ผู้ถือด้วย จึงถือเป็นเช็คผู้ถือ (ไม่ใช่เช็คระบุชื่อ)

    หมายเหตุ แต่ถ้าเช็คที่มีการระบุชื่อผู้รับเงิน แม้ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ”ออก แต่กลับมีข้อความว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” เช่นนี้ ตั๋วเงินดังกล่าวก็ย่อมกลายเป็นตั๋วเงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ ตามมาตรา 917 วรรค2 ไม่ใช่ตั๋วผู้ถืออีกต่อไป (อ.จิตติ)

    3. วิธีการโอนตั๋วผู้ถือ สามารถกระทำได้โดยการส่งมอบแต่เพียงลำพังตามมาตรา 918

    แต่หากการที่ผู้โอนลงชื่อสลักหลังตั๋วชนิดผู้ถือ ผู้ลงชื่อสลักหลังไม่อยู่ในฐานะผู้สลักหลัง หากแต่เป็นการประกันอาวัลผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 (มาตรา 921 ใช้เฉพาะกับตั๋วผู้ถือเท่านั้น) (แต่ถ้ามีการส่งมอบด้วยก็ถือเป็นทั้งการโอนและการอาวัล)

    หมายเหตุ มาตรา 921 ขอยกไปอธิบายในเรื่องอาวัล มาตรา 938-940

    4. เช็คชนิดผู้ถือ แม้จะมีการขีดคร่อมไว้ก็ยังคงเป็นเช็คผู้ถือ สามารถโอนต่อไปได้ด้วยการส่งมอบ

    เช็คระบุชื่อก็เช่นกัน แม้จะมีการขีดคร่อมไว้ ก็ยังคงสามารถโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลังลอย/เฉพาะ

    หมายเหตุ การโอนเช็คกับการขีดคร่อมเช็คเป็นคนละเรื่องกัน การขีดคร่อมมีผลแต่เพียงธนาคารต้องจ่ายเงินผ่านทางบัญชีธนาคารเท่านั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับเรื่องการโอนแต่ประการใด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ฎีกาที่ 1015/2532, 2485/2523, 4336/2534)

    5. เช็คผู้ถือ แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ตาม เช็คดังกล่าวก็ยังคงสามารถโอนต่อไปได้ด้วยการส่งมอบ

    หมายเหตุ เช็คระบุชื่อก็ทำนองเดียวกัน แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็สามารถโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลังเฉพาะ/ลอย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ฎีกาที่ 1043/2534, 2062/2537)

     

    5. การอาวัล

     

    การอาวัลจะมีการอาวัลตามแบบ และการอาวัลโดยผลของกฎหมาย และ นำไปใช้กับตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภท

     

    5.1 การอาวัลโดยผลของกฎหมาย

    มาตรา 918, 921 การโอนตั๋วแลกเงินผู้ถือทำได้โดยการส่งมอบ หากไปทำการสลักหลังย่อมเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย (โดยผลของกฎหมาย)

    โดย ผลของการอาวัล คือรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนค้ำประกัน แม้ความผิดของบุคคลซึ่งตนรับอาวัลจะตกเป็นอันใช้ไม่ได้เพราะเหตุใด ความรับผิดของผู้รับอาวัลก็ดำรงอยู่ประเด็นสอบ เราดูว่าตั๋วเงินหรือเช็คเป็นประเภทอะไร หากเป็นประเภทผู้ถือแล้วมีการสลักหลัง

    ผู้สลักหลังก็จะรับผิดตามมาตรา 918, 921, 940 อาจจะนำไปผูกโยงเรื่องเช็คในกรณีธนาคารรับรองการใช้เงินโดยผู้สั่งจ่ายไม่ร้องขอ ซึ่งผลก็คือผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง หลุดพ้น แต่ผู้อาวัลไม่หลุดพ้นตามมาตรา 993

     

     

     

     

     


    มาตรา 938 วรรคแรก คำว่า “ผู้ค้ำประกัน” หมายถึง ผู้รับอาวัล นั่นเอง ผู้รับอาวัลการใช้เงินของคู่สัญญาคนใด จะรับอาวัลทั้งจำนวนหรือรับอาวัลบางส่วนก็ได้ เช่นตั๋วแลกเงินราคา 10,000 บาท แดงเข้ารับอาวัลการสั่งจ่ายเงินของผู้สั่งจ่าย (ผู้ถูกรับอาวัล) เพียง 5,000 บาท ก็ได้ ผู้ทรงจะยอมรับหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    วรรคท้าย ผู้รับอาวัล อาจเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีเครดิตดีหรืออาจเป็นคู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามตั๋วฯ นั้นคนใดคนหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์หรือความตกลงใจของผู้ทรง สำหรับผู้ที่ถูกรับอาวัลนั้น จะเป็นคู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งก็ได้

    มาตรา 939 กล่าวถึงวิธีการรับอาวัลตั๋วเงินหรือวิธีการเข้ามาเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับอาวัลคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้น

    วิธีการรับอาวัล กระทำได้ 2 วิธีคือ

    1. ลงข้อความใน (ด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้) ตั๋วเงินหรือใบประจำต่อโดยใช้ถ้อยคำสำนวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” (Good as aval) หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน เช่น “ค้ำประกัน” หรือ “รับประกัน” หรือ “ขอประกัน” ฯลฯ และ ต้อง ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล ทั้งต้องระบุชื่อผู้ถูกรับอาวัล หากไม่ระบุไว้ให้ถือว่ารับอาวัลผู้สั่งจ่าย (มาตรา 939 วรรคแรก, วรรคสองและวรรคท้าย) หรือ

    2. ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลเพียงลำพังในด้านหน้า ตั๋วเงินนั้น โดยไม่ต้องเขียนข้อความดังกล่าวในวรรค 2 ก็ถือเป็นการรับอาวัลเช่นเดียวกัน (โดยถือว่าเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย) ยกเว้นการลงลายมือชื่อของ ผู้จ่าย และ ผู้สั่งจ่าย ทั้งนี้เพราะการลงลายมือชื่อของ ผู้จ่าย เพียงลำพังนั้นจะไปพ้องกับการรับรองตั๋วฯ ของผู้จ่าย (มาตรา 931) ทำให้พิสูจน์ยุ่งยาก สำหรับการลงลายมือชื่อของ ผู้สั่งจ่าย นั้น กฎหมายห้ามไว้เพราะมีลักษณะเป็นการอาวัลการจ่ายเงินตัวเอง ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อผู้ทรงแต่อย่างใด (มาตรา 939 วรรค 3) ซึ่งถ้าเป็นบุคคลภายนอกที่มีฐานะการเงินดีย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นมีเครดิตยิ่งขึ้น (ดูมาตรา 938 วรรคท้าย) โดยเฉพาะผู้จ่ายที่เป็นธนาคารหากเข้ารับอาวัลลูกค้าของธนาคารซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วเงิน ธนาคารต้องผูกพันรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล

    ข้อสังเกต

    การแสดงเจตนาเข้ารับอาวัลคู่สัญญาคนใดต้องระบุนามคู่สัญญาคนนั้นด้วย มิฉะนั้น จะถือว่ารับอาวัลผู้สั่งจ่ายเพราะเป็นผู้ให้กำเนิดตั๋ว

    ความในมาตรา 940 วรรคแรก กล่าวถึงความรับผิดของผู้รับอาวัล ต้องผูกพันรับผิดเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน กล่าวคือหนี้และความรับผิดของผู้รับอาวัลและผู้ถูกรับอาวัลเป็นหนี้เงินจำนวนเดียวกัน (เว้นแต่ ผู้รับอาวัลจะขอรับอาวัลบางส่วนตามมาตรา 938 วรรคแรก) เช่น แดงรับอาวัลขาวผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่ง แดงก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับขาวผู้สั่งจ่าย การฟ้องร้องผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002 เช่นเดียวกับผู้สั่งจ่าย

    ความที่ว่า “ต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน” จึงมีความหมายว่าบุคคลซึ่งตนประกันมีหน้าที่ต้องรับผิดอย่างไร ผู้รับอาวัลก็ต้องมีหน้าที่รับผิดตามส่วนที่ตนประกันนั้น อนึ่ง คำว่า “บุคคลซึ่งตนประกัน” ก็หมายถึงผู้ถูกรับอาวัล นั่นเอง ดังนั้น การที่ผู้รับอาวัลได้รับอาวัลคู่สัญญาในตั๋วเงินคนใด ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับคู่สัญญาคนนั้น แต่มิได้รับผิดต่อคู่สัญญาคนนั้น นอกจากนี้ ผู้รับอาวัลยังต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรงตั๋วเงินด้วย

    ว. 2 ความในวรรคสองได้เน้นความรับผิดของผู้รับอาวัลเป็นทำนองว่า ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเสมอ แม้บางกรณีผู้ถูกรับอาวัล (บุคคลซึ่งตนประกัน) อาจหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้ เช่น ผู้ถูกรับอาวัลเข้าเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินเพราะถูกกลฉ้อฉลหรือถูกหลอกลวงเข้ามาหรือถูกข่มขู่ให้เข้าเป็นคู่สัญญาหรือเป็นบุคคลหย่อนความสามารถเช่นเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริต ดังนี้ ผู้ถูกรับอาวัลอาจหลุดพ้นจากความรับผิดได้อันเนื่องจากบุคคลนั้นหรือผู้แทนโดยชอบธรรมได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้วก็ตาม แต่ผู้รับอาวัลยังคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นอยู่ กฎหมายถือว่า “ข้อที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์” ผู้รับอาวัลจะหลุดพ้นจากความรับผิดต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นผิดแบบหรือระเบียบ เช่น

    1. การที่ผู้ทรงไม่ทำคำคัดค้าน (960 + 973)

    2. การลงลายมือชื่อไม่ถูกต้อง ตาม ม. 900

     

    5.2 การอาวัลตามแบบ

    มาตรา 938 มาตรา939 และมาตรา 940 เป็นกรณีบุคคลภายนอกหรือคู่สัญญาเป็นผู้รับรองตั๋วเงินให้มีความเชื่อถือ มากขึ้นโดยลงข้อความว่าใช้ได้เป็นอาวัลหรือค้ำประกัน

    หากลงชื่อเพียงอย่างเดียวด้านหน้าก็ผูกพันแล้วถือเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย

    เมื่อมีการอาวัลย่อมต้องรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล ทั้งนี้แม้ความรับผิดของบุคคลนั้นจะตกเป็นอันใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ผู้อาวัลก็ไม่หลุดพ้น เว้นแต่ทำผิดแบบระเบียบในเรื่องแบบฟอร์มตั๋วเงิน การสลักหลัง การรับรอง การคัดค้าน เป็นต้น

    ทั้งนี้เมื่อผู้อาวัลได้ใช้เงินแก่ผู้ทรงแล้ว ผู้อาวัลย่อมใช้สิทธิในการไล่เบี้ย บุคคลที่ตนประกัน และบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิด

    โดยอาจอาวัลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ไม่เหมือนกรณีการโอนตั๋วเงินบางส่วนตามมาตรา 922 จึงเป็นโมฆะ

    หากไม่ระบุจำนวนถือว่าอาวัลเต็มจำนวน

    ข้อความ “อาวัล” “การันตี” “ค้ำประกัน”          เป็นต้น

    นำไปใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็คด้วย

    เมื่อผู้อาวัลได้ใช้เงินให้แก่ผู้ทรงไปแล้ว ผู้อาวัลย่อมไล่เบี้ยบุคคลซึ่งตนอาวัล และบุคคลซึ่งต้องรับผิดต่อเขาได้ แต่ระหว่างผู้รับอาวัลด้วยกันไล่เบี้ยไม่ได้

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    เมื่อตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ จ. ไล่เบี้ยได้ทุกคน หาก A จ่ายเงินไป A ไล่เบี้ย ง. ได้ในฐานะบุคคลซึ่งตนอาวัล และไล่เบี้ย ค, D, , ก ได้ในฐานะบุคคล ซึ่งต้องรับผิดต่อ ง. แต่ไล่เบี้ย B ไม่ได้ เช่นเดียวกันหาก B ใช้เงินไปก็ไล่เบี้ย A ไม่ได้ แต่ไล่เบี้ยบุคคลที่กล่าวมาได้

    ข้อควรพิจารณา

    1. มาตรา 938 ความหมายของการอาวัล

    มาตรา 938 วรรค 1 ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกันการใช้เงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งเรียกว่า “อาวัล”

    จากมาตรา 938 วรรค 1 การรับอาวัลคือการค้ำประกันความรับผิดของลูกหนี้ในตั๋วเงิน

    เช่น ก. ไปซื้อรถจาก ข.. ชำระราคารถด้วยเช็ค ข. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เกรงว่าเช็คจะขึ้นเงินไม่ได้ ข. จึงเรียกให้ ก. หาบุคคลมารับอาวัลเช็คดังกล่าว ก. จึงให้นาย A มาอาวัลเช็คนั้น

    ดังนั้น หากธนาคารปฏิเสธ ข. ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วเงิน ข. จึงชอบที่จะไปฟ้องเรียกให้ ก. หรือ A รับผิดตามตั๋วเงินนั้นได้

    2. ผู้รับอาวัลแตกต่างกับผู้ค้ำประกันตามมาตรา 680

       2.1 ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ชั้นที่ 2 กล่าวคือ หากพิจารณามาตรา 688-690 ผู้ค้ำมีสิทธิเกี่ยงหือบอกปัดให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชั้นต้นรับผิดก่อนได้

    แต่เรื่องผู้รับอาวัล มาตรา 940 วรรค 1 “ผู้รับอาวัลต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน” ดังนั้น ผู้รับอาวัลย่อมไม่มีสิทธิเกี่ยงหรือบอกปัดความรับผิดดังเช่นผู้ค้ำประกัน

    อีกทั้งมาตรา 967 วรรค 1 “ผู้รับอาวัล” “ต้องรับผิดร่วมกันต่อผู้ทรง” ผู้ทรงจะฟ้องแต่เฉพาะผู้รับอาวัลให้รับผิดตามตั๋วเงินโดยไม่ต้องฟ้องผู้สั่งจ่ายก็ได้

       2.2 มาตรา 681 ค้ำประกันมีได้เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์

    แต่มาตรา 940 วรรค2 แม้ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้นจะใช้ไม่ได้ สัญญารับอาวัลยังคงสมบูรณ์ (แม้บุคคลที่ตนประกันไม่ต้องรับผิด แต่ผู้รับอาวัลก็ต้องรับผิด)

    หมายเหตุ ฉะนั้นบทบัญญัติในเรื่องค้ำประกันย่อมไม่นำมาใช้กับเรื่องผู้รับอาวัล

       2.3 มาตรา 938 วรรค 2 อันอาวัลนั้น บุคคลภายนอกจะเป็นผู้รับอาวัลหรือคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินจะเป็นผู้รับอาวัลก็ได้ (แต่ทางปฏิบัติก็มักเป็นเรื่องบุคคลภายนอก)

    แต่ในเรื่องค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลภายนอกเท่านั้น ตามมาตรา 680 ผู้ค้ำประกันจะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้เองไม่ได้

    หมายเหตุ ปัญหาว่า ผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋วเงิน หรือผู้จ่าย  จะเป็นผู้รับอาวัลได้หรือไม่

    เมื่อพิจารณาตามมาตรา 938 วรรค2 แล้วก็ต้องตอบว่าได้ แต่เมื่อพิจารณาตามมาตรา 939 วรรค3 ผู้รับอาวัลลงชื่อด้านหน้าตั๋วเงินก็เป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่จะเป็นลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

    จากมาตรา 939 วรรค 3 อธิบายได้ว่า บุคคลใดก็ตามเพียงแค่มาลงลายมือชื่อด้านหน้าตั๋วเงิน ก็เป็นการรับอาวัลตั๋วเงินแล้ว

    แต่ถ้าผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายนั้น จะมารับอาวัลได้ก็แต่โดยมีข้อความว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือข้อความอื่นใดทำนองเดียวกัน แล้วลงลายมือชื่อตามมาตรา 939 วรรค 1,2 จึงจะมีผลเป็นการอาวัล (ผู้สั่งจ่าย/ผู้จ่ายจะลงชื่อเพียงลำพังตามมาตรา 939 วรรค 3ไม่ได้) ต้องรับอาวัลเต็มตามรูปแบบตามมาตรา 939 วรรค 1,2

    กรณีผู้สั่งจ่ายต้องลงชื่อด้านหน้าอยู่แล้ว

    กรณีผู้จ่าย หากผู้จ่ายเพียงแต่ลงชื่อด้านหน้าตั๋วเงินเพียงลำพังก็ย่อมเป็นเพียงการรับรองตั๋วเงินตามมาตรา 931

    สรุป ผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่าย ก็อาจเป็นผู้รับอาวัลได้แต่ต้องกระทำตามมาตรา 939 วรรค 2 คือต้องเขียนข้อความว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” แล้วจึงลงชื่อด้านหน้าตั๋วเงิน จึงจะมีผลสมบูรณ์เป็นอาวัล แต่ทั้งนี้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายจะลงชื่อเพียงลำพังไม่ได้ โดยผลของมาตรา 939 วรรค 3

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2523 โจทก์ออกตั๋วแลกเงินสั่งธนาคารให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 ปรากฏว่าธนาคารลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วแลกเงินใต้ข้อความคำว่า “เป็นอาวัลค้ำประกันผู้สั่งจ่าย” ต้องถือว่าการลงลายมือชื่อของธนาคารดังกล่าวเป็นอาวัลและผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้ตามมาตรา 938 วรรค2 ตอนท้าย

     

    5.3 วิธีการรับอาวัล

    ตามมาตรา 939 มีหลายวิธี

       5.3.1 มาตรา 939 วรรค 1 และ 2 การรับอาวัลตามรูปแบบ

              5.3.1.1 มาตรา 939 วรรค 1 การรับอาวัลให้เขียนลงในตั๋วเงิน

                        (1) การรับอาวัลต้องเขียนลงในตั๋วเงินเท่านั้น จะทำในเอกสารอื่นๆไม่ได้ (กิจการทุกชนิดเกี่ยวกับตั๋วเงินต้องทำในตั๋วเงินเท่านั้น)

                        (2)การรับอาวัลเต็มรูปแบบนี้จะเขียนลงในด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้

              5.3.1.2 มาตรา 939 วรรค 2 เขียนข้อความว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือข้อความอื่นทำนองเดียวกัน

    ข้อความอื่นทำนองเดียวกับ “ใช้ได้เป็นอาวัล” เช่น “For guarantee, good as aval

    หมายเหตุ การเขียนข้อความว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” จะเขียนลงด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับไว้

    ข้อสังเกต แต่การเขียนข้อความบางอย่างลงในตั๋วเงิน กฎหมายบังคับไว้โดยเฉพาะว่าต้องกระทำเฉพาะด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินเท่านั้นเช่น

    (1) การสลักหลังลอย มาตรา 919 วรรค 2 ต้องกระทำด้านหลังตั๋วเงินเท่านั้น

    (2) การขีดคร่อมเช็ค ต้องกระทำด้านหน้าตั๋วเงินเท่านั้น

    (3) การเขียนข้อความว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้ ตามมาตรา 917 วรรค 2 ต้องกระทำด้านหน้าตั๋วเงินเท่านั้น

                5.3.1.3 ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

       5.3.2 กรณีที่กฎหมายถือว่าเป็นการรับอาวัล (การรับอาวัลโดยผลของกฎหมาย) มีอยู่ 2 กรณี

               5.3.2.1 มาตรา 939 วรรค 3 ผู้ลงลายมือชื่อด้านหน้าตั๋วเงินแม้มิได้เขียนข้อความอื่นใด

                           (1)ไม่ว่าตั๋วเงินระบุชื่อหรือตั๋วผู้ถือก็ตาม ถ้าบุคคลใดมาลงลายมือชื่อด้านหน้าตั๋วเงิน บุคคลนั้นก็เป็นผู้รับอาวัลตั๋วเงิน

                             (2)การรับอาวัลวิธีนี้ไม่ใช้กับผู้สั่งจ่ายและผู้จ่าย ซึ่งผู้สั่งจ่ายและผู้จ่ายหากประสงค์จะรับอาวัล ก็ต้องกระทำโดยวิธีการตามรูปแบบในมาตรา 939 วรรค 2 เท่านั้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2523)

                5.3.2.2 มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วผู้ถือ (ตั๋วแลกเงิน/เช็ค) ผู้ลงชื่อสลักหลังตั๋วผู้ถือ ต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย แม้ว่าจะมิได้กรอกข้อความอย่างอื่นเลยก็ตาม

    หมายเหตุ ผู้ไปลงลายมือชื่อในตั๋วผู้ถือ ไม่ว่าจะลงลายมือชื่อด้านหน้าหรือด้านหลังก็แล้วแต่ ย่อมตกเป็นผู้รับอาวัลทั้งสิ้น แต่เป็นผู้รับอาวัลคนละมาตรา

    (1)ลงชื่อด้านหน้า = ผู้รับอาวัลตามมาตรา 939 วรรค 3

    (2)ลงชื่อด้านหลัง = ผู้รับอาวัลตามมาตรา 921

     

    5.4 ผู้รับอาวัลตั๋วระบุชื่อ

    ตามมาตรา 939 วรรค 3 นั้น ต้องกระทำด้านหน้าตั๋วเงินเท่านั้น หากไปลงลายมือชื่อด้านหลังย่อมไม่ใช่ผู้รับอาวัลแต่อาจต้องรับผิดฐานะผู้ลงชื่อในตั๋วเงินตามมาตรา 900 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2524(ป))

    ตัวอย่าง : สั่งจ่ายเช็คระบุชื่อ นาย A เป็นผู้รับเงิน (ขีดฆ่าคำว่า “ผูถือ” ออก) เป็นเช็คชนิดระบุชื่อ ปรากฏว่า นาย ข. ซึ่งเป็นเพื่อนของ ก.มาลงลายมือชื่อด้านหลังเช็ค แล้วต่อมาธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน

    จงวินิจฉัย A จะฟ้อง ก.,. ให้รับผิดตามเช็คได้หรือไม่ และรับผิดในฐานะใด

    คำตอบ : A สามารถฟ้อง ก.ให้รับผิดได้ในฐานะผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900, 914, 967 ประกอบมาตรา 989

    ปัญหาว่า A จะฟ้อง ข.ให้รับผิดได้หรือไม่

    พิจารณาเรียงมาตรา

    (1) จะเป็นผู้รับอาวัลหรือไม่

    (1.1) มาตรา 939 วรรค 3 การรับอาวัล กรณีลงลายมือชื่อเพียงลำพังนี้ต้องกระทำด้านหน้าตั๋วเงินเท่านั้น

    (1.2)  มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วผู้ถือ กรณีนี้เช็คดังกล่าวเป็นเช็คระบุชื่อมิใช่เช็คผู้ถือ ข. จึงไม่ใช่ผู้รับอาวัลตามมาตรา 921

    (2) จะเป็นผู้สลักหลังลอยโดยการลงลายมือชื่อด้านหลังตั๋วเงินตามมาตรา 919 วรรค2 หรือไม่

    การจะเป็นผู้สลักหลังลอยได้ ผู้ลงลายมือชื่อต้องเคยเป็นผู้ทรงมาก่อนเช็คดังกล่าว ข. ไม่เคยเป็นผู้ทรง ข. จึงไม่ใช่ผู้สลักหลัง

    (3) แต่กรณีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข. สมัครใจที่จะผูกพันต่อผู้ทรงในอันที่จะรับผิดเป็นอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อตามมาตรา 900 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2524, 4872/2533)

    หมายเหตุ กรณีตั๋วผู้ถือ ผู้มาลงชื่อด้านหลังตั๋วผู้ถือ อันเป็นการสลักหลังนั้น แม้ผู้ลงลายมือชื่อจะไม่เคยเป็นผู้ทรงมาก่อน แต่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัลตั๋วผู้ถือนั้นตามมาตรา 921

    แต่กรณีตั๋วระบุชื่อ แล้วมีบุคคลใดมาลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินนั้น

    -ถ้าบุคคลนั้นเคยเป็นผู้ทรงมาก่อน การลงชื่อนั้นย่อมเป็นการสลักหลังลอยตามมาตรา 919 วรรค 2 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2525)

    -แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่เคยเป็นผู้ทรงมาก่อน การลงชื่อของบุคคลนั้นถือว่า บุคคลนั้นสมัครใจที่จะผูกพันตนต่อผู้ทรงในอันที่จะรับผิดเป็นอย่างเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900

     

    5.5 ตัวบุคคลซึ่งถูกรับอาวัล

       5.5.1 บุคคลซึ่งจะถูกรับอาวัลได้นั้น บุคคลนั้นต้องมีภาระเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงิน

    ฉะนั้นตัวผู้รับอาวัล ถ้าจะรับอาวัลลูกหนี้ในตั๋วเงินคนใดในคำรับอาวัลก็จะต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด ตามมาตรา 939 วรรคท้าย หากมิได้ระบุชื่อให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

       5.5.2การสลักหลังตั๋วผู้ถือ ผู้สลักหลังถือเป็นผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 (ไม่มีทางที่จะไปรับอาวัลบุคคลอื่นได้)

    ถ้าตั๋วผู้ถือมีผู้สลักหลังหลายราย ผู้สลักหลังทุกรายก็เป็นผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย

     

    5.6 จำนวนเงินที่รับอาวัล

    มาตรา 938 วรรค1 ผู้รับอาวัลจะรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ เช่น ตั๋วแลกเงินสั่งจ่าย 1 ล้านบาท ผู้รับอาวัลจะรับอาวัลเงินทั้ง 1 ล้านบาท หรือจำกัดดวงเงินเพียงบางส่วนก็ได้

    หมายเหตุ ต่างกับการสลักหลังโอนบางส่วนจะกระทำมิได้ เป็นโมฆะ ตามมาตรา 922 วรรค 2

     

    5.7 ผลของการรับอาวัล

       5.7.1 มาตรา 940 วรรค 1 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน

    มาตรา 967 ผู้รับอาวัลต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้คนอื่นๆในตั๋วเงินต่อผู้ทรง

    ฉะนั้นตามมาตรา 940 วรรค 1 และมาตรา 967 ผู้รับอาวัลอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วม ต้องร่วมกันรับผิดกับลูกหนี้คนอื่นๆในตั๋วเงินต่อผู้ทรงกับลูกหนี้คนอื่นๆในตั๋วเงิน

    ลูกหนี้ร่วม = ลูกหนี้แต่ละคนต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้โดยสิ้นเชิง

    เช่น เช็ค900,000 บาท มี ก. เป็นผู้สั่งจ่าย ข. เป็นผู้สลักหลัง ค. เป็นผู้อาวัล แล้วนาย A เป็นผู้ทรงปรากฏว่า ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน

    A สามารถเรียกร้องเอาจาก ก.,. หรือ ค. คนใดคนหนึ่งได้ทั้ง 900,000 บาท

    ลูกหนี้คนใดคนหนึ่ง จะขอรับผิดเพียง 300,000 บาทไม่ได้ (เว้นแต่กรณี ค. ผู้รับอาวัลจะเขียนข้อความในตั๋วเงินว่า รับอาวัลเพียง 300,000 บาท)

    นอกจากนี้ A จะฟ้องลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งเพียงลำพังโดยไม่ต้องฟ้องลูกหนี้ร่วมอื่นก็ได้

    สรุป มาตรา 940 วรรค 1 ประกอบมาตรา 967 ผู้รับอาวัลนั้นเปรียบเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วม ผู้รับอาวัลไม่มีสิทธิเกี่ยงให้ผู้ทรงไปขอรับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้คนอื่นๆก่อน

     

    6. การไล่เบี้ย

     

    มาตรา 914 “กำหนดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินตามที่สัญญาไว้กับผู้ทรง หากผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนด หรือปฏิเสธการรับรองกรณีผู้ทรงนำตั๋วแลกเงินไปยื่นให้ผู้รับรองก่อนถึงกำหนดและผู้จ่ายปฏิเสธการรับรอง ซึ่งผู้ทรงมีหน้าที่ต้องทำคำคัดค้านภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด”

    เป็นเรื่องความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อผู้ทรง ในกรณีนำตั๋วเงินไปยื่นแล้วผู้จ่ายไม่จ่ายเงินแก่ผู้ทรง

    ตัวอย่าง ^

    ก้อยออกตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งสั่งให้กอล์ฟจ่ายเงินแก่กล้าจำนวน 20,000 บาท กล้าสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้กิ๊ก กิ๊กสลักหลังโอนขายลดให้แก่แท่ง แท่งสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้เด็ด เด็ดนำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้น้ำเงินผู้จ่ายรับรอง กอล์ฟไม่ยอมรับรองหรือกอล์ฟรับรองแล้ว แต่ไม่ยอมใช้เงินเมื่อตั๋วถึงกำหนด ดังนี้เด็ดย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับก้อยผู้สั่งจ่าย กล้า กิ๊ก และกิ๊กผู้สลักหลัง รวมทั้งกอล์ฟถ้าได้รับรองตั๋วนั้นแล้ว และทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันต่อผู้ทรง (มาตรา 900 วรรคแรก มาตรา 914 มาตรา 967 วรรคแรก)

    มาตรา 959

    สำหรับระยะเวลาที่ผู้ทรงจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น กฎหมายได้กำหนดไว้ 2 ระยะ คือ

    1. ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน วันที่ตั๋วเงินถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายหรือผู้รับรองใช้เงินในวันถึงกำหนดดังกล่าว หากผู้จ่ายหรือผู้รับรองไม่ใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ถือได้ว่าตั๋วเงินนั้นได้ขาดความเชื่อถือลงและคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้นตกเป็นผู้ผิดนัด ผู้ทรงย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยคู่สัญญาในตั๋วเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หรือต้องเตือนอีก เพราะหนี้ตามตั๋วเงินนั้นมีกำหนดระยะเวลาชำระแน่นอนแล้ว ผู้ทรงไม่จำต้องทวงถามอีก

    2. ไล่เบี้ยได้แม้ตั๋วเงินยังไม่ถึงกำหนด ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

    (1) ถ้าเขา (ผู้จ่าย) บอกปัดไม่รับรองตั๋วเงิน กรณีที่ตั๋วเงินสั่งจ่ายล่วงหน้า ผู้ทรงอำนาจนำตั๋วเงินนั้นไปยื่นให้ผู้จ่ายรับรอง เมื่อผู้จ่ายไม่รับรอง ถือว่าผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง (ถ้ามี) ผิดคำรับรองของตนตามมาตรา 914 ตั๋วเงินนั้นจึงขาดความเชื่อถือลง ผู้ทรงไม่จำต้องรอให้ตั๋วเงินถึงกำหนดเสียก่อนหรือเช่น กรณีผู้ทรงเช็คนำเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าไปยื่นให้ธนาคารรับรอง ธนาคารปฏิเสธการรับรองผู้ทรงไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย ฯลฯ ได้

    (2) ถ้าผู้จ่ายหากจะได้รับรองหรือไม่ก็ตาม ตกเป็นคนล้มละลายหรือได้งดเว้นการใช้หนี้     แม้การงดเว้นใช้หนี้นั้นจะมิได้มีคำพิพากษาเป็นหลักฐานก็ตาม หรือถ้าผู้จ่ายถูกยึดทรัพย์และการยึดทรัพย์นั้นไร้ผล – การที่ผู้จ่ายหรือผู้รับรองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลายจึงไม่สามารถจะถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา (วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว) อีกต่อไปได้ แสดงว่าผู้ทรงไม่อาจเรียกให้ผู้จ่ายหรือผู้รับรองชำระหนี้ได้

    วรรค 1 วามในมาตรา 967 วรรคแรก กำหนดให้ลูกหนี้ตามตั๋วเงินซึ่งได้แก่ ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้สลักหลัง และผู้รับอาวัล ต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วเงินนั้น กล่าวคือ ความรับผิดของลูกหนี้ตามตั๋วเงินนั้นเป็นความรับผิดร่วมกันในทำนองเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 291 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง

    วรรค 2 ความในมาตรา 967 วรรคสองและวรรคท้ายให้สิทธิผู้ทรงว่ากล่าวเอาความ (ไล่เบี้ย) บุคคลดังกล่าว (ลูกหนี้ในตั๋วเงินนั้น) เรียง รายตัว  หรือ รวมกัน ก็ได้ไม่ต้องคำนึงถึงลำดับที่เข้าผูกพันก่อน – หลัง และเมื่อผู้ทรงฟ้องไล่เบี้ยคู่สัญญาคนหนึ่ง เช่น ผู้สลักหลังคนหลังแล้วไม่ได้เงินหรือได้เงินไม่ครบถ้วนตามตั๋วเงินนั้น ผู้ทรงก็ยังมีสิทธิฟ้องบังคับเอากับผู้สั่งจ่ายหรือบรรดาผู้สลักหลังหรือผู้รับอาวัลคนก่อนๆ ที่ยังไม่ถูกฟ้องอีก เพื่อเรียกเอาเงินที่ค้างอยู่จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามตั๋วเงินนั้น แต่ถ้าผู้ทรงได้รับชำระหนี้ครบถ้วนจากคู่สัญญาคนใดแล้ว ก็ไม่มีสิทธิจะเรียกเงินจากใครได้อีก

    วรรค 3 ความในมาตรา 967 วรรคสาม บุคคลทุกคนที่มีลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้น (ลูกหนี้ในตั๋วเงิน ซึ่งได้ถูกผู้ทรงบังคับการใช้เงินและได้ใช้เงินให้ผู้ทรงไปแล้วทั้งได้เรียกตั๋วเงินนั้นกลับคืนมา จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ใช้เงินและได้สิทธิเช่นเดียวกับผู้ทรง แต่จะบังคับไล่เบี้ยเฉพาะบุคคลที่มีความผูกพันรับผิดอยู่ก่อนตนเท่านั้น จะไปบังคับไล่เบี้ยจากบุคคลที่มีความผูกพันรับผิดภายหลังตนไม่ได้

     

    ข้อสังเกต

    (1) กรณีตามวรรคสองและวรรคท้ายแสดงให้เห็นถึงวิธีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับผู้รับผิดโดยตรง โจทก์ (ผู้ทรง) ชอบที่จะฟ้องรวมกันหรือแยกฟ้องเรียงรายบุคคลหรือจะเลือกฟ้องบางคนก็ได้จึงต้องคำนึงถึงอายุความด้วย เพื่อความสะดวกควรฟ้องรวมกัน

    (2) กรณีตามวรรคสาม บุคคลผู้ใช้เงิน กฎหมายไม่เรียกว่าผู้ทรง เพราะตั๋วเงินนั้นได้มีการใช้เงินไปแล้ว (มาตรา 321) แต่ผู้ใช้เงินยังมีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกร้องเอาเงินจากคู่สัญญาคนก่อนๆ ได้ เพราะผู้ใช้เงินรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยฯ จากผู้ทรงตามมาตรา 229 (3) ประกอบมาตรา 967 วรรคสามนี้

    มาตรา 971 สืบเนื่องมาจากมาตรา 917 วรรคท้าย ที่บัญญัติให้ตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายล่วงหน้าหมุนเวียนเปลี่ยนมือด้วยการสลักหลังโอนกลับคืนมายังผู้จ่าย ไม่ว่ารับรองตั๋วเงินนั้นแล้วหรือไม่ หรือคู่สัญญาคนก่อนๆ คนหนึ่งคนใดก็ได้ เช่น ผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, ผู้รับอาวัล บุคคลซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินมาแต่เดิมนั้นคนใดคนหนึ่งดังกล่าว หากได้รับสลักหลังกลับคืนมาอีกทอดหนึ่ง (ได้รับสลักหลังกลับคืนมาใหม่) นั้น ย่อมไม่ได้สิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาซึ่งตนต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้วตามตั๋วเงินนั้น

    ตัวอย่าง ^

    ตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่ง มี ก. เป็นผู้สั่งจ่าย ข. เป็นผู้จ่าย ค. เป็นผู้รับเงิน ตั๋วแลกเงินฉบับนี้มีการสลักหลังโอนต่อเนื่องกันตามลำดับดังนี้ คือ ง. จ. ฉ. ช. และ A ต่อมา A เป็นหนี้ จ. จึงสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้ จ. จ. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังกลับคืนมาใหม่และขณะเดียกวัน จ. ก็เป็นผู้สลักหลังคนที่สอง ซึ่งต้องรับผิดต่อเหลือง ช.  และ A อยู่ก่อน (ตามมาตรา 914) ดังนี้ ถ้าตั๋วแลกเงินนี้ขาดความเชื่อถือ จ. ไม่มีสิทธิไล่เบี้ย ฉ. ช. และ A เพราะ จ. ต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้ว หาก จ. ไล่เบี้ยเขาได้ เขาไล่เบี้ย จ. ได้เช่นกัน และหาก จ. ไล่เบี้ย ฉ. ช. และ A ก็ยกข้อต่อสู้ได้ มาตรา 971 จึงบัญญัติตัดบท จ. เสีย เพราะไม่มีประโยชน์ในการไล่เบี้ยบุคคลที่ตนเองต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้ว

    ดูรูป

     

                 ข

     

       ก                       ค              ง           จ.           ฉ.           ช           A

     

     

     

    ดังนี้ จ. ไม่มีสิทธิไล่เบี้ย ฉ. และ ช. เพราะ จ. ยังคงต้องรับผิดต่อ ฉ. และ ช. อยู่ก่อนแล้ว

    ถ้า A สลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้ ข. ผู้จ่าย ข. อยู่ในฐานะเป็นผู้ทรง เดิม ข. เป็นคู่สัญญาที่ยังไม่ต้องผูกพันรับผิด เพราะยังมิได้รับรองตั๋ว (มาตรา 900 วรรคแรก, 937) ขาวจึงมีสิทธิไล่เบี้ยคู่สัญญาในตั๋วเงินนี้ได้ทุกคน เว้นแต่ ก. ผู้สั่งจ่ายที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องมูลหนี้เดิม ยันขาวได้

    แต่ถ้า ข. ผู้จ่ายได้รับรองตั๋วเงินนั้นก่อนแล้ว ต่อมา A สลักหลังโอนให้ ดังนี้ ข. ไล่เบี้ยใครไม่ได้เลย เพราะ ข. เป็นผู้รับรอง ต้องรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นต่อผู้ทรงและต่อทุก ๆ คนในตั๋วเงินนั้น

    ถ้า A สลักหลังโอนตั๋วเงินนั้นให้ ก. ผู้จ่าย ก. ย่อมไม่มีสิทธิไล่เบี้ยใครในตั๋วเงินนั้นได้เลย

    มาตรา 959, 967, 971 สิทธิในการไล่เบี้ย

    *เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อผู้ทรงนำยื่นแล้วผู้จ่าย ไม่จ่ายเงินหรือไม่รับรองตั๋วเงินถือว่าตั๋วเงินนั้นขาดความเชื่อถือ ผู้ทรงย่อมใช้สิทธิในการไล่เบี้ย โดยไล่เบี้ยเอง ผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง      ผู้อาวัล โดยมีความรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม

    *เมื่อใครจ่ายเงินไป ผู้ที่จ่ายย่อมเข้าสวมสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอากับบุคคลที่ต้องรับผิดอยู่แล้วก่อนตน รับผิดภายหลังตนไล่เบี้ยไม่ได้

    *ก่อนไล่เบี้ย ผู้ทรงต้องทำคำคัดค้านก่อน แต่ผู้สั่งจ่ายอาจเขียนข้อกำหนดลดละหน้าที่ได้ ตามมาตรา 915

    ตัวอย่าง ^

    แดงออกตั๋วเงินสั่งค่าใช้จ่ายเงินแก่ขาว ขาวสลักหลังชำระหนี้เขียว เขียวสลักหลังเงินชำระหนี้เหลือง โดยมีฟ้าเป็นผู้รับอาวัล การสลักหลังของเขียว ต่อมาเหลืองสลักหลังชำระหนี้น้ำเงิน เช่นนี้ แดง ขาว เขียว ฟ้า และเหลืองย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อน้ำเงิน ผู้ทรง หากเขียวจ่ายเงินไปเขียวย่อมสวมสิทธิของ  น้ำเงิน ผู้ทรง ในอันที่จะไล่เบี้ย  ขาวและแดง แต่เขียวไม่อาจไม่เบี้ย เหลือง และฟ้าได้ เพราะเป็นบุคคลที่เขียวจะต้องรับผิด

     

    7. บทสรุป

     

    มาตรา 917 วรรคแรก หมายความว่าตั๋วแลกเงินระบุชื่อทุกฉบับ ถ้าผู้ทรงประสงค์จะโอนต่อไป ย่อมทำได้ง่ายเพียงสลักหลังและส่งมอบ ถือเป็นการโอนหนี้ตามตั๋วเงินนั้นแล้ว

    ข้อความที่ว่า แม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งนั้น หมายความว่าตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายมีคำสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินแก่ผู้รับเงินนั้น ตามความหมายในมาตรา 908 ผู้สั่งจ่ายอาจระบุเป็นคำสั่งว่า ให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเงิน หรือตามคำสั่งของผู้รับเงินเช่น ก. ออกตั๋วแลกเงินระบุสั่งให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. ว่า ให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. หรือตามคำสั่ง ของ ค.” ดังนี้ แม้ว่าจะไม่มีคำว่า หรือตามคำสั่งของ ค.” อยู่ในตั๋วนั้นเลย ค. ก็มีสิทธิที่จะโอนตั๋วฯ นั้นต่อไปให้บุคคลอื่นด้วยการสลักหลังและส่งมอบ

    การสลักหลัง  เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดในตั๋วเงินนั้นไปยังผู้รับสลักหลัง(ดูมาตรา 920 วรรคแรก) การสลักหลังมีวิธีการตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 919

    การสลักหลัง คือการแสดงเจตนาของผู้ทรงที่ประสงค์จะโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วเงินนั้นไปยังผู้รับสลักหลัง การสลักหลังมี 2 วิธี คือ

    1) การสลักหลังเฉพาะ คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้ทรงเดิม) ลงลายมือชื่อของตนเองในตั๋วเงิน พร้อมทั้งระบุชื่อรับประโยชน์หรือสลักหลังลงไปด้วย ผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลังอาจสลักหลังเฉพาะเพื่อโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปตามวิธีการดังกล่าวได้เช่นกัน

    2) การสลักหลังลอย คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้ทรงเดิม) ลงลายมือชื่อของตนโดยลำพังด้านหลังตั๋วเงิน โดยมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลังลงไปด้วย ผู้ทรงในฐานะเป็นผู้ได้รับตั๋วเงินจากการสลักหลังลอย สามารถโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปด้วยการส่งมอบธรรมดาเสมือนเป็นผู้ถือ

    การสลักหลังไม่ขาดสาย หมายถึง การสลักหลังตั๋วเงินโดยโอนรับช่วงติดต่อกันมาตามลำดับจนถึงมือของผู้ทรงคนปัจจุบันโดยไม่ขาดตอน

    การโอนตั๋วเงินที่มีการสลักหลังลอย

    มาตรา 920 วรรคแรก   กล่าวถึง ผลของการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินตามวิธีการดังกล่าวมาในมาตรา 917 และ 919 (ตั๋วระบุชื่อ) กล่าวคือ การสลักหลังตั๋วแลกเงินเป็นการแสดงเจตนาโอนสิทธิทั้งหลายอันเกิดแก่ตั๋วแลกเงินนั้นทั้งหมดไปยังผู้รับสลักหลัง

    ความในวรรคสองของมาตรา 920 กล่าวถึงสิทธิของผู้ทรงในฐานะที่ได้รับตั๋วแลกเงินมาจากการสลักหลังลอยตามความในมาตรา 919 วรรคท้าย

    เช่น เขียวเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินจากการสลักหลังลอยของขาว เขียวอาจเลือกกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการต่อไปนี้ก็ได้คือ

    (1) ระบุชื่อของเขียวเองลงเหนือลายมือชื่อขาวผู้สลักหลังลอย เท่ากับว่าขาวสลักหลังให้เขียว หรือเขียวอาจระบุชื่อบุคคลอื่นที่ตนประสงค์จะโอนตั๋วฯ ต่อไปให้ เช่น เขียวอาจระบุ จ่ายให้เหลืองลงเหนือลายมือชื่อขาว มีผลเท่ากับว่าขาวสลักหลังโอนตั๋วฯ นั้นให้เหลืองโดยตรง หรือ

    (2) เขียวอาจสลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปอีกด้วยการลงลายมือชื่อตนเองเพียงลำพังเป็นการสลักหลังลอยโอนตั๋วฯ นั้นให้บุคคลอื่นหรือสลักหลังเฉพาะโดยระบุชื่อบุคคลอื่นพร้อมทั้งลงลายมือชื่อของตนโอนตั๋วนั้นต่อไป หรือ

    (3) เขียวอาจโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปด้วยการส่งมอบตั๋วฯ นั้นให้กับบุคคลอื่นเช่นให้เหลืองโดยไม่กรอกข้อความใด ๆ และไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใดก็ได้ เมื่อเหลืองได้รับตั๋วฯ นั้นไว้แล้วก็เป็นผู้ทรง และถือว่าเหลืองได้ตั๋วฯ นั้นมาจากการสลักหลังลอยของขาวโดยตรงเหลืองย่อมมีสิทธิโอนตั๋วฯ นั้นได้เช่นเดียวกับเขียว

    การโอนตั๋วระบุชื่อตามมาตรา 920 (3) นั้น จึงทำได้ง่ายเพียงการส่งมอบก็สมบูรณ์เช่นเดียวกับตั๋วผู้ถือ แต่ตั๋วฯ นั้นยังคงเป็นตั๋วระบุชื่อตลอดไป ถ้าเหลืองสลักหลังเฉพาะต่อให้น้ำเงิน (ระบุชื่อน้ำเงิน) ตามมาตรา 920(2) ตอนท้าย หากน้ำเงินประสงค์จะโอนตั๋วฯ นั้นต่อไปอีก ก็ต้องสลักหลังและส่งมอบตามวิธีการที่กล่าวแล้วในมาตรา 917 วรรคแรก และ 919

    การโอนตั๋วเงินชนิดผู้ถือ

    ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ อาจเรียกให้เข้าใจง่ายและสั้นๆ คือ ตั๋วผู้ถือวิธีการโอนตั๋วผู้ถือนั้นง่ายมาก เพียงผู้โอน (ผู้ทรงคนก่อน) ส่งมอบตั๋วผู้ถือให้ผู้ทรง (ผู้รับโอน) หรือตัวแทนของผู้ทรงก็สมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องสลักหลังโอนดังเช่นตั๋วระบุชื่อตามที่กล่าวแล้วในมาตรา 917 วรรคแรก หากผู้ทรงคนก่อนสลักหลังโอนตั๋วผู้ถือแล้วส่งมอบตั๋วฯ นั้นให้ผู้ทรง เช่นนี้ การโอนตั๋วผู้ถือนั้นย่อมสมบูรณ์เพราะการส่งมอบ มิได้สมบูรณ์เพราะการสลักหลัง แต่ผู้ทรงคนก่อนที่สลักหลังโอนตั๋วผู้ถือนั้น มาตรา 921 บัญญัติให้ถือว่าเป็นการค้ำประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย นั่นคือ ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่าย (มาตรา 921, 940 วรรคแรก) มิใช่รับผิดในฐานะผู้สลักหลังดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 914

     

     

     

     

    คำถามท้ายบท

     

    แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในสมุดรายงาน และส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป

     

    1. จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้บุญมีจ่ายเงินจำนวน 500,000 บาท ระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  เพื่อเป็นการมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  ทองไทยสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ต่อมาพุธได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่พฤหัส ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้น ถูกต้องตามกฎหมาย  หรือไม่อย่างไร

    2. การอาวัลตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย  และใครบ้างที่อาวัลตั๋วแลกเงินได้

    3. บางเขนเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินที่มีบางบัวทองเป็นผู้จ่าย  บางขวางเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่าคำว่า“หรือผู้ถือ”บางเขนจะสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้หลักสี่  แต่หลักสี่ให้บางเขนนำตั๋วไปให้บางบัวทองรับรองก่อนบางเขนจึงเอาตั๋วไปให้บางบัวทองเขียนข้อความว่า“ยินดีเป็นประกันผู้สั่งจ่าย”และลงลายมือชื่อไว้ด้านหน้าของตั๋ว  หลักสี่จึงยอมรับชำระหนี้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วจากบางเขน  เมื่อถึงกำหนดใช้เงินหลักสี่ได้นำตั๋วไปให้บางบัวทองใช้เงินแต่บางบัวทองปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเห็นว่าตนได้ชำระหนี้บางขวางผู้สั่งจ่ายไปแล้ว  อนึ่งหลักสี่ได้ทำคำคัดค้านไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่าหลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

    4. การที่บุคคลจะจดข้อกำหนดลงไว้ในตั๋วเงิน เช่น การจำกัดความรับผิดในมูลหนี้ตั๋วแลกเงินก็ดี การสลักหลังโอนเช็คบางส่วนก็ดี การสลักหลังจำนำเช็คก็ดี บุคคลจะกระทำได้หรือไม่ และจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายอย่างไร

    5. การรับรองนั้นต้องทำอย่างไร  จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

    6. บางเขนเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินที่มีบางบัวทองเป็นผู้จ่าย  บางขวางเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  บางเชนจะสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้หลักสี่  แต่หลักสี่ให้บางเขนนำตั๋วไปให้บางบัวทองรับรอง  บางเขนจึงเอาตั๋วไปให้บางบัวทองเขียนข้อความว่า  “รับรองแล้ว”  และลงลายมือชื่อของบางบัวทองไว้ด้านหลังของตั๋ว  หลักสี่จึงยอมรับชำระหนี้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วจากบางเขน  เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงินหลักสี่ได้นำตั๋วไปให้บางบัวทองใช้เงิน  แต่บางบัวทองปฏิเสธการใช้เงิน  อนึ่งหลักสี่ได้ทำคำคัดค้านไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่า หลักสี่ผู้ทรงจะฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในฐานะผู้รับรองตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้หรือไม่

    7. การโอนตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นการโอนสิทธิตามตั๋วแลกเงินไปยังผู้รับโอน

    8. สายใจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้สายฝนจ่ายเงิน จำนวน 500,000 บาท ระบุชื่อสายป่านเป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า“หรือผู้ถือ”ออกและส่งมอบให้สายป่านเพื่อเป็นการชำระค่าราคาสินค้า  ต่อมาสายป่านสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงิน  โดยระบุชื่อสายสมรเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ต่อมาสายสมรได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สายฟ้า  ดังนี้  ให้วินิจฉัยว่าการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  เพราะเหตุใด  อนึ่ง  กรณีเมื่อตั๋วแลกเงินนั้นถึงกำหนดวันใช้เงิน  สายฟ้าได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้สายฝนผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่สายฝนไม่ยอมใช้เงิน  สายฟ้าได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ดังนี้  ใครบ้างที่ต้องรับผิดและไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้นต่อสายฟ้า  เพราะเหตุใด

    9. เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้เดี่ยวจ่ายเงินจำนวน500,000บาทมอบให้แก่ทองไทยระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงินแต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ”  ออก  เพื่อเป็นการมัดจำในการสั่งซื้อสินค้า  ทองไทยสลักหลังขายลดตั๋วแลกเงินโดยระบุชื่อฟักทองเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วแลกเงินนั้น  ต่อมาฟักทองได้ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ศรีทอง  เมื่อตั๋วแลกเงินนั้นถึงกำหนดวันใช้เงิน  ศรีทองได้นำตั๋วแลกเงินนั้นไปให้เดี่ยวผู้จ่ายใช้เงินให้กับตน  แต่เดี่ยวไม่ยอมใช้เงิน  ศรีทองได้ทำคำคัดค้านโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ดังนี้  เอก  ทองไทย  ฟักทอง  ใครต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้นต่อศรีทอง  เพราะเหตุใด

    10. ให้นักศึกษาอธิบายหลักเกณฑ์ที่บุคคลจะมีหน้าที่ต้องรับผิดตามสัญญาตั๋วเงิน  โดยยกหลักกฎหมายประกอบให้ชัดเจน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เอกสารอ้างอิง

     

    ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์. คำอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2554

    สหธน รัตนไพจิตร.  (2543).  คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน   ( พิมพครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: วิญูชน.

    สามิตร ศิริมาตย.  (2546).  ปญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดความผิดอันเกี่ยวกับการใชเช็ค. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

    อัมพร ณ ตะกั่วทุง.  (2548).  คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   นิติบรรณการ.

    อุทิศ แสนโกศิก.  (2515).  หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพสรรพาสามิต. อุทิศอนุสรณงานศพ.

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    หลักคำพิพากษาศาลฎีกา

     


  • บทที่ 4

    แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4 ตั๋วสัญญาใช้เงิน

     

    เนื้อหาประจำบท

    1. ความหมายของตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. การสลักหลัง

    3. การโอนตั๋วสัญญาใช้เงิน

    4. การอาวัล

    5. บทสรุป

     

    จำนวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง

     

    วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

    เมื่อศึกษาบทที่ 4 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. อธิบายความหมายของตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. อธิบายการสลักหลัง

    3. อธิบายการโอนตั๋วสัญญาใช้เงิน

    4. อธิบายการอาวัล

     

    วิธีการสอนและกิจกรรม

    1.เข้าสู่เนื้อหาบทนำ บรรยายประกอบ ตัวบทกฎหมาย

    2.สรุปและซักถาม

    3. กิจกรรมในชั้นเรียน

    4. นักศึกษาค้นหาข้อมูลกรณีศึกษาทางหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

     

    สื่อการเรียนการสอน

    1. ตัวบทกฎหมาย

    2. เอกสารประกอบการสอน

    3. เครื่องคอมพิวเตอร์

    การวัดผลและประเมินผล

    คะแนนสอบปลายภาคเรียน                                      100%

     

     

     

     

     

     

    บทที่ 4

    ตั๋วสัญญาใช้เงิน

     

    ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ เอกสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่ใช้ในการกู้ยืมกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยบุคคลผู้ออกตั๋วได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะใช้เงินภายในระยะเวลาที่กำหนด หากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นแบบไม่มีเงื่อนไขและสามารถเปลี่ยนมือได้ จะเรียกว่า ตราสารเปลี่ยนมือ

    องค์ประกอบของตั๋วสัญญาโดยทั่วไปจะประกอบด้วย เงินต้น,อัตราดอกเบี้ย, กำหนดวันชำระเงิน, วันสิ้นสุดการชำระเงิน ในบางครั้งอาจจะมีข้อกำหนดในกรณีที่ผู้ออกตั๋วหรือผู้กู้กระทำผิดตามข้อกำหนด ผู้ออกกู้ก็จะทำการยึดทรัพย์สินตามที่ได้กำหนดกันไว้ นอกจากนี้ยังมีตั๋วสัญญาอีกชนิดที่เรียกว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินตามความต้องการ ตั๋วสัญญาประเภทนี้จะไม่มีกำหนดถึงวันสิ้นสุดการชำระเงินไว้ในตั๋วสัญญากู้เงิน แต่จะขึ้นอยู่กับผู้ออกกู้ว่าจะเรียกเก็บเมื่อไร แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ออกกู้จะทำการแจ้งถึงกำหนดเวลาที่ต้องการให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 3-4 วัน สำหรับการกู้ยืมเงินที่เป็นส่วนบุคคลนั้น โดยปกติจะมีการเซนต์สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งในสัญญาจะระบุถึงในเรื่องของภาษีไว้ด้วย ดังนั้น ในบทนี้จะเป็นการศึกษาหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับตั๋วสัญญาใช้เงิน

     

    1. ความหมายตั๋วสัญญาใช้เงิน

     

    ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

    ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้

    1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

    3. วันถึงกำหนดใช้เงิน

    4. สถานที่ใช้เงิน

    5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

    6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

    7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

    ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นตามมาตรา 913 (3) ตอนท้าย, (4), 985 นั้น มาตรา 986 วรรค2 กำหนดให้ผู้ทรงต้องนำไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้เพื่อรับรองการจ่ายเงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วตามมาตรา 928

    แต่ถ้าเป็นกรณีตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913(3)ตอนต้นนั้น ผู้ทรงไม่จำต้องนำตั๋วไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว กล่าวคือแม้พ้น 6 เดือน ผู้ทรงก็ชอบที่จะทวงถาม เรียกให้ผู้ออกตั๋วรับผิดได้

    ฎีกาที่ 4485/2555 ตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อตกลงว่า จำเลยจะจ่ายเงินให้โจทก์ในวันที่ /เมื่อ Demand ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม มิใช่ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินภายหลังได้เห็น จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 986 วรรคสอง ที่โจทก์ผู้ทรงจะต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วเห็นเสียก่อนจึงจะเริ่มนับระยะเวลาตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ ทั้งการนำตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นไปยื่นตามมาตรา 986 วรรคสอง เพื่อให้ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจดรับรู้เท่านั้น หาได้บังคับให้ต้องนำไปยื่นเพื่อให้ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินรับรองไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง 986 วรรคหนึ่ง

    ฎีกาที่ 5328/2547 ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาทแก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913 (3) เท่านั้นไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด

    ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้น ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุชื่อให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว

    ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป... มาตรา 1001 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน 2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001

    เช่นเดียวกันตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุวันถึงกำหนดใช้เงินไว้แล้วตามมาตรา 913(1), (2) ประกอบมาตรา 985 ผู้ทรงก็ไม่อยู่ในบังคับต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ตามมาตรา 986 วรรค 2 อีกเช่นกัน

    ฎีกาที่ 405/2550  หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท ได้ระบุวันที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญาจะใช้เงินให้แก่โจทก์ไว้ จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน คือในวันที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อถึงกำหนดเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวตาม ป... มาตรา 204 วรรคสอง แม้มาตรา 985 จะบัญญัติให้นำมาตรา 941 ในเรื่องตั๋วแลกเงินมาใช้บังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินด้วยก็ตาม แต่ก็ต้องใช้เท่าที่ๆไม่ขัดต่อสภาพแห่งตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งตามบทบัญญัติในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ หรือตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังที่ได้เห็นเท่านั้น ตามมาตรา 986 วรรคสอง เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วที่กำหนดวันใช้เงินชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 986 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไปยื่นตามมาตรา 941 อีก

    หมายเหตุ อธิบาย ฎีกาที่ 405/2550

    1) ในกรณีของตั๋วแลกเงินผู้ทรงจะไปฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายได้เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดแล้วและผู้ทรงนำตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปเรียกให้ผู้จ่ายรับรองหรือใช้เงินตามมาตรา 941 แล้วผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินตามมาตรา 959

    2) แต่ในกรณีของตั๋วสัญญาใช้เงินผู้ออกตั๋วและผู้จ่ายเป็นบุคคลคนเดียวกัน

       (1)หากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทถึงกำหนดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นตามมาตรา 913 (3) ประกอบมาตรา 985กรณีนี้ผู้ทรงมีหน้าที่ต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ก่อนภายใน 6 เดือน ตามมาตรา 986, 928 เมื่อผู้ออกตั๋วจดรับรู้และลงวันที่จะชำระเงินแล้วและผู้ออกตั๋วไม่ชำระตามที่กำหนด ดังนี้ ผู้ทรงจึงจะมาฟ้องไล่เบี้ยผู้ออกตั๋วได้

       (2)แต่ถ้าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดที่ระบุวันถึงกำหนดใช้เงินไว้แล้วตามมาตรา 913(1) หรือ(2) หรือชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913 (3) กรณีเหล่านี้เมื่อถึงกำหนดตามที่ระบุหรือครบกำหนดระยะเวลาตามที่ทวงถามผู้ทรงย่อมมีสิทธิไปเรียกให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินตามตั๋วได้ทันทีโดยไม่จำต้องยื่นตามมาตรา 986 วรรค 2 และมาตรา 941 อีก

    สรุป ง่ายๆ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดระบุวันใช้เงินก็ดีชนิดถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถามก็ดีครบกำหนดเมื่อใดแล้วผู้ออกตั๋วไม่ยอมใช้เงินผู้ทรงไล่เบี้ยได้ทันที

       1.3 ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913(3), 985 ย่อมถึงกำหนดใช้เงินนับแต่วันที่ทวงถามมิใช่นับแต่วันที่ออกตั๋ว

    ฎีกาที่ 2016/2554 ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม อายุความจึงเริ่มนับเมื่อทวงถาม เมื่อหนังสือทวงถามระบุว่า ให้จำเลยชำระเงินให้เสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ อายุความจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือ

    ฎีกาที่ 1062/2540 ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทกำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาจะใช้เงินแก่โจทก์เมื่อทวงถาม ดังนั้น วันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท หมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความใน ป... มาตรา 913(3) หาใช่ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ ทั้งกรณีนี้ได้มีการทวงถามให้ผู้ออกตั๋วและจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้ว อายุความจึงไม่อาจเริ่มนับจากวันที่ออกตั๋ว

    ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาจำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นหาได้ไม่ แต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระก่อนกำหนดนั้นได้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วไม่ชำระก็ถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในฐานะผู้รับอาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไป วันครบกำหนด 7 วันตามหนังสือทวงถามคือวันที่ 19 กันยายน 2533 อายุความตาม ป... มาตรา 1001 จึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 กันยายน 2533 เป็นต้นไป หาใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2536 ยังไม่ครบกำหนด 3ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

    2. มาตรา 985 มิได้ให้นำเอามาตรา 915 มาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย ฉะนั้นหากผู้ออกตั๋วก็ดี ผู้สลักหลังก็ดี ไปเขียนข้อความว่าห้ามไล่เบี้ยตนหรือไล่เบี้ยตนได้เพียงครึ่งหนึ่ง หรือข้อความลบล้างจำกัดความรับผิดอื่นๆข้อความนั้นหามีผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ตามมาตรา 899

    ฎีกาที่ 4714/2547 ...มาตรา 899 บัญญัติว่า “ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่”อันเป็นบทบัญญัติเบ็ดเสร็จทั่วไปใช้บังคับกับตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค ส่วนมาตรา 915 บัญญัติว่า “ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใดๆก็ดีจะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้คือ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน” ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินไม่ได้บัญญัติไว้ในบทเบ็ดเสร็จทั่วไปเช่นเดียวกับมาตรา 899 และมาตรา 985 ซึ่งบทบัญญัติในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 915 มาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความว่า  ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังนั้นเป็นข้อความที่ขัดต่อมาตรา 983(2) หาเป็นผลบังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 899 ไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน

    3 สัญญาค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่อยู่ในบังคับกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ฉะนั้นเมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแม้ผู้ทรงจะยังมิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินตามมาตรา 985, 941 ก็ตาม ผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได

    ฎีกาที่ 8320/2550 สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ป. ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ ป... มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระเงินตามฟ้อง

     

    2. การสลักหลัง

     

    การสลักหลัง นั้น ในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน นั้น ให้นำบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินมาใช้ ซึ่งได้อธิบายไปแล้ว ในบท 3 โดย ใช้มาตรา 985 เป็นตัวประกอบ โดยอธิบายโดยสรุปดังนี้

    การสลักหลัง คือการแสดงเจตนาของผู้ทรงที่ประสงค์จะโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วเงินนั้นไปยังผู้รับสลักหลัง การสลักหลังมี 2 วิธี คือ

    1) การสลักหลังเฉพาะ คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้ทรงเดิม) ลงลายมือชื่อของตนเองในตั๋วเงิน พร้อมทั้งระบุชื่อรับประโยชน์หรือสลักหลังลงไปด้วย ผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลังอาจสลักหลังเฉพาะเพื่อโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปตามวิธีการดังกล่าวได้เช่นกัน

    2) การสลักหลังลอย คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้ทรงเดิม) ลงลายมือชื่อของตนโดยลำพังด้านหลังตั๋วเงิน โดยมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลังลงไปด้วย ผู้ทรงในฐานะเป็นผู้ได้รับตั๋วเงินจากการสลักหลังลอย สามารถโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปด้วยการส่งมอบธรรมดาเสมือนเป็นผู้ถือ

    การสลักหลังไม่ขาดสาย หมายถึง การสลักหลังตั๋วเงินโดยโอนรับช่วงติดต่อกันมาตามลำดับจนถึงมือของผู้ทรงคนปัจจุบันโดยไม่ขาดตอน

    ตัวอย่าง

    ก. ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน สั่งให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. จำนวน 1,000 บาท เมื่อ ค. นำไปยื่นให้ ข. จ่ายเงินปรากฎว่า ข. ปฏิเสธการจ่ายเงิน ค. สามารถนำตั๋วแลกเงินมาไล่เบี้ยให้ ก. ผู้สั่งจ่ายรับผิดได้ ตามมาตรา 900, 914

    การสลักหลังขาดสาย หมายถึง การสลักหลังตั๋วเงินไม่ต่อเนื่องกันมาตามลำดับ โดยขาดตอนไปช่วงใดช่วงหนึ่งหรือหลายช่วง เช่น หนึ่งออกตั๋วแลกเงินล่วงหน้าสั่งให้สองจ่ายเงินแก่สาม 3,000 บาท  สามสลักหลังโอนโดยระบุสี่เป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาปรากฏว่าห้าได้สลักหลังโอน ตั๋วนั้นให้หกโดยไม่ทราบว่าห้าได้รับสลักหลังโอนตั๋วนี้มาจากสี่ได้อย่างไร การสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวจึงไม่ต่อเนื่องกันตามลำดับ แต่ขาดช่วงจากสี่มาห้า

    ดังนี้ หากไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงิน เพราะการสลักหลังขาดสาย

     

    3. การโอนตั๋วสัญญาใช้เงิน

     

    การโอนนั้น ในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน นั้น ให้นำบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินมาใช้ ซึ่งได้อธิบายไปแล้ว ในบท 3 โดย ใช้มาตรา 985 เป็นตัวประกอบ โดยอธิบายโดยสรุปดังนี้

    การโอนตั๋วเงินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น บัญญัติเกี่ยวกับการโอนตั๋วเงินไว้ดังนี้

     

    3.1 การโอนสัญญาใช้เงินชนิดระบุชื่อ

    “ตามมาตรา 917 อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

    เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ดั่งนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ

    อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋วนั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายอื่นใดแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีกได้”

    มาตรา 917 วรรคแรก หมายความว่าตั๋วและเงินระบุชื่อทุกฉบับถ้าผู้ทรงประสงค์จะโอนต่อไป ย่อมทำได้ง่ายเพียงสลักหลังและส่งมอบ ถือเป็นการโอนหนี้ตามตั๋วเงินนั้นแล้ว

    ข้อความที่ว่า “แม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง” นั้น หมายความว่าตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายมีคำสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินแก่ผู้รับเงินนั้น ตามความหมายในมาตรา 908 ผู้สั่งจ่ายอาจระบุเป็นคำสั่งว่า “ให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเงิน หรือตามคำสั่งของผู้รับเงิน” เช่น ก. ออกตั๋วแลกเงินระบุสั่งให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. ว่า “ให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. หรือตามคำสั่ง ของ ค.” ดังนี้ แม้ว่าจะไม่มีคำว่า “หรือตามคำสั่งของ ค.” อยู่ในตั๋วนั้นเลย ค. ก็มีสิทธิที่จะโอนตั๋วฯ นั้นต่อไปให้บุคคลอื่นด้วยการสลักหลังและส่งมอบ

    การสลักหลัง (Indorsement) เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดในตั๋วเงินนั้นไปยังผู้รับสลักหลัง (ดูมาตรา 920 วรรคแรก) การสลักหลังมีวิธีการตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 919 ควรทำความเข้าใจไว้ก่อนด้วย (ดูมาตรา 919)

     

    3.2 การโอนสัญญาใช้เงินแบบสลักหลังลอย

    “มาตรา 920 อันการสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ ตั๋วแลกเงิน

    ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดั่งกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่ง ประการใดก็ ได้ คือ

    (1) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเอง หรือชื่อบุคคลอื่น ผู้ใดผู้หนึ่ง

    (2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้ แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง

    (3) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอก โดยไม่กรอกความลง ในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด”

    มาตรา 920 วรรคแรก กล่าวถึง ผลของการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินตามวิธีการดังกล่าวมาในมาตรา 917 และ 919 (ตั๋วระบุชื่อ) กล่าวคือ การสลักหลังตั๋วแลกเงินเป็นการแสดงเจตนาโอนสิทธิทั้งหลายอันเกิดแก่ตั๋วแลกเงินนั้นทั้งหมดไปยังผู้รับสลักหลัง

    ความในวรรคสองของมาตรา 920 กล่าวถึงสิทธิของผู้ทรงในฐานะที่ได้รับตั๋วแลกเงินมาจากการสลักหลังลอยตามความในมาตรา 919 วรรคท้าย

    เช่น เขียวเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินจากการสลักหลังลอยของขาว เขียวอาจเลือกกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการต่อไปนี้ก็ได้คือ

    1) ระบุชื่อของเขียวเองลงเหนือลายมือชื่อขาวผู้สลักหลังลอย เท่ากับว่าขาวสลักหลังให้เขียว หรือเขียวอาจระบุชื่อบุคคลอื่นที่ตนประสงค์จะโอนตั๋วฯ ต่อไปให้ เช่น เขียวอาจระบุ “จ่ายให้เหลือง” ลงเหนือลายมือชื่อขาว มีผลเท่ากับว่าขาวสลักหลังโอนตั๋วฯ นั้นให้เหลืองโดยตรง หรือ

    2) เขียวอาจสลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปอีกด้วยการลงลายือชื่อตนเองเพียงลำพังเป็นการสลักหลังลอยโอนตั๋วฯ นั้นให้บุคคลอื่นหรือสลักหลังเฉพาะโดยระบุชื่อบุคคลอื่นพร้อมทั้งลงลายมือชื่อของตนโอนตั๋วนั้นต่อไป หรือ

    3) เขียวอาจโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปด้วยการส่งมอบตั๋วฯ นั้นให้กับบุคคลอื่นเช่นให้เหลืองโดยไม่กรอกข้อความใด ๆ และไม่จำต้องสลักหลังแต่อย่างใดก็ได้ เมื่อเหลืองได้รับตั๋วฯ นั้นไว้แล้วก็เป็นผู้ทรง และถือว่าเหลืองได้ตั๋วฯ นั้นมาจากการสลักหลังลอยของขาวโดยตรงเหลือย่อมมีสิทธิโอนตั๋วฯ นั้นได้เช่นเดียวกับเขียว

    การโอนตั๋วระบุชื่อตามมาตรา 920 (3) นั้น จึงทำได้ง่ายเพียงการส่งมอบก็สมบูรณ์เช่นเดียวกับตั๋วผู้ถือ แต่ตั๋วฯ นั้นยังคงเป็นตั๋วระบุชื่อตลอดไป ถ้าเหลืองสลักหลังเฉพาะต่อให้น้ำเงิน (ระบุชื่อน้ำเงิน) ตามมาตรา 920(2) ตอนท้าย หากน้ำเงินประสงค์จะโอนตั๋วฯ นั้นต่อไปอีก ก็ต้องสลักหลังและส่งมอบตามวิธีการที่กล่าวแล้วในมาตรา 917 วรรคแรก และ 919

     

    3.3 การโอนสัญญาใช้เงินชนิดผู้ถือ

    ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้เงินแก่ผู้ถือ อาจเรียกให้เข้าใจง่ายและสั้นๆ คือ “ตั๋วผู้ถือ” วิธีการโอนตั๋วผู้ถือนั้นง่ายมาก เพียงผู้โอน (ผู้ทรงคนก่อน) ส่งมอบตั๋วผู้ถือให้ผู้ทรง (ผู้รับโอน) หรือตัวแทนของผู้ทรงก็สมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องสลักหลังโอนดังเช่นตั๋วระบุชื่อตามที่กล่าวแล้วในมาตรา 917 วรรคแรก หากผู้ทรงคนก่อนสลักหลังโอนตั๋วผู้ถือแล้วส่งมอบตั๋วฯ นั้นให้ผู้ทรง เช่นนี้ การโอนตั๋วผู้ถือนั้นย่อมสมบูรณ์เพราะการส่งมอบ มิได้สมบูรณ์เพราะการสลักหลัง แต่ผู้ทรงคนก่อนที่สลักหลังโอนตั๋วผู้ถือนั้น มาตรา 921 บัญญัติให้ถือว่าเป็นการค้ำประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย นั่นคือ ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่าย (มาตรา 921, 940 วรรคแรก) มิใช่รับผิดในฐานะผู้สลักหลังดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 914

    “มาตรา 918 ตั๋วผู้ถือนั้นย่อมโอนได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน”

    ข้อควรพิจารณา

    1. ตั๋วผู้ถือมีเฉพาะในตั๋วแลกเงิน/เช็ค ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีตั๋วผู้ถือตามมาตรา 983 (5)

    หมายเหตุ และในมาตรา 985 ก็มิได้นำมาตรา 918 มิใช้แก่ตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. ตั๋วผู้ถือมี 2 รูปแบบ

       2.1 ตั๋วแลกเงิน/เช็ค มีข้อความว่า “จ่าย      สด        หรือผู้ถือ” เช่นนี้ ย่อมเป็นเช็คผู้ถือ

       2.2 ตั๋วแลกเงิน/เช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน แล้วไม่ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก เช่น “จ่าย     นายA    หรือผู้ถือ” กรณีนี้ ศาลฎีกาตีความว่า ผู้สั่งจ่ายมิได้มีเจตนาให้เพียงแต่ผู้มีชื่อเท่านั้นเป็นผู้รับเงิน หากแต่ให้ชำระแก่ผู้ถือด้วย จึงถือเป็นเช็คผู้ถือ (ไม่ใช่เช็คระบุชื่อ)

    หมายเหตุ แต่ถ้าเช็คที่มีการระบุชื่อผู้รับเงิน แม้ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ”ออก แต่กลับมีข้อความว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” เช่นนี้ ตั๋วเงินดังกล่าวก็ย่อมกลายเป็นตั๋วเงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ ตามมาตรา 917 วรรค2 ไม่ใช่ตั๋วผู้ถืออีกต่อไป (อ.จิตติ)

    3. วิธีการโอนตั๋วผู้ถือ สามารถกระทำได้โดยการส่งมอบแต่เพียงลำพังตามมาตรา 918

    แต่หากการที่ผู้โอนลงชื่อสลักหลังตั๋วชนิดผู้ถือ ผู้ลงชื่อสลักหลังไม่อยู่ในฐานะผู้สลักหลัง หากแต่เป็นการประกันอาวัลผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 (มาตรา 921 ใช้เฉพาะกับตั๋วผู้ถือเท่านั้น) (แต่ถ้ามีการส่งมอบด้วยก็ถือเป็นทั้งการโอนและการอาวัล)

    หมายเหตุ มาตรา 921 ขอยกไปอธิบายในเรื่องอาวัล มาตรา 938-940

    4. เช็คชนิดผู้ถือ แม้จะมีการขีดคร่อมไว้ก็ยังคงเป็นเช็คผู้ถือ สามารถโอนต่อไปได้ด้วยการส่งมอบ

    เช็คระบุชื่อก็เช่นกัน แม้จะมีการขีดคร่อมไว้ ก็ยังคงสามารถโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลังลอย/เฉพาะ

    หมายเหตุ การโอนเช็คกับการขีดคร่อมเช็คเป็นคนละเรื่องกัน การขีดคร่อมมีผลแต่เพียงธนาคารต้องจ่ายเงินผ่านทางบัญชีธนาคารเท่านั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับเรื่องการโอนแต่ประการใด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ฎีกาที่ 1015/2532, 2485/2523, 4336/2534)

    5. เช็คผู้ถือ แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ตาม เช็คดังกล่าวก็ยังคงสามารถโอนต่อไปได้ด้วยการส่งมอบ

    หมายเหตุ เช็คระบุชื่อก็ทำนองเดียวกัน แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็สามารถโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลังเฉพาะ/ลอย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ฎีกาที่ 1043/2534, 2062/2537)

     

    4. การอาวัล

     

    การอาวัลนั้น ในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน นั้น ให้นำบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินมาใช้ ซึ่งได้อธิบายไปแล้ว ในบท 3 โดย ใช้มาตรา 985 เป็นตัวประกอบ โดยอธิบายโดยสรุปดังนี้

     

    4.1 การอาวัลโดยผลของกฎหมาย

    มาตรา 918, 921 การโอนตั๋วแลกเงินผู้ถือทำได้โดยการส่งมอบ หากไปทำการสลักหลังย่อมเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย (โดยผลของกฎหมาย)

    โดย ผลของการอาวัล คือรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนค้ำประกัน แม้ความผิดของบุคคลซึ่งตนรับอาวัลจะตกเป็นอันใช้ไม่ได้เพราะเหตุใด ความรับผิดของผู้รับอาวัลก็ดำรงอยู่ประเด็นสอบ เราดูว่าตั๋วเงินหรือเช็คเป็นประเภทอะไร หากเป็นประเภทผู้ถือแล้วมีการสลักหลัง

    ผู้สลักหลังก็จะรับผิดตามมาตรา 918, 921, 940 อาจจะนำไปผูกโยงเรื่องเช็คในกรณีธนาคารรับรองการใช้เงินโดยผู้สั่งจ่ายไม่ร้องขอ ซึ่งผลก็คือผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง หลุดพ้น แต่ผู้อาวัลไม่หลุดพ้นตามมาตรา 993

    มาตรา 938 วรรคแรก คำว่า “ผู้ค้ำประกัน” หมายถึง ผู้รับอาวัล นั่นเอง ผู้รับอาวัลการใช้เงินของคู่สัญญาคนใด จะรับอาวัลทั้งจำนวนหรือรับอาวัลบางส่วนก็ได้ เช่นตั๋วแลกเงินราคา 10,000 บาท แดงเข้ารับอาวัลการสั่งจ่ายเงินของผู้สั่งจ่าย (ผู้ถูกรับอาวัล) เพียง 5,000 บาท ก็ได้ ผู้ทรงจะยอมรับหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    วรรคท้าย ผู้รับอาวัล อาจเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีเครดิตดีหรืออาจเป็นคู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามตั๋วฯ นั้นคนใดคนหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์หรือความตกลงใจของผู้ทรง สำหรับผู้ที่ถูกรับอาวัลนั้น จะเป็นคู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งก็ได้

    มาตรา 939 กล่าวถึงวิธีการรับอาวัลตั๋วเงินหรือวิธีการเข้ามาเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับอาวัลคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้น

    วิธีการรับอาวัล กระทำได้ 2 วิธีคือ

    1. ลงข้อความใน (ด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้) ตั๋วเงินหรือใบประจำต่อโดยใช้ถ้อยคำสำนวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” (Good as aval) หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน เช่น “ค้ำประกัน” หรือ “รับประกัน” หรือ “ขอประกัน” ฯลฯ และ ต้อง ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล ทั้งต้องระบุชื่อผู้ถูกรับอาวัล หากไม่ระบุไว้ให้ถือว่ารับอาวัลผู้สั่งจ่าย (มาตรา 939 วรรคแรก, วรรคสองและวรรคท้าย) หรือ

    2. ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลเพียงลำพังในด้านหน้า ตั๋วเงินนั้น โดยไม่ต้องเขียนข้อความดังกล่าวในวรรค 2 ก็ถือเป็นการรับอาวัลเช่นเดียวกัน (โดยถือว่าเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย) ยกเว้นการลงลายมือชื่อของ ผู้จ่าย และ ผู้สั่งจ่าย ทั้งนี้เพราะการลงลายมือชื่อของ ผู้จ่าย เพียงลำพังนั้นจะไปพ้องกับการรับรองตั๋วฯ ของผู้จ่าย (มาตรา 931) ทำให้พิสูจน์ยุ่งยาก สำหรับการลงลายมือชื่อของ ผู้สั่งจ่าย นั้น กฎหมายห้ามไว้เพราะมีลักษณะเป็นการอาวัลการจ่ายเงินตัวเอง ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อผู้ทรงแต่อย่างใด (มาตรา 939 วรรค 3) ซึ่งถ้าเป็นบุคคลภายนอกที่มีฐานะการเงินดีย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นมีเครดิตยิ่งขึ้น (ดูมาตรา 938 วรรคท้าย) โดยเฉพาะผู้จ่ายที่เป็นธนาคารหากเข้ารับอาวัลลูกค้าของธนาคารซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วเงิน ธนาคารต้องผูกพันรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล

    4.2 การอาวัลตามแบบ

    มาตรา 938 มาตรา939 และมาตรา 940 เป็นกรณีบุคคลภายนอกหรือคู่สัญญาเป็นผู้รับรองตั๋วเงินให้มีความเชื่อถือ มากขึ้นโดยลงข้อความว่าใช้ได้เป็นอาวัลหรือค้ำประกัน

    หากลงชื่อเพียงอย่างเดียวด้านหน้าก็ผูกพันแล้วถือเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย

    เมื่อมีการอาวัลย่อมต้องรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล ทั้งนี้แม้ความรับผิดของบุคคลนั้นจะตกเป็นอันใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ผู้อาวัลก็ไม่หลุดพ้น เว้นแต่ทำผิดแบบระเบียบในเรื่องแบบฟอร์มตั๋วเงิน การสลักหลัง การรับรอง การคัดค้าน เป็นต้น

    ทั้งนี้เมื่อผู้อาวัลได้ใช้เงินแก่ผู้ทรงแล้ว ผู้อาวัลย่อมใช้สิทธิในการไล่เบี้ย บุคคลที่ตนประกัน และบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิด

    โดยอาจอาวัลทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ไม่เหมือนกรณีการโอนตั๋วเงินบางส่วนตามมาตรา 922 จึงเป็นโมฆะ

     

    5. บทสรุป

     

    ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นตามมาตรา 913 (3) ตอนท้าย, (4), 985 นั้น มาตรา 986 วรรค2 กำหนดให้ผู้ทรงต้องนำไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้เพื่อรับรองการจ่ายเงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วตามมาตรา 928

    แต่ถ้าเป็นกรณีตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913(3)ตอนต้นนั้น ผู้ทรงไม่จำต้องนำตั๋วไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว กล่าวคือแม้พ้น 6 เดือน ผู้ทรงก็ชอบที่จะทวงถาม เรียกให้ผู้ออกตั๋วรับผิดได้

    ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้น ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุชื่อให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว

    ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป... มาตรา 1001 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน 2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001

       1.2 เช่นเดียวกันตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุวันถึงกำหนดใช้เงินไว้แล้วตามมาตรา 913(1), (2) ประกอบมาตรา 985 ผู้ทรงก็ไม่อยู่ในบังคับต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ตามมาตรา 986 วรรค 2 อีกเช่นกัน

    1) ในกรณีของตั๋วแลกเงินผู้ทรงจะไปฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายได้เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดแล้วและผู้ทรงนำตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปเรียกให้ผู้จ่ายรับรองหรือใช้เงินตามมาตรา 941 แล้วผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินตามมาตรา 959

    2) แต่ในกรณีของตั๋วสัญญาใช้เงินผู้ออกตั๋วและผู้จ่ายเป็นบุคคลคนเดียวกัน

       (1)หากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทถึงกำหนดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นตามมาตรา 913 (3) ประกอบมาตรา 985กรณีนี้ผู้ทรงมีหน้าที่ต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ก่อนภายใน 6 เดือน ตามมาตรา 986, 928 เมื่อผู้ออกตั๋วจดรับรู้และลงวันที่จะชำระเงินแล้วและผู้ออกตั๋วไม่ชำระตามที่กำหนด ดังนี้ ผู้ทรงจึงจะมาฟ้องไล่เบี้ยผู้ออกตั๋วได้

       (2)แต่ถ้าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดที่ระบุวันถึงกำหนดใช้เงินไว้แล้วตามมาตรา 913(1) หรือ(2) หรือชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913 (3) กรณีเหล่านี้เมื่อถึงกำหนดตามที่ระบุหรือครบกำหนดระยะเวลาตามที่ทวงถามผู้ทรงย่อมมีสิทธิไปเรียกให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินตามตั๋วได้ทันทีโดยไม่จำต้องยื่นตามมาตรา 986 วรรค 2 และมาตรา 941 อีก

    สรุป ง่ายๆ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดระบุวันใช้เงินก็ดีชนิดถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถามก็ดีครบกำหนดเมื่อใดแล้วผู้ออกตั๋วไม่ยอมใช้เงินผู้ทรงไล่เบี้ยได้ทันที

       1.3 ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913(3), 985 ย่อมถึงกำหนดใช้เงินนับแต่วันที่ทวงถามมิใช่นับแต่วันที่ออกตั๋ว

    2. มาตรา 985 มิได้ให้นำเอามาตรา 915 มาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย ฉะนั้นหากผู้ออกตั๋วก็ดี ผู้สลักหลังก็ดี ไปเขียนข้อความว่าห้ามไล่เบี้ยตนหรือไล่เบี้ยตนได้เพียงครึ่งหนึ่ง หรือข้อความลบล้างจำกัดความรับผิดอื่นๆข้อความนั้นหามีผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ตามมาตรา 899

    3 สัญญาค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่อยู่ในบังคับกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ฉะนั้นเมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแม้ผู้ทรงจะยังมิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินตามมาตรา 985, 941 ก็ตาม ผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได

    ฎีกาที่ 8320/2550 สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ป. ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ ป... มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระเงินตามฟ้อง

    4. บทบัญญัติสำคัญในตั๋วแลกเงินที่ให้นำมาใช้แก่ตั๋วสัญญาใช้เงิน

       4.1 มาตรา 911 การเขียนเรื่องดอกเบี้ย

       4.2 มาตรา 913 วันถึงกำหนดใช้เงิน

       4.4 มาตรา 916 ห้ามยกความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลขึ้นต่อสู้ผู้ทรง

       4.4 มาตรา 917 การโอนตั๋วเงิน

       4.4 มาตรา 919, 920 การสลักหลัง

       4.5 มาตรา 922 การสลักหลังต้องไม่มีเงื่อนไขและต้องโอนไปทั้งหมด

       4.6 มาตรา 926 การสลักหลังจำนำ

       4.7 มาตรา 938-940 การอาวัล

       4.8 มาตรา 959 การเกิดสิทธิไล่เบี้ย

       4.9 มาตรา 967 ความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงินต่อผู้ทรง

       4.10 มาตรา 968 สิทธิเรียกร้องของผู้ทรง

    5. บทบัญญัติสำคัญในตั๋วแลกเงินที่ไม่นำมาใช้แก่ตั๋วสัญญาใช้เงิน

       5.1 มาตรา 915 การเขียนข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิด (ไม่มีผลแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 899)

       5.2 มาตรา 918 การโอนตั๋วผู้ถือ (ตั๋วสัญญาใช้เงินมีแต่เฉพาะตั๋วระบุชื่อไม่มีตั๋วผู้ถือโดยผลของมาตรา 983(5))

       5.3 มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วผู้ถือ (ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีตั๋วผู้ถือ)

       5.4 มาตรา 927-937 การรับรอง (ตั๋วสัญญาใช้เงินผู้จ่ายกับผู้ออกตั๋วเป็นบุคคลคนเดียวกันจึงไม่จำต้องมีการยื่นให้รับรอง)

       5.5 มาตรา 948 ผู้ทรงผ่อนเวลาให้ผู้จ่าย (ผู้ทรงก็ยังคงมีสิทธิไล่เบี้ยได้)

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    คำถามท้ายบท

     

    แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในสมุดรายงาน และส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป

     

     

    1. ตัวสัญญาใช้เงินคืออะไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    2. บุคคลใดบ้างต้องรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    3. การโอนตั๋วสัญญาใช้เงิน มีหลักเกณฑ์ว่าอย่างไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    4. การอาวัลตัวสัญญาใช้เงินมีหรือไม่ ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    5. การสลักหลังตัวสัญญาใช้เงิน ทำได้หรือไม่ ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เอกสารอ้างอิง

     

    ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์. คำอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2554

    สหธน รัตนไพจิตร.  (2543).  คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน   ( พิมพครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: วิญูชน.

    สามิตร ศิริมาตย.  (2546).  ปญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดความผิดอันเกี่ยวกับการใชเช็ค. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

    อัมพร ณ ตะกั่วทุง.  (2548).  คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   นิติบรรณการ.

    อุทิศ แสนโกศิก.  (2515).  หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพสรรพาสามิต. อุทิศอนุสรณงานศพ.

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    หลักคำพิพากษาศาลฎีกา

     

     


  • บทที่ 5

    แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5 เช็ค

     

    เนื้อหาประจำบท

    1. ลักษณะเบื้องต้นของเช็ค

    2. กำหนดเวลานำเช็คยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงิน

    3. ธนาคารรับรองตั๋วเงิน

    4. เช็คขีดคร่อม

    5. บทสรุป

     

    จำนวนชั่วโมงที่สอน 9 ชั่วโมง

     

    วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

    เมื่อศึกษาบทที่ 5 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. อธิบายลักษณะเบื้องต้นของเช็ค

    2. อธิบายกำหนดเวลานำเช็คยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงิน

    3. อธิบายธนาคารรับรองตั๋วเงิน

    4. อธิบายเช็คขีดคร่อม

     

    วิธีการสอนและกิจกรรม

    1.เข้าสู่เนื้อหาบทนำ บรรยายประกอบ ตัวบทกฎหมาย

    2.สรุปและซักถาม

    3. กิจกรรมในชั้นเรียน

    4. นักศึกษาค้นหาข้อมูลกรณีศึกษาทางหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

     

    สื่อการเรียนการสอน

    1. ตัวบทกฎหมาย

    2. เอกสารประกอบการสอน

    3. เครื่องคอมพิวเตอร์

    การวัดผลและประเมินผล

    คะแนนสอบปลายภาคเรียน                                      100%

     

     

     

     

     

     

    บทที่ 5

    เช็ค

     

    เช็คคือ ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน โดยเช็คป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารเงินสด ดังนั้นในบทนี้จะเป็นการอธิบายหลักเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับเช็ค

     

    1. ลักษณะเบื้องต้นของเช็ค

     

    เช็คคือ ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน โดยเช็คป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารเงินสด สามารถจำแนกคู่สัญญาออกได้ดังนี้

    1. ผู้สั่งจ่ายเช็ค (Drawer) คือเจ้าของบัญชีกระแสรายวันที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคาร ผู้เขียนสั่งจ่ายหรือออกเช็ค

    2. ธนาคาร(Banker) คือธนาคารผู้รับฝากเงินประเภทกระแสรายวันที่ผู้สั่งจ่ายเช็คเปิดบัญชีไว้

    3. ผู้รับเงิน(Payee) คือผู้มีสิทธิที่จะขึ้นเงินตามเช็คนั้นในฐานะผู้ทรง(Holder) ทั้งนี้ผู้ทรงอาจมีฐานะเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้รับเงินตามที่ปรากฎในเช็คนั้น หรืออาจเป็นผู้รับเงินในฐานะ ผู้รับสลักหลัง หรือในฐานะผู้ถือได้

    องค์ประกอบของช็ค

    1.คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค

    2.คำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

    3. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร

    4.ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

    5.สถานที่ใช้เงิน

    6.วันและสถานที่ออกเช็ค

    7.ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

    เช็คมีบทบัญญัติพิเศษ เรื่องการขีดคร่อม ซึ่งไม่มีในตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน กรณีเช็คขึ้นเงินไม่ได้นั้นนอกจากผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดทางแพ่งแล้ว ผู้สั่งจ่ายยังอาจมีความรับผิดทางอาญาด้วยตาม พ... ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.. 2534

    การออกเช็คเพื่อประกันการชำระหนี้อย่างอื่น เช่น ประกันค่าสินค้า ประกันความเสียหาย แม้จะไม่มีความผิดอาญาตาม พ... เช็คฯ  เพราะเป็นเช็คที่มิได้ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงขณะสั่งจ่ายเช็ค แต่เมื่อต่อมามีความเสียหายเกิดขึ้น หรือมีการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้า ผู้สั่งจ่ายเช็คก็ต้องรับผิดทางแพ่ง ตามเนื้อความในเช็คนั้น

    ฎีกาที่ 452/2552 การออกเช็คเพื่อประกันค่าสินค้าที่ลูกค้าหรือสมาชิกสั่งซื้อสินค้าผ่านจำเลยนั้นเพื่อเป็นประกันว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ส่งให้แก่ลูกค้าหรือสมาชิกหากลูกค้าหรือสมาชิกไม่ชำระ โจทก์ก็ยังได้รับเงินค่าสินค้าตามเช็คดังกล่าว ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการชำระหนี้ค่าสินค้าจำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คนั้น แม้คดีในส่วนอาญาจำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญา ก็เป็นเพราะเช็คที่จำเลยออกมิใช่เป็นเช็คเพื่อชำระหนี้อันเป็นองค์ประกอบของความผิดทางอาญาตาม พ...ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าหรือสมาชิกจำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชอบชำระหนี้ค่าสินค้าตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวต่อผู้ทรงเช็ค

    เช็คนั้น ตราบใดที่ผู้ทรงเช็คยังไม่นำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคาร และธนาคารยังไม่ได้มีการปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น แม้จะถึงวันที่ลงในเช็คแล้วก็ตาม ผู้ทรงยังไม่อาจที่จะนำเช็คมาฟ้องผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังให้รับผิดใช้เงินตามเช็คได้ และการคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 224 จะเริ่มคิดได้ก็ต่อเมื่อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว

    ฎีกาที่ 610/2520 ผู้สั่งจ่ายเช็คจะรับผิดใช้เงินต่อผู้ทรงต่อเมื่อมีการนำเช็คไปยื่นแก่ธนาคาร และธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นเสียก่อน ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ผู้ทรงเช็คยังไม่เคยนำเช็คไปขึ้นเงินแก่ธนาคาร ผู้ทรงจึงยังไม่อาจนำเช็คดังกล่าวมาฟ้องผู้สั่งจ่ายเพื่อให้รับผิดได้

    หมายเหตุ แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ก็มีข้อกฎหมายยกเว้นไว้เช่นกัน ซึ่งจะกล่าวต่อไปภายหลัง

    เมื่อถึงกำหนดใช้เงินตามเช็ค ผู้ทรงนำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคารได้ทันที โดยไม่ต้องให้ธนาคารรับรองก่อน

    และนอกจากนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คผู้ทรงสามารถนำเช็คไปฟ้องผู้สั่งจ่ายได้ทันที โดยไม่ต้องทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงินก่อน

    หมายเหตุ ต่างกับเรื่องตั๋วแลกเงิน ที่ก่อนฟ้องต้องทำคำคัดค้านก่อนตามมาตรา 960 (ฎีกาที่ 713/2521)

    เช็คถึงกำหนดชำระเมื่อใดกับลูกหนี้ตามเช็คผิดนัดเมื่อใดเป็นคนละเรื่อง

    1. เช็คถึงกำหนดชำระเมื่อถึงวันที่ลงในเช็ค ฉะนั้นอายุความตามเช็คจึงเริ่มนับทันทีเมื่อถึงวันที่ลงในเช็คตามมาตรา 193/32 มิใช่นับจากวันที่ส่งมอบเช็คหรือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแต่อย่างใด (ฎีกาที่ 1214/2547)

    2. แต่ลูกหนี้ตามเช็คจะผิดนัดต่อเมื่อวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน (ฎีกาที่ 3421/2525)

     

    มาตรา 989 ให้นำบทบัญญัติในตั๋วแลกเงินมาใช้บังคับแก่เช็ค

    ข้อควรพิจารณา

    1 มาตรา 989 วรรค 2 ให้นำมาตรา 960-964 เรื่องการทำคำคัดค้านมาใช้แก่เช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศด้วย

    มาตรา 960-964 เรื่องการทำคำคัดค้านนั้นมีหลักเกณฑ์คร่าวๆคือตั๋วแลกเงินนั้นหากผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน ผู้ทรงต้องทำคำคัดค้านภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หากไม่ทำผู้ทรงจะไปฟ้องไล่เบี้ยไม่ได้ทั้งนี้ตามมาตรา 960

    กรณีเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศก็เช่นกัน หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ทรงเช็คต้องทำคำคัดค้านก่อนจึงจะมาฟ้องไล่เบี้ยได้โดยผลของมาตรา 960 ประกอบมาตรา 989

    แต่หากเป็นเช็คที่ออกในประเทศไทย เมื่อเช็คถึงกำหนด และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ทรงสามารถที่จะนำเช็คมาฟ้องไล่เบี้ยได้ทันทีโดยไม่จำต้องทำคำคัดค้านก่อนฃ

    ข้อสำคัญ คำว่าเช็คออกแต่ต่างประเทศนั้น ให้ดูสถานที่สั่งจ่ายเช็คเป็นสำคัญ หากการสั่งจ่ายเช็คได้กระทำในประเทศไทย แม้ว่าธนาคารเจ้าของเช็คจะอยู่ต่างประเทศ เช็คดังกล่าวก็เป็นเช็คที่ออกในประเทศไทย ไม่จำต้องทำคำคัดค้าน

    ฎีกาที่ 1558/2529 เช็คพิพาทจะเป็นเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศหรือไม่ อยู่ที่ว่าผู้สั่งจ่ายเช็คได้สั่งจ่ายเช็คภายในประเทศหรือสั่งจ่ายเช็คที่ต่างประเทศเป็นสำคัญ หาใช่ดูว่าธนาคารตามเช็คอยู่ ณ ที่ใดไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทในประเทศไทย แม้ธนาคารเจ้าของเช็คจะอยู่ต่างประเทศ เช็คพิพาทก็ไม่ใช่เช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศตามมาตรา 989 วรรค 2

    2 บทบัญญัติสำคัญในตั๋วแลกเงินที่ให้นำมาใช้แก่เช็ค

       2.1 มาตรา 910 ตั๋วเงินที่มีรายการขาดตกบกพร่อง (เน้นวรรคท้าย)

       2.2 มาตรา 914 ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังต้องรับผิดต่อผู้ทรง

       2.3 มาตรา 915 การเขียนข้อกำหนดลงในตั๋วเงิน

       2.4 มาตรา 916 ห้ามยกความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลขึ้นต่อสู้กับผู้ทรง

       2.5 มาตรา 917-920 การโอนและสลักหลังตั๋วเงิน

       2.6 มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วผู้ถือ

       2.7 มาตรา 922 การสลักหลังต้องไม่มีเงื่อนไขและต้องโอนไปทั้งหมด

       2.8 มาตรา 926 การสลักหลังจำนำ

       2.9 มาตรา 938-940 การอาวัล

       2.10 มาตรา 959 การไล่เบี้ย

       2.11 มาตรา 967 ความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงินต่อผู้ทรง

    3 บทบัญญัติสำคัญในตั๋วแลกเงินที่ไม่นำมาใช้กับเช็ค หากเขียนลงไปย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วเงินตามมาตรา 899

       3.1 มาตรา 911 การเขียนเรื่องดอกเบี้ย (ไม่มีผลแก่เช็คตามมาตรา 899)

       3.2 มาตรา 913 วันถึงกำหนดใช้เงิน (เช็คมีวันถึงกำหนดใช้เงินกรณีเดียวคือเมื่อทวงถาม)

       3.3 มาตรา 927- 937 การรับรอง (เช็คมีบทบัญญัติเรื่องการรับรองเช็คไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 993)

       3.4 มาตรา 948 การผ่อนเวลาให้ผู้จ่าย (ผู้ทรงไม่สิ้นสิทธิไล่เบี้ย)

       3.5 มาตรา 968 สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี (เช็คให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224)

     

    มาตรา 990 การยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน

    มาตรา 990 ผู้ทรงต้องยื่นเช็คให้แก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน ถ้าเป็นเช็คที่ออกในเมืองเดียวกันกับที่ให้ใช้เงินตามเช็คต้องยื่นภายใน 1 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ถ้าออกเช็คคนละเมืองต้องยื่นภายใน 3 เดือนนับแต่วันออกเช็ค มิฉะนั้นผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่ผู้สั่งจ่ายจะเสียหายเพราะไม่ยื่นภายในกำหนด

    2. กำหนดเวลานำเช็คยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงิน

     

    มาตรา 990 กำหนดยื่นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกัน 1 เดือน ต่างเมืองต้องยื่นภายใน 3 เดือน หากไม่นำยื่น ภายในกำหนดสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้สลักหลังต่อผู้ทรงสั่งจ่ายเสียสิทธิเพียงเท่าที่เกิดความเสียหาย

    คำว่า “เมือง” ในที่นี้หมายถึง “จังหวัด” ทางฝ่ายปกครองในส่วนภูมิภาค หรือ “กรุงเทพฯ” ทางฝ่ายปกครองในส่วนกลางนั่นเอง คำว่า “เมืองเดียวกัน” จึงหมายถึงจังหวัดเดียวกัน ดังนั้น คำว่า “เช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค” จึงหมายถึงเช็คที่ออกและให้ใช้เงินในจังหวัดเดียวกันกับที่ออกเช็คนั่นเอง (โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาเดิมของผู้ทรงเช็คและหรือผู้สั่งจ่ายเช็ค) เช่น แดงออกเช็คในกรุงเทพฯ สั่งให้ธนาคารขวานทองในกรุงเทพฯ จ่ายเงิน 10,000 บาท ให้น้ำเงิน ลงวันที่ 28 ธ.ค. 49 ดังนี้ น้ำเงินต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารขวานทองใช้เงินอย่างช้าภายในวันที่ 28 ม.ค. 49

    คำว่า “เช็คให้ใช้เงินที่อื่น” หมายถึง เช็คที่มิได้ออกและให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ซึ่งก็คือเช็คที่ออกและให้ใช้เงินต่างจังหวัดหรือคนละจังหวัดนั่นเอง เช่นแดงออกเช็คในกรุงเทพฯ สั่งให้ธนาคารแม่กลองซึ่งอยู่ใน จ. ราชบุรีจ่ายเงิน 10,000 บาท ให้น้ำเงิน เช็คนั้นลงวันที่ 30 ก.ย. 49 ดังนี้ นำเงินต้องนำเช็คนั้นยื่นให้ธนาคารแม่กลองใช้เงินอย่างช้าภายในวันที่ 30 ธ.ค. 49

    ความเสียหายของผู้สั่งจ่ายนั้น หมายถึง กรณีที่ผู้สั่งจ่ายสูญเสียเงินที่ตนมีอยู่ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในธนาคารแห่งนั้นจากการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คที่ตนสั่งจ่ายไปยื่นให้ธนาคารจ่ายเงินภายในกำหนดดังกล่าว เช่น ธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ถ้าผู้สั่งจ่ายไม่ได้รับความเสียหายดังกล่าวแล้ว ผู้ทรงก็ยังมีสิทธิเรียกเงินตามเช็คต่อผู้สั่งจ่ายได้ ดังนั้นในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายเสียหายบางส่วน ผู้ทรงย่อมมีสิทธิเรียกเงินตามเช็คเฉพาะส่วนที่ผู้สั่งจ่ายไม่เสียหายได้

    มาตรา 990เป็นการกำหนดเวลาการนำเช็คยื่นเพื่อใช้เงิน

    1.เมืองเดียวกัน คือจังหวัดเดียวกัน เช่น ออกสาขาบางใหญ่ ต้องนำยื่นภายใน 1 เดือน

    2.ต่างเมือง หรือที่อื่น ต้องนำยื่นภายใน 3 เดือน

    หากละเลย ย่อมมีผลดังนี้

    1. สิ้นสิทธิไล่เบี้ย ผู้สลักหลังทั้งปวง

    2. สิ้นสิทธิไล่เบี้ย ผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่เกิดความเสียหาย

    ตาม 990 นี้มีผลทำให้ผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายเท่าที่เสียหาย หลุดพ้นเท่านั้น แต่ผู้รับอาวัลยังคงต้องผูกพันอยู่และธนาคารจะหลุดพ้นได้ต้องพิจารณาตาม ม. 991, 992

    ตัวอย่าง ^

    นายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ออกเช็คที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 1 กันยายน 2535 สั่ง ธนาคารกรุงแตก จำกัด  สาขาหัวหมาก จ่ายเงิน 100,000 บาท ให้แก่นายสองหรือผู้ถือ นายสองสลักหลังโอนเช็คต่อให้นาย ก. ต่อมาวันที่ 30 ตุลาคม 2535 ธนาคารกรุงแตกจำกัด ตกเป็นบุคคลล้มละลายตามคำสั่งศาล โดยที่นาย ก. ยังไม่ทันนำเช็คนั้นไปขึ้นเงิน ปรากฏว่าขณะที่ธนาคารกรุงแตก จำกัด ล้มละลายนั้น นายหนึ่งมีเงินในบัญชี 100,000 บาท  ดังนี้ นายก. จะไล่เบี้ยเอาเงินตามเช็คจากนายหนึ่งและนายสองได้หรือไม่

    ตามปัญหา เมื่อไม่นำมายื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นายหนึ่งผู้สั่งจ่ายย่อมหลุดพ้น นายสองในฐานะผู้รับอาวัลตามกฎหมายย่อมหลุดพ้นเช่นกัน

    มาตรา 991หน้าที่ของธนาคารต้องใช้เงินตามเช็คที่จะเลือกจ่ายหรือไม่ก็ได้

    1. ไม่มีเงินในบัญชี

    2. เช็คนำยื่นเมือพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ออก

    3. มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายหรือถูกลัก (ใครบอกก็ได้)

     

    1. ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยคัดค้านคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น

    หมายความว่า การที่ผู้เคยค้ามีบัญชีเงินฝากประเภทนี้ไว้กับธนาคาร ย่อมอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ธนาคารตลอดระยะเวลาที่มีเงินอยู่ในบัญชีนั้น ในกรณีที่มีข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้ในสัญญาฝากเงินประเภทกระแสรายวันด้วย และผู้เคยค้าได้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว ผู้เคยค้าย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ธนาคาร

    กรณีที่เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายไม่พอจ่ายตามเช็คดังกล่าว เช่น ผู้สั่งจ่ายสั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 40,000 บาท แต่ในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีเงินเหลือเพียง 10,000 บาท ธนาคารย่อมมีสิทธิที่จะบอกปัดไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้นด้วยการคืนเช็คพร้อมใบคืนเช็ค โดยระบุเหตุผลว่า “เงินในบัญชีไม่พอจ่าย” หรือเหตุผลอื่นก็ได้เพื่อรักษาหน้าผู้สั่งจ่าย เช่น “โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย” หรือ “โปรดส่งเช็คมาเบิกอีกครั้ง” หรือ “เกินข้อตกลง” แต่ปัจจุบันในทางปฏิบัติ ธนาคารคืนเช็คโดยระบุเหตุผลว่า “เงินไม่พอจ่าย” เพื่อตัดความยุ่งยากของเจ้าหน้าที่ธนาคารที่เกี่ยวข้องจะต้องไปให้การเป็นพยานในศาลในคดีเช็คเป็นการเสียเวลา

    ธนาคารอาจจ่ายเงินไปเพียงเท่าที่เหลืออยู่ในบัญชี คือ จำนวน 10,000 บาทก็ได้ แสดงว่าธนาคารมีสิทธิจ่ายเงินบางส่วนได้ แต่ผู้ทรงก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธได้

     

    2.เช็คนั้นยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค

    ผู้ทรงเช็คมีหน้าที่ต้องยื่นเช็คให้ธนาคารจ่ายเงินภายในกำหนดมาตรา 990 วรรคแรก มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังทั้งปวง นอกจากนั้น ผู้ทรงควรยื่นเช็คให้ธนาคารจ่ายเงินภายใน 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค (วันที่ลงในเช็ค) ด้วย หากยื่นเช็คเกินกว่านั้น ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะล่วงเลยมานานเกินกว่าครึ่งปี อาจมีการชำระหนี้กันตามมูลหนี้เดิมระหว่างคู่สัญญาไปแล้วก็ได้ แสดงว่ากฎหมายไม่ต้องการให้ผู้ทรงเก็บเช็คไว้นานเกินไป ทางปฏิบัติ ธนาคารจะไม่จ่ายเงินให้และจะคืนเช็คให้ผู้ทรงพร้อมกับอ้างเหตุผลว่า “เช็คพ้นกำหนดจ่ายเงิน” บางธนาคารจะสอบถามผู้สั่งจ่ายก่อน อย่างไรก็ดี ธนาคารจะใช้ดุลพินิจจ่ายไปก็ได้ หากพิจารณาแล้วว่าสมควร, ไม่มีข้อสงสัย, ได้จ่ายไปโดยสุจริต, ตามทางค้าปกติและไม่ประมาทเลินเล่อแล้ว ธนาคารมีสิทธิหักบัญชีผู้สั่งจ่ายได้ เพราะเช็คที่ล่วงเลยกว่า 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค ยังคงเป็นเช็คที่สมบูรณ์และไม่ทำให้ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิด

     

    3. ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป

    ผู้บอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายไป น่าจะหมายถึง ผู้ทรงเช็คนั้น ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของเช็คหรืออาจเป็นผู้สลักหลังเช็คนั้นก็ได้ แต่ไม่น่าจะหมายรวมไปถึงผู้สั่งจ่าย เพราะผู้สั่งจ่ายมีสิทธิบอกห้ามการใช้เงินตามมาตรา 922(1) การบอกกล่าวจะบอกกล่าวด้วยวาจาโดยตรง อาจบอกกล่าวด้วยตัวเองหรือทางโทรศัพท์ หรือบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรได้ยิ่งดี โดยบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สั่งจ่าย เลขที่เช็ค วันที่ออกเช็ค ฯลฯ ธนาคารจะสอบถามถึงสิทธิในเช็คนั้นของผู้บอกกล่าวด้วย ทางปฏิบัติธนาคารจะไม่จ่ายเพราะถ้าธนาคารจ่ายเงินให้กับผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารมีสิทธิหักเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้ และถือว่าจ่ายเงินไปโดยถูกระเบียบ (มาตรา 1009) แต่ถ้าธนาคารจ่ายเงินไปโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ แสดงว่าจ่ายเงินไปโดยไม่ถูกระเบียบ (มาตรา 1009) ธนาคารไม่มีสิทธิหักบัญชีของผู้สั่งจ่าย และหากจ่ายเงินเกินไปก็จะเรียกให้ผู้สั่งจ่ายใช้เงินคืนไม่ได้

    มาตรา 992 ธนาคารสิ้นอำนาจหน้าที่ในการใช้เงินตามเช็ค

    1.            มีคำบอกห้ามใช้เงิน (จากผู้สั่งจ่ายเท่านั้น)

    2.            รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย

    3.            รู้ว่าได้มีคำสั่งพิทักษ์ชั่วคราว (ตามกฎหมายล้มละลาย)

    กรณีที่ธนาคารสิ้นหน้าที่และอำนาจที่จะจ่ายเงินตามเช็คของลูกค้าที่สั่งจ่ายออกไปและมีผู้ทรงนำเช็คนั้นไปยื่นให้ธนาคารแห่งนั้นจ่ายเงิน ธนาคารจ่ายเงินไม่ได้โดยเด็ดขาดหากต้องด้วยข้อเท็จจริงในข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ คือ

    1. มีคำบอกห้ามการใช้เงิน

    คำบอกห้ามเป็นสิทธิของผู้สั่งจ่ายเช็คเท่านั้นที่มีอำนาจสั่งห้าม (อายัด) ไม่ให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้นได้โดยไม่จำต้องให้เหตุผล เพราะธนาคารมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สั่งจ่าย และมีสิทธิที่จะบอกห้ามไม่ให้ธนาคารจ่ายเงินเมื่อใดก็ได้ สิทธิเช่นนี้ยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่ธนาคารยังมิได้จ่ายเงินตามเช็คนั้น บุคคลอื่นเช่นผู้รับเงินหรือผู้สลักหลังหรือผู้ทรงคนหนึ่งคนใดย่อมไม่มีสิทธิบอกห้ามธนาคารมิให้จ่ายเงิน เพราะบุคคลดังกล่าวยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับธนาคาร คงมีสิทธิแต่เพียงบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไปเท่านั้น (มาตรา 991 (3)) คำบอกห้าม (หรือคำสั่งห้าม) นั้น ผู้สั่งจ่ายควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร แจ้งเลขที่เช็ค จำนวนเงิน ชื่อผู้รับเงิน ฯลฯ ให้ธนาคารทราบ หากกรณีเร่งด่วนอาจโทรศัพท์บอกห้ามหรือหากจำเป็นอาจโทรเลขบอกห้ามก็ได้ เมื่อธนาคารทราบแล้ว ธนาคารจะใช้ดุลพินิจจ่ายเงินไปไม่ได้โดยเด็ดขาด แต่คำบอกห้ามของผู้สั่งจ่ายไม่ทำให้ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดทางแพ่งต่อผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ดี ถ้าธนาคารจ่ายเงินไปก่อนได้รับคำบอกห้าม คำบอกห้ามนั้นย่อมไม่มีผลต่อธนาคารเพราะธนาคารยังไม่ทราบ ดังนั้น ปัญหาว่าธนาคารได้รับทราบคำบอกห้ามหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

    2. ธนาคารรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย

    กรณีผู้สั่งจ่ายตาย บรรดาทรัพย์สินต่าง ๆ ของผู้สั่งจ่ายย่อมตกได้แก่ทายาท เมื่อธนาคารรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย ธนาคารไม่มีอำนาจจ่ายเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่าย แต่ธนาคารมีหน้าที่ต้องรักษาเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายไว้ เพื่อให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับไปจัดแบ่งกันเอง

    คำว่า “ผู้สั่งจ่าย” ในที่นี้ หมายถึง บุคคลธรรมดา ไม่รวมไปถึงผู้สั่งจ่ายแทนนิติบุคคลและผู้สั่งจ่ายนั้นถึงแก่ความตายด้วย ดังนั้น กรณีที่ผู้สั่งจ่ายแทนนิติบุคคลใดถึงแก่ความตาย นิติบุคคลนั้นยังคงผูกพันรับผิดตามเช็คนั้นอยู่เหมือนเดิม และธนาคารก็มิได้สิ้นสุดอำนาจและหน้าที่แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ถ้าธนาคารจ่ายเงินไปโดยไม่รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย ธนาคารก็ยังมีสิทธิหักเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้ ดังนั้น ปัญหาว่าธนาคารรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตายหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาแล้วแต่กรณี สำหรับการรู้ของธนาคารนั้นย่อมแสดงออกได้จากตัวแทนซึ่งอาจหมายถึงเจ้าหน้าที่ธนาคารคนใดคนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามเช็คนั้น โดยได้รับข่าวจากทายาทหรือใครก็ได้ หรืออาจทราบจากข่าวหนังสือพิมพ์ก็ได้

    3. ธนาคารรู้ว่าศาลได้มีคำสั่งรักษาทรัพย์ชั่วคราว หรือคำสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลายหรือได้มีประกาศโฆษณาคำสั่งเช่นนั้น

    หมายความว่า ธนาคารต้องรู้ว่าศาลได้มีคำสั่งรักษาทรัพย์ของผู้สั่งจ่ายชั่วคราว หรือธนาคารต้องรู้ว่าศาลได้มีคำสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลาย ดังนี้ทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งหมด (รวมทั้งเงินในบัญชีธนาคาร) ตกอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์

     

    3. ธนาคารรับรองตั๋วเงิน

     

    มาตรา 993ธนาคารรับรองการใช้เงินตามเช็ค โดยเขียนข้อความว่า “ใช้ได้” “ใช้เงินได้”

    วรรคแรก กล่าวถึงวิธีการรับรองเช็คและผลของการรับรองเช็ค

    การรับรองเช็คทำได้โดยมีผู้มีอำนาจกระทำแทนธนาคารผู้ถูกระบุให้เป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คนั้น เขียนข้อความว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือ ถ้อยคำอื่นที่มีผลเช่นเดียวกัน เช่น “รับรอง” ฯลฯ และลงลายมือชื่อลงบนเช็คนั้นจะลงด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้

    ผลของการรับรองเช็ค ธนาคารต้องผูกพันตนเองตามคำรับรองของตนในอันที่จะจ่ายเงินตามเช็คนั้นในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นต่อผู้ทรงเช็คนั้นเช่นเดียวกับผู้จ่ายที่รับรองตั๋วแลกเงิน (มาตรา 900 วรรคแรก, 937) แม้จะมีเหตุการณ์ใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 991 และ 992 เกิดขึ้น ธนาคารก็ไม่อาจยกเอาเหตุนั้นๆ ปฏิเสธการจ่ายเงินได้ ธนาคารจะต้องรับผิดตามคำรับรองของตนต่อผู้ทรงเช็คนั้น และต้องผูกพันรับผิดต่อผู้ทรงเป็นเวลานานถึง 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ในทางตรงกันข้าม ถ้าธนาคารไม่รับรองเช็ค ธนาคารก็ไม่มีหน้าที่ต่อผู้ทรงแต่อย่างใด หากธนาคารไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้นด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ผู้ทรงจะฟ้องธนาคารไม่ได้ เพราะว่าธนาคารยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ทรงเช็คนั้น แต่ในกรณีที่ธนาคารคืนเช็คให้ผู้ทรงหรือปฏิเสธการจ่ายเงินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้ที่จะกล่าวหรือฟ้องร้องธนาคารก็คือผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นลูกค้าหรือผู้เคยค้าในฐานะเป็นเจ้าของบัญชี มิใช่ผู้รับเงินหรือผู้ทรงเช็คนั้น

    วรรคสองและวรรคท้ายกล่าวถึงบุคคลที่เป็นผู้จัดการนำเช็คไปให้ธนาคารรับรองมี 2 ประเภท และมีผลแตกต่างกัน คือ

    1. ในกรณีที่ผู้ทรงเป็นผู้นำเช็คนั้นไปให้ธนาคารรับรองตามวรรคแรก ย่อมเป็นผลให้ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังทั้งปวงหลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คนั้น เพราะถือว่าผู้ทรงหันไปเชื่อถือธนาคารยิ่งกว่า กล่าวคือผู้ทรงต้องการให้ธนาคารรับผิดยิ่งกว่าผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง แต่ผู้รับผิดแทนผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังคือ ธนาคารผู้เดียวที่จะต้องรับผิดต่อผู้ทรง

    2. ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายเป็นผู้นำเช็คไปให้ธนาคารรับรองตามวรรคแรก แม้ว่าจะได้รับคำขอร้องจากผู้ทรงหรือแม้ว่าผู้สลักหลังจะมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นผลให้ตัวผู้สั่งจ่ายเองและผู้สลักหลังทั้งปวงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้ทรง กล่าวคือผู้ทรงยังมีสิทธิไล่เบี้ยบุคคลดังกล่าวให้รับผิดตามเช็คนั้น เพราะการกระทำเช่นนั้นย่อมมีผลเท่ากับว่าผู้สั่งจ่ายประสงค์ให้เช็คของตนมีเครดิตดียิ่งขึ้นและย่อมส่งผลไปถึงผู้สลักหลังทั้งปวงด้วย

    ข้อสังเกต

    ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังไม่หลุดพ้นความรับผิดตามมาตรา 993 วรรคท้ายก็ตาม แต่อาจหลุดพ้นตามมาตรา 990 วรรคแรก เช่นผู้สั่งจ่ายนำเช็คไปให้ธนาคารรับรองโดยคำร้องขอของผู้ทรงแล้ว ธนาคารก็ได้รับรองเช็คนั้น แต่ผู้ทรงเช็คนำเช็คไปยื่นให้ธนาคารใช้เงินเกิน 1 เดือนหรือ 3 เดือนนับแต่วันออกเช็ค และธนาคารนั้นได้ล้มละลายไม่สามารถจ่ายเงินตามเช็คนั้นได้ เป็นผลให้ผู้สลักหลังทั้งปวงหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งหมดและผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นเท่าที่ตนต้องเสียหาย

    *ดูว่าผู้ทรงไปร้องขอด้วยตนเองหรือไม่  หากผู้ทรงเป็นผู้ร้องขอด้วยตนเอง โดยผู้สั่งจ่ายไม่ได้ร้องขอ

     

    4. เช็คขีดคร่อม

     

    เช็คมีบทบัญญัติพิเศษ เรื่องการขีดคร่อม ซึ่งไม่มีในตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน กรณีเช็คขึ้นเงินไม่ได้นั้นนอกจากผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดทางแพ่งแล้ว ผู้สั่งจ่ายยังอาจมีความรับผิดทางอาญาด้วยตาม พ... ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.. 2534

     

    4.1 ประเภทของเช็คขีดคร่อม

    มาตรา 994 เช็คขีดคร่อมแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

        4.1.1 ขีดคร่อมทั่วไป

    เป็นเช็คที่มีเส้นคู่ขนานขีดขวางใช้ด้านหน้า โดยระหว่างเส้นขนานนั้นจะมีคำว่า “และบริษัท” หรือข้อความทำนองนี้ //หรือ / และบริษัท / หรือ

    ผลต้องจ่ายเงินให้แก่ธนาคารของผู้ทรง ไม่สามารจ่ายเป็นเงินสดได้ แต่ต้องให้ธนาคารของ    ผู้ทรงเช็คเป็นผู้นำเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ทรง

        4.1.2 ขีดคร่อมเฉพาะ

     

     

     

     

     

     

    4.2 บุคคลผู้มีอำนาจขีดคร่อม

    มาตรา 995 กำหนดให้ผู้มีอำนาจขีดคร่อมเช็คไว้ 3 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่าย ผู้ทรง และธนาคาร

       (1) ผู้สั่งจ่ายในกรณีที่เป็นเช็คธรรมดา (เช็คที่ไม่มีขีดคร่อม) ผู้สั่งจ่ายจะขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้ (มาตรา (1))

       (2) ผู้ทรง ในกรณีที่เป็นเช็คธรรมดา ผู้ทรงจะขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้ (มาตรา 995 (1))

    หรือในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ผู้ทรงจะขีดคร่อมเฉพาะก็ได้ (มาตรา 995 (2))

    หรือในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปหรือเฉพาะ ผู้ทรงจะเติมคำว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ลงในระหว่างเส้นคู่ขนานหรือนอกเส้นคู่ขนานนั้นก็ได้ (มาตรา 995 (3))

    และย่อมมีผลตามมาตรา 999 กล่าวคือใครได้เช็คนั้นไป จะโอนเปลี่ยนมือตามกฎหมายตั๋วเงินไม่ได้ (มาตรา 917 วรรคแรก, 919 และ 920 วรรคแรก ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก) เป็นการตรึงเช็คไว้กับผู้ที่ได้เช็คนั้นไปจากผู้ทรง แต่เช็คนั้นยังต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารตามเดิม และถ้าจะโอนไปคงโอนกันได้ด้วยวิธีการโอนสามัญ (มาตรา 306)

       (3) ธนาคารในกรณีที่เป็นเช็คธรรมดาหรือเช็คขีดคร่อมทั่วไป เมื่อถูกส่งไปยังธนาคารใดเพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารนั้นจะขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนก็ได้ (มาตรา 995 (5))

    หรือในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารใด ธนาคารนั้นจะซ้ำขีดคร่อมเฉพาะไปให้ธนาคารอื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็ได้ (มาตรา 995 (4)) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะตนเองไม่มีบัญชีติดต่ออยู่กับธนาคารผู้จ่ายเงิน จำต้องอาศัยธนาคารอื่นซึ่งมีบัญชีติดต่ออยู่กับธนาคารผู้จ่ายเงินเป็นผู้เรียกเก็บเงินให้ เช่น เช็คธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหัวหมาก มีขีดคร่อมเฉพาะระบุชื่อธนาคารแหลมทองสาขาหัวหมากไว้ในเส้นคู่ขนาน ผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคารแหลมทองตามที่ระบุ สมมุติว่าธนาคารแหลมทองไม่มีบัญชีติดต่อกับธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารแหลมทองจะซ้ำขีดคร่อมเฉพาะอีกแห่งหนึ่งระบุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้เรียกเก็บเงินแทนก็ได้

    ข้อสังเกต

    บุคคลอื่นนอกเหนือจากบุคคล 3 ฝ่ายนั้น ย่อมไม่มีอำนาจขีดคร่อมเช็ค

    มาตรา 995 มีสิทธิขีดคร่อมเช็ค ได้แก่ ผู้สั่งจ่าย ผู้ทรง ธนาคาร

    *       ผู้สั่งจ่าย ขีดคร่อมทั่วไป และเฉพาะ

    *       ผู้ทรงมีขีดคร่อมเฉพาะทั่วไป อาจเขียนถ้อยคำว่าห้ามเปลี่ยนมือได้ หากฝ่าฝืนโอน ผู้รับโอนฟ้องผู้สลักหลังทั้งหลายไม่ได้ แต่ฟ้องผู้โอนได้

    *       ธนาคาร

    มาตรา 996การลบล้างรอยขีดคร่อมเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย

     

    4.3 การจ่ายเงินตามเช็คขีดคร่อม

    มาตรา 997 การจ่ายเงินตามเช็คขีดคร่อม หากธนาคารได้จ่ายเงินตามเช็คไปโดยสุจริต และไม่ประมาทเลินเล่อธนาคารผู้จ่ายไม่ต้องรับผิด

    (1) ในกรณีที่เช็คฉบับใดฉบับหนึ่งมีการขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารใดธนาคารหนึ่งขึ้นไป เว้นแต่ในกรณีที่อีกธนาคารหนึ่งนั้นมีฐานะเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงิน เช่นนี้ ธนาคารผู้จ่ายย่อมจ่ายเงินให้ธนาคารซึ่งเป็นตัวแทนได้ แต่จะจ่ายให้ธนาคารอื่นไม่ได้ (มาตรา 997 วรรคแรก)

    (2) ในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ธนาคารผู้จ่ายต้องใช้เงินให้แก่ธนาคารใดธนาคารหนึ่งของผู้ทรงเช็คนั้น จะจ่ายเป็นเงินสดให้แก่ผู้ทรงอย่างเช่นเช็คธรรมดามิได้ (มาตรา 997 วรรคสอง)

    (3) ในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ ธนาคารผู้จ่ายต้องใช้เงินแก่ธนาคารซึ่งเขาเจาะจงระบุให้โดยเฉพาะ จะจ่ายเป็นเงินสดอย่างเช่นเช็คธรรมดาให้กับผู้ทรงหรือจ่ายให้ธนาคารอื่นนอกจากที่ระบุไว้โดยเฉพาะมิได้

    หากธนาคารผู้จ่ายได้ใช้เงินไปโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าว เช่น (1) ไม่จ่ายเงินให้ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บเงิน หรือ (2) จ่ายเป็นเงินสดให้แก่ผู้ทรงตามเช็คขีดคร่อมทั่วไป หรือ (3) จ่ายเป็นเงินสดให้แก่ผู้ทรงตามเช็คขีดคร่อมเฉพาะหรือจ่ายให้ธนาคารอื่น นอกจากที่ระบุไว้โดยเฉพาะดังนี้ย่อมเป็น ผล ให้ธนาคารผู้จ่ายซึ่งได้ใช้เงินไปดังกล่าว ต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น ในการที่เขาต้องเสียหายอย่างใด ๆ เพราะการที่ตนได้ใช้เงินไปตามเช็คขีดคร่อมนั้น (มาตรา 997 วรรคสองตอนท้าย)

    คำว่า “ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น” คือบุคคลที่มีสิทธิอันไม่สามารถลบล้างเสียได้ในเช็คเหนือบุคคลอื่นใดทั้งสิ้น” ซึ่งก็คือผู้ทรงเดิมนั่นเอง

     

    4.4 การเขียนข้อความห้ามเปลี่ยนมือในเช็คขีดคร่อม

    มาตรา 999“ผู้ทรงคนใดได้เช็คขีดคร่อมที่มีข้อความห้ามเปลี่ยนมือ ผู้ทรงคนนั้นย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนเช็คนั้นให้แก่ตน”

    มาตรานี้กล่าวถึงผลของเช็คขีดคร่อมที่ห้ามเปลี่ยนมือ ตั๋วแลกเงินและเช็คธรรมดาทั่วไปนั้นผู้สั่งจ่ายจะลงข้อกำหนดห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือลงไว้ก็ได้ ตามมาตรา 917 วรรคสองประกอบมาตรา 989 วรรคแรก และย่อมมีผลเป็นการตรึงตั๋วเงินนั้นไว้ จะทำการสลักหลังและส่งมอบโอนตั๋วแลกเงินนั้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายตั๋วเงินนั้นไม่ได้ (มาตรา 917, 919 และ 920 วรรคแรก ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก) หากจะโอนต่อไปก็ย่อมทำได้โดยวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาตามมาตรา 306 ซึ่งทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

    กรณีตามตัวอย่างในมาตรา 998 หากเช็คขีดคร่อมนั้นมีข้อความห้ามเปลี่ยนมือโดยแดงผู้สั่งจ่ายก็ดีหรือโดยขาวผู้ทรงเดิมในฐานะผู้รับเงินก็ดี การที่ดำปลอมลายมือชื่อขาวแล้วโอนเช็คนั้นให้เหลือง แม้ว่าเหลืองจะรับโอนเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ตามเหลืองย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าดำผู้โอน กล่าวคือ ดำไม่มีสิทธิโอนเช็คนั้น เหลืองก็ย่อมไม่มีสิทธิรับเช็คนั้นแม้ต่อมาเหลืองจะนำเช็คนั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินตามเช็คนั้นคืนจากเหลืองได้ ทั้งนี้เพราะเหลืองผู้รับโอนเช็คจากดำย่อมไม่มีสิทธิในเช็คนี้ดีกว่าดำผู้โอนเช็คนั้นเลย

    ข้อสังเกต

    (1) หลักการในมาตรา 999 มีความหมายเช่นเดียวกับหลักทั่วไปในเรื่องการโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องธรรมดานั่นเอง กล่าวคือ เป็นเรื่อง “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” กรณีจึงเป็นบท ยกเว้นของมาตรา 905 วรรค 2 3 และมาตรา 916 ซึ่งเป็นบทสนับสนุนและคุ้มครองผู้ทรงตั๋วเงิน (รวมทั้งเช็คธนาคารที่มิได้มีข้อความห้ามเปลี่ยนมือ) ที่สุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้รับโอน

    (2) การที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงเช็คระบุถ้อยคำว่า “เข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น” หรือ “Account Payee Only” ย่อมมีความหมายได้ว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” แล้ว

    (3) เช็คขีดคร่อมที่ผู้สั่งจ่ายห้ามเปลี่ยนมือย่อมบังเกิดขึ้นได้ตามมาตรา 917 วรรค 2 และ 989 วรรคแรก ซึ่งจะโอนต่อไปอีกไม่ได้ตามวิธีการโอนตั๋วเงิน (เช็ค) แต่เช็คขีดคร่อมที่ผู้ทรงห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือตามมาตรา 995 (3) นั้น ปกติยังคงโอนต่อไปตามวิธีการโอนตั๋วเงินได้ตามปกติเพียงแต่ “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน”

     

    4.5 คุ้มครองธนาคารผู้จ่าย

    มาตรา 1000 บทคุ้มครองธนาคารผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อม เพื่อผู้ทรงหากสุจริตไม่ประมาทเลินเล่อไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของเช็คอันแท้จริงแม้ปรากฏว่าผู้ทรงไม่มีสิทธิในเช็ค

    มาตรานี้เป็นบทคุ้มครองธนาคารผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมโดยวางหลัก ไว้ว่า ธนาคารผู้เรียกเก็บเงินรายใด ได้เรียกหรือรับเงินไว้ตามเช็คขีดคร่อมทั่วไปหรือเช็คขีดคร่อมทั่วไปหรือเช็คขีดคร่อมเฉพาะเพื่อผู้เคยค้าของตนโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ ธนาคารผู้เรียกเก็บเงินนั้นย่อมไม่ต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น (ผู้ทรงเดิม) แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่า

    1. ผู้เคยค้านั้นไม่มีสิทธิในเช็คขีดคร่อมนั้นเลย หรือ

    2. ผู้เคยค้านั้นมีสิทธิเพียงอย่างบกพร่องในเช็คขีดคร่อมนั้น

    กรณีที่ผู้เคยค้าไม่มีสิทธิในเช็คขีดคร่อมนั้น เช่น ผู้เคยค้าเป็นผู้เก็บเช็คขีดคร่อมนั้นได้หรือไปลักขโมยเช็คขีดคร่อมนั้น แสดงว่ารับเช็คนั้นไว้โดยไม่สุจริต

    กรณีที่ผู้เคยค้านั้นมีสิทธิเพียงอย่างบกพร่องในเช็คขีดคร่อมนั้น หมายความว่า ผู้เคยค้านั้นไม่มีสิทธิเต็มบริบูรณ์ในเช็คนั้น เช่น รับเช็คที่มีลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอม ฯลฯ

    กรณีตามตัวอย่าง ในมาตรา 998 ธนาคารทหารไทย ผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมกับเหลืองลูกค้าของตนโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ ธนาคารทหารไทยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อขาวเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้น แม้ถึงว่าเหลืองจะเป็นผู้ทรงที่บกพร่อง เนื่องจากเช็คนั้นมีลายมือชื่อขาวเป็นลายมือชื่อปลอม ซึ่งปกติแล้วหากขาวทราบก่อนหน้าที่จะมีการเรียกเก็บเงินได้สำเร็จขาวย่อมเรียกเช็คนั้นคืนจากเหลืองได้

     

    5. บทสรุป

     

    กำหนดยื่นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกัน 1 เดือน ต่างเมืองต้องยื่นภายใน 3 เดือน หากไม่นำยื่น ภายในกำหนดสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้สลักหลังต่อผู้ทรงสั่งจ่ายเสียสิทธิเพียงเท่าที่เกิดความเสียหาย

    คำว่า “เมือง” ในที่นี้ หมายถึง “จังหวัด” ทางฝ่ายปกครองในส่วนภูมิภาค หรือ “กรุงเทพฯ” ทางฝ่ายปกครองในส่วนกลางนั่นเอง คำว่า “เมืองเดียวกัน” จึงหมายถึงจังหวัดเดียวกัน ดังนั้น คำว่า “เช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค” จึงหมายถึงเช็คที่ออกและให้ใช้เงินในจังหวัดเดียวกันกับที่ออกเช็คนั่นเอง (โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาเดิมของผู้ทรงเช็คและหรือผู้สั่งจ่ายเช็ค) เช่น แดงออกเช็คในกรุงเทพฯ สั่งให้ธนาคารขวานทองในกรุงเทพฯ จ่ายเงิน 10,000 บาท ให้น้ำเงิน ลงวันที่ 28 ธ.ค. 49 ดังนี้ น้ำเงินต้องยื่นเช็คนั้นให้ธนาคารขวานทองใช้เงินอย่างช้าภายในวันที่ 28 ม.ค. 49

    คำว่า “เช็คให้ใช้เงินที่อื่น” หมายถึง เช็คที่มิได้ออกและให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ซึ่งก็คือเช็คที่ออกและให้ใช้เงินต่างจังหวัดหรือคนละจังหวัดนั่นเอง เช่นแดงออกเช็คในกรุงเทพฯ สั่งให้ธนาคารแม่กลองซึ่งอยู่ใน จ. ราชบุรีจ่ายเงิน 10,000 บาท ให้น้ำเงิน เช็คนั้นลงวันที่ 30 ก.ย. 49 ดังนี้ นำเงินต้องนำเช็คนั้นยื่นให้ธนาคารแม่กลองใช้เงินอย่างช้าภายในวันที่ 30 ธ.ค. 49

    ความเสียหายของผู้สั่งจ่ายนั้น หมายถึง กรณีที่ผู้สั่งจ่ายสูญเสียเงินที่ตนมีอยู่ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในธนาคารแห่งนั้นจากการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คที่ตนสั่งจ่ายไปยื่นให้ธนาคารจ่ายเงินภายในกำหนดดังกล่าว เช่น ธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ถ้าผู้สั่งจ่ายไม่ได้รับความเสียหายดังกล่าวแล้ว ผู้ทรงก็ยังมีสิทธิเรียกเงินตามเช็คต่อผู้สั่งจ่ายได้ ดังนั้นในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายเสียหายบางส่วน ผู้ทรงย่อมมีสิทธิเรียกเงิน

    เช็คขีดคร่อม แบ่งออกป็น 2 ประเภท

    1. ดคร่อมทั่วไป เป็นเช็คที่มีเส้นคู่ขนานขีดขวางใช้ด้านหน้า โดยระหว่างเส้นขนานนั้นจะมีคำว่า “และบริษัท” หรือข้อความทำนองนี้ //หรือ / และบริษัท / หรือ

    ผลต้องจ่ายเงินให้แก่ธนาคารของผู้ทรง ไม่สามารจ่ายเป็นเงินสดได้ แต่ต้องให้ธนาคารของ    ผู้ทรงเช็คเป็นผู้นำเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ทรง

    2. ขีดคร่อมเฉพาะ จ่ายเงินสดแก่ผู้ทรงไม่ได้ แต่ต้องจ่ายให้แก่ธนาคารที่ได้ระบุไว้ในเส้นขนานที่เรียกเก็บจากธนาคาร (ผู้จ่าย) แทนผู้ทรงเท่านั้น

    บุคคลผู้มีอำนาจขีดคร่อม

    มาตรา 995 กำหนดให้ผู้มีอำนาจขีดคร่อมเช็คไว้ 3 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่าย ผู้ทรง และธนาคาร

    (1) ผู้สั่งจ่าย ในกรณีที่เป็นเช็คธรรมดา (เช็คที่ไม่มีขีดคร่อม) ผู้สั่งจ่ายจะขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้ (มาตรา (1))

    (2) ผู้ทรง ในกรณีที่เป็นเช็คธรรมดา ผู้ทรงจะขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้ (มาตรา 995 (1))

    หรือในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ผู้ทรงจะขีดคร่อมเฉพาะก็ได้ (มาตรา 995 (2))

    หรือในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปหรือเฉพาะ ผู้ทรงจะเติมคำว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ลงในระหว่างเส้นคู่ขนานหรือนอกเส้นคู่ขนานนั้นก็ได้ (มาตรา 995 (3))

    และย่อมมีผลตามมาตรา 999 กล่าวคือใครได้เช็คนั้นไป จะโอนเปลี่ยนมือตามกฎหมายตั๋วเงินไม่ได้ (มาตรา 917 วรรคแรก, 919 และ 920 วรรคแรก ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก) เป็นการตรึงเช็คไว้กับผู้ที่ได้เช็คนั้นไปจากผู้ทรง แต่เช็คนั้นยังต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารตามเดิม และถ้าจะโอนไปคงโอนกันได้ด้วยวิธีการโอนสามัญ (มาตรา 306)

    (3) ธนาคาร ในกรณีที่เป็นเช็คธรรมดาหรือเช็คขีดคร่อมทั่วไป เมื่อถูกส่งไปยังธนาคารใดเพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารนั้นจะขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนก็ได้ (มาตรา 995 (5))

    หรือในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารใด ธนาคารนั้นจะซ้ำขีดคร่อมเฉพาะไปให้ธนาคารอื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็ได้ (มาตรา 995 (4)) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะตนเองไม่มีบัญชีติดต่ออยู่กับธนาคารผู้จ่ายเงิน จำต้องอาศัยธนาคารอื่นซึ่งมีบัญชีติดต่ออยู่กับธนาคารผู้จ่ายเงินเป็นผู้เรียกเก็บเงินให้ เช่น เช็คธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหัวหมาก มีขีดคร่อมเฉพาะระบุชื่อธนาคารแหลมทองสาขาหัวหมากไว้ในเส้นคู่ขนาน ผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคารแหลมทองตามที่ระบุ สมมุติว่าธนาคารแหลมทองไม่มีบัญชีติดต่อกับธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารแหลมทองจะซ้ำขีดคร่อมเฉพาะอีกแห่งหนึ่งระบุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้เรียกเก็บเงินแทนก็ได้

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    คำถามท้ายบท

     

    แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในสมุดรายงาน และส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป

     

    1. เช็ค คืออะไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารผู้จ่าย  จ่ายเงินตามเช็คไว้อย่างไรบ้าง

    3. ห้วยยอดมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดตรัง  สั่งจ่ายเช็คระบุชื่อสิเกาเป็นผู้รับเงินแต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า  “หรือผู้ถือ”  ออก  ซึ่งเป็นเช็คของธนาคารอันดามันสาขาจังหวัดภูเก็ต  ระบุจำนวนเงินลงไว้ในเช็ค  500,000  บาท  ลงวันที่  10  สิงหาคม  2553  มอบให้กับสิเกาเพื่อชำระหนี้  ต่อมาสิเกาสลักหลังลอยแล้วมอบเช็คชำระหนี้ให้แก่บินหลา  บินหลานำเช็คนั้นไปส่งมอบให้แก่หัวไทรที่มีภูมิลำเนาที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อชำระหนี้  วันที่  10  ธันวาคม  2553  หัวไทรนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารอันดามันสาขาจังหวัดภูเก็ต  แต่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเงินในบัญชีของห้วยยอดมีไม่พอจ่าย  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าบุคคลใดต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินต่อหัวไทรเพราะเหตุใด

    4. การอาวัลเช็คนั้นจะต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย  และใครบ้างที่อาวัลตั๋เช็คได้ ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    5. บุคคลใดบ้างที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงิน  บัญญัติให้มีสิทธิขีดคร่อมเช็คและลงข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือลงไว้บนเช็คนั้น  และจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายอย่างไร  แก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับเช็คนั้น

    6. หนึ่งฤดีได้รับเช็คธนาคารเมืองทองไว้โดยสุจริตเป็นเช็คที่มีชื่อรื่นฤทัยเป็นผู้รับเงินหรือผู้ถือ  จากการส่งมอบของสมรวดีซึ่งอ้างว่าตนเองเป็นผู้รับซื้อลดเช็คนั้นจากรื่นฤทัย  ข้อเท็จจริงได้ความว่าสรณีย์เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คดังกล่าว  พร้อมกับขีดคร่อมทั่วไปไว้ข้างด้านหน้าเช็คแล้วมอบเช็คนั้นชำระหนี้รื่นฤทัย  รื่นฤทัยรับเช็คนั้นแล้วจึงได้กรอกข้อความว่า A/C  Payee  only  ไว้ตรงกลางของรอยขีดคร่อมแล้วทำตกหายไปโดยไม่รู้ตัว  แต่หนึ่งฤดีไม่อาจได้รับเงินตามเช็คดังกล่าว  เนื่องจากธนาคารเมืองทองได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน  ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าใครคือเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนี้  และหนึ่งฤดีจะบังคับไล่เบี้ยสรณีย์  รื่นฤทัย  และสมรวดีให้รับผิดตามมูลหนี้ในเช็คดังกล่าวได้เพียงใด  หรือไม่

    7. เช็คที่ไม่มีการขีดคร่อมนั้นธนาคารต้องปฏิบัติอย่างไรในการจ่ายเงินจึงจะได้รับการคุ้มครอง  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ถ้าลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม 

    8. ข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คธนาคารลายไทยที่แดงปลอมลายมือชื่อทองพูนผู้เป็นเจ้าของบัญชีออกเช็คชำระหนี้เหลือง  ซึ่งเหลืองรับไว้โดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ  และเหลืองได้สลักหลังลอยชำระหนี้ให้กับทับทิม  ต่อมาทับทิมได้นำเช็คไปยื่นให้ธนาคารลายไทยจ่ายเงินและรับเงินไปแล้ว  ดังนี้ธนาคารลายไทยจะหักเงินจากบัญชีของทองพูนได้หรือไม่  เพราะเหตุใด 

    9. เช็คขีดคร่อมที่มีข้อความห้ามโอนหรือห้ามเปลี่ยนมือนั้น  อาจเกิดจากการกระทำของบุคคลใดและจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายอย่างไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    10. นายนกสั่งจ่ายเช็คธนาคารหัวหมาก จำกัด (มหาชน) จำนวน 500,000 บาทระบุชื่อนายหนูเป็นผู้รับเงิน  พร้อมทั้งขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ”  ในเช็คออก  แล้วส่งมอบให้แก่นายหนูเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย  ต่อมานายหนูได้สลักหลังเฉพาะส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้ค่านายหน้าค้าที่ดินให้แก่นายไก่  หลังจากนั้นนายลิงน้องชายของนายไก่ได้ลักเช็คฉบับดังกล่าวไป  แล้วทำการปลอมลายมือชื่อของนายไก่สลักหลังลอยลงในเช็คแล้วนำไปส่งมอบให้แก่นายแมว  เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าอาคารพาณิชย์  หลังจากได้รับมอบเช็คมาแล้วนายแมวได้พบกับนายไก่โดยบังเอิญจึงได้สอบถามนายไก่ว่า  ได้สลักหลังเช็คฉบับดังกล่าวมาหรือไม่  นายไก่ซึ่งทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดอยู่แล้ว  แต่เกรงว่านายลิงจะถูกดำเนินคดี  จึงได้บอกแก่นายแมวว่าตนนั้นเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คจริง  ต่อมานายแมวนำเช็คฯ  ไปยื่นให้ธนาคารหัวหมากฯ  ชำระเงินให้  แต่ธนาคารหัวหมากฯ  ได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน  นายแมวจึงเรียกให้นายไก่รับผิดชำระเงินตามเช็คให้  แต่นายไก่ปฏิเสธที่จะชำระเงินให้แก่นายแมว  โดยอ้างว่าตนมิได้เป็นผู้ลงมือชื่อสลักหลังเช็คฯแต่อย่างใด  ดังนี้ข้ออ้างของนายไก่ถูกต้องหรือไม่  เพราะเหตุใด ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เอกสารอ้างอิง

     

    ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์. คำอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2554

    สหธน รัตนไพจิตร.  (2543).  คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน   ( พิมพครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: วิญูชน.

    สามิตร ศิริมาตย.  (2546).  ปญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดความผิดอันเกี่ยวกับการใชเช็ค. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

    อัมพร ณ ตะกั่วทุง.  (2548).  คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   นิติบรรณการ.

    อุทิศ แสนโกศิก.  (2515).  หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพสรรพาสามิต. อุทิศอนุสรณงานศพ.

    เอกูต เอช.  (2477).  คําสอนกฎหมายชั้นปริญญาตรี.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. Packer, Herbert L.  (1968).  The limit of the criminal sanction.  Stanford:   Stanford University Press

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    หลักคำพิพากษาศาลฎีกา

     


  • บทที่ 6

    แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 อายุความ

     

    เนื้อหาประจำบท

    1. อายุความฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน/หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. อายุความผู้ทรง ฟ้องผู้สลักหลัง หรือผู้สั่งจ่าย

    3. อายุความผู้สลักพลังฟ้องไล่เบี้ยกันเองหรือฟ้องไล่เบี้ย สั่งจ่าย

    4. บทสรุป

     

    จำนวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง

     

    วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

    เมื่อศึกษาบทที่ 6 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. อธิบายอายุความฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน/หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

    2. อธิบายอายุความผู้ทรง ฟ้องผู้สลักหลัง หรือผู้สั่งจ่าย

    3. อธิบายอายุความผู้สลักพลังฟ้องไล่เบี้ยกันเองหรือฟ้องไล่เบี้ย สั่งจ่าย

     

    วิธีการสอนและกิจกรรม

    1.เข้าสู่เนื้อหาบทนำ บรรยายประกอบ ตัวบทกฎหมาย

    2.สรุปและซักถาม

    3. กิจกรรมในชั้นเรียน

    4. นักศึกษาค้นหาข้อมูลกรณีศึกษาทางหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

     

    สื่อการเรียนการสอน

    1. ตัวบทกฎหมาย

    2. เอกสารประกอบการสอน

    3. เครื่องคอมพิวเตอร์

    การวัดผลและประเมินผล

    คะแนนสอบปลายภาคเรียน                                        100%

     

     

     

     

     

     

     

     

    บทที่ 6

    อายุความ

     

    ในบทนี้จะเป็นการศึกษาในเรื่อง อายุความ ตั๋วเงิน ซึ่งประกอบด้วย อายุความตั๋วแลกเงิน อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน และอายุความในเรื่องเช็ค โดยมีข้อควรพิจารณาดังนี้

     

    1. อายุความฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน/หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

     

    มาตรา 1001 คดีฟ้องผู้รับรองหรือผู้ออกตั๋วห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 3 ปี นับแต่วันตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน ข้อควรพิจารณา

    1. กรณีตั๋วถึงกำหนดเมื่อทวงถาม เมื่อผู้ทรงทวงถามให้ใช้เงินในวันใด วันนั้นก็เป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามมาตรา 913 (3) ประกอบมาตรา 985 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ทวงถาม (ไม่ใช่วันออกตั๋ว) (ฎีกาที่ 2016/2554)

    2. แต่ถ้าการทวงทามมีกำหนดระยะเวลาให้ใช้เงินไว้ด้วย อายุ ความจะเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาที่ให้ใช้เงิน (ไม่ใช่วันที่ทวงทาม) เช่น ทวงถามให้ใช้เงินกายใน 7 วัน อายุควาบก็จะเริ่มนับแต่วันที่พ้นกำหนด 7 วันเป็นต้นไป (ฎีกาที่ 1062/2540 (ป), 4072/2545)

    ฎีกาที่ 1062/2540 (ป) ตาม ป... มาตรา 193/12 กำหนดให้อายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังกับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์เมื่อทวงถาม ให้ใช้เงินดามความในมาดรา 913(3) หาใช่ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ทั้งได้มีการทวงถามให้ผู้ออกตั๋วและจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้วอายุความจึงไม่อาจเริ่มนับจากวันที่ออกตั๋วได้

    หนังสีอบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาว่าจำเลยชำระหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือด้งกล่าว หมายความว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้ว่าเลยช้าระหนี้ก่อนถึง กำหนดเวลานั้นหาได้ไม่ แต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดเวลา นั้นก็ได้ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วไม่ชำระ ก็ถือว่าจำเลยผิดนัดโจทก์ อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท ในฐานะผู้รับ อาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไป

    วันครบกำหนด 7 วัน ตามหนังสือทวงถามคือวันที่ 19 กันยายน 2533 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2533 เป็นต้นไป หาใช่เริ่มนับแต่ วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 14 กันยายน 2536 ยังไม่ครบกำหนด 3 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001 (ผู้รับอาวัล ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน มีความผูกพันเช่นเดียวกับ ผู้ออกตั๋ว จึงใช้อายุความเดียวกับผู้ออกตั๋ว ตามมาตรา 1001)

    3. มาตรา 1001 บัญญัติเฉพาะอายุความฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน และผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น แต่อายุความฟ้องธนาคารผู้รับรองเช็ค ตามมาตรา 993 ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ดามมาตรา 193/30

    4. มาตรา 1001 ไม่ได้จำกัดตัวบุคคลที่จะฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงินหรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ ดังนั้น บุคคลที่จะฟ้องจึงอาจเป็นผู้ทรง หรือผู้สลักหลังก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีผู้รับอาวัลฟ้องไล่เบี้ยเอากับบุคคลซึ่งตนประกันตามมาตรา 940 วรรคท้าย จะใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30 (ฎีกาที่ 815/2550) (กลับฎีกาที่ 3597/2549) 

    ฎีกาที่ 815/2550 ธนาคาร น. ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามตั๋ว สัญญาใช้เงินแก่สำนักงานพระคลังแล้ว ธนาคาร น. ย่อมได้สิทธิอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลที่ตนประกันได้ตาม ป..พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบ 985 และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เฉพาะจึง มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30 (กลับฎีกาที่ 3597/2549)

    5. แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินจะมีมูลมาจากหนี้สัญญากู้ แต่เมื่อผู้ทรงนำ คดีมาฟ้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงต้องนำอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงิน มาใช้ (3 ปี) ไม่ใช้อายุความสัญญากู้ (10 ปี) (ฎีกาที่ 2016/2554)

     

    2. อายุความผู้ทรง ฟ้องผู้สลักหลัง หรือผู้สั่งจ่าย

     

    มาตรา 1002 คดีผู้ทรงฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายห้ามมิให้ฟ้องเมื่อ พ้น 1 ปี นับแต่ตั๋วถึงกำหนด ข้อควรพิจารณา

    1. อายุความฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็ค หรือฟ้องผู้สลักหลังเช็ค อายุความ 1 ปี จะเริ่มนับแต่วันที่ลงในเช็ค (ถือว่าเป็นวันที่เช็คถึงกำหนด) ไม่ใช่นับแต่ วันที่ได้รับมอบเช็ค หรือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน (ฏีกาที่ 1214/2547) (* แต่ดอกเบี้ยผิดนัด เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการ จ่ายเงิน ไม่ใช่วันที่ออกเช็ค ฎีกาที่ 3421/2525)

    ฎีกาที่ 1214/2547 อายุความเช็คต้องนับแต่วันที่ลงในเช็คไม่ใช่ นับแต่วันมอบเช็ดให้ เมื่อขณะที่โจทก์รับมอบเช็ค เช็คยังไม่ลงวันที่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายกระกำการโดยสุจริตขอบที่จะลงวันที่ออก เช็คดามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คได้ดาม ป... มาตรา 910 ประกอบมาตรา 989 เมื่อนับจากวันที่ซึ่งปรากฏในเช็คถึงวันฟ้องไม่เกินหนึ่งปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ

    หมายเหตุ แต่ดอกเบี้ยผิดนัดตามมาตรา 224 ต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่วันที่ออกเช็ค (ฎีกาที่ 3421/2525)

    2. กรณีที่เช็คลงวันที่ออกเช็คไว้แล้ว แต่ต่อมา ผู้สั่งจ่ายยินยอม ใต้ผู้ทรงขีดฆ่าวันที่ออกเช็คเดิมออกและยินยอมให้ทรงลงวันที่ออกเช็คใหม่ได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ถือว่าเป็นกรณีเช็คไม่ลงวันที่ออกเช็ค ผู้ทรง ย่อมมีสิทธิลงวันที่ถูกต้องแท้จริงใหม่ได้ ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบ มาตรา 989 และอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันที่ผู้ทรงลงวันที่ออกเช็คในครั้งหลัง (ฎีกาที่ 9539/2544) (* ไม่ใช่กรณีคามมาครา 1007)

    ฎีกาที่ 9539/2544  เช็คเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งที่ผู้สั่งจ่ายสั่งให้ ธนาคารใช้เงินเมื่อทวงถาม ซึ่งผู้ทรงเช็คมีสิทธิทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตั้งแต่ วันออกเช็คซึ่งหมายถึงวันที่ลงไนเช็ค มีใช่หมายถึงวันที่ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คหรือ มีใช่วันที่ผู้ทรงเช็คยื่นเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กำหนดอายุความ 1 ปีที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ลงในเช็คอันเป็นวันที่ผู้ ทรงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องไต้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์และจำเลยตกลง กันให้จำเลยขีดฆ่าวันออกเช็คเติมออกเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มิไต้ลงวันออกเช็ค และแสดงไท้เห็นเจตนาว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันออกเช็ควันใดวัน หนึ่งก็ไต้ดามที่โจทก์เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ลงวันออกเช็คในครั้งแรกที่ นำเช็คพิพาทไปยื่น ธนาคารจึงชอบที่จะปฏิเสธการใช้เงินไต้เพราะตรา สารที่นำไปยื่นนั้นมีรายการขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์อันจะถือว่าเป็น เช็ค และเมื่อโจทก์นำตราสารนั้นมาลงวันออกเช็คในครั้งพลังเพี่อให้ สมบูรณ์เป็นเช็คก็เป็นสิทธิที่โจทก์ย่อมกระทำได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ออกเช็คหรือลงไนเช็คในครั้งหลังเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังเช็ค พิพาทถึงกำหนดแล้วประมาณ 3 เดือนเศษคติของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ (กรณีนี้ไม่ใช่กรณีตามมาตรา 1007 แต่เป็นกรณีตามมาดรา 910 วรรคท้าย ประกอบ 989)

    ฎีกาที่ 4487/2555 จำเลยสั่งจ่ายและส่งมอบเช็คไห้แก่โจทก์โดย จำเลยไม่ลงวันที่ในเช็คย่อมเป็นพฤติการณ์ทีถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ โจทก์ลงวันที่ ออกเช็คได้เอง โจทก์มีสิทธิลงวันที่ในเช็คได้ เมื่อโจทก์ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2548 อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002 จึงเริ่ม นับด้งแต่วันดังกล่าวซึ่งจะครบอายุความวันที่ 11 กรกฎาคม 2549 เมื่อโจทก์ ฟ้องจำเลยคดีนี้วันที่ 2 สิงหาคม 2548 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

    หมายเหตุ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่ายแก้ไขวันที่ลงในเช็คโดย คู่สัญญาอื่นมีได้ยินยอม จะเป็นกรณีตามมาตรา 1007 วรรค 1 คือ เช็คนั้นเป็น อันเสียไป แต่ยังคงใช้บังคับได้กับบุคคลผู้แก้ไข, บุคคลที่ยินยอมไนการ แก้ไข และบุคคลผู้ที่สลักหลังในภายหลังแก้ไข (ฎีกาที่ 1043/2534)

    ฎีกาที่ 1043/2534 เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ทอซึ่งเดิมลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2526 แม้จะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไปแล้วก็ยังคงมีสภาพเป็นเช็คที่ สามารถโอนเปลี่ยนมือกันต่อไปได้ ทั้งตาม ป...มาตรา 1007 วรรค แรก และวรรคสาม ก็ได้บัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง กำหนดเวลาใช้เงินในเช็คได้ ตังนั้น เมื่อจำเลยผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ขีดฆ่าแก้ไข วันที่ลงในเช็ค จึงต้องผูกพันรับผิดชดใช้เงินดามเช็ดตังกล่าว โดยถือว่า เช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินในวันที่ 15 ตุลาคม 2526 ตามที่แก้ไขนั้น กรณีหาใช่เป็นเรื่องตกลงขยายอายุความฟ้องร้องไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงิน ตามเช็คพิพาทจากจำเลยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527 ยังไม่พันเวลา 1 ปี นับ แต่วันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

    หมายเหตุ รับและการทีผู้สั่งจ่ายแก้ไขวันที่ออกเช็ค แม้ผู้รับอาวัลของผู้ สั่งจ่ายจะมีไต้ยินยอมด้วยในการแก้ไข ผู้รับอาวัลก็ยังคงต้องผิดอยู่ แต่ อายุความฟ้องผู้รับอาวัลจะเริ่มนับแต่วันที่ออกเช็คเดิมไม่ได้วันที่ออก เช็คที่แก้ไขใหม่ (ฎีกาที่ 3397/2536)

    ฎีกาที่ 3397/2536*** การที่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย แก้ไขวันที่ลงในเช็ด พิพาทใหม่ อันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญนั้น มีผลให้เช็คพิพาท เป็นอันเสียไป แต่ยังคงใช้ใดต่อจำเลย 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่โจทก์จะอ้างเอาผลของการที่เช็คพิพาททั้งหมดถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันลงในเช็คโดยจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลมิได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมาเป็นวันเริ่มนับอายุความ เป็นเหตุให้คดีของโจทก์ในการฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความนั้นหาได้ไม่ (จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลไม่หลุดพ้น เพียงแต่ต้องฟ้องในอายุความเดิม)

    3. มาตรา 1002 เป็นอายุความกรณีที่ผู้ทรงฟ้องผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลัง (หรือฟ้องผู้รับอาวัลของผุ้สั่งจ่ายหรือของผู้สลักหลลัง) เท่านั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับอาวัลฟ้องไล่เบี้ยเอากับบุคคลซึ่งตนประกันตามมาตรา 940 วรรคท้าย ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

    ปัญหาคือ ในกรณีตัวผู้ถือ การที่ผู้ทรงคนก่อนใช้เงินแก่ผู้ทรงคน ปัจจุบัน แล้วได้ตั๋วกลับคนมา แล้วมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้สั่งจ่ายจะใช้อายุ ความกี่ปี

    (1) กรณีที่ไม่ได้สลักหลังตั๋วผู้ที่ถือว่าเป็นการฟ้องในฐานะผู้ทรง ตามมาดรา 904 จึงใช้'อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ตั๋วถึงกำหนดตามมาตรา 1002 (ฎีกาที่ 992/2526)

    (2) กรณีที่ได้สลักหลังตั๋วผู้ถือ ถือว่าเป็นการฟ้องในฐานะผู้รับ อาวัลผู้สั่งจ่าย แล้วมาไล่เบี้ยเอากับบุคคลซึ่งตนประกันดามมาตรา 940 วรรค ท้าย จึงมีอายุความ 10 ปี ดามมาตรา 193/30 (ฎีกาที่ 5547/2537)

     

    3. อายุความผู้สลักพลังฟ้องไล่เบี้ยกันเองหรือฟ้องไล่เบี้ย สั่งจ่าย

     

    มาตรา 1003 คดีผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่วันเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋ว

    หลัก ต้องฟ้องคดีภายไน 6 เดือน

    1. ถ้าให้ไปด้วยความสมัครใจ = 6 เดือนนับแต่วันที่ใช้เงินไป

    2. แต่ถ้าไท้ไปเพราะถูกฟ้องไล่เบี้ย = 6 เดือนนับแต่ที่ถูกฟ้อง (แม้ว่าตนจะกำลังต่อสู้คดีอยู่ก็ตาม) 

    ข้อควรพิจารณา

    1. กรณีที่ถูกฟ้องไล่เบี้ย แล้วต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษายอมภายใน 6 เดือน ก็ต้องนับแต่วันที่ถูกฟ้อง ไม่ใช่วันที่ยอมด้วยความสมัครใจ (ฎีกาที่ 1608/2518)

    2. การที่ผู้ทรงสลักหลังโอนเช็คได้แก่ธนาคาร ธนาคารย่อมเป็นผู้ ทรงเช็คในฐานะผู้รับสลักหลัง (ตามมาครา 904. 905) การที่ผู้ทรงคนเดิม ชำระเงินแก่ธนาคารแล้วรับเช็คกลับคืนมา แล้วมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้สั่งจ่าย ถือว่าเป็นการฟ้องไล่เบี้ยในฐานะผู้สลักหลัง จึงด้องใช้อายุดวาม 6 เดือนตามมาตรา 1003 ไม่ใช่ 1002 (ฎีกาที่ 6339-6340/2539)

    ฎีกาที่ 6339-6340/2539*** เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อย่อมโอนได้กัน ได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วส่งมอบได้ธนาคาร ก. เพื่อขายลดเช็ค ย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้น ธนาคาร ก. จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และเมื่อนาเช็คไปเรียกเก็บเงินจึงมิใช่การเรียก เก็บเงินในฐานะที่โจทก์ยังเป็นผู้ทรงเช็คอยู่ ครั้นเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธ การจ่ายเงินโจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คให้ธนาคาร ก. และวับเช็คพิพาทคืนมา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สลักหลังหาใช่ผู้ทรงเช็คขณะนั้นไม่ จึงด้องฟ้อง ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่โจทก์เข้า ถือเอาเช็คพิพาทและใช้เงิน (ฎีกาที่ 3762/2554 วินิจฉัยด้านองเดียวกัน)

    หมายเหตุ วิเคราะห์ ฎีกาที่ 6339-6340/2539 เอามาตั้งเป็นคำถาม เพื่อได้ง่ายต่อความเข้าใจ

    A สั่งจ่ายเช็คของธนาคาร Z ระบุชื่อให้ B เป็นผู้รับเงิน B สลักหลัง โอนได้ ข. แล้ว ข. นำไปสลักหลังขายลดให้แก่ธนาคาร ก. ธนาคาร ก. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จากนั้นธนาคาร ก. นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินกับธนาคาร Z เจ้าของบัญชีที่นาย A เปิดบัญชีอยู่ ธนาคาร Z ปฏิเสธการจ่ายเงิน จากนั้น ธนาคาร ก. จึงมาทวงเงินกับ ข. ข. จึงทำการจ่ายเงินให้แก่ธนาคาร ก. ตามมูลหนี้ในเช็ค เมื่อธนาคาร ก. ได้รับชำระหนี้จึงคืนเช็คให้ ข. แล้ว ข. มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ A และ B ปัญหาว่าใช้อายุความกี่ปี 

                       Z

     

            A                   B                  ข.                        ธนาคาร ก.

     

    ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ การที่ ข. ได้รับเช็คกลับคืนมา แล้วมาฟ้อง ไล่เบี้ยเอาแก่ A กับ B เช่นนี้ ข. เป็นผู้ทรงหรือผู้สลักหลัง

    ผู้ทรงฟ้องสั่งจ่าย ผู้สลักหลัง         อายุความ 1 ปี มาตรา 1002

    ผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังคนก่อน         อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003

    การที่ ข. ใช้เงินได้แก่ธนาคาร ก. และเข้าถือเอาเช็คและ มาฟ้องไล่เบี้ย A และ B ตามมาตรา 967 วรรค 3 นั้น ไม่ทำให้สถานะของ ข. เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือการได้ตั๋วเงินมาอยู่ในความครอบครองตามมาตรา 967 วรรค 3 คงมีผลเพียงไล่เบี้ยผู้ที่ผูกฟันก่อนตนได้ แด่ไม่ทำให้สถานะของ บุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

    การที่ ข. สลักหลังโอนขายลดให้แก่ ธนาคาร ก. สถานะของ ข. ย่อมเป็นเพียงผู้สลักหลังเท่านั้น แม้ว่า ข. จะได้เช็คกลับคืนมา แต่ก็ไม่ใช่ เป็นการได้มาโดยการสลักหลังและส่งมอบ หากแต่เป็นการได้มาโดย ชำระหนี้แก่ผู้ทรง สถานะของ ข. จึงเป็นเพียงผู้สลักหลังเท่านั้น

    ด้วยเหตุนี้ การที่ ข. มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ A และ B จึงเป็นกรณีผู้สลักหลังมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังคนก่อนซึ่งใช้อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 มิใช่ 1 ปี ตามมาดรา 1002 (เทียบฎีกาที่ 6339- 6340/2539)

    แต่ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็น เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ คำตอบจะ เปลี่ยนทันที กล่าวคือ

     

            A                   B                  ข.                       ธนาคาร ก.

     

     

    ข. ชำระเงินตามเช็คให้แก่ธนาคาร ก. ไปแล้วธนาคาร ก. มอบเช็คผู้ ถือคืนให้ ข. แล้ว ข.มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ A, B จะใช้อายุความเท่าใด (6 เดือนตามมาดรา 1003 หรือ 1 ปีดามมาดรา 1002)

    ตั๋วผู้ถือโอนได้ด้วยการส่งมอบตามมาตรา 918 แม้ ข. จะชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ผู้ทรงคนก่อนและได้เช็คกลับคืนมา แต่การที่ ข. มี เช็คผู้ถือไว้ไนครอบครอง ข. ย่อมเป็นผู้ทรงตามกฎหมายโดยผลของมาตรา 904

    ด้วยเหตุนี้ การที่ ข. ในฐานะผู้ทรงมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้ สลักหลังจงใช้อายุความ 1 ปีตามมาตรา 1002 (ฎีกาที่ 5778/2550, 3762/2554)

    ฎีกาที่ 3762/2554 โจทก์นำเช็คพิพาทห้าฉบับไปสลักหลังขายลด ให้แก่ ส. กับ บ. ต่อมาโจทก์นำเงินตามเช็คไปชำระให้บุคคลทั้งสองและรับเช็ค พิพาทกลับคนมา การที่โจทก์ชำระเงินตามเช็คให้แก่ ส. และ บ. และรับ เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือสี่ฉบับกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค พิพาททั้งสี่ฉบับดังกล่าวตาม ป... มาตรา 904 จึงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายภายใน 1 ปี นับแต่วันทีเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับถึงกำหนดชำระ ตาม ป.พ.. มาตรา 1002 โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในอายุความ 1 ปี ฟ้องโจทก์ สำหรับเช็คทั้งสี่ฉบับนี้จึงไม่ขาดอายุความ (ประเด็นนี้นำไปออกสอบเนติฯ สมัยที่ 66)

    ส่วนเช็คพิพาทอีกหนึ่งฉบับเป็นเช็คระบุชื่อ ย่อมโอนให้แก่กันได้โดย การสลักหลังและส่งมอบ การทีโจทก์สลักหลังเช็ค ฉบับนี้ขายลดให้แก่ ส. กับ บ. ส. และ บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่ ส. กับ บ. และรับเช็คพิพาทฉบับนี้ กลับคนมา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สลักหลังหาใช่ผู้ทรงเช็คฉบับนั้นไม่ จึง ต้องฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สุลักหลังและผู้ลังจ่ายภายในเวลาหกเดือน นับแต่วันที่ โจทก์เขาถือเอาเช็คและใช้เงิน ตาม ป.พ.. มาตรา 1003 เมื่อ พ. กรรมการ ของโจทก์เบิกความว่า โจทก์ผ่อนชำระเงินให้ ส. กับ บ. โดยผ่อนชำระตั้งแต่ ประมาณเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2541 โจทก์จึงได้รับเช็คทั้งห้าฉบับ กลับคืนมาและโจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 จึงล่วงเลยระยะเวลาหกเดือนนับแด่วันด้งกล่าว ฟ้องโจทก์สำหรับเช็คพิพาทฉบับนี้จึงขาด อายุความ

    มาตรา 1005 แม้สิทธิตามตั๋วเงินระงับไปเพราะขาดอายุความแต่มูลหนี้เดิมก็ยังดงอยู่ (เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับตามอายุความในหนี้เดิมได้)

     

    4. บทสรุป

     

    1. มาตรา 1001 ผู้ทรงฟ้องผู้รับรอง ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุความ 3 ปี

        1) กรณีตั๋วถึงกำหนดเมื่อทวงถาม เมื่อผู้ทรงทวงถามให้ใช้เงินในวันใด วันนั้นก็เป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามมาตรา 913 (3) ประกอบมาตรา 985 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ทวงถาม (ไม่ใช่วันออกตั๋ว) (ฎีกาที่ 2016/2554)

        2) แต่ถ้าการทวงทามมีกำหนดระยะเวลาให้ใช้เงินไว้ด้วย อายุ ความจะเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาที่ให้ใช้เงิน (ไม่ใช่วันที่ทวงทาม) เช่น ทวงถามให้ใช้เงินกายใน 7 วัน อายุควาบก็จะเริ่มนับแต่วันที่พ้นกำหนด 7 วันเป็นต้นไป (ฎีกาที่ 1062/2540 (ป), 4072/2545)

        3) มาตรา 1001 บัญญัติเฉพาะอายุความฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน และผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น แต่อายุความฟ้องธนาคารผู้รับรองเช็ค ตามมาตรา 993 ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ดามมาตรา 193/30

        4) มาตรา 1001 ไม่ได้จำกัดตัวบุคคลที่จะฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงินหรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ ดังนั้น บุคคลที่จะฟ้องจึงอาจเป็นผู้ทรง หรือผู้สลักหลังก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีผู้รับอาวัลฟ้องไล่เบี้ยเอากับบุคคลซึ่งตนประกันตามมาตรา 940 วรรคท้าย จะใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30 (ฎีกาที่ 815/2550) (กลับฎีกาที่ 3597/2549)

        5) แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินจะมีมูลมาจากหนี้สัญญากู้ แต่เมื่อผู้ทรงนำ คดีมาฟ้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงต้องนำอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงิน มาใช้ (3 ปี) ไม่ใช้อายุความสัญญากู้ (10 ปี) (ฎีกาที่ 2016/2554)

    2. มาตรา 1002 อายุความผู้ทรง ฟ้องผู้สลักหลัง หรือผู้สั่งจ่าย

    มาตรา 1002 คดีผู้ทรงฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายห้ามมิให้ฟ้องเมื่อ พ้น 1 ปี นับแต่ตั๋วถึงกำหนด ข้อควรพิจารณา

        1) อายุความฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็ค หรือฟ้องผู้สลักหลังเช็ค อายุความ 1 ปี จะเริ่มนับแต่วันที่ลงในเช็ค (ถือว่าเป็นวันที่เช็คถึงกำหนด) ไม่ใช่นับแต่ วันที่ได้รับมอบเช็ค หรือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน (ฏีกาที่ 1214/2547) (* แต่ดอกเบี้ยผิดนัด เริ่มคิดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการ จ่ายเงิน ไม่ใช่วันที่ออกเช็ค ฎีกาที่ 3421/2525)

        2) กรณีที่เช็คลงวันที่ออกเช็คไว้แล้ว แต่ต่อมา ผู้สั่งจ่ายยินยอม ใต้ผู้ทรงขีดฆ่าวันที่ออกเช็คเดิมออกและยินยอมให้ทรงลงวันที่ออกเช็คใหม่ได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ถือว่าเป็นกรณีเช็คไม่ลงวันที่ออกเช็ค ผู้ทรง ย่อมมีสิทธิลงวันที่ถูกต้องแท้จริงใหม่ได้ ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบ มาตรา 989 และอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันที่ผู้ทรงลงวันที่ออกเช็คในครั้งหลัง (ฎีกาที่ 9539/2544) (* ไม่ใช่กรณีคามมาครา 1007)

        3) มาตรา 1002 เป็นอายุความกรณีที่ผู้ทรงฟ้องผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลัง (หรือฟ้องผู้รับอาวัลของผุ้สั่งจ่ายหรือของผู้สลักหลลัง) เท่านั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับอาวัลฟ้องไล่เบี้ยเอากับบุคคลซึ่งตนประกันตามมาตรา 940 วรรคท้าย ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

    3. มาตรา 1003 อายุความผู้สลักพลังฟ้องไล่เบี้ยกันเองหรือฟ้องไล่เบี้ย สั่งจ่าย

    มาตรา 1003 คดีผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่วันเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋ว

    1) กรณีที่ถูกฟ้องไล่เบี้ย แล้วต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษายอมภายใน 6 เดือน ก็ต้องนับแต่วันที่ถูกฟ้อง ไม่ใช่วันที่ยอมด้วยความสมัครใจ (ฎีกาที่ 1608/2518)

    2) การที่ผู้ทรงสลักหลังโอนเช็คได้แก่ธนาคาร ธนาคารย่อมเป็นผู้ ทรงเช็คในฐานะผู้รับสลักหลัง (ตามมาครา 904. 905) การที่ผู้ทรงคนเดิม ชำระเงินแก่ธนาคารแล้วรับเช็คกลับคืนมา แล้วมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้สั่งจ่าย ถือว่าเป็นการฟ้องไล่เบี้ยในฐานะผู้สลักหลัง จึงด้องใช้อายุดวาม 6 เดือนตามมาตรา 1003 ไม่ใช่ 1002 (ฎีกาที่ 6339-6340/2539)

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    แบบฝึกหัดท้ายบท

     

    แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในสมุดรายงาน และส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป

     

    1. อายุความในเรื่องตั๋วเงินมีลักษณะอย่างไร ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    2. ในกรณีตัวผู้ถือ การที่ผู้ทรงคนก่อนใช้เงินแก่ผู้ทรงคน ปัจจุบัน แล้วได้ตั๋วกลับคนมา แล้วมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้สั่งจ่ายจะใช้อายุ ความกี่ปี ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    3. อายุความเริ่มนับตั้งแต่เมื่อใด ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    4. หากอายุความสะดุดหยุดลง ผู้ทรงไล่เบี้ยใครได้บ้าง ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

    5. ถ้าอายุความสิ้นสุดลง ใครบ้างหลุดพ้นความรับผิด ให้นักศึกษาอธิบายมาโดยละเอียด

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เอกสารอ้างอิง

     

    สามิตร ศิริมาตย.  (2546).  ปญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดความผิดอันเกี่ยวกับการใชเช็ค. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

    อัมพร ณ ตะกั่วทุง.  (2548).  คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   นิติบรรณการ.

    อุทิศ แสนโกศิก.  (2515).  หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพสรรพาสามิต. อุทิศอนุสรณงานศพ.

    สิทธิพร บุญคุม.  (2538).  สิทธิและความรับผิดของธนาคารอันเกิดจากการใชเงินตามตั๋วเงินปลอม: ศึกษาเฉพาะกรณีเช็ค.  วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

    สุภาวดี เติมเต็มทรัพย.  (2549). ความผิดอันเกิดจากการใชเช็ค: ศึกษามาตรการที่ทําใหเช็คไดรับ ความนาเชื่อถือ.  วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

    ไพฑูรย คงสมบูรณ.  (2527).  คําอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    หลักคำพิพากษาศาลฎีกา

     

     

     


  • บทที่ 7

    แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7 การปลอม การแก้ไข ตั๋วเงิน

     

     

    เนื้อหาประจำบท

    1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในตั๋วเงิน

    2. ธนาคารใช้เงินโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อ

    3. บทสรุป

     

    จำนวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง

     

    วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

    เมื่อศึกษาบทที่ 7 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

    1. อธิบายการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในตั๋วเงิน

    2. อธิบายธนาคารใช้เงินโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อ

     

    วิธีการสอนและกิจกรรม

    1.เข้าสู่เนื้อหาบทนำ บรรยายประกอบ ตัวบทกฎหมาย

    2.สรุปและซักถาม

    3. กิจกรรมในชั้นเรียน

    4. นักศึกษาค้นหาข้อมูลกรณีศึกษาทางหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

     

    สื่อการเรียนการสอน

    1. ตัวบทกฎหมาย

    2. เอกสารประกอบการสอน

    3. เครื่องคอมพิวเตอร์

    การวัดผลและประเมินผล

    คะแนนสอบปลายภาคเรียน                                        100%

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    บทที่ 7

    การปลอม การแก้ไข ตั๋วเงิน

     

    คำว่า “ลายมือปลอม” หรือ “ลายมือชื่อปลอม” หมายถึงการที่บุคคลเขียนลายมือชื่อผู้อื่นซึ่งเป็นผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้เสียในตั๋วเงินนั้น โดยตั้งใจให้เป็นที่เข้าใจว่าเป็นลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้อื่นนั้น โดยมิได้ตั้งใจทำแผน เช่น แดงลงชื่อขาวในฐานะเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คหรือเป็นผู้รับเงินตามเช็คนั้น โดยตั้งใจให้คนอื่นเข้าใจว่าเป็นลายมือชื่อของขาวและขาวเป็นผู้ลงเอง อย่างแท้จริง โดยที่แดงมิได้ตั้งใจทำแผน

    แม้ตั๋วเงินฉบับหนึ่งๆ จะมีลายมือชื่อคู่สัญญาคนใดเป็นลายมือชื่อปลอม มาตรานี้ได้วางเป็น หลัก ไว้ว่า ลายมือชื่อปลอมนั้นไม่กระทบกระทั่งไปถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่อของคู่สัญญาคนอื่น ๆ ที่ยังคงต้องผูกพันรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ทำนองเดียวกับมาตรา 902 แสดงว่าตั๋วเงินนั้นยังคงสมบูรณ์มีผลบังคับได้ตามกฎหมายตั๋วเงิน แต่สิทธิของผู้ทรงจะมีเพียงใด คงต้องศึกษา ต่อไป ดังนี้

     

    1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในตั๋วเงิน

     

    มาตรา 1007 ถ้ามีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความสำคัญในตั๋วเงินโดย คู่สัญญาตามตั๋วเงินทั้งปวงไม่ยินยอม ตั๋วเงินนั้นเป็นอันเลยไป แต่ยังคงใช้ได้ ต่อคู่สัญญาผู้แก้ไขหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขกับผู้สลักหลังภายหลัง

    แต่ทาการแก้ไขนั้นไม่ประจักษ์และตั๋วเงินตกอยู่ในมอผู้ทรงโดยชอบ ด้วยกฎหมาย ผู้ทรงจะยกเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นได้เสมือนว่ามิได้มีการ แก้ไขเลยและจะบังคับตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วเงินก็ได้

     

    1.1 มาตรา 1007 วรรค 1 ผลของการแก้ไขข้อความในตั๋วเงิน

    มาตรา 1007 ถ้ามีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความสำคัญในตั๋วเงินโดย คู่สัญญาตามตั๋วเงินทั้งปวงไม่ยินยอม ตั๋วเงินนั้นเป็นอันเสียไป แต่ยังคงใช้ได้ ต่อคู่สัญญาผู้แก้ไขหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขกับผู้สลักหลังภายหลัง

    จากมาตรา 1007 วรรค 1 สามารถแปลความกลับไค้ว่า

    ถ้าข้อความในตั๋วเงินมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่หาก คู่สัญญาในตั๋วเงินยินยอมทุกคน เช่นนี้ตั๋วเงินไม่เสียไป ถือว่าคู่สัญญาตกลงผูกพันตามที่แก้ไขใหม่

    ตัวอย่างเช่น เดิมเช็คลงวันที่ออกเช็คไว้แล้ว แต่ต่อมาผู้สั่งจ่าย ยินยอมให้ผู้ทรงขีดฆ่าวันที่เดิมออก และยินยอมให้ผู้ทรงลงวันที่ใหม่ได้ ถือเป็นกรณีเช็คไม่ลงวันที่ออกเช็ค ผู้ทรงผู้กระท่าการโดยสุจริตสามารถลงวันที่ถูกด้องแท้จริงลงในเช็คนั้นได้ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบมาตรา 989 และอายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ลงในเช็คครั้งหลัง (ฎีกาที่ 9539/2544)

    หรืออีกกรณีหนึ่ง สามีภริยาร่วมกันสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีธนาคาร ซึ่ง มีข้อตกลงกับทางธนาคารว่าสามีหรือภริยาต่างมีอำนาจสั่งจ่ายเช็คได้ แล้ว ต่อมาสามีมาทำการแก้ไขวันที่ลงในเช็ค เช่นนี้ถือว่าภริยายินยอมด้วยเช็คนั้นยังสมบูรณ์

    ฎีกาที่ 7771/2540 A, B เป็นสามีภริยากัน โดยมีบัญชีเดินสะพัดกับ ธนาคารและมีข้อตกลงกับธนาคารว่า A หรือ B คนใดคนหนึ่งมีอำนาจสั่งจ่าย เช็คได้ ปรากฏว่า A และ B ไปซื้อสินค้าจาก ก. และร่วมกันสั่งจ่ายเช็คๆชำระหนี้ ค่าสินค้า ลงชื่อ A และ B ลงวันที่ในเช็ควันที่ 10 มิถุนายน 2554

    จากนั้น A คนเดียวทำการแก้ไขวันที่ในเช็คแบบประจักษ์เป็นวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 ปัญหาว่า เช็คจะเสียไปสำหรับ B หรือไม่ กล่าวคือ ก. จะฟ้อง B ให้รับผิดตามเช็คนั้นใช่หรือไม่

    เช็คมีข้อตกลงว่า A หรือ B คนใดคนหนึ่งมีอำนาจสั่งจ่าย เช็คได้ เมื่อเป็นการสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าที่ A และ B ต้องรับผิดร่วมกัน แม้ A จะแก้ไขเพียงลำพัง ก็ต้องถือว่า B ยินยอมด้วย เช็คยังคงใช้ได้ลำหรับ B หาได้เสียไปไม่ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1007 วรรค 1

    ด้วยเหตุนี้ ก. สามารถฟ้อง A และ B ให้ร่วมรับผิดในเช็คในฐานะผู้สั่ง จ่ายไท้ทั้งนี้ตามมาตรา 900, 914, 967 ประกอบมาตรา 989

        1.1.1 คำว่า “ข้อความในตั๋วเงิน” หมายถึง ข้อความในรายการที่ กฎหมายบังคับให้ต้องระบุลงในตั๋วแงิน หรือที่กฎหมายอนุญาตให้ระบุในตั๋วเงิน เช่น การแก้ไขจำนวนเงิน วันที่ที่ลงในตั๋วเงิน

    ตัวอย่างเช่น

            1) ตั๋วแลกเงิน ผู้สั่งจ่ายสามารถเขียนข้อความเรื่องดอกเบี้ยในตั๋วแลกเงินได้ตามมาตรา 911 ฉะนั้นหากมีการแก้ไขในเรื่องดอกเบี้ย ก็ถือเป็น การแก้ไขข้อความในตั๋วเงินตามมาตรา 1007

            2) ค่ารับรองตั๋วเงิน หมายถึง ค่ารับรองตั๋วแลกเงินตามมาตรา 931. 937 ซึ่งก็คือการที่ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินรับรองต่อผู้ทรงว่าจะจ่ายเงินตามตั๋ว แลกเงินให้แก่ผู้ทรง เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดใช้เงิน และผู้จ่ายลงลายมือชื่อไว้ ฉะนั้น หากมีการแก้ไขคำรับรองก็ถือเป็นการแก้ไขข้อความในตั๋วแลกเงิน ตามมาตรา 1007

        1.1.2 คำว่า “แก้ไขเปลี่ยนแปลง" อาจเป็นการกระทำด้วยการลบ ตัด ทอน เติมข้อความ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ข้อความในตั๋วเงินนั้น เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีอำนาจ

    กล่าวคือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่มีกฎหมายอนุญาต ให้กระทำได้ ทั้งนี้ กฎหมายลักษณะตั๋วเงินมีบางกรณีให้อำนาจบุคคลบางคนมีอำนาจ เดิม หรือขีดฆ่าข้อความทิ้งได้ ซึ่งเป็นการกระทำที่มีอำนาจ ย่อมไม่ ทำให้ตั๋วเงินนั้นเสียไป เช่น

            1) เช็ดไม่ลงวันที่ มาตรา 910 วรรคท้าย

    เช่น ผู้สั่งจ่ายมิไห้ลงวันที่ในเช็ค ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้กระทำการโดยสุจริตสามารถลงวันที่ที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คได้ เช่นนี้ เช็คไม่เสียไป เพราะกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้

              (1) ผู้สั่งจ่ายจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่า ผู้ทรงไม่มีนิติสัมพันธ์ กับคนไม่ได้ (ฎีกาที่ 10595/2551)

              (2) หากผู้ทรงตายไปแล้วผู้จัดการมรดกก็มีอำนาจลงวัน เดือน ปี ได้ (ฎีกาที่ 2015/2532)

              (3) เมื่อผู้ทรงนำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคารพนักงานธนาคารเห็นว่า เช็คไม่ลงวันที่ พนักงานธนาคารจึงทำการเติมวันที่ลงไป ก็ไม่ขัดกับมาตรา 910 วรรคท้ายแต่อย่างใด (ฎีกาที่ 1303/2514 ((ป))

              (4) เวลาตอบมาตรา 910 วรรคท้ายควรมีคำว่า “การเติมวันที่ ดังกล่าวเป็นกรณีที่กฎหมายลักษณะตั๋วเงินมาตรา 910 วรรคท้ายบัญญัติให้ อำนาจไว้ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตดามมาตรา 5”

              (5) ปัญหาว่าการลง วัน เดือน ปี ตามมาตรา 910 วรรคท้าย จะลง วันที่เท่าไร

                     - หากมีข้อตกลงกันก็ต้องปฏิบัติตามนั้น หากลงฝ่าฝืนข้อตกลงย่อมไม่ชอบ เช่น ผู้สั่งจ่ายตกลงกับผู้ทรงว่าต้องลง วัน เดือน ปี ภายใน 3 เดือนนับ แต่ออกเช็ค ก็ต้องเป็นไปตามนั้น (ฎีกาที่ 5594/2533)

                     ทั้งนี้ผลของการที่ผู้ทรงลงวันที่โดยฝ่าฝืนข้อตกลง ย่อมเป็นการไม่ชอบ เท่ากับตั๋วเงินขาดรายการวันที่ลงในตั๋วเงิน ไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วเงิน ผู้สั่งจ่ายไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้น (ไม่ต้องพิจารณามาตรา 1007 เลย)

                     - แต่หากไม่ไต้ตกลงกันว่าให้ลงเมื่อได ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัว ว่า ผู้สั่งจ่ายยินยอมให้ผู้ทรงลงวันที่ไต้ตามที่เห็นสมควร (ฎีกาที่ 3100/2550, 6260/2550)

              (1.6) การนับอายุความ กรณีผู้สั่งจ่ายไม่ลงวัน เดือน ปี อายุความจะ เริ่มนับเมื่อผู้ทรงลงวันที่ตามมาตรา 910 วรรคท้าย (ฎีกาที่ 458/2536, 280/2536)

        2) มาตรา 934 ผู้จ่ายเขียนคำรับรอง และลงชื่อแล้ว แต่ยังไม่ส่ง มอบให้ผู้ทรง ตั๋วเงินยังอยู่ในมือของผู้จ่าย ผู้จ่ายสามารถขีดฆ่าคำรับรอง และลายมือชื่อของตนได้ ตั๋วเงินไม่เสียไปเพราะกฎหมายให้อำนาจไว้

        หมายเหตุ แต่ถ้าส่งมอบ ตั๋วเงินให้ผู้ทรงไปแล้ว แต่กลับมาขีดฆ่าทิ้ง ภายหลัง เช่นนี้เข้ามาตรา 1007 เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจตั๋วเงินย่อมเสียไป

        3) มาตรา 905 วรรค 1 ผู้สลักหลังตั๋วเงินขีดข้อความสลักหลังทิ้ง ให้ถือเสมือนว่าคำสลักหลังนั้นมิได้มีเลย

        4) มาตรา 970 วรรค 2 ผู้สลักหลังตั๋วแลกเงิน/ตั๋วสัญญาใช้เงิน เข้า ถือเอาและใช้เงินตามตั๋ว และขีดฆ่าคำสลักหลังของตน และของผู้สลักหลัง ภายหลังตนไต้

     

    1.2 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในตั๋วเงินอันจะทำให้ตั๋วเงินเสียไป

     การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในตั๋วเงินอันจะทำให้ตั๋วเงินเสียไปจะต้องเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญด้วย

    ฉะนั้น หากสิ่งที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ข้อสำคัญแล้ว ตั๋วเงินย่อมไม่เสียไป

        1.2.1 ตัวอย่างการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ

          1) กรณีตามมาตรา 1007 วรรคท้าย

          (1) วันที่ลงในตั๋วเงิน (กรณีเช็ค อายุความตามเช็คนับจากวันที่ลงใน เช็คมิใช่นับจากวันที่งมอบเช็คหรือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ฉะนั้นการแก้วันที่ลงในเช็ค จึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญมีผลถึงการนับอายุความ (ฎีกาที่ 1214/2547))

          (2) จำนวนเงิน

          (3) เวลาใช้เงิน

          (4) สถานที่ใช้เงิน

          (5) เติมสถานที่ใช้เงินลงในคำรับรอง ซึ่งผู้รับรองมิได้ระบุและมิได้ยินยอม

    หมายเหตุ อย่างไรก็ดี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสำคัญ หากได้มีแต่ เฉพาะกรณีตามมาตรา 1007 วรรคท้ายไม่ ยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ทีกฎหมาย กำหนดไว้

          2) มาตรา 996 เช็คขีดคร่อมทีมีการลบล้างการขีดคร่อม

    หมายเหตุ กรณีตามมาตรา 1007 วรรค 3 และมาดรา 996 นั้นเป็น เพียงตัวอย่างทีกฎหมายยกขึ้นเท่านั้น ยังมีการแก้ไขกรณีอื่น ๆ อีก ซึ่งถือเป็น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ หลักคือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงได ๆที่มี ผลทำให้สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงินเปลี่ยนแปลง ไป ย่อมถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสำคัญในตั๋วเงินทั้งสิ้น

          3) กรณีอื่น ๆ ดามแนวคำพิพากษาฎีกา

          (1) การแก้ไขการสสักหลัง (จากสลักหลังเฉพาะแล้วลบชื่อผู้รับสลักหลังออก กลายเป็นสลักหลังลอย) (ฎีกาที่ 2290/2518)

    ฎีกาที่ 2290/2518 เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมระบุจ่ายเงินให้บริษัท พ. สลักหลังลอยให้โจทก์ โจทก์ได้ใช้ตรายางประทับด้านหลังเช็ค มีข้อความว่า เพื่อฝากเข้าบัญชีของโจทก์เท่านั้น แล้วลงลายมือชื่อมอบให้พนักงาน ของโจทก์ไปฝากเข้าบัญชี พนักงานของโจทก์ได้ลบข้อความที่โจทก์ใช้ตรายางประทับ ทำให้การสลักหลังของโจทก์กลายสภาพเป็น สลักหลังลอย แล้วยักยอกเช็คนั้นไปมอบให้ อ. แล้ว อ. นำเช็คไปเข้าบัญชี ธนาคารจำเลย เพื่อให้เรียกเก็บเงิน ธนาคารจำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น แล้ว ปรากฎว่า การลบถ้อยคำสลักหลังของโจทก์ มีร่องรอยที่เห็นได้ ชัดเจน เป็นการแก้ไขในส่วนสำคัญ เช็คพิพาทย่อมเสียไปดามมาตรา 1007 อ. จะถือประโยชน์จากเช็คไม่ได้ *และถือว่าธนาคารจำเลยรับเงิน ตามเช็คไว้เพี่อ อ. โดยความประมาทเลินเล่อ จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 1000 ธนาคารจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ผู้เป็นเว้าของเช็ค พิพาทอันแท้จริง

          (2) ต่อมาโจทก์ใช้ตรายางประทับหลังเช็คมีข้อความว่า เพื่อฝากเช้าบัญชีโจทก์เท่านั้นและลงลายมือชื่อโจทก์

    การลงลายมือชื่อโจทก์เป็นกรณีตามมาตรา 920 วรรค 2(1) คือ ส่งผล ให้การสลักหลังลอยของ พ. กลายเป็นสลักหลังเฉพาะ ให้โจทก์เป็นผู้รับ ประโยชน์ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้กระทำได้

          (3) จากนั้นพนักงานของโจทก์ลบข้อความ และลายมือชื่อโจทก์ออก ทำให้การสลักหลังของ พ. กลับไปเป็นสลักหลังลอยตามเดิม ถือเป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลงตามเงินในข้อสำคัญ และเป็นที่เห็นประจักษ์ ตัวเงินนั้นย่อมเสียไป ตามมาดรา 1007 วรรค 1

          (4) เมื่อพนักงานของ จ. มอบเช็คนั้นให้ อ. อ. ไม่อาจที่จะถือเอา ประโยชน์จากเช็คนั้นได้

          (5) การที่ธนาคารจ่ายเงินให้ อ. ไป เป็นการรับเงินตามเช็คเพื่อ อ. ด้วยความประมาทเลินเล่อ (น่าจะเป็นเพราะการแก้ไขเป็นที่เห็นประจักษ์) จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1,000 ธนาคารจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่ง เป็นเจ้าของเช็คที่แท้จริง

          (6) ฎีกาที่ 2290/2518 นี้ ลามารถเอาไปออกโยงกับ ฎีกาที่ 1444/2551 ได้กล่าวคือ ปัญหาว่าคดีนี้ A ผู้สั่งจ่ายจะฟ้องธนาคารผู้เรียกเก็บ เงินให้รับผิดได้หรือไม่

    ผู้เป็นเจ้าของเช็คที่แท้จริงคือโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค A แม้จะเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แต่ก็ไม่ใช่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็ดนั้นตาม มาตรา 1000 ที่จะมีอำนาจฟ้องธนาคารจำเลยให้รับผิดใช้เงินตามเช็ค ทั้งการที่ธนาคารจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารของผู้สั่งจ่ายก็ยังถือไม่ได้ว่าธนาคารจำเลยได้ทำละเมิดต่อ A ในอันที่จะทำไห้ A มีอำนาจฟ้อง ธนาคารจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายได้

    ด้วยเหตุนี้ A จึงไม่มิอำนาจฟ้องธนาคารผู้เรียกเก็บเงินให้รับผิดตาม มาตรา 1000 ได้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอ้นเป็นเจ้าของเช็คที่แท้จริงเท่านั้นมีอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 1444/2551)

        1.2.2 ตัวอย่างการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในสิงที่ไม่ใช่ข้อสำคัญ อันไม่ทำให้ตั๋วเงินเสียไป

    กล่าวคือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ไม่มีผลทำให้สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงินเปลี่ยนแปลงไป ไม่ถือว่าเป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อสำคัญในตั๋วเงิน

          1) การแก้ไขตัวสะกดที่ตกหล่นหรือผิดพลาด เช่น คำว่า “รับรอง  แล้ว” ซึ่งดกไม้โทไป ผู้ทรงสามารถมาเติมไม้โทได้ ตั๋วเงินไม่เสียไป

          2) เช็คระบุชื่อผู้รับเงิน แต่ไม่ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ซึ่งถือว่า เป็นเช็คผู้ถือ แต่ต่อมาจะมีการขีดฆ่าชื่อผู้รับเงินออก เช็คนั้นก็ยังคงเป็นเช็ค ผู้ถืออยู่นั้นเอง ไม่ทำให้สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงิน เปลี่ยนแปลงไป ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ ตั๋วเงินจึงไม่เสียไป (ฎีกาที่ 1845/2524)

          3) จำนวนเงินในเช็ค ในช่องตัวเลขกับตัวอักษรไม่ตรงกัน เช่น

     

                                     5,000    หนึ่งหมื่นห้าพันบาท

     

    กรณีนี้ การที่ผู้ทรงเติมตัวเลขให้ตรงกับตัวอักษรเป็น 15,000 บาท นั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยโดยอ้างมาตรา 12 กล่าวคือ กรณีจำนวนเงิน แลดงไว้ทั้ง ตัวอักษรและตัวเลขและไม่ตรงกันให้ถือตามตัวอักษร

    ฉะนั้น แม้จะไม่มีการเติมตัวเลข ก็ต้องถือตามตัวอักษรอยู่แล้ว ด้วย เหดุนี้ การเติมตัวเลขให้ตรงกับตัวอักษรนั้นจึงไม่เป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ ตั๋วเงินจึงไม่เสียไป (ฎีกาที่ 266/2539)

     

    1.3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสำคัญในตั๋วเงิน

    สามารถแยกพิจารณา ได้เป็น 2 กรณี

    (1) แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นที่เห็นประจักษ์ มาตรา 1007 วรรคที่ 1

    (2) แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ประจักษ์ มาตรา 1007 วรรคที่ 2

        1.3.1 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นที่เห็นประจักษ์ หมายความว่า การ แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเมื่อมองด้วยตาเปล่าก็รูhแล้วว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

        การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นที่เห็นประจักษ์ หมายความว่า หาก มองดูด้วยตาแล้ว มองดูก็รู้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ผลย่อมเป็นไปดาม มาตรา 1007 วรรค 1 กล่าวคือ

        1.3.1.1 ตั๋วเงินนั้นเป็นอันเสียไปตามมาดรา 1007 วรรค 1

        1.3.1.2 แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นว่า ตั๋วเงินนั้นยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญา 3 ประเภทด้งต่อไปนี้

              (1) คู่สัญญาผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

              (2) คู่สัญญาผู้ที่ได้ยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

              (3) ผู้สลักหลังภายหลังจากที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

    หมายเหตุ บุคคล 3 จำพวกข้างต้น ต้องรับผิดตามข้อความที่ แก้ไขเปลี่ยนแปลง (มิใช่ข้อความเดิม) จะมาอ้างว่าตั๋วเงินเสียไปดามมาตรา 1007 วรรค 1 ไม่ไต้

    สรุป มาตรา 1007 วรรค 1 ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขเปลี่ยนเห็นประจักษ์ ตั๋วเงินนั้นย่อมเป็นอันเสียไป เฉพาะแต่คู่สัญญามิได้รู้เห็นยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเว้นแต่ผู้สลักหลังภายหลังจากที่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพราะถือว่าผู้สลักหลังภายหลังยอมผูกพันตนตาม ข้อความในตั๋วเงินที่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว

        1.3.2 มาตรา 1007 วรรค 2 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญในตั๋ว เงินไม่ประจักษ์ หมายความว่าดูด้วยตาเปล่าไม่รู้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง (แนบเนียน)

    เช่นนี้ หากตั๋วเงินตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตั๋วเงินนั้น ยังคงเป็นตั๋วเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ทรงสามารถถือเอาประโยชน์จากตั๋ว เงินนั้นไต้ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย โดยผู้ทรงจะถือเอา ประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นตามเนื้อความที่แก้ไขใหม่หรือตามข้อความเดิมก่อนที่ จะมีการแก้ไขก็ได้

        1.3.2.1 คำว่า “ผู้ทรงจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินไต้เสมือนว่ามิได้มิ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย” หมายความว่า ผู้ทรงสามารถฟ้องบุคคลทุก คนที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไต้โดยมิต้องคำนึงว่าเขาได้รู้เห็นหรือ ยินยอมด้วยในการแก้ไขนั้นหรือไม่ โดยแยกพิจารณาดังนี้

        (1) ผู้ทรงสามารถฟ้องผู้ลงลายมือชื่อก่อนที่จะมิการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตามเนื้อความเดิมก่อนที่จะมีการแก้ไข

        (2) ส่วนผู้ที่แก้ไขหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขหรือผู้สลักหลังภายหลัง จากที่มีการแก้ไขแล้วนั้น ผู้ทรงสามารถฟ้องได้ตามเนื้อความที่แก้ไข

    สรุป ถ้าผู้ทรงฟ้องคู่สัญญาตั๋วเงินก่อนที่จะมีการแก้ไขต้อง บังคับตามเนื้อความเดิม จะบังคับตามข้อความที่แก้ไขใหม่ไม่ได้

    แต่ถ้าผู้ทรงฟ้องคู่สัญญาตั๋วเงินภายหลังจากที่มิการแก้ไข ผู้ทรง สามารถฟ้องบังคับตามเนื้อความที่แก้ไขใหม่ไต้

     

    1.4 ลายมือชื่อในตั๋วเงินปลอม หรือลายมือชื่อที่ ลงโดยปราศจากอำนาจ เป็นอันใช้ไม่ได้เลย

    มาดรา 1008 คำว่า “ลายมือชื่อในตั๋วเงินปลอม หรือลายมือชื่อที่ ลงโดยปราศจากอำนาจ เป็นอันใช้ไม่ได้เลย''

        1.4.1 คำว่า “ลายมือชื่อปลอม" หมายถึง บุคคลใดลงลายมือชื่อผู้อื่นให้ ปรากฏลงในตั๋วเงิน โดยตั้งใจให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าลายมือชื่อนั้นเป็น ลายมือชื่อที่แท้จริงของบุคคลที่ถูกปลอม ลายมือชื่อปลอมนั้นก็ย่อมเป็นอันใช้ ไม่ได้เลย

        1.4 .2 คำว่า “ลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ" เป็นกรณีทีบุคคลหนึ่ง เขียนชื่อผู้อื่นลงในตั๋วเงิน โดยตั้งใจกระทำแทนเจ้าของลายมือชื่อเพียงแด่ เจ้าของลายมือชื่อที่แห้จริงมิได้มอบหมาย"

    เช่น ก. ลงลายมือชื่อ ข. ในตั๋วเงิน แล้วเขียนข้อความต่อไปว่าทำแทน นาย ข. เช่นนี้ ก. มิได้เขียนลายมือชื่อ ข. โดยให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ข. เป็นผู้เขียน เอง หากแต่ ก. เขียนลายมือชื่อ ข. โดยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีอำนาจกระทำการ แทน ข.

    อย่างไรก็ดี หากความจริง ข. มิได้มอบอำนาจให้ ก. มาลงลายมอชื่อ แทน ลายมือชื่อของ ข. ที่ ก. ลงไว้ ก็ย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้เลย

    หมายเหตุ นอกจากนี้ น่าจะหมายรวมถึง กรณีที่เดิมเคยมีอำนาจ ลงลายมือชื่อมาก่อน แต่ขณะลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจ ก็ถือเป็นการลง ลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจเช่นกัน อาทิ กรรมการลงลายมือชื่อ และ ประทับตราสำคัญของบริษัทภายหลังจากที่บริษัทสิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลแล้ว (ฎีกาที่ 2940/2547)

    ฎีกาที่ 2940/2547 จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อม เฉพาะสั่งจ่ายเงินให้แก่บริษัท ฐ. บริษัท ฐ. ซึ่งเป็นผู้ทรงเท่านั้นที่จะทำสัญญา ขายลดและสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เมื่อสัญญาขายลดเช็คกระทำขึ้นหลังจากที่บริษัท ฐ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียน เสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270 วรรคสอง อันถือได้ว่าบริษัท ฐ. ได้ลิ้น สภาพนิติบุคคลแล้ว สัญญาขายลดเช็ดตังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับตาม กฎหมาย ทั้งการที่ ธ. และ ส. ลงลายมือชื่อสลักหลังและประทับตราบริษัท ฐ. ในเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ ก็เป็นการสลักหลังโอนโดยปราศจาก อำนาจ ย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้เลยตามมาตรา 1008 โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้รับ เช็คพิพาทมาโดยการสสักหลังที่ขาดสาย โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วย กฎหมายตามมาดรา 904, 905 จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

     

    1.5 ผลของการที่ตั๋วเงินมีลายมือชื่อปลอม

    มาตรา 1008 ...ใครจะอ้างอิงแสวงสิทธิอย่างใด เพื่อยึดหน่วงตั๋ว เงินนั้นไว้ หรือทำให้ตั๋วเงินหลุดพ้นหรือเพื่อบังคับการใช้เงิน ท่านว่าไม่อาจท่าได้เป็นอันขาด

        1.5.1 คำ'ว่า '‘เพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้" หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอมผู้ที่ได้ตั๋วเงิน นั้นมาจะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้ ไม่คืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงไม่ได้

    เช่น ก. ออกเช็คระบุชื่อ ข. เป็นผู้รับเงินมีอำนาจสลักหลังโอนเช็คไค้คือ ข.

    ปรากฏว่า A ขโมยเช็คไปปลอมลายมือชื่อ ข. สลักหลังโอนไต้ ค. (ลายมอชื่อ ข. เป็นลายมอชื่อปลอม)

    ปัญหาว่า หาก ข. มาขอเช็คคืนจาก ค. ค. จะยึดหน่วงเช็คนั้นไว้ได้หรือไม่

    คำตอบไม่ได้ เพราะ ค. ไค้เช็คมาจากการปลอมลายมอชื่อผู้สลักหลัง ค. จะยึดหน่วงเช็คไม่ไค้ ฉะนั้น เมื่อ ข. ผู้ทรงเช็คที่แท้จริงมาทางเช็คนั้นคืน ค. ก็ต้องให้ตามมาตรา 1008

     แต่ มาตรา 1008 ต้องดูเปรียบเทียบกับมาตรา 905 วรรค 2 ถ้าเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็น

    ก. สั่งจ่ายเช็คให้ ข. จากนั้น ค. เอาปืนมาขู่ ข. ให้สลักหลังโอนเช็คให้แก่คน ข. กลัวจงสลักหลังโอนเช็คให้ ค. ค. โอนเช็คให้ ง. ง. รับโอนมาโดยสุจริต ปัญหาว่า หาก ข. มาทวงเช็คคน ง. จะปฏิเสธไม่ยอมคนให้ไค้หรือไม่

    คำตอบ : กรณีนี้ลายมือชื่อทั้งหมดในเช็คเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง ไม่เข้ากรณีมาตรา 1008 หากแต่เป็นกรณีตามมาตรา 905 วรรค 2 เมื่อ ง. สุจริตและมิไค้ประมาทเลนเล่อ อีกทั้งเช็คนั้นไค้สลักหลังติดต่อกันมาไม่ขาดสาย ง.จงหาจ่าต้องสละเช็คนั้นให้ ข. ไม่ (เนติฯ สมัยที่ 62)

        1.5.2 คำว่า “เพี่อทำให้ตั๋วเงินหลุดพ้น” หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินไปตามตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมจะอ้างว่าเป็นการใช้เงินตามตั๋วเงินโดยชอบ เพี่อไห้ตนหลุดพ้นจากความริบผิดไม่ไค้ ยังคงมีความรับผิดต่อผู้ทรงที่ขอบด้วยกฎหมาย

    ตัวอย่าง ธนาคารใช้เงินตามเช็คที่ลายมือซื่อผู้สั่งจ่ายปลอมธนาคารจะอ้างการใช้เงินดังกล่าวเพื่อให้ตนหลุดพ้นไม่ได้ กล่าวคือ ธนาคารไม่อาจไปหักเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้ตามมาตรา 1008 (ฎีกาที่ 3638/2555)

    ข้อสำคัญ กรณีมีปัญหาตามมาว่า ถ้าธนาคารใช้เงินตามเช็คที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมไป แล้วไปทำการหักเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่าย ซึ่งเป็นการไม่ชอบ ปัญหาว่า หากเจ้าของบัญชีมาฟ้องธนาคารให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คที่จ่ายไปคืนให้แก่ตน เจ้าของบัญชีจะมีสิทธิฟ้องหรือไม่ และศาลควรมีคำพิพากษาอย่างไรจึงจะชอบถ้วยกฎหมาย

    ฎีกาที่ 6740/2553 การที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม เงินที่ธนาคารจ่ายไปตามเช็คจึงเป็นเงินของธนาคารเอง ไม่ใช่ของเล้าของบัญชี ความเสียหายที่เกดขึ้นเป็นความเชียหายที่เกดแก่ธนาคารเอง เมื่อเจ้าของบัญชีไม่ใช่ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ธนาคารย่อมไม่มีสิทธิไปหักเงินในบัญชีของเล้าของบัญชี ส่วนเจ้าของบัญชีก็โม่มีสิทธิเรียกให้ธนาคารชำระเงินตามเช็คให้แก่ตน

    ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของเจ้าของบัญชี ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ธนาคารหักเงินตามเช็คไป แม้เจ้าของบัญชีจะฟ้องขอให้ธนาคารใช้เงิน หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการลงบัญชีก็ตาม แต่เมื่อธนาคารไม่มีสิทธิหักเงินในบัญชีของเจ้าของบัญชี ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง (น่าสนใจ)

    หมายเหตุ

    1. ธนาคารจะมาอ้างว่าคนสุจริต มิได้ประมาทก็ไม่ได้และธนาคารที่ไม่ได้รับความคุ้มครองคามมาตรา 1009

    2. แต่ถ้าธนาคารหรือผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน/เช็ค ใช้เงินตามตั๋วเงินดังกล่าว โดยมีลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอม กรณีนี้มาครา 1009. 949 คุ้มครองธนาคารหรือผู้จ่ายเงินแล้วแต่กรณี

    3. คำว่า “เพี่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาในตั๋วเงินย่อมไม่อาจกระทำได้ หมายความว่า ผู้'ที่ได้ตั๋วเงินมาโดยที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อปลอม ผู้นั้นจะไปบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาคนใดในตั๋วเงินก่อนที่จะมีการลงลายมือชื่อปลอมไม่ได้ กล่าวคือ ผู้ที่ลงลายมือชื่อที่แท้จริงก่อนลายมือชื่อปลอมไม่ต้องรับผิด เพราะผู้พี่จะบังคับให้ใช้เงินนั้นเป็นการแสวงสิทธิผ่านลายมือชื่อปลอม

    ฎีกาพี่ 2274/2534 ผู้รับโอนตั๋วแลกเงินมาจากการสลักหลังปลอม จะฟ้องผู้รับรองตั๋วก่อนมีการสสักหลังปลอมไม่ได้

    คดีนี้ ผู้จ่ายเงินได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงิน โดยการลงลายมือชื่อปรากฏว่า หลังจากพี่ผู้จ่ายรับรองตั๋วไปแล้วปรากฏว่ามีการสลักหลังปลอมโอนเช็คไห้แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนตั๋วแลกเงินมาจากการสลักหลังปลอมจะแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมปังคับการใช้เงินเอากับผู้รับรองตั๋วแลกเงินไม่ได้

    สรุป ผู้พี่ได้ตั๋วเงินมาจากการสลักหลังปลอมจะบังคับการได้เงินเอาแก่ผู้ลงลายมือชื่อก่อนลายมือชื่อปลอมไม่ได้ (ข้อยกเว้นพี่ทำให้ผู้ที่ลงลายมือชื่ออันแท้จริงไม่ด้องริบผิด)

     

    2. ธนาคารใช้เงินโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อ

     

    มาตรา 1009  คำว่า “ตามทางค้าปกติ” หมายถึง ตามประเพณีหรือวิธีการที่ธนาคารทั้งหลายยอมรับให้มีการกระทำกัน มิใช่ทำแต่เพียงบางธนาคารหรือบางกลุ่ม เช่น เวลาเปิดทำการของธนาคารในวันธรรมดาระหว่างเวลา 08.30 น. ถึงเวลา 15.30 น. เป็นต้น

    ข้อความที่ว่า “ธนาคารได้ใช้เงินให้ไป…โดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ” หมายความว่าธนาคารได้จ่ายเงินไปให้แก่ผู้ทรงซึ่งถือตั๋วเงินนั้นมาขึ้นเงินเพราะเข้าใจโดยสุจริตว่าผู้นั้นเป็นผู้ทรงตามกฎหมาย และมีสิทธิบริบูรณ์ในตั๋วเงินนั้นและธนาคารได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทั้งในการใช้เงินและการพิจารณาตัวผู้ถือตั๋วเงินอย่างถ่องแท้แล้ว

    ข้อความที่ว่า “การสลักหลังในภายหลังรายใดๆ ได้ทำด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น” หมายความว่า การสลักหลังของผู้รับเงินหรือผู้สลักหลังต่อๆ มาในภายหลังนั้นได้มีการรับมอบอำนาจจากเจ้าของคำสลักหลังเดิมหรือไม่กรณีเป็นเรื่องการลงลายมือชื่อผู้สลักหลังโดยได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของลายมือนั่นเอง

    มาตรานี้วาง หลัก ไว้ว่า ธนาคารจะหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินไปตามตั๋วเงินดังกล่าว ต่อเมื่อต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

    1.      ธนาคารได้ใช้เงินตามทางค้าปกติ   (คือในระหว่างวัน – เวลาที่เปิดทำการและในธนาคาร)

    2.      ธนาคารได้ใช้เงินไปโดยสุจริต หรือประมาทเลินเล่อ (มาตรา 1009) หรือ

    3.      ธนาคารได้ใช้เงินไปตามตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอมหรือเป็นลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ (มาตรา 1008)

    ดังนี้ ถ้าธนาคารได้ใช้เงินไปต้องด้วยข้อหนึ่งข้อใดดังกล่าวข้างต้น ให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปโดยไม่ถูกระเบียบ (ธนาคารไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีฯ ของผู้สั่งจ่าย)

    มาตรา 1009 การคุ้มครองธนาคาร หากผู้จ่ายคือ ธนาคาร

    1. ธนาคารได้ใช้เงินไปตามทางการค้าปกติ (08.30 15.30 น)

    2. ช้เงินไปโดยสุจริต และปราศจากความประมาทเลินเล่อ

    3. ธนาคารไม่มีหน้าที่นำสืบ

    มาตรา 949 คุ้มครอง บุคคลธรรมดา หากผู้จ่ายคือบุคคลธรรมดา

    เมื่อผู้ใช้เงินได้ใช้เงินไปแล้ว ผู้ใช้เงินจะหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินเพียงใดหรือไม่นั้น มาตรา 949 ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผลของการใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน โดยที่ผู้ใช้เงินเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งและได้ถูกผู้ทรงบังคับไล่เบี้ยก็ได้

    มาตรา 949 หลักเกณฑ์ที่ผู้ใช้เงินจะหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินก็ต่อเมื่อ

    1. ใช้เงินไปในเวลาที่ตั๋วเงินถึงกำหนด และ

    2. ใช้เงินไปโดยไม่ฉ้อฉล (โดยสุจริต) และไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และ

    3.ต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้มีการสลักหลังตั๋วเงินนั้นติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย

    (กรณีที่มีการสลักหลัง) โดยไม่จำต้องพิสูจน์ว่าลายมือชื่อเหล่านั้นเป็นลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอม หรือเป็นลายมือชื่อผู้สลักหลังที่ลงโดยปราศจากอำนาจหรือไม่

    ข้อยกเว้นที่ผู้ใช้เงินจะไม่หลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินก็ต่อเมื่อ

    1. ใช้เงินไปก่อนเวลาที่ตั๋วเงินถึงกำหนด

    2. ใช้เงินไปโดยฉ้อฉล (ทุจริต) หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง          หรือ

    3. ใช้เงินไปตามตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอมหรือเป็นลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ

    หลัก ธนาคารไม่มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอม ธนาคารมีหน้าที่ต้องตรวจสอบเฉพาะลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย ประเด็นคำถามการใช้เงินของธนาคารเป็นไปตามทางการค้าปกติหรือไม่สุจริต หรือปราศจากความประมาทเลินเล่อหรือไม่

    ตัวอย่าง ^

    นางสมพรถูกนางสมพิศลักกระดาษเช็คแล้วลงลายมือชื่อปลอมเป็นนาง สมพรออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงินแก่นางสมพิศหรือผู้ถือ นางสมพิศส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ บริษัท จักรกล จำกัด ดังนี้

    หากธนาคารได้ใช้เงินไปตามเช็คนี้แล้ว เนื่องจากลายมือชื่อปลอมดังกล่าวคล้ายคลึงกับลายมือชื่อของนางสมพรที่ให้เป็นตัวอย่างไว้กับธนาคาร ธนาคารใช้เงินโดยถูกระเบียบหรือไม่

    คำตอบ ธนาคารไม่มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ลายมือชื่อปลอม แต่หากเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเป็นหน้าที่ทางวิชาชีพของธนาคารในอันจะต้องตรวจพิสูจน์ว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง หรือไม่เพราะธนาคารมีตัวอย่างลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเก็บไว้ตั้งแต่ตอนเปิดบัญชีแล้ว

    หากธนาคารใช้เงินผิดระเบียบอ้างความคล้ายคลังไม่ได้

     

    3. บทสรุป

     

    3.1 การปลอม การแก้ไข ตั๋วเงินลายมือชื่อปลอม

    การปลอม การแก้ไข ตั๋วเงินลายมือชื่อปลอมไม่กระทบกระทั่งลายมือชื่ออื่น ๆ

    มาตรา 1006 คำว่า “ลายมือปลอม” หรือ “ลายมือชื่อปลอม” หมายถึงการที่บุคคลเขียนลายมือชื่อผู้อื่นซึ่งเป็นผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้เสียในตั๋วเงินนั้น โดยตั้งใจให้เป็นที่เข้าใจว่าเป็นลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้อื่นนั้น โดยมิได้ตั้งใจทำแผน เช่น แดงลงชื่อขาวในฐานะเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คหรือเป็นผู้รับเงินตามเช็คนั้น โดยตั้งใจให้คนอื่นเข้าใจว่าเป็นลายมือชื่อของขาวและขาวเป็นผู้ลงเอง อย่างแท้จริง โดยที่แดงมิได้ตั้งใจทำแผน

    แม้ตั๋วเงินฉบับหนึ่งๆ จะมีลายมือชื่อคู่สัญญาคนใดเป็นลายมือชื่อปลอม มาตรานี้ได้วางเป็น หลัก ไว้ว่า ลายมือชื่อปลอมนั้นไม่กระทบกระทั่งไปถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่อของคู่สัญญาคนอื่นๆ ที่ยังคงต้องผูกพันรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ทำนองเดียวกับมาตรา 902 แสดงว่าตั๋วเงินนั้นยังคงสมบูรณ์มีผลบังคับได้ตามกฎหมายตั๋วเงิน แต่สิทธิของผู้ทรงจะมีเพียงใด คงต้องศึกษามาตรา 1008 ต่อไป

    มาตรา 1008 อาจสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้

    คือ วรรคแรก มีหลักอยู่ว่า กรณีที่มีลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอมหรือเป็นลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ ลายมือเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้ ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด

    1. เพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ หรือ

    2   เพื่อทำให้ตั๋วเงินนั้นหลุดพ้น หรือ

    3. เพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่ง ไม่อาจทำได้เป็นอันขาด

    ข้อยกเว้น

    คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงใน (1) หรือคู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะถึงถูกบังคับใช้เงินใน (3) จะอยู่ในฐานะ เป็นผู้ต้องตัดบท (หรือถูกกฎหมายปิดปาก) มิให้ยกข้อลายมือเช่นนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ (มาตรา 1008 วรรคแรกตอนท้าย)

    หรือเว้นแต่คู่สัญญาผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินได้ใช้เงินไปโดยสุจริตตามตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจ ผู้ใช้เงินนั้นย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินใน (2) นั้นได้ (ดูมาตรา 949 และ 1009)

    อนึ่ง ความในมาตรา 1008 วรรคท้าย ได้บัญญัติว่า ลายมือชื่อปลอมนั้นให้สัตยาบันไม่ได้ แต่ลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจนั้นให้สัตยาบันได้

    สรุปสาระสำคัญในส่วนนี้เพื่อให้เข้าใจ

    ถ้าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอมฯ ผู้ใช้เงินไม่หลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินนั้น (กรณีต้องด้วยมาตรา 1008 วรรคแรก)

    ถ้าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง (ไม่ปลอมฯ) แต่ลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอมฯ ผู้ใช้เงินหลุดพ้นจากความรับผิด (กรณีต้องด้วยมาตรา 949 หรือ 1009 แล้วแต่กรณี)

    จึงถือได้ว่ามาตรา 949 และ 1009 เป็นข้อยกเว้นของมาตรา 1008 ได้เฉพาะส่วนนี้แสดงให้เห็นว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้ใช้เงินใช้ความระมัดระวังในเรื่องลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายยิ่งกว่าในเรื่องลายมือชื่อผู้รับเงินหรือลายมือชื่อผู้รับสลักหลัง

     

    3.2 ธนาคารใช้เงินโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อ

    มาตรา 1009 และ 949 เป็นข้อยกเว้นของมาตรา 1008

    มาตรา 1009 คำว่า “ตามทางค้าปกติ” หมายถึง ตามประเพณีหรือวิธีการที่ธนาคารทั้งหลายยอมรับให้มีการกระทำกัน มิใช่ทำแต่เพียงบางธนาคารหรือบางกลุ่ม เช่น เวลาเปิดทำการของธนาคารในวันธรรมดาระหว่างเวลา 08.30 น. ถึงเวลา 15.30 น. เป็นต้น

    ข้อความที่ว่า “ธนาคารได้ใช้เงินให้ไปโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อ” หมายความว่าธนาคารได้จ่ายเงินไปให้แก่ผู้ทรงซึ่งถือตั๋วเงินนั้นมาขึ้นเงินเพราะเข้าใจโดยสุจริตว่าผู้นั้นเป็นผู้ทรงตามกฎหมาย และมีสิทธิบริบูรณ์ในตั๋วเงินนั้นและธนาคารได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทั้งในการใช้เงินและการพิจารณาตัวผู้ถือตั๋วเงินอย่างถ่องแท้แล้ว

    ข้อความที่ว่า “การสลักหลังในภายหลังรายใดๆ ได้ทำด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น” หมายความว่า การสลักหลังของผู้รับเงินหรือผู้สลักหลังต่อๆ มาในภายหลังนั้นได้มีการรับมอบอำนาจจากเจ้าของคำสลักหลังเดิมหรือไม่กรณีเป็นเรื่องการลงลายมือชื่อผู้สลักหลังโดยได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของลายมือนั่นเอง

    มาตรานี้วาง หลัก ไว้ว่า ธนาคารจะหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินไปตามตั๋วเงินดังกล่าว ต่อเมื่อต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

    1. ธนาคารได้ใช้เงินตามทางค้าปกติ (คือในระหว่างวัน – เวลาที่เปิดทำการและในธนาคาร)

    2. ธนาคารได้ใช้เงินไปโดยสุจริต หรือประมาทเลินเล่อ (มาตรา 1009) หรือ

    3. ธนาคารได้ใช้เงินไปตามตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอมหรือเป็นลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ (มาตรา 1008)

    ดังนี้ ถ้าธนาคารได้ใช้เงินไปต้องด้วยข้อหนึ่งข้อใดดังกล่าวข้างต้น ให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปโดยไม่ถูกระเบียบ (ธนาคารไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีฯ ของผู้สั่งจ่าย)

    มาตรา 1009การคุ้มครองธนาคาร หากผู้จ่ายคือ ธนาคาร

    1.ธนาคารได้ใช้เงินไปตามทางการค้าปกติ (08.30 15.30 น)

    2.ใช้เงินไปโดยสุจริต และปราศจากความประมาทเลินเล่อ

    3. ธนาคารไม่มีหน้าที่นำสืบ

    Bมาตรา 949 คุ้มครอง บุคคลธรรมดา หากผู้จ่ายคือบุคคลธรรมดา

    เมื่อผู้ใช้เงินได้ใช้เงินไปแล้ว ผู้ใช้เงินจะหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินเพียงใดหรือไม่นั้น มาตรา 949 ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผลของการใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน โดยที่ผู้ใช้เงินเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งและได้ถูกผู้ทรงบังคับไล่เบี้ยก็ได้

    มาตรา 949 หลักเกณฑ์ที่ผู้ใช้เงินจะหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินก็ต่อเมื่อ

    1. ใช้เงินไปในเวลาที่ตั๋วเงินถึงกำหนด และ

    2. ใช้เงินไปโดยไม่ฉ้อฉล (โดยสุจริต) และไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และ

    3. ต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้มีการสลักหลังตั๋วเงินนั้นติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย

    (กรณีที่มีการสลักหลัง) โดยไม่จำต้องพิสูจน์ว่าลายมือชื่อเหล่านั้นเป็นลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอม หรือเป็นลายมือชื่อผู้สลักหลังที่ลงโดยปราศจากอำนาจหรือไม่

    ข้อยกเว้นที่ผู้ใช้เงินจะไม่หลุดพ้นจากความรับผิดเพราะการใช้เงินก็ต่อเมื่อ

    1.ใช้เงินไปก่อนเวลาที่ตั๋วเงินถึงกำหนด

    2.ใช้เงินไปโดยฉ้อฉล (ทุจริต) หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือ

    3.ใช้เงินไปตามตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอมหรือเป็นลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ

    หลักธนาคารไม่มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอม ธนาคารมีหน้าที่ต้องตรวจสอบเฉพาะลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย ประเด็นคำถามการใช้เงินของธนาคารเป็นไปตามทางการค้าปกติหรือไม่สุจริต หรือปราศจากความประมาทเลินเล่อหรือไม่

     

    3.3 การแก้ไขข้อสำคัญในตั๋วเงิน

    มาตรา 1007วรรคแรก วางหลักไว้ว่า มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสำคัญในตั๋วเงิน โดยที่คู่สัญญาทุกคนผู้ต้องรับผิดในตั๋วเงินนั้นมิได้ยินยอมด้วย (แสดงว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ประจักษ์ กล่าวคือ เห็นชัดเจนว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง) ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไปทั้งฉบับ กล่าวคือไม่มีผลบังคับเป็นตั๋วเงินสำหรับคู่สัญญาที่มิได้รู้เห็นยินยอมอีกต่อไป

    เว้นแต่ ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ยังคงใช้ได้กับบุคคล 3 ฝ่ายคือ

    (1) ใช้ได้แก่คู่สัญญาคนที่ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

    (2) ใช้ได้แก่คู่สัญญาคนที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น  และ

    (3) ใช้ได้แก่ผู้สลักหลังในภายหลังที่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น แม้ว่าจะมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขนั้นก็ตาม

    บุคคลทั้ง 3 ฝ่ายดังกล่าว ต้องรับผิดตามเนื้อความที่แก้ไขใหม่

    มาตรา 1007 วรรคสอง วางหลักไว้ว่า มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสำคัญในตั๋วเงิน แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ประจักษ์ (ไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า ต้องพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญหรือวิธีพิเศษทางด้านเทคนิคต่าง ๆ) และตั๋วเงินนั้นได้อยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินมิได้เสียไป และยังคงใช้ได้กับคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้นโดยผู้ทรงจะเอาประโยชน์จากผู้แก้ไขและบรรดาผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขตามเนื้อความที่แก้ไขเสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับเอากับคู่สัญญาก่อนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นตามเนื้อความเดิมก็ได้

    ข้อสังเกต

    (1) ความในวรรคแรก เป็นการแก้ไขประจักษ์ เพราะมีการไม่ยินยอมเกิดขึ้น แสดงว่าได้มีการพบเห็นว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ส่วนการแก้ไขไม่ประจักษ์ตามวรรคสองคู่สัญญาไม่สามารถเห็นร่องรอยการแก้ไขได้ ดังนั้น ความยินยอมของคู่สัญญาจึงไม่มี

    (2) ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จะบังคับไล่เบี้ยตามวรรคสองได้ทั้งหมดไม่เกินจำนวนที่แก้ไขใหม่ เว้นแต่ที่เกินไปนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย

    (3) ในกรณีที่ตั๋วเงินที่ถูกแก้ไขนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ผู้ทรงเป็นผู้แก้ไขจำนวนเงินนั้นเองแล้วฟ้องไล่เบี้ยเสียเอง ดังนี้ ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าตั๋วเงินนั้นเสียไปทั้งฉบับ คู่สัญญาในตั๋วเงินนั้นทุกคนไม่ต้องรับผิดต่อผู้ทรงตั๋วเงินนั้น หรือในกรณีที่ผู้แก้ไขตั๋วเงินนั้นได้คบคิดโอนตั๋วเงินนั้นไปยังผู้ทรงคนอื่นอีกต่อหนึ่งผู้รับโอนนั้นย่อมไม่เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน จึงไม่มีสิทธิบังคับเอาเงินตามตั๋วเงินนั้นทั้งจำนวนตามเนื้อความตามเดิมและตามเนื้อความใหม่

    ตั๋วแลกเงินนั้นเป็นอันเสียไป แต่ยังใช้ได้กับบุคคลเหล่านี้

    1. ผู้ทำการแก้ไข

    2. ผู้รู้เห็นยินยอม

    3. ผู้สลักหลังในภายหลัง

    กรณีแก้ไม่ประจักษ์ ผู้ทรงสุจริตบังคับตามเนื้อความเดิม หรือกรณีแก้ไขจำนวนที่ระบุไว้เป็นตัวเลขให้ตรงกับตัวอักษรไม่เป็นการแก้ไขในสาระสำคัญ 

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    แบบฝึกหัดท้ายบท

     

    แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในสมุดรายงาน และส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป

     

    1. นางสมพรถูกนางสมพิศลักกระดาษเช็คแล้วลงลายมือชื่อปลอมเป็นนาง สมพรออกเช็คสั่งให้ธนาคารใช้เงินแก่นางสมพิศหรือผู้ถือ นางสมพิศส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ บริษัท จักรกล จำกัด ดังนี้ หากธนาคารได้ใช้เงินไปตามเช็คนี้แล้ว เนื่องจากลายมือชื่อปลอมดังกล่าวคล้ายคลึงกับลายมือชื่อของนางสมพรที่ให้เป็นตัวอย่างไว้กับธนาคาร ธนาคารใช้เงินโดยถูกระเบียบหรือไม่

    2. A เป็นผู้ทรงเช็คขีดคร่อม โดยมีนาย 1 และนาย 2 เป็นกรรมการ ต่อมาบริษัท A จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีหลังจากนั้น 1 และ 2 สลักหลังโอนเช็คให้โจทก์โดยประทับตราสำคัญของบริษัท Aหลังจากนั้น ก่อนเช็คถึงกำหนด 5 วัน โจทก์นำเช็คพิพาทไปขึ้นเงินกับทางธนาคาร ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยอ้างว่าบัญชีของผู้สั่งจ่ายปิดไปแล้ว จงวินิจนัยว่า โจทก์จะนำเช็คพิพาทมาฟ้องบริษัท A. 1, 2 ให้รับผิดโดยไม่รอให้ถึงวันที่ถึงกำหนดใช้เงินตามเช็คได้หรือไม่

    3. ก. สั่งจ่ายเช็คให้ ข. จากนั้น ค. เอาปืนมาขู่ ข. ให้สลักหลังโอนเช็คให้แก่คน ข. กลัวจงสลักหลังโอนเช็คให้ ค. ค. โอนเช็คให้ ง. ง. รับโอนมาโดยสุจริต ปัญหาว่า หาก ข. มาทวงเช็คคน ง. จะปฏิเสธไม่ยอมคนให้ไค้หรือไม่

    4. โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้เงินตามเช็ค โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์รับโอนเช็คผู้ถือมาแล้วธนาคารปฏิเสธ จำเลยต่อสู้ว่า เช็คพิพาทมี การแก้ไขจำนวนเงินไม่ประจักษ์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ที่แกไขคือตัวโจทก์ ผู้ทรงเอง ผู้ทรงจะฟ้องผู้สั่งจ่ายตามเนื้อความในตั๋วได้หรือไม่

    5. การที่ผู้สั่งจ่ายทำการแก้ไขข้อความในตั๋วเงินแบบเห็นประจักษ์ ผู้ สั่งจ่ายยังคงด้องรับผิดตามเนื้อความที่ตนเองแก้ไขเปลี่ยนแปลง ปัญหาว่าถ้า ตั๋วเงินฉบับนั้น มีผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลมิได้ยินยอมด้วยในการแก้ไข เปลี่ยนแปลงแล้ว ผู้รับอาวัลจะหลุดพ้นความรับผิดไปหรือไม่เพียงใด

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เอกสารอ้างอิง

     

    สามิตร ศิริมาตย.  (2546).  ปญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดความผิดอันเกี่ยวกับการใชเช็ค. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

    อัมพร ณ ตะกั่วทุง.  (2548).  คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   นิติบรรณการ.

    อุทิศ แสนโกศิก.  (2515).  หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพสรรพาสามิต. อุทิศอนุสรณงานศพ.

    สิทธิพร บุญคุม.  (2538).  สิทธิและความรับผิดของธนาคารอันเกิดจากการใชเงินตามตั๋วเงินปลอม: ศึกษาเฉพาะกรณีเช็ค.  วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

    สุภาวดี เติมเต็มทรัพย.  (2549). ความผิดอันเกิดจากการใชเช็ค: ศึกษามาตรการที่ทําใหเช็คไดรับ ความนาเชื่อถือ.  วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

    ไพฑูรย คงสมบูรณ.  (2527).  คําอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    หลักคำพิพากษาศาลฎีกา

     


  • บรรณานุกรม

    บรรณานุกรม

     

    เดชา ศิริเจริญ. เอกสารประกอบการสอน วิชา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ตั๋วเงิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิยาลัยอัสสัมชัญ. 177 หน้า.

    ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์. คำอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2554

    สหธน รัตนไพจิตร.  (2543).  คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน   ( พิมพครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: วิญูชน.

    สามิตร ศิริมาตย.  (2546).  ปญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดความผิดอันเกี่ยวกับการใชเช็ค. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

    อัมพร ณ ตะกั่วทุง.  (2548).  คําอธิบายกฎหมายแพงและพาณิชยลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   นิติบรรณการ.

    อุทิศ แสนโกศิก.  (2515).  หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพสรรพาสามิต. อุทิศอนุสรณงานศพ.

    เอกูต เอช.  (2477).  คําสอนกฎหมายชั้นปริญญาตรี.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. Packer, Herbert L.  (1968).  The limit of the criminal sanction.  Stanford:   Stanford University Press

    สิทธิพร บุญคุม.  (2538).  สิทธิและความรับผิดของธนาคารอันเกิดจากการใชเงินตามตั๋วเงินปลอม: ศึกษาเฉพาะกรณีเช็ค.  วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

    สุภาวดี เติมเต็มทรัพย.  (2549). ความผิดอันเกิดจากการใชเช็ค: ศึกษามาตรการที่ทําใหเช็คไดรับ ความนาเชื่อถือ.  วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

    เสาวนีย อัศวโรจน.   (2535).  ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับกฎหมายเช็ค.  ม.ป.ท.

     _______.  (2537).  คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

    _______.  (2542).  คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยตั๋วเงิน (พิมพครั้งที่ 3).    กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

    ไพฑูรย คงสมบูรณ.  (2527).  คําอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน.  กรุงเทพฯ:   โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    คำพิพากษาศาลฎีกา