โครงสร้างหัวข้อ

  • 121111003 สัณฐานวิทยา

                            


                                              Pensyarah: Aj. Manavavee Mamah

                                                                                                                                          no hp: 0872930971

                                        

  • แนะนำรายวิชา

    กรอบแนวคิดพื้นฐานสัณฐานวิทยา ความแตกต่างระหว่างหนว่ ยคํากับคํา วิธีสร้างคําแบบต่างๆ คําอปุ สรรค คําปัจจัย คําเดี่ยว คําประสม
    คําซ้ำ คํานาม คํากริยา คําคุณศัพท์ และคํากริยาช่วยชนดิ ต่าง ๆ ในภาษามลายู

  • บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัณฐานวิทยา

    สัณฐานวิทยา (morfologi) เป็นศาสตร์ความรู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสร้างคำ ชนิดของคำและหน้าที่ของคำ ดังนั้นการศึกษาความรู้ทางด้านสัณฐานวิทยานักศึกษาต้องเข้าใจความหมายของสัณฐานวิทยาในภาษาศาสตร์ภาษามลายูและคำศัพท์ที่สำคัญที่ใช้ในสัณฐานวิทยาของภาษาศาสตร์ภาษามลายู   ความเข้าใจความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัณฐานวิทยามีความสำคัญในการเรียนรู้ภาษาศาสตร์ภาษามลายูและสามารถนำไปใช้การดำเนินการเรียนภาษาและภาษาศาสตร์ภาษามลายูได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อนที่จะเข้าใจเกี่ยวกับสัณฐานวิทยาในระดับสูงต่อไปนั้น ควรมีความรู้ความเข้าใจในเบื้องต้นใน 2 ประเด็น คือ ความหมายของคำว่า Morfologi และคำศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับสัณฐานวิทยา


  • บทที่ 2 รูปคำ

    การสร้างคำจากกระบวนการสร้างคำในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เกิดรูปคำใหม่ ๆ ที่แตกต่างกันและมีหน้าที่ทางไวยกรณ์ที่หลากหลาย ดังนั้นการรู้จักรูปคำเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ของภาษาในระดับที่สูงขึ้น ในบทนี้จะอธิบายการสร้างคำและหน้าที่ของรูปคำ ภาษามลายูมาตรฐานรูปคำนั้นมีความสำคัญทางด้านไวยากรณ์ในการสร้างประโยค รูปคำในภาษามลายูนั้นจะมีหลายรูปแบบ ซึ่งเกิดมาจากกระบวนการสร้างคำต่าง ๆ ซึ่งจะมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนตามภาษาศาสตร์ภาษามลายู ประเด็นเนื้อหาสำคัญที่จะกล่าวถึงในบทนี้มี 2 ประเด็นหลักคือ คำนิยามรูปคำ และรูปคำต่าง ๆ ในภาษามลายู


  • บทที่ 3 กระบวนการสร้างคำ

    กระบวนการสร้างคำในภาษามลายูเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคำใหม่ ๆ ที่มีความหมายที่หลากหลายและจำเป็นสำหรับผู้เรียนภาษาที่ต้องเข้าใจว่าภาษามลายูนั้นคำแต่ละคำจะผ่านกระบวนการสร้างคำ ในภาษามลายูกระบวนการสร้างคำนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ในบทนี้จะเน้นกระบวนการสร้างที่เป็นกระบวนการที่สำคัญหรือกระบวนการหลักในการสร้างคำใหม่ในภาษามลายู คือ กระบวนการประสานคำ กระบวนการประสมคำ และกระบวนการซ้ำคำ


  • บทที่ 4 กลุ่มคำ

    ภาษามลายูมาตราฐานที่เราใช้พูดและเขียนเพื่อการสื่อสารนั้นประกอบด้วนหน่วยคำที่มีขนาดต่างๆ โดยเริ่มมาจากขนาดที่เล็กที่สุด คือ เสียง พยางค์คำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร โดยทั่วไปการสนทนาและการเขียนของภาษามลายูมาตราฐาน ผู้ใช้ภาษามลายูต้องเข้าใจและรู้หน้าที่ของกลุ่มคำที่นำมาใช้ในการพูดและเขียน เผื่อการสื่อสารนั้นจะสัมฤทธิ์ผลดังที่ต้องการ ดังนั้นการเรียนรู้กลุ่มคำและหน้าที่ของคำในภาษามลายูมีความสำคัญต่อผู้เรียนภาษาเป็นอยย่างมาก

              สาระสำคัญที่กล่าวถึงในบทนี้มุ่งเน้นในเรื่องของกลุ่มคำในภาษามลายู กลุ่มคำในภาษามลายูนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคำ คือ คำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ และคำบอกหน้าที่ ซึ่งกลุ่มคำแต่ละกลุ่มมีบทบาทที่แตกต่างกัน


  • บทที่ 5 กระบวนการเติมหน่วยคำ : หน่วยคำเติมหน้า

    กระบวนการสร้างคำในภาษามลายูมีหลายรูปแบบ กระบวนการเติมหน่วยคำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญซึ่งเป็นกระบวนการสร้างคำประสานใหม่ที่มีความหมายและหน้าที่แตกต่างกันทางด้านไวยกรณ์ในภาษามลายู การเติมหน่วยคำเติมนั้นเป็นการประกอบหน่วยคำไม่อิสระกับหน่วยคำอื่นแล้วทำให้เกิดเป็นคำประสาน โดยทั่วไปในภาษามลายูนั้นหน่วยเติมคำสามารถจำแนกตามตำแหน่งที่ปรากฏเป็น หน่วยคำเติมหน้า หน่วยคำเติมกลาง หน่วยคำเติมหน้า-หลัง และหน่วยคำเติมหลัง แต่ประเด็นที่สำคัญที่จะกล่าวในบทนี้ คือ คำนิยามกระบวนการเติมหน่วย คำหน่วยคำเติมหน้าคำนาม หน่วยคำเติมหน้าคำนามดั้งเดิม หน่วยคำเติมหน้าคำนามยืมภาษาสันสฤต และหน่วยคำเติมหน้าคำนามยืมภาษายุโรป

  • บทที่ 6 หน่วยคำเติมหน้าคำกริยาและคำคุณศัพท์

    หน่วยคำเติมหน้าคำกริยาและคำคุณศัพท์เป็นหัวข้อต่อเนื่องจากบทที่ 5 ซึ่งหัวข้อนี้จะเป็นหัวข้อที่อธิบายอยู่ภายใต้หัวข้อหลักของกระบวนการเติมหน่วยคำ โดยการเติมหน่วยคำเติมหน้า เพื่อให้เกิดคำกริยาและคำคุณศัพท์ที่เป็นคำประสานที่พบในภาษามลายู ประเด็นเนื้อหาที่จะกล่าวหรืออธิบายในบทนี้ คือ 1. หน่วยคำเติมหน้าคำกริยา ได้แก่ หน่วยคำเติมหน้า meN-    หน่วยคำเติมหน้า beR- หน่วยคำเติมหน้า teR- หน่วยคำเติมหน้า di- หน่วยคำเติมหน้า mempeR-และหน่วยคำเติมหน้า dipeR- 2. หน่วยคำเติมหน้าคำคุณศัพท์ ได้แก่ หน่วยคำเติมหน้า teR-      และหน่วยคำเติมหน้า se-  

  • บทที่ 7 กระบวนการเติมหน่วยคำ : หน่วยคำเติมหน้าและหลัง

    หน่วยคำเติมหน้าและหลัง เป็นกระบวนการเติมหน่วยคำที่สำคัญชนิดหนึ่งในการสร้างคำประสานใหม่ ที่เป็นคำกริยาหรือกริยาวลี คำนามหรือนามวลีและคำคุณศัพท์หรือคุณศัพท์ที่พบในภาษามลายู การเติมหน่วยคำเติมหน้าและหลังในคำรากศัพท์นั้นทำให้คำดังกล่าวเป็นคำประสาน ซึ่งมีหน้าที่ทางไวยกรณ์ที่แตกต่างกัน ประเด็นเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวและอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเติมหน่วยคำ คือหน่วยคำเติมหน้าและหลัง และหน่วยคำเติมหน้าและหลังคำกริยา ซึ่งหน่วยคำเติมหน้าและหลังของคำกริยาจะมีหน่วยคำเติมย่อยที่มีหน้าที่ทางไวยกรณ์ต่างกัน

  • บทที่ 8 หน่วยคำเติมหน้าและหลังคำนามและคำคุณศัพท์

    หน่วยคำเติมหน้าและหลังคำนามและคำคุณศัพท์ เป็นกระบวนการแขนงย่อยจากกระบวนการสร้างคำ โดยการเติมหน่วยหน้าและหลังที่คำรากศัพท์เพื่อให้ได้คำประสานใหม่ในภาษามลายู ซึ่งได้กล่าวและอธิบายและขั้นต้นในบทที่ 7 ดังนั้นประเด็นเนื้อหาที่จะกล่าวและอธิบายในบทนี้จะเกี่ยวข้องกับหน่วยคำเติมหน้าและหลังคำนามและคำคุณศัพท์ และหน่วยคำเติมหน้าและหลังสำหรับคำนามและคำคุณศัพท์ที่เป็นหน่วยคำย่อย

  • บทที่ 9 กระบวนการเติมหน่วยคำ : หน่วยคำเติมหลังและหน่วยคำเติมกลาง

    หน่วยคำเติมหลัง เป็นหน่วยคำที่ใช้ในกระบวนการสร้างคำประสานในภาษามลายู โดยภาพรวมแล้วหน่วยคำเติมหลังนี้ จะสร้างคำประสานได้ 2 ชนิด คือคำนามและคำกริยา ส่วนหน่วยคำเติมกลางก็เป็นหน่วยคำเติมที่ใช้ในการสร้างคำประสานเช่นกัน ซึ่งจะพบคำบางคำและเป็นส่วนน้อยที่พบในภาษามลายูมาตรฐาน ดังนั้นในบทนี้ประเด็นเนื้อหาที่จะกล่าวและอธิบายได้แก่ 1. หน่วยคำเติมหลัง และหน่วยย่อยของหน่วยคำเติมหลัง 2. หน่วยคำเติมกลาง หน่วยย่อยของหน่วยคำเติมหลัง ที่พบในภาษามลายู


  • บทที่ 10 กระบวนการประสมคำ

    กระบวนการประสมคำเป็นกระบวนการการสร้างคำประสานที่ก่อให้เกิดคำใหม่ ในภาษามลายู การประสมคำเป็นคำที่เกิดจากการนำหน่วยคำอิสระที่มีความแตกต่างกันอย่างน้อย 2 หน่วยมารวมกัน เกิดเป็นคำใหม่คำหนึ่งมีความหมายใหม่ ประเด็นเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวและอธิบายหัวข้อทีเกี่ยวข้องกับคำประสม ได่แก่ คำนิยามกระบวนการประสมคำ รูปแบบคำประสม กลุ่มคำประสม การสะกดคำประสม การซ้ำคำประสม และการเติมหน่วยคำเติมคำประสม

  • บทที่ 11 กระบวนการซ้อนคำ

    กระบวนการซ้อนคำเป็นกระบวนหนึ่งที่มีบทบาทในหลักการสร้างคำ เพื่อทำให้เกิดคำใหม่และมีความหมายที่แตกต่างจากคำเดิม การซ้อนคำเป็นคำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยแต่ละคำ มีความสัมพันธ์ในด้านความหมายอาจเป็นความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน หรืตรงกันข้ามก็ได้ ในภาษามลายูการซ้อนคำนั้นสามารถที่จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 3.    การซ้อนเต็มคำ การซ้อนคำบางส่วน และการซ้อนคำเป็นจังหวะ ซึ่งจะเป็นหัวข้อหลักในการอธิบายและศึกษาในบทนี้