Topic outline

  • General

  • เทคโนโลยีพลังงานทดแทนสมัยใหม่

  • พลังงานแสงอาทิตย์สมัยใหม่

  • พลังงานลมสมัยใหม่

    • File icon

          ลมเป็นแหล่งพลังงานสะอาดชนิดหนึ่งที่นานาประเทศมุ่งพัฒนาให้เกิดประโยชน์ มากขึ้น เนื่องจากลมมีศักยภาพในการผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี  การนำลมมาใช้ประโยชน์จะต้องอาศัยเครื่องจักรกลสำคัญ คือ “กังหันลม” ในการเปลี่ยน พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลม เป็นพลังงานกลก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญพลังงานลม ใช้ไม่มีวันหมด และกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลมยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อ สภาพแวดล้อม

      แต่การใช้พลังงานลมเพื่อการผลิตไฟฟ้าความเร็วลมจะต้องสม่ำเสมอ หรือกำลังลม เฉลี่ยทั้งปีควรไม่น้อยกว่าระดับ 6.4 – 7.0 เมตรต่อวินาที ที่ความสูง 50 เมตร ถึงจะสามารถ ผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมได้ดี ภูมิประเทศที่มีความเร็วลมเหมาะสมได้แก่บริเวณฝั่งทะเลแถบยุโรป เหนือ หรือช่องเขาในอเมริกา

  • พลังงานน้ำสมัยใหม่

    • File icon

           พลังงานน้ำ คือ พลังหรือกำลังที่เกิดจากการไหลของน้ำ ซึ่งเป็นพลังที่มีอนุภาพมาก หากไม่สามารถควบคุมได้ พลังน้ำนั้นก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างกว้างขวาง ดังตัวอย่างเช่น การเกิดอุทกภัยในบริเวณที่ลาดเชิงเขา หรือบริเวณที่มีความลาดชันสูง และการเกิดสึนามิ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม หากสามารถควบคุมพลังน้ำได้ตามแนวทางที่เหมาะสม พลังน้ำอันมหาศาลนั้น ก็สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติได้ พลังน้ำได้ถูกใช้ประโยชน์มาแล้วหลายร้อยปี กังหันน้ำสำหรับยกน้ำขึ้นสู่ที่สูงเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและการชลประทาน เพื่อหมุนเครื่องจักรในโรงงานสีข้าว โรงงานทอผ้า โรงงานเลื่อยไม้ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบัน นิยมใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเรียกว่า ไฟฟ้าพลังน้ำ กังหันน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนพลังงานจลน์ที่มีอยู่ในน้ำให้เป็นพลังงานกลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และในการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ต่างๆ ของกังหันน้ำนั้นมีความยุ่งยากมากขึ้น เนื่องจากตัวแปรที่ไม่รู้ค่ามีมาก และยากสำหรับการคำนวณด้วยมือ และต้องใช้เวลามากในการคำนวณ เพื่อลดเวลาในการทำงานวิจัยลง จึงได้นำโปรแกรมคำนวณทางด้านพลศาสตร์ CFdesign V9 มาช่วยในการคำนวณหาค่าต่างๆที่เราต้องการ เพื่อให้สามารถออกแบบกังหันได้ถูกต้องต่อการใช้งานจริงมากที่สุด

  • พลังงานนิวเคลียร์สมัยใหม่

    • File icon

         พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุบางธาตุ พลังงานนิวเคลียร์สามารถปลดปล่อยรังสี และอนุภาคต่างๆ เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา อนุภาคโปรตอน และถ้ามีการปลดปล่อยอนุภาคอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียสด้วย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของอะตอมซึ่งมีชื่อภาษาไทยว่า ปรมาณู จึงเรียกพลังงานชนิดนี้ว่า พลังงานปรมาณู พลังงานนิวเคลียร์มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ในดวงอาทิตย์ ในพื้นดิน และที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์    

            พลังงานนิวเคลียร์นอกจากสามารถปลดปล่อยออกมาในรูปของรังสี และอนุภาค ซึ่งบางครั้งเราเรียกรวมๆ กันว่า รังสี ตามที่กล่าวมาแล้ว ยังสามารถปลดปล่อยพลังงานชนิดอื่นออกมาด้วย เช่น พลังงานความร้อน พลังงานแสง วิธีการปลดปล่อยพลังงานมี 3 ลักษณะ คือ พลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาในลักษณะเฉียบพลัน พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งควบคุมได้ และพลังงานนิวเคลียร์จากสารกัมมันตรังสี เราจึงเลือกใช้ลักษณะการปลดปล่อยพลังงานให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การปลดปล่อยแบบเฉียบพลัน ใช้ในการขุดหลุมลึกขนาดใหญ่ การขุดทำโพรงใต้ดิน สำหรับการกระตุ้นแหล่งน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ พลังงานนิวเคลียร์ที่ควบคุมได้ เช่น เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู หรือเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่ใช้ผลิตสารกัมมันตรังสี และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


  • พลังงานชีวมวลสมัยใหม่

    • File icon

             พลังงานชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ (Biomass)” สารอินทรีย์ทุกรูปแบบที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานได้ โดยไม่นับการกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลไปแล้ว โดยมากมาจาก กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร หรือ กากจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย ใบและยอดอ้อย เศษไม้ เส้นใยและกะลาปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า ขยะมูลฝอย น้ำเสียจากโรงงาน หรือแม้กระทั่งมูลสัตว์ต่างๆ

             โรงไฟฟ้าชีวมวล คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุต่างๆที่เป็นชีวมวล เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า หรือ ผลิตไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นวัสดุชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน เช่น โรงน้ำตาลใช้กากอ้อยที่ได้จากการหีบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าโรงสีขนาดใหญ่ที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าการใช้ก๊าซชีวภาพ(Biogas) จากการหมักน้ำเสีย(ที่ได้มาจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมหรือมูลสัตว์(จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์) มาผลิตกระแสไฟฟ้า ฯลฯ

  • เทคโนโลยีการหมักเอทานอลสมัยใหม่

    • File icon

      เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการ
      หมักพืชเพื่อเปลี่ยนแปลงจากพืชเป็นน้ําตาลแล้วเปลี่ยนจาก
      น้ําตาลเป็นแอลกอฮอล์เมื่อทําให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
      95% โดยการกลั่นจะเรียกว่า เอทานอล (Ethanol)
      เอทานอลที่นําไปผสมในน้ํามันเพื่อใช้เติมเครื่องยนต์เป็น
      แอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์ตั้งแต 99.5% โดยปริมาตร
      ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได

  • พลังงานไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิง

    • File icon

        พลังงานไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และส่งผลให้มีการลด CO2 ได้เป็นอย่างดี สามารถตอบโจทย์เป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงาน ฉบับใหม่  โดย Fuel Cell เป็นการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน และระบบที่ทำปฏิกิริยาระหว่าง Hydrogen กับ Oxygen ในอากาศ กำเนิดไฟฟ้าและความร้อน การทำปฏิกิริยาเคมีไฮโดรเจนกับออกซิเจน ทำให้เกิดน้ำร้อนมีประสิทธิภาพเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ไปขับเคลื่อนมอเตอร์ และยังทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ความร้อนในการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งยังทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตอีกด้วย

    • File icon
  • On-Grid Off-Grid Hybrid

    • File icon

      ระบบออนกริด (On Grid)

       คือ ระบบ Solar Cell ที่ขนานกับการไฟฟ้า ไม่ว่าจะ MEA หรือ PEA ตามเขตพื้นที่ ล้วนต้องมีการขออนุญาตเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้าทั้งสิ้น ข้อดีคือ ราคาระบบฯ ไม่สูงเท่า ระบบออฟกริด และสามารถผลิตไฟฟ้าในตอนกลางวันในช่วงที่มีแสง ทำให้ลดค่าไฟช่วง Peak ได้จำนวนมาก ส่วนช่วงเวลาที่หมดแสงแล้ว สามารถดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ได้ปกติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงหรือในช่วง Off-peak โดยส่วนใหญ่ค่าไฟฟ้าจะถูกกว่าตอนกลางวัน หรือ ช่วง Peak นั่นเอง

      ระบบออฟกริด (Off Grid)

       คือ ระบบ solar cell ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ส่วนไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และนำมาใช้งานเมื่อเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปริมาณความจุของแบตเตอรี่ (จำนวนลูกแบตเตอรี่) จะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง เป็นระบบที่มีราคาสูงกว่า ระบบออนกริด เนื่องจากแบตเตอรี่มีราคาแพง และคาดการเวลาเสื่อมสภาพได้ยาก เหมาะสำหรับติดตั้งในจุดที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

      ระบบไฮบริดส์ ( Hybrid )

       คือ ระบบแบบผสม ที่นำเอา ระบบออนกริด และ ออฟกริด มารวมกันโดยจะมีระบบแบตเตอรี่ มาสำรองพลังงานใช้ในเวลาที่ไม่มีแสง สำหรับกรณีที่เมื่อมีแสงอาทิตย์แล้วผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่าที่นำมาใช้งาน ระบบก็นำกระแสไฟฟ้านั้นชาร์จเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำมาใช้งานได้ต่อไป ซึ่งสำหรับระบบไฮบริดส์ ก็ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าเช่นเดียวกัน



  • การจัดการพลังงานทางเศรษฐศาสตร์อย่างยั่งยืน

    • File icon

            การจัดการพลังงาน คือ การทำให้มั่นใจว่าได้มีการจัดการทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร นิยมใช้คำว่า “ การอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม”การอนุรักษ์พลังงาน คือ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

           การอนุรักษ์พลังงานให้เกิดผลอย่างจริงจังและมีผลอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องวางระบบในการดำเนินงานที่เหมาะสม และปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องด้วยความตั้งใจ เข้าใจ สนใจ และร่วมใจกันทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงไป พร้อมทั้งกำหนดแผนงาน เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ตลอดไป ผลประโยชน์ของการจัดการด้านพลังงานแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ทางอ้อมหรือผลข้างเคียง โดยกลยุทธ์ในการบริหารพลังงานในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีแนวทางดังนี้คือ ต้องมีนโยบายที่แน่นอน ต้องมีคนหรือผู้รับผิดชอบ จะต้องกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ การติดตามผลการดำเนินงาน ต้องมีการเตรียมการ เก็บข้อมูล ประเมินผล การทำงานเก็บข้อมูลรายละเอียดของผลที่ได้รับจริง ๆ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้


  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนปัจจุบัน

  • เลือกหัวข้อเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสมัยใหม่เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่สนใจ