การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน 2/2566 (ดร.สะอุดี มะประสิทธิ์)
สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป.เอก)

วิชา การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน หน่วยกิต 3(3-0-6) เป็นวิชาในโครงสร้างของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งเป็นวิชาที่สอน แนวคิดเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ การจัดการน้ำสะอาด ภาวะมลพิษทางน้ำ และทางอากาศ การกำจัดน้ำเสีย มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และกากของเสียอันตราย การสุขาภิบาลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย สถานพักผ่อนหย่อนใจ การควบคุมสัตว์แทะทางด้านสาธารณสุข การป้องกันและควบคุมเสียงและรังสีอันตราย การประยุกต์แนวคิดในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน การบริหารงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัย การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขั้นสูง 1/2566 (ดร.ภานุ คะนอง)
สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป.เอก)

การวิเคราะห์โครงสร้างและคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและทีมนุษย์สร้างขึและทรัพยากรธรรมชาติทีสำคัญในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และ การรับรู้จากระยะไกลความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อม ผลกระทบและภัยพิบัติด้านต่างๆจากสภาพแวดล้อมต่อมนุษย์และพฤติกรรมของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงความสมดุลของระบบนิเวศสมรรถนะของสภาพแวดล้อมในการรองรับการพัฒนา การประเมินผลกระทบของโครงการทีมีต่อสภาพแวดล้อมหลักการและแนวคิดในการจัดการสภาพแวดล้อม กรณีศึกษาการวางแผนจัดการสภาพแวดล?อมในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วโดยครอบคลุมทังด้านกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์และคุณภาพชีวิต การประเมินวัฏจักรชีวิตการประเมินผลกระทบทางสังคมและผลกระทบทางสุขภาพ การจัดการปาฝนเขตร้อน เช่น ปาฮาลา-บาลาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามแนวพระราชดำริอย่างยังยืน


การบำบัดน้ำเสียและเทคโนโลยีเมมเบรน 1/2565 (อ.ดร.นฤมล ทองมาก และ อ.ดร.รอมสัน หมาดมานัง)
สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป.เอก)

แหล่งกำเนิดน้ำเสีย ลักษณะของน้ำเสีย กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ-เคมี กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ การบำบัดและจัดการกากตะกอน ความหมายและหลักการทำงานของเทคโนโลยี
เมมเบรน ประเภทและรูปแบบเมมเบรน ถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน การเดินระบบ การควบคุมระบบ ปรากฏการณ์ฟาวลิ่ง การฟื้นสภาพ การประยุกต์สำหรับการบำบัดน้ำเสียชุมชนและอุตสาหกรรม


นิเวศวิทยาการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ปีการศึกษา 1/2564
สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป.เอก)

4106322นิเวศวิทยาการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง
Coastal Aquaculture Ecology
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
ภาควิชาหมู่วิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
หน่วยกิต3 (2-2-5)









คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาองค์ประกอบของทรัพยากรชายฝั่ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่ง องค์ประกอบและหน้าที่ของระบบนิเวศชายฝั่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบนิเวศ สถานการณ์เพาะเลี้ยงชายฝั่ง คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง โรคสัตว์น้ำพื้นฐาน ปัญหาการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงชายฝั่งกับปัญหามลพิษทางน้ำ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศชายฝั่ง แนวทางการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่ง

ชุมชนกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม 1/2564 (อ.ดร.รัชดา บุญแก้ว)
สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป.เอก)

ความเชื่อมโยงของชุมชนกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น กระบวนการค้นหาทางเลือก และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การให้ข้อมูลข่าวสาร การปรึกษาหารือ การเจรจาต่อรอง การวิเคราะห์และการศึกษาชุมชน ทักษะการใช้เครื่องมือในการศึกษาและเก็บข้อมูล ตลอดจนการสื่อสารเพื่อนำเสนอข้อมูลต่อชุมชน การวางแผนการดำเนินงานกับชุมชนตามหลักการและแนวทางที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน รวมถึงวัฒนธรรมชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4306123 : การจัดการมูลฝอย Solid Waste Management
สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป.เอก)

รู้และเข้าใจภาพรวมของการจัดการขยะมูลฝอย รู้แหล่งกำเนิด ชนิด องค์ประกอบ และคุณสมบัติของขยะมูลฝอย เข้าใจหลักการทางวิศวกรรมพื้นฐานในการจัดการขยะมูลฝอย การทิ้งขยะมูลฝอย การจัดการมูลฝอย ณ แหล่งเกิด การเก็บรวมรวบขยะมูลฝอยการขนถ่ายและการขนส่งขยะมูลฝอย การแปรรูปขยะมูลฝอยและการกำจัดขยะมูลฝอย สามารถนำไปเป็นแนวคิดด้านการจัดการขยะมูลฝอยในระดับชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนมีทัศนะคติที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและประเทศ