الخطوط العريضة للقسم

    • บทที่ 4 กฎการเคลื่อนที่ และพลศาสตร์ของอนุภาค

         - กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

         - การประยุกต์ใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน


                สำหรับบทนี้จะกล่าวถึงเหตุที่ทาให้อนุภาคเคลื่อนที่ ที่เรียกว่า พลศาสตร์ของอนุภาค (Dynamics of Particles) ซึ่งหมายถึงการศึกษาการเคลื่อนที่ของอนุภาค และความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่กับแรงที่มากระทบ

               การพิจารณาการเคลื่อนที่ของอนุภาคจึงต้องสนใจไปที่อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็ว ซึ่งก็คือความเร่งนั่นเอง เนื่องจากวัตถุมีอันตรกิริยาระหว่างกัน และสมบัติอย่างหนึ่งของวัตถุที่สาคัญตามกฎความโน้มถ่วงสากล (The Universal Law of Gravity) คือมวล (Mass)

      กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

      ข้อที่ 1 วัตถุทุกชนิดจะอยู่ในสภาวะนิ่ง หรือเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ตลอดไป ถ้าไม่มีแรงจากภายนอกมากระทำ

      ข้อที่ 2 อัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมของวัตถุ เป็นปฏิภาคโดยตรงกับแรงลัพธ์ของแรง ทั้งหลายจากภายนอกที่มากระทา และอยู่ในทิศทางกระทาของแรงนั้น

      ข้อที่ 3 ทุกๆกิริยาที่มากระทา จะมีปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากัน และอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ กฎข้อนี้ใช้ได้กับอันตรกิริยาระหว่างวัตถุ 2 ก้อน เป็นแรงซึ่งวัตถุทั้งสองกระทาต่อกันมีขนาดเท่ากันและทิศตรงกันข้ามเสมอ