โครงสร้างหัวข้อ

  • ยินดีต้อนรับสู่รายวิชา 2132321 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม

    งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม (Volunteerism and Social Development)

                ผู้สอน : อาจารย์ ดร.ยุทธนา  กาเด็ม

  • 1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตอาสา

    การที่บุคคลมีจิตอาสา รู้จักการให้เราก็จะรับด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะมักเกิดสิ่งสําคัญกับตัวเรา คือ ความสุขที่มีมากยิ่งกว่าการให้ด้วยเต็มไปด้วยความปรารถนาดีความสุข และความภาคภูมิใจ รวมทั้งยังเป็นการทําให้ชีวิตมีพลังในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม

  • 2.ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย

    ส่วนที่ 1 ได้แก่ ดอกและผลไม้บนต้นที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำดีละเว้นชั่วและพฤติกรรมการทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อส่วนรวม

    ส่วนที่ 2 ได้แก่ ส่วนลำต้นของต้นไม้ แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็งซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ด้าน คือ 1.เหตุผลเชิงจริยธรรม 2.มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง 3. ความเชื่ออำนาจในตน 4.แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ 5.ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยม

    ส่วนที่ 3 ได้แก่ รากของต้นไม้ ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 3 ด้าน คือ สติปัญญา ประสบการณ์ทางสังคม และสุขภาพจิต



  • 3.กรณีศึกษาองค์กรจิตอาสาของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    สังคมจะน่าอยู่ ถ้าหากคนบนโลกใบนี้ “ให้” รู้จักมากกว่า "รับ“ มีคนจำนวนมากที่พร้อมจะ เป็น "ผู้ให้“ และรังสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อสร้างความสุข สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม


  • 3.โครงการพัฒนาเครือข่ายแกนนำเยาวชนจิตอาสาในสถานศึกษา

    "จิตอาสา" คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ ให้กับส่วนรวม...อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัว เป็นตนของตนเองลงได้บ้าง "อาสาสมัคร" เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มี จิตอาสา ซึ่งมีความหมายอย่างมาก กับสังคมส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือ สังคมให้เกิด ประโยชน์และ ความสุขมากขึ้น "




  • 5.การพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นผู้มีจิตอาสา

    ความเป็นผู้มีจิตอาสาหรือมีจิตสาธารณะจึงเป็นภาวะอย่างหนึ่งที่ต้องมีการพัฒนา การเรียนรู้ การฝึกฝนด้วยหลักการ กระบวนการ อย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำาแล้วซ้ำอีกจนกว่าจะบรรลุภาวะที่เรียกว่า “ความเป็นผู้มีจิตอาสาอย่างแท้จริง”


  • 6.กระบวนการสร้างจิตอาสา

    กระบวนการในการสร้างเสริมจิตอาสาให้กับคนในชุมชน มีแนวทางที่หลากหลายเพื่อให้คนในชุมชนเกิดความรู้และความเข้าใจที่สามารถนาออกมาใช้ได้ในลักษณะการมีจิตอาสาต่อตนเอง และต่อผู้อื่นในชุมชน ซึ่งในการเสริมสร้างให้กับผู้เรียนรู้ก็มีหลากหลายวิธีการที่จะช่วยให้คนในชุมชนได้รับรู้และเรียนรู้ได้อย่างถูกธรรมนองคลองธรรม เพื่อไปสู่การมีพฤติกรรมในการช่วยเหลือและเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชนต่อไป

  • เอกสารดาวน์โหลด : แบบฟอร์มการประเมินการนำเสนอโครงการ/กิจกรรม

  • วิดีโอการสอนสด รายวิชา 2132321 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม (Volunteerism and Social Development)

  • แบบทดสอบรายวิชา 2132321 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม

    • แบบทดสอบก่อนเรียน
    • แบบทดสอบหลังเรียน

  • คะแนนเก็บรายวิชา 2132321 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม (Volunteerism and Social Development)

  • ลิงค์วิดีโอบันทึกการสอน รายวิชางานอาสากับการพัฒนาสังคม

  • ตัวอย่างสื่อ ชุดที่ 1 สรุปการสอนและสรุปบทเรียน รายวิชา 2132321 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม (Volunteerism and Social Development)

     Why is it GOOD? ep.6 อาสาสมัคร/จิตอาสา 


  • ตัวอย่างสื่อ ชุดที่ 2 สรุปการสอนและสรุปบทเรียน รายวิชา 2132321 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม (Volunteerism and Social Development)

    คุณภูเกษม บุญสรรพการ อาสาสมัครกู้ชีพและกู้ภัย TP.06 | Urban Creature