โครงสร้างหัวข้อ

  • ปฏิบัติการหลักชีววิทยา

     

    อาจารย์ผู้สอน ดร.วารุณี หะยีมะสาและ

    คำอธิบายรายวิชา

    กิจกรรมการเรียนการสอน

    1. กำหนดกติกาการเรียน

    2. ชี้แจงรายละเอียดรายวิชากิจกรรมการเรียน เกณฑ์การวัดและประเมินผล แนะนำเอกสาร ตำรา

    3. แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียน

    4. ปฏิบัติการทดลอง สรุปและอภิปรายร่วมกัน

    สื่อการเรียนการสอน

    1. ปฏิทินการเรียน

    2. คู่มือปฏิบัติการทดลอง

    3. วัสดุอุปกรณ์ในการทดลอง

    4. e-learning

    5. google meet/Microsoft team

    เกณฑ์การวัดและประเมินผล
    1. การเข้าเรียน

    2. การส่งงาน

    3. pretest และ post test

    4. ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค

    5. ประเมินผลงานจากรายงานปฏิบัติการทดลองและการนำเสนอผลการทดลอง

  • บทปฏิบัติการที่ 1 กล้องจุลทรรศน์

    กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการศึกษาทางชีววิทยา เพราะกล้อง จุลทรรศน์ช่วยให้เห็นและทราบรายละเอียดต่างๆ ของวัตถุตัวอย่างที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ได้ ภาพที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (light compound microscope) ที่ใช้ใน ห้องปฏิบัติการสามารถขยายภาพได้ 10 ถึง 1000 เท่า 

  • บทปฏิบัติการที่ 2 โครงสร้างของเซลล์

    เซลล์ เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต  ยกเว้นสิ่งมีชีวิตบางชนิด ได้แก่ ไวรัสและไว รอยด์ เซลล์จึงเป็นหน่วยหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่หรือมีกระบวนการต่างๆ ในการดำรงชีวิต เซลล์ แต่ละเซลล์ที่เกิดมาล้วนมาจากเซลล์ที่เคยมีอยู่ก่อน แล้วทำการแบ่งเซลล์ออกมา องค์ประกอบและ พฤติกรรมของเซลล์สามารถศึกษาได้ด้วยเทคนิคและกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ 

  • บทปฏิบัติการที่ 3 การแบ่งเซลล์

    จากคำกล่าวของ รูดอล์ฟ วิรชอพ (Rudolf Virchow) ที่ว่า “เซลล์ทุกเซลล์มีจุดกำเนิดจาก เซลล์” ทำให้มีการศึกษาขบวนการเพิ่มเซลล์ทั้งที่เป็นเซลล์เดียว (Unicellular) และหลายเซลล์ (Multicellular) จากความจริงที่ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์ตั้งแต่เซลล์เดียวขึ้นไป เซลล์ เหล่านี้ควรจะมีการเจริญเติบโตมาจากเซลล์เดียว ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง การเจริญเติบโตของเซลล์จึงมี ความสำคัญต่อการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิต 

  • บทปฏิบัติการที่ 4 เนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต

     เนื้อเยื่อสัตว์ (เนื้อเยื่อเลือด)


  • บทปฏิบัติการที่ 5 เมแทบอลิซึม

    สิ่งมีชีวิตทั้งมวลดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการนำวัตถุบางอย่างจากสิ่งแวดล้อมเข้าไปใช้ในร่างกาย และขับถ่ายวัตถุอีกพวกหนึ่งออกมา เพราะว่าสิ่งที่นำเข้าแตกต่างจากสิ่งที่ถูกขับถ่าย แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงของพลังงานเกิดขึ้นด้วย ซึ่งสังเกตได้จากการที่มีความร้อนระบายออกมา กิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันและดำเนินอยู่ตลอดชีวิต ทั้งหมดคือเรื่องราวของเมแทบอลิซึม (metabolism) 

  • บทปฏิบัติการที่ 6 กระบวนการต่าง ๆ ในพืช

    1.การแยกรงควัตถุต่าง ๆ จากใบพืช
    2.คลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช

  • บทปฏิบัติการที่ 7 ระบบหมุนเวียนเลือดในสัตว์มีกระดูกสันหลัง

    เซลล์สัตว์ส่วนใหญ่ส่วนมากต้องการสารอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงโดยไม่ขาดสาย และต้องกำจัดผลผลิตที่เป็นของเสีย (waste product) ติดต่อกันตลอดไป สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำเช่น ในทะเล น้ำทะเลจะนำสารอาหารและออกซิเจนมาให้ และพาเอาคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียอื่น ๆ  สัตว์ชั้นสูงที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก เซลล์ทุกเซลล์ของมันก็ล้อมรอบด้วยของไหล ที่เรียกว่าของไหลนอกเซลล์ (ECF) ซึ่งคล้ายกับทะเลขนาดเล็กที่กักขังเซลล์อยู่ เซลล์ได้รับอาหารและออกซิเจนจากของไหลนี้ และปล่อยของเสียออกไปในของไหล ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก สารเหล่านี้เคลื่อนที่เข้าไปถึงทุกเซลล์ได้โดยการแพร่ธรรมดา แต่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง การแพร่ไม่สามารถส่งเสบียงวัตถุดิบไปยังเซลล์ทุกเซลล์ได้เพียงพอ จึงต้องการกลไกอื่น ๆ เพื่อลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปสู่ของไหลนอกเซลล์ และลำเลียงของเสียต่าง ๆ ออกไปจากของไหล โดยอาศัยโครงสร้างพิเศษ ในสัตว์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ โครงสร้างเหล่านี้จะประกอบกันเป็นระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เลือด กลไกการสูบเลือด ซึ่งโดยปกติคือ หัวใจ และระบบหลอดเลือด

  • บทปฏิบัติการที่ 9การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

    พันธุประวัติ

  • บทปฏิบัติการที่ 11 ระบบนิเวศ

    ที่ใดก็ตามที่ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป มีความชื้นและสารเคมีพอเหมาะเราก็จะพบพืช สัตว์และจุลินทรีย์อยู่ที่นั่น ผิวโลกของเราส่วนมาก ไม่ว่าบนบก ในน้ำหรือในอากาศ ล้วนเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต แต่มีบางแห่งที่พบสิ่งมีชีวิตอยู่น้อย เช่น ขั้วโลกใต้ที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งอยู่เป็นส่วนใหญ่ หรือในทะเลทราย กล่าวได้ว่าสภาพของขั้วโลกและทะเลทรายไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสิ่งมีชีวิต จะพบสิ่งมีชีวิตจำนวนมากทั้งชนิดและจำนวนในทะเลตื้นๆ และอุ่น และในป่าร้อนชื้น ที่ก้นมหาสมุทรซึ่งไม่มีแสงจะไม่มีพืชสีเขียวและสาหร่ายอยู่ที่นั่น เพราะความมืดทำให้มันไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสง เราจึงเกือบจะไม่พบพืชสีเขียวอยู่เลยในน้ำลึกกว่า 100 เมตร อย่างไรก็ตาม ตรงส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรก็ยังมีแบคทีเรียและราอยู่ และพบสัตว์บางชนิด เช่น ดอกไม้ทะเล หอยสองกาบ อยู่ที่นั่นด้วย