โครงสร้างหัวข้อ

  •  

  • สัปดาห์ที่ 1 แนะนำการเรียนการสอนในรายวิชาสัมนาทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน

    เนื้อหาการเรียนการสอน

    1. ทดสอบก่อนเรียน

    2. แนะนำกระบวนการจัดการเรียนการสอน

    3. ร่วมกำหนดกระบวนการการจัดการเรียนการสอน

     คำชี้แจง

    1. ให้นักศึกษาเข้าเรียนตามเวลาเรียนผ่าน  Google Meet
    2. ศึกษาเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ
    3. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

  • สัปดาห์ที่ 2-3 การทบทวนประเด็นสาระสำคัญของรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน

    เนื้อหาการเรียนการสอน

    1. ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์เบื้องต้น

    2. ทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนเบื้องต้น

     คำชี้แจง

    1. ให้นักศึกษาเข้าเรียนตามเวลาเรียนผ่าน  Google Meet
    2. ศึกษาเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ
    3. ชิ้นงานกลุ่ม นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เลือกทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยตนเอง นำเสนอและอภิปรายร่วมกันในสัปดาห์ต่อไป

  • สัปดาห์ที่ 4-5 วิจารณ์บทความวิจัย/ วิชาการ

    เนื้อหาการเรียนการสอน

    1. นักศึกษาคัดเลือกบทความที่สนใจเพื่อนำเสนอและวิจารณ์ในชั้นเรียน

    2. การกำหนดประเด็นปัญหาสาธารณะเชิงพื้นที่ ในมุมมองทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน

     คำชี้แจง

    1. ให้นักศึกษาเข้าเรียนตามเวลาเรียนผ่าน  Google Meet
    2. ศึกษาเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ
    3. ชิ้นงานที่ 1 ให้นักศึกษาเลือกบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ หรืองานวิจัย คนละ 1 เรื่อง และวิจารณ์บทความนั้นพร้อมนำเสนอในชั้นเรียนสัปดาห์ถัดไป

  • สัปดาห์ที่ 6-7 ถอดสาระการประชุมเวทีเสวนา

    เนื้อหาการเรียนการสอน

    1. ความหมายและความสำคัญของการสัมมนา

    2. รูปแบบการประชุมสัมมนา

    3. การสกัดขุมความรู้จากเวทีสัมนา

    4. ถอดสาระเนื้อหาโดยการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน

     คำชี้แจง

    1. ให้นักศึกษาเข้าเรียนตามเวลาเรียนผ่าน  Google Meet
    2. ศึกษาเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ
    3. ชิ้นงานที่ 2 (กลางภาค) 

  • สัปดาห์ที่ 9-10 ปฏิบัติ การนำเสนอบทความวิชาการในงานสัมนาวิชาการ

    คำชี้แจง

    1.นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมสัมนาวิชาการที่กำหนด

    2.ลงชื่อบทความ/ชื่อเจ้าของบทความพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษา/และข้อมูลกระบวนการเขียนบทความวิชาการ ในลิงค์ที่กำหนด

    3.นำเสนอบทความวิชาการในงานสัมนาวิชาการ

  • สัปดาห์ที่ 11-12 แนวทางการจัดสัมมนาทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน

    เนื้อหาการเรียนการสอน

    1. หลักการวางแผนการจัดการสัมมนา

    2. เทคนิคการเลือกแบบการประชุมมาใช้ในการสัมมนา

    คำชี้แจง

    1. ให้นักศึกษาเข้าเรียนตามเวลาเรียนผ่าน  Google Meet
    2. ศึกษาเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ
    3. เตรียมดำเนินการจัดสัมมนา

  • สัปดาห์ที่ 13-16 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชนที่ได้มีการบูรณาการจากงานวิจัย

    Highlighted

    เนื้อหาการเรียนการสอน

    1.นักศึกษาจัดสัมนาทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน โดยนำประเด็นจากการวิจัยที่นักศึกษาได้ศึกษามาร่วมอภิปรายในเวทีสัมนา

    2. แบ่งกลุ่มการศึกษาประเด็นปัญหาในการสัมนา รวมทั้งแบ่งหน้าที่ในการจัดสัมนาในแต่ละสัปดาห์

    3. นักศึกษาร่วมนำเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยในงานสัมนาวิชาการ

    4.วิทยากรภายนอกให้การแนะนำในเวทีเสวนา

    5. จัดทำบทความเพื่อนำเสนอ โดยรายละเอียดดังนี้

    หัวข้อเรื่องบทความ
    ชื่อผู้เขียน
    บทคัดย่อ

    (ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสารบทความแบบย่อ เพื่อช่วยให้ ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของบทความ โดยต้องมีทั้งความกะทัดรัด กระชับ ถูกต้อง และชัดเจน)

    คำสำคัญ:

     (คำที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเนื้อหาบทความ โดยมาจากคำที่ปรากฏในบทความ อาจเป็นคำที่ปรากฏในชื่อเรื่อง บทคัดย่อ โดยย่อเหลือเพียงคำที่แสดงใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง ที่สั้น กะทัดรัด และมีความชัดเจน )

    ความสำคัญและที่มาของปัญหา

      (แนวคิด หลักการหรือทฤษฎี การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หรือภูมิหลัง หรือหลักการและเหตุผล เพื่อเล่าให้ผู้อ่านทราบถึง ความเป็นมาของบทความ)  

    วัตถุประสงค์ 

      (เป้าหมาย หรือผลที่ต้องการให้บรรลุของการศึกษานั้นๆ โดยทั่วไปจะเขียนเป็นข้อๆ)

    วิธีการดำเนินวิจัย/ศึกษา

      (การกำหนด วิธีการ กิจกรรมต่าง ๆ และรายละเอียดการวิจัย/ศึกษา ที่นักศึกษาจะต้องทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล นับตั้งแต่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปจนถึงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การได้มาซึ่งข้อมูลที่สามารถตอบปัญหาของการวิจัย )

    ผลการศึกษา

      (การนำเสนอข้อมูล หรือผลการศึกษาต่างๆที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ได้ด้วย)

    อภิปรายผล

    (การแปลผลข้อค้นพบจากการวิจัยในลักษณะตีความและประเมินผล เพื่ออธิบายและยืนยันความสอดคล้องและความแตกต่างระหว่างข้อค้นพบกับสมมติฐานการวิจัย และ อภิปรายเพื่อเชื่อมโยงระหว่างผลการวิจัยที่ได้กับผลการวิจัยที่ผ่านมา ตลอดจนแนวคิด ทฤษฏีที่ใช้เป็นกรอบ ความคิดในการวิจัยว่ามีความสอดคล้อง หรือขัดแย้งกันอย่างไร)

    ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย/ศึกษา ครั้งต่อไป
    เอกสารอ้างอิง

    คำชี้แจง

    1. ให้นักศึกษาเข้าเรียนตามเวลาเรียนผ่าน  Google Meet หรือห้องประชุมตามสถานการณ์
    2. ศึกษาเนื้อหา แบางหน้าที่ในการจัดสัมนา โดยการเวียนกลุ่มหน้าที่ตามกิจกรรมต่างๆ
    3. หากมีวิทยากรภายนอกให้ดำเนินการจัดทำหนังสือเชิญล่วงหน้าก่อนวันจัดกิจกรรมอย่างน้อย 2 สัปดาห์