การจัดกิจกรรมความฉลาดทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย 2/2565 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิศา ธรรมบัญชา)
สาขาการศึกษาปฐมวัย

ออกแบบกิจกรรมการจัดกิจกรรมทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของสมองและระบบประสาทวิทยา (Neuroscience : NS) การพัฒนาภาษา และการสื่อสารโดยยึดศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (Neurolinguistics Science Process : NLSP) กับการพัฒนาทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษา/วิเคราะห์ทฤษฎี   และแนวคิดการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย อิทธิพลของบริบทสังคมครอบครัว สังคมโรงเรียน สังคมชุมชน และท้องถิ่น ที่ส่งผลการพัฒนาความฉลาด  ทางอารมณ์ และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ฝึกปฏิบัติการใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และสังคมของกระทรวงสาธารณสุข ถอดบทเรียนโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสังคม และการพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้กรณีศึกษา การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ หรือวิธีอื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์ ประเมิน วางแผน ออกแบบกิจกรรม/สื่อการสอนเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยโดยทำงานร่วมกับผู้ปกครอง และครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ที่ถูกต้องตรงหลักการเรียนรู้ของสมอง บริบททางสังคม วัฒนธรรม และท้องถิ่น ตามหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ออกแบบการประเมินเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม ทดลองใช้กิจกรรมที่ออกแบบไว้กับกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และรายบุคคลเพื่อสะท้อนคิดในการพัฒนาปรับปรุงออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัยให้ตรงวัตถุประสงค์ และสะท้อนความคิดเพื่อให้มีทักษะในการออกแบบโปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อความฉลาดทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปีได้อย่างต่อเนื่อง และประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดี มีความรอบรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง