โครงสร้างหัวข้อ

  • แนะนำรายวิชา (สัปดาห์ที่ 1)


    ลีลา จังหวะ และการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

    ออกแบบการจัดกิจกรรมลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย  โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของสมองและระบบประสาทวิทยา (Neuroscience : NS) และพัฒนาภาษาและการสื่อสารโดยยึดศาสตร์สาขาประสาทวิทยา (Neurolinguistics Science Process : NLSP) และการสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ตามระบบประสาทวิทยาของซีรีเบลลัม (Cerebellum) หรือสมองน้อย กับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษา/วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวผ่านการร้องเพลง เล่นดนตรีเพื่อพัฒนา ลีลา จังหวะ และการเคลื่อนไหว ทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยอายุ ต่ำกว่า 8 ปี โดยคลิปวีดิโอและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ ฝึกปฏิบัติลีลา จังหวะ และการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายเบื้องต้น ผ่านศิลปะการแสดงที่หลากหลาย ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหว เพื่อพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) วิเคราะห์ ประเมิน วางแผน ออกแบบการจัดกิจกรรมลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหว สื่อ อุปกรณ์ ที่ถูกต้องตามหลักการทำงานของสมองสำหรับเด็กปฐมวัย โดยทำงานร่วมกับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น พร้อมออกแบบประเมินเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม นำกิจกรรมที่ออกแบบไว้ไปทดลองกับกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือรายบุคคล เพื่อสะท้อนคิดในการปรับปรุงการออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้ตรงวัตถุประสงค์ และสะท้อนความคิดเพื่อให้มีทักษะในการออกแบบโปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา ลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี ได้อย่างต่อเนื่อง และประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดี มีความรอบรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

  • พัฒนาการและความพร้อมทางร่างกายของเด็กปฐมวัย (สัปดาห์ที่ 2)

    การจัดการเรียนรู้ตามหลัก Brain-Based Learning ด้านการเคลื่อนไหว

             พัฒนาการและความพร้อมทางร่างกายของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในขณะที่อยู่ในวัย 0-3 ขวบ เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด สิ่งที่เราจะทำเพื่อให้เด็กได้เติบโตไปเป็นผู้ที่มีความสามารถและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข คือ การสร้างเงื่อนไขและสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสที่จะใช้ศักยภาพในตัวเขาออกมาให้ได้มากที่สุด  การพัฒนาการ   และความพร้อมทางร่างกายของเด็กปฐมวัยจะเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือทำหน้าที่ของระบบอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในภายนอกร่างกายเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เป็นกระบวนการซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตพัฒนาโครงสร้างของร่างกาย    รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ทฤษฎีตั้งอยู่บนความเชื่อสามารถใช้อธิบายพัฒนาการมนุษย์ในด้านต่างๆ ความรู้จากทฤษฎีช่วยให้สามารถตั้งสมมติฐานเพื่อตรวจสอบและยืนยันความจริง  ที่ได้ค้นพบหรือความจริงที่แตกต่างจากเดิม ช่วยให้เห็นและเข้าใจพัฒนาการมนุษย์แต่ละช่วงวัยได้ชัดเจน  การพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยจะแตกต่างกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปทั้งปริมาณและคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามลำดับขั้น

  • ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับลีลา จังหวะ และการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

  • ประวัติความเป็นมาของดนตรี

  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย

  • ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับลีลา จังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย

  • วิดีโอตัวอย่างการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย

  • เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย