Section outline

  • ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายวิชา นิติปรัชญา

    อาจารย์อารยา ชินวรโกมล

    อาจารย์อารยา ชินวรโกมล

  • นิติปรัชญา (Philosophy of Law)

    ผู้เขียน : ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์

    แก้ไขเพิ่มเติมโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ

    นิติปรัชญา

    ..................................................................................................................................................

    นิติปรัชญา (Philosophy of Law)

    ผู้เขียน : รองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย

    นิติประชญา

    ..................................................................................................................................................

    ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา

    ผู้เขียน : วรเจตน์ ภาคีรัตน์

    นิติปรัชญา

    เนื้อหาโดยสังเขต

    "ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา" เล่มนี้ ผู้เขียนตั้งใจสำรวจความคิดหลักเกี่ยวกับกฎหมาย การเมือง และรัฐ ของนักคิดคนสำคัญที่ปรากฏตัวขึ้นบนเวทีประวัติศาสตร์ปรัชญาของโลก โดยเหตุที่ความคิดของมนุษย์คนหนึ่งไม่ได้ปรากฏขึ้นอย่างไร้สาเหตุ แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นผลจากบริบททางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนวัฒนธรรมในห้วงเวลาที่มนุษย์คนนั้นมีชีวิตอยู่ และในบางกรณีก็เป็นผลมาจากชีวิตส่วนตัวของมนุษย์ผู้นั้น ผู้เขียนจึงไม่ได้นำเสนอเฉพาะความคิดของนักคิดแต่ละคนเท่านั้น แต่พยายามที่จะฉายภาพความเป็นไปแห่งชีวิตของนักคิดแต่ละคน เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นบริบททางประวัติศาสตร์ที่แวดล้อมนักคิดแต่ละคน ด้วยการสำรวจความคิดหลักในทางนิติปรัชญาของนักคิดแต่ละคน เปรียบเสมือนการเดินทางด้วยขบวนรถไฟสำรวจความคิดที่ผู้เขียนเริ่มออกเดินทางจากสถานีต้นทางในยุคกรีกโบราณสู่สถานีปลายทางในศตวรรษที่ ๒๐ ความคิดของนักคิดแต่ละคนเปรียบเสมือนสถานีที่ขบวนรถไฟสำรวจความคิดได้หยุดลงเพื่อให้ผู้เขียนได้มีโอกาสสำรวจสถานีทางความคิดเหล่านั้น แต่ละสถานีทางความคิดมีความน่าสนใจในตัวเองแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่จะต้องเดินทางไปให้ถึงศตวรรษที่ ๒๐ ให้ทันตามกำหนดเวลา ขบวนรถไฟสำรวจความคิดขบวนนี้จึงไม่สามารถหยุดทุกๆ สถานีได้ บางสถานีผู้เขียนต้องผ่านไปก่อน โดยหวังว่าเมื่อมีโอกาสเดินทางย้อนกลับไปจากศตวรรษที่ ๒๐ จะได้หยุดที่สถานีทางความคิดซึ่งจำต้องผ่านเลยไปในการพิมพ์ครั้งแรกนี้

    สารบัญ

    บทที่ 1 การอุบัติขึ้นของนิติปรัชญาและนิติปรัชญาในยุคเริ่มต้น

    บทที่ 2 นิติปรัชญาโสฟิสต์

    บทที่ 3 กฎหมายและความยุติธรรม : ว่าด้วยปรัชญาของโสคราตีส เพลโต และอาริสโตเติล

    บทที่ 4 นิติปรัชญาสโตอิกและนิติศาสตร์โรมัน

    บทที่ 5 นิติปรัชญาสมัยกลาง

    บทที่ 6 นิติปรัชญาช่วงรอยต่อระหว่างสมัยกลางและสมัยใหม่

    บทที่ 7 นิติปรัชญาสมัยใหม่ (ช่วงแรก)

    บทที่ 8 นิติปรัชญาสมัยใหม่ (ช่วงหลัง)

    บทที่ 9 นิติปรัชญาปลายศตวรรษที่ 18 และนิติปรัชญาในศตวรรษที่ 19

    บทที่ 10 นิติปรัชญาในศตวรรษที่ 20

    บรรณานุกรม

    ..................................................................................................................................................

    วิดีทัศน์แนะนำภาพรวม วิชานิติปรัชญา 10 นาที

    โดย : อาจารย์อารยา ชินวรโกมล


  • 1.1 วิวัฒนาการของวิชาความรู้

    1.2 ความคิดกับวิชาการหรือศาสตร์สมัยใหม่

    1.3 ข้อคิดว่าด้วยศาสตร์นิติศาสตร์

    1.4 นิติศาสตร์ในแง่แบบแผน

    1.5 นิติศาสตร์ในแง่ข้อเท็จจริงนิติศาสตร์ในแง่คุณค่า

  • 2.1 นิติปรัชญาในแง่นิติปรัชญา

    2.2 นิติปรัชญาในแง่นิติศาสตร์

    2.3 นิติปรัชญากับวิชาธรรมศาสตร์ ขอบเขตของวิชานิติปรัชญา

  • 3.1 ความเบื้องต้น

    3.2 ความเป็นมาและสาระสำคัญ

    3.3 แนวความคิดนักคิดที่สำคัญ

  • ห้องเรียนความยุติธรรม ตอนที่ 1 มุมมองด้านศีลธรรมของการฆาตกรรม 

    "ไมเคิล แซนเดล" ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สนุกกับการใช้ปรัชญาการเมืองหลากสำนักตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นแว่นขยาย ส่องประเด็นสาธารณะร่วมสมัยที่ผู้คนให้ความสนใจ เช่น การแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคาในภาวะฉุกเฉิน โบนัสมหาศาลของผู้บริหารธนาคาร การเก็บภาษีคนรวยมาช่วยคนจน การอุ้มบุญ การุณยฆาต และสิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ วิชา "ความยุติธรรม" ที่เขาสอน ได้รับความนิยมสูงสุดในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดติดต่อกันนานกว่าสองทศวรรษ มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่าหนึ่งพันคนทุกภาคเรียน มากจนต้องไปเรียนกันในโรงละครแซนเดอร์ส ซึ่งจุคนได้มากที่สุดในมหาวิทยาลัย อาจฟังดูเหลือเชื่อว่า ในชั้นเรียนซึ่งมีนักเรียนยัดทะนานนับพัน อาจารย์กลับสามารถถามคำถามและดำเนินบทสนทนาระหว่างนักเรียนได้อย่างมีชีวิตชีวาและท้าทายความคิด ข้างต้นคือคำนำส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ความยุติธรรม : Justice: What's the Right Thing to Do" โดย ไมเคิล แซนเดล แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล ซึ่งเป็นหนังสือ Best Seller ทั้งในไทยและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความสุดยอดของวิชาความยุติธรรมนี้ ส่วนตัวผมคิดว่าอยู่ที่การถกเถียง นำเสนอข้อโต้แย้ง โดยเฉพาะกับนักศึกษาระดับโลกที่มีความหลากหลายเชื้อชาติอย่างที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และความสุดยอดพวกนี้ไม่อาจเห็นหรือสรุปออกมาได้เพียงในหนังสือเล่มหนึ่ง Quark Project จึงได้เลือกทำคำบรรยายไทยใน ห้องเรียนความยุติธรรมเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ครูบาอาจารย์และผู้สนใจได้ ศึกษา เรียนรู้และซึมซับการเรียนการสอนในห้องเรียนระดับโลกเช่นนี้

  • 5.1 ความเป็นมาและสาระสำคัญของแนวคิด

    5.2 ทฤษฎีวิวัฒนาการของกฎหมาย

  • 6.1 ความเป็นมาและสาระสำคัญ

    6.2 แนวความคิดนักคิดที่สำคัญ

  • 7.1 ความเบื้องต้น

    7.2 ความสำคัญและความเป็นมาของแนวความคิด

  • วิวัฒนาการของกฎหมาย 3 ยุค (ทฤษฎีกฎหมายสามยุคของสำนักนิติ ธรรมศาสตร์)

            จากการวิเคราะห์และตรึกตรองในประวัติความเป็นมาของสถาบันกฎหมายที่มีในโลกปัจจุบันจะเห็นได้ว่า กว่าที่มนุษย์จะสามารถพัฒนามาจนถึงมีระบบกฎหมายดังที่ปรากฏในปัจจุบันได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางความคิดทางรูปแบบและโครงสร้างของกฎหมายมาหลายยุคหลายสมัยจากการวิเคราะห์ในแง่นิติศาสตร์ และในแง่ประวัติศาสตร์กฎหมายแล้วเราพอสรุปอย่างคร่าว ๆ ว่ากฎหมายได้ปรากฏตัวขึ้นในเวทีประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็น 3 รูปแบบคือ

            1. กฎหมายชาวบ้าน (Volksrecht)

            2. กฎหมายนักกฎหมาย (Juristenrecht)

            3. กฎหมายเทคนิค (Technical Law)

    รายละเอียดเนื้อหาในบทที่ 8

    8.1 ความหมาย

    8.2 การตีความกฎหมาย

    8.3 การนิติบัญญติ

  • 9.1 ลักษณะของความยุติธรรม

    9.2 หลักการของวิชานิติศาสตร์

    9.3 ลักษณะของวิชาชีพสำหรับนักกฎหมาย

    • Opened: Sunday, 20 February 2022, 10:12 AM
      Due: Sunday, 20 March 2022, 4:30 PM

      มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ นิยามความยุติธรรม จากนักคิดต่อไปนี้ อริสโตเติ้ล ไมเคิล แซนเดล เจเรมี แบนแธม วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และนักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่า ความยุติธรรมคืออะไร 

      โดยขอให้นักศึกษาส่งคำตอบมาที่ Link นี้ https://forms.gle/tqc8j8ynNgiw4nvq7 

      ทั้งนี้ ภายในวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2565

  • 10.1 ความยุติธรรมและการคลี่คลายตัวของความยุติธรรม

    10.2 สิ่งที่ยอมรับนับถือ ( Authority )และการค้นหาการใช้เหตุผลเป็นรากฐานบทบาทของนักกฎหมาย กับเหตุการณ์บ้านเมืองให้นักศึกษาอภิปรายแสดงความคิดเห็น