โครงสร้างหัวข้อ

  • แนะนำรายวิชา

    ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายวิชา 151001001 และ 5100101 

    ภาษา ความคิด และการสื่อสาร

    in

    ติดต่ออาจารย์ผู้สอนได้ที่

    ผศ.ซูไรดา เจะนิ   E-mail : suraida.j@yru.ac.th

    อ.จิตติขวัญ  ภู่พันธ์ตระกูล  E-mail : chittikhwan.p@yru.ac.th

    อ.จันทรา โอระสะ E-mail : janthra.o@yru.ac.th 

    อ.ปริยาภัทร เพ็ชรจรูญ E-mail : priyapat.p@yru.ac.th

    เอกสารประกอบการสอนhttps://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4

    กดติดตามเพจรายวิชา ภาษา ความคิดและการสื่อสาร YRUhttps://bit.ly/35GY20B

    ภาคการศึกษา 2/2566

    กลุ่มเรียน 01 วันศุกร์, 01 และ 13 วันเสาร์  กลุ่มเรียนสาขาวิชาการค้าสมัยใหม่ฯ 19 และ 20

    line

    ห้องเรียน

    กลุ่มเรียนวันศุกร์ ห้องประชุมเซอรา ชั้น 2 อาคาร 24

    กลุ่มเรียนวันเสาร์ ห้องประชุมซาลัค ชั้น 4 อาคาร 23 

    สาขาวิชาการค้าสมัยใหม่ กลุ่ม 19 และ 20 ห้อง 20-1002

  • สัปดาห์ที่ 1

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 1

    - แนะนำรายวิชา แนะนำอาจารย์ แจ้งข้อตกลงรายวิชา การเข้าชั้นเรียนการวัดและประเมินผล และแจ้งให้นักศึกษาติดตามเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    -ทดสอบก่อนเรียน

    -แนะนำเรื่องมารยาทในการสื่อสาร

    - ความรู้พื้นฐานทางภาษา ความหมาย ความสำคัญ เป็นต้น

    - กิจกรรม “รู้จักเขา รู้จักเรา รู้จักคิด” ให้นักศึกษาสะท้อนความสำคัญของภาษา ว่ามีความสำคัญอย่างไร และเขียนสะท้อนปัญหาการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร (พูดเสียงสะกดไม่ได้ เพี้ยนเสียงวรรณยุกต์ / ปัญหาการเขียนเป็นต้น) การคิด (ลำดับความคิดไม่ได้ วนไปวนมา คิดได้แต่ถ่ายทอดไม่ได้ เพราะคลังคำน้อย) และสะท้อนการแก้ปัญหาเหล่านั้นลงใน Google Form (เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาที่เกิดกับสาเหตุ นำไปสู่การแก้ปัญหา)

    - มอบหมายให้นศ.ไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน และศึกษานิทานพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนเองโดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์เรื่องนิทานพื้นบ้าน - แจ้งนักศึกษาให้ดาวน์โหลดใบงานที่ 2 กิจกรรมภาษาสื่อสารที่จะใช้สอนในสัปดาห์ที่ 2

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 1 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร  และ ใบงานกิจกรรม “ภาษาสื่อสาร” ใน Google Form (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    ***สอบถามความพร้อมของนักศึกษาเรื่องการจับกลุ่มเรียนหรือทำกิจกรรม เป็นรายบุคคล รายคู่ หรือรายกลุ่ม

    (อ.จิตติขวัญ  ภู่พันธ์ตระกูล  อ.ซูไรดา เจะนิ  อ.จันทรา โอระสะ)

  • สัปดาห์ที่ 2

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 2 

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 2 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - ภาษา (ความหมาย ประเภทของภาษา ระดับภาษา เป็นต้น)

    - ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร

    - ข้อควรคำนึงถึงในการสื่อสาร

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 2 ความรู้ทางภาษา และ ใบงานกิจกรรม "ภาษาสื่อสาร" ผ่าน Google Form (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    คลิปวิดีโอเรื่องความสำคัญของภาษาในการสื่อสาร 

    ปัญหาการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร (และเราจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร) - Katherine Hampsten


    กิจกรรม “ภาษาสื่อสาร” (วัจนภาษา อวัจนภาษา ระดับภาษา) ให้นักศึกษาเลือกสถานการณ์ในการสื่อสารที่ครูกำหนดให้ และอธิบายว่าในสถานการณ์ดังกล่าวนักศึกษาควรใช้ภาษาสื่อสารอย่างไร ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา พร้อมระบุเหตุผลที่เลือกใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาในรูปแบบนั้น ๆ 

  • สัปดาห์ที่ 3

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 3 

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 3 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - ภาษากับสัญลักษณ์

    - สัญญะกับการสื่อความหมาย (แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสัญญะ และการสื่อความหมาย)

    - ความรู้เกี่ยวกับวรรณรูป

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 3 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร  และ ใบงานที่ 3 วรรณรูปสื่อสัญญะ (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    กิจกรรม วรรณรูปสื่อสัญญะ (10 คะแนน) 

    - นักศึกษาชมภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง “การเดินทางของปิ่นโต”  และร่วมกันตั้งข้อสังเกตว่ามีสัญญะใดบ้าง แต่ละสัญญะหมายถึงอะไร 

    - นักศึกษาวิเคราะห์สัญญะจากเพลง "ขอจันทร์" ของศิลปินบาวปาน โดยแสดงความคิดเห็นถึงการใช้สัญญะเพื่อแสดงความจนและความรวย รวมทั้งสัญญะอื่นๆ ที่ปรากฏในบทเพลง เขียนลงใบงานที่ 3 เรื่องวรรณรูปสื่อสัญญะ และออกแบบวรรณรูปที่สามารถสื่อสารสัญญะหลักของบทเพลง

  • สัปดาห์ที่ 4

    คลิปวิดีโอเรื่อง ภาษากับความคิด

    โดย อาจารย์จิตติขวัญ ภู่พันธ์ตระกูล

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 4

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 4 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - ภาษากับสัญลักษณ์

    - การคิด ประเภทของการคิด

    - การระดมความคิด และการลำดับความคิดแบบต่าง ๆ

    - การกำหนด และจัดลำดับหรือหมวดหมู่ความคิดเป็นประเด็นต่าง ๆ

    - ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 4 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร และ ใบงานที่ 4 

    ฉัน (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    - แจ้งนักศึกษาดาวน์โหลดใบงานที่ 5 เรื่องการเขียนโครงเรื่อง เพื่อการเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 5

  • สัปดาห์ที่ 5

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 5

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 5 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - การคิดเชิงเหตุผลและการคิดเชิงวิเคราะห์

    - ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโครงเรื่อง การออกแบบโครงเรื่องและยกตัวอย่างการเขียนโครงเรื่อง

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 5 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร และ ใบงานที่ 5 คิดเป็น เขียนโครงเรื่อง (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    กิจกรรม คิดเป็น เขียนโครงเรื่อง (การคิดเชิงเหตุผล การคิดเชิงวิเคราะห์ รายบุคคล)

    - ยกสถานการณ์เด่น ๆ หรือข่าวสารที่ได้รับความสนใจในขณะนั้นและให้นักศึกษาสะท้อนความคิดเห็น /กำหนดสถานการณ์และให้ระดมความคิด กำหนดหรือจำแนก และวางโครงเรื่อง - เขียนโครงเรื่องจากสถานการณ์ที่กำหนด โดยเลือกมา 1 สถานการณ์ เขียนลงใบงานที่ 4 เรื่องการเขียนโครงเรื่อง

    - แจ้งนักศึกษาดาวน์โหลดใบงานที่ 6 ฟังพูด สะท้อนคิด เพื่อการเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 6

    • งานมอบหมาย icon

      ให้นักศึกษาเขียนโครงเรื่องสำหรับการทำรายงานโดยเลือกจากเรื่องต่อไปนี้ กลุ่มละ 1 เรื่อง ทั้งนี้ในโครงเรื่องจะต้องประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ อย่างน้อย 4 หัวข้อ

      -การช้อปปิ้งออนไลน์  

      -สังคมไร้เงินสด 

      -อาหารในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  

      -พูดอย่างไรให้ปัง

      -เรียนอย่างไรให้มีความสุขในยุค 4.0   

      -เรียนอย่างไรให้ล้มเหลวในยุค 4.0

      -การท่องเที่ยวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

      เขียนเฉพาะโครงเรื่อง ไม่ต้องขยายความรายละเอียด*


  • สัปดาห์ที่ 6

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 6

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 5 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - ความสำคัญของทักษะการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน และเขียน เน้นการฟังและพูด

    - ความรู้เกี่ยวกับการฟังและการพูด

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 6 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร และ ใบงานที่ 6 เรื่องกิจกรรม ฟังพูด สะท้อนคิด (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)


    ทักษะการพูดในที่สาธารณะ ทักษะที่ใครๆ ก็กลัว แต่ฝึกกันได้

    กิจกรรม ฟังพูด สะท้อนคิด นักศึกษาชมคลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับทักษะสื่อสาร แล้วร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • สัปดาห์ที่ 7

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 7 

    คลิปวิดีโอเรื่อง ทักษะการสื่อสาร (ทักษะการเขียน และทักษะการอ่าน) 
    โดย อาจารย์ปริยาภัทร เพ็ชรจรูญ 

    สะกดผิดชีวิตเปลี่ยน 

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 5 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - ความสำคัญของทักษะการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน และเขียน เน้นการอ่านและเขียน

    - ความรู้เกี่ยวกับการอ่านและเขียน

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 7 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร  และ ใบงานที่ 7 เรื่องอ่าน เขียนสะท้อนคิด (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    กิจกรรม อ่าน เขียนสะท้อนคิด การอ่านและการถ่ายทอดความคิดผ่านการเขียน รายบุคคล/รายกลุ่ม(10 คะแนน) - นักศึกษาชมคลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับทักษะสื่อสาร แล้วร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง - ผู้สอนกำหนดบทความ มอบหมายให้นักศึกษาเลือกอ่านบทความที่ได้รับ แล้วทำใบงานที่ 6 เรื่องอ่านเขียนสะท้อนคิด ทำตามคำชี้แจงดังนี้ 1. คิดคำคมสั้นๆโดยตั้งให้เป็นชื่อเรื่อง (คำคมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความ) 2. แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยเขียนสะท้อนคิดว่า ในบทความสะท้อนให้เห็นและให้คิดในเรื่องใด อย่างไร อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง - แจ้งกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 8 เพื่อให้นักศึกษาเตรียมความพร้อม

    • งานมอบหมาย icon

      แผนการท่องเที่ยว

      กิจกรรม One day trips ชายแดนใต้-เที่ยวทิพย์ 2024 (ออกแบบแผนการท่องเที่ยว (10 คะแนน) 
      ให้นักศึกษาออกแบบแผนการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) หรือจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง ทำเป็นกำหนดการ หรือแผนภาพก็ได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

      1. ให้เริ่มออกเดินทางหรือเริ่มเที่ยวได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 21.00 น. สามารถแบ่งช่วงเวลาได้ตามความเหมาะสม โดยการระบุช่วงเวลาให้ระบุเวลาให้ชัดเจน ในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น 07.00 -10.00 น. ไม่ควรระบุว่า บ่ายสอง หรือ สิบเอ็ดโมงเช้า
      2. ให้ระบุชื่อสถานที่ในการท่องเที่ยวครั้งนี้ให้ชัดเจน (อย่างน้อย 2 สถานที่) ซึ่งจะอยู่ในจังหวัดเดียวกันหรือข้ามจังหวัดก็ได้
      3. ให้นักศึกษาระบุกิจกรรมที่ทำระหว่างท่องเที่ยว ณ สถานที่นั้น ๆ อย่างละเอียด และบอกข้อมูลเพิ่มเติม/ข้อแนะนำเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ไม่ควรระบุสั้น ๆ เช่น แวะกินข้าว, ถ่ายรูป
      4. ระบุวิธีการเดินทางของทริปนี้ด้วยนักศึกษาว่าเดินทางอย่างไร
      5. ตั้งชื่อทริปตามความเหมาะสม

  • สัปดาห์ที่ 8

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 8

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 5 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - ประมวลความรู้ และใช้ทักษะ เป็นการสังเคราะห์ความรู้ทั้ง 3 เนื้อหา ภาษา การคิด ทักษะสื่อสารนำเสนอ

    - กิจกรรมประมวลความรู้ และใช้ทักษะ "คิดเป็นภาษา สื่อสารเป็นเรื่องราว" ต้องเป็นการสังเคราะห์ความรู้ทั้ง 3 เนื้อหา ภาษา การคิด ทักษะสื่อสาร แล้วเอาไปใช้จริง จะทำออกมาในรูปแบบใดเพื่อให้นักศึกษานำเสนอ อาจเป็นคลิปนำเสนอ กำหนดแนวคิดหลักจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้น เช่น โควิด 19 การเรียนออนไลน์ ตู้ปันสุข New normal (วิถีใหม่) รายคน/รายคู่ นำเสนอความรู้กับมุมมองความคิดตน โดยการเขียนบทอธิบายว่าใช้การคิดประเภทไหน การลำดับความคิดอย่างไร ใช้วัจนภาษาหรืออวัจนภาษารูปแบบใด ผ่านสื่อหรือรูปแบบการนำเสนออื่น ๆ ที่เหมาะสม เช่นคลิปวิดีโอการพูด หรืองานเขียน (ความเรียง) Infographic โปสเตอร์ เป็นต้น และถามตอบข้อสงสัยในการเรียน

  • สัปดาห์ที่ 9

    คลิปวิดีโอเรื่อง นิทานพื้นบ้าน

    โดย อาจารย์ธวัลรัตน์ พรหมวิเศษ

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 9

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 5 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับของนิทานพื้นบ้าน (ความหมาย ความสำคัญ คุณค่าของนิทานพื้นบ้าน ประเภทของนิทาน)

    - การเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของนิทานกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคล้ายคลึงของสำนวนนิทานเช่น ปลาบู่ทองที่พ้องหรือเค้าโครงคล้ายกับบาแวแมเราะ บาแวปูเตะ เป็นต้น (มีความสัมพันธ์ทางการค้า เลยทำให้เกิดเนื้อเรื่องของนิทานที่ใกล้เคียงกัน)

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 9 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    กิจกรรม “เล่าขานนิทานพื้นบ้าน” นักศึกษาวิเคราะห์ว่านิทานที่ตนเลือกมาอยู่ในประเภทใด

  • สัปดาห์ที่ 10

    ตัวอย่างการแสดงลิเกป่า เรื่องเกาะหนู เกาะแมว


    ตัวอย่างการนำเสนอนิทานพื้นบ้านเรื่อง เกาะยือลาปี

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 10

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 5 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - อธิบายรายละเอียดของนิทานแต่ละประเภท โดยยกตัวอย่าง

    - อธิบายถึงที่มาที่ไปของนิทาน โดยเฉพาะนิทานที่มีเค้าโครงเรื่องคล้ายกัน การนำวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางสถานที่วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์มานำเสนอในเรื่อง

    - ความรู้เกี่ยวกับละคร รูปแบบของละครประเภทต่างๆ

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 10 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    กิจกรรม “เล่าขานนิทานพื้นบ้าน” (นักศึกษาเขียนโครงเรื่องบทการแสดง)

  • สัปดาห์ที่ 11

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 11

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 5 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - บรรยาย/อธิบายเกี่ยวกับการแสดง และการวิจารณ์ (พูดและเขียน)

    ***เอกสารการสอนในสัปดาห์ที่ 11 ภาษา ความคิด และการสื่อสาร (https://drive.google.com/drive/folders/1h24sLIKqKWzRNO2Vn_MXzAJf7QMxZww4)

    กิจกรรม “เล่าขานนิทานพื้นบ้าน” (นักศึกษาเขียนบทการแสดงฉบับสมบูรณ์ 10 คะแนน) - เขียนบทการแสดงฉบับสมบูรณ์ และซ้อมการแสดง - ชี้แจงกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมดังนี้ 1. การพูดวิจารณ์โดยการเลือกวิจารณ์การแสดงของเพื่อนคนใดก็ได้ ไม่น้อยกว่า 5 คน 2. บอกข้อดี ข้อด้อย โดยพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ อันได้แก่ฉาก ตัวละคร บทสนทนา การดำเนินเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ หรืออาจจะหยิบจุดเด่นของการแสดงนั้นมาวิจารณ์ เช่นตัวละครแสดงบทบาทได้ดีเยี่ยม เป็นต้น ทั้งนี้การวิจารณ์อาจจะวิจารณ์องค์ประกอบย่อยแต่ละประเด็น แล้วจึงสรุปในภาพรวมของการแสดงว่าเป็นอย่างไร 3. เขียนเรียบเรียงบทวิจารณ์การแสดงโดยใช้ภาษาอย่างเป็นทางการ

  • สัปดาห์ที่ 12

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 12

    ตัวอย่างการแสดงละครนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ช้างป่ากับเจ้าเก้งน้อย”
    (ผลงานโดย นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร ปีการศึกษา 2565)


    ตัวอย่างการแสดงละครนิทานพื้นบ้านเรื่อง "กษัตริย์มีเขี้ยว"
    (ผลงานโดย นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ศศ.บ.) ปีการศึกษา 2566)


    ตัวอย่างสารคดีเรื่อง ตำนานพ่อท่านเจ้าเขา ยักษ์วัดถ้ำ
    (ผลงานโดย นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ (ภาคกศ.บป.) ปีการศึกษา 2566)

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 5 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - ละครสั้น/รายการสัมภาษณ์ นิทานพื้นบ้านผ่านวิดีโอคลิป

    Final Project 

    กิจกรรม “เล่าขานนิทานพื้นบ้าน : การแสดงละครสั้น/รายการสัมภาษณ์" (งานกลุ่ม-20 คะแนน)
    ให้นักศึกษาจัดทำบทละคร/บทรายการ และคลิปวิดีโอการแสดงละครสั้น/รายการสัมภาษณ์ ความยาว 5-15 นาที (นักศึกษานำเสนอเป็นงานกลุ่ม) โดยอัพโหลดคลิปวิดีโอไว้ในเว็บไซต์ YouTube / หรือไดรฟ์อื่น ๆ และให้ตัวแทนกลุ่มส่งในลิงก์ google form ที่กำหนดให้

  • สัปดาห์ที่ 13

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 13


    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 13 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - การใช้ภาษาวิพากษ์ละครสั้น

    กิจกรรม “การวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน”  ให้นักศึกษาเขียนวิจารณ์การแสดงของกลุ่มเพื่อนตามองค์ประกอบของการแสดงละครสั้นอย่างน้อย 1 กลุ่ม ตามองค์ประกอบของการแสดงละครสั้น โดยวิจารณ์ในเว็บไซต์ padlet ตาม url ที่แจ้งไว้

     

  • สัปดาห์ที่ 14

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 14

    (กรณีจัดการเรียนการสอนออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 14 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

    - คณาจารย์วิจารณ์การแสดงละครสั้นของนักศึกษา รวมถึงการวิจารณ์การแสดงของนักศึกษา

    - แจ้งคะแนนชิ้นงานต่าง ๆ ให้นักศึกษาตรวจสอบในระบบบริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

    กิจกรรม “การวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน” โดยคณาจารย์

  • สัปดาห์ที่ 15

    บทเรียนสัปดาห์ที่ 15

    - คณาจารย์กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา

    -ให้นักศึกษาชมคลิปวิดีโอตัวอย่างการสื่อสารต่อไปนี้ และสะท้อนคิดเกี่ยวกับเนื้อหาในคลิปวิดีโอ

    Family gathering

    - ให้นักศึกษาเขียนสะท้อนความคิดเห็นในประเด็นที่กำหนดเกี่ยวกับรายวิชา ดังนี้ 
    1. เนื้อหารายวิชา
    2. รูปแบบ/กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน-การทำกิจกรรมกลุ่มนำเสนอการแสดงละครสั้นนิทานพื้นบ้าน
    3. การปรับใช้กับสาขาวิชาของตน
    4. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

    กิจกรรม “ถอดบทเรียน” (นักศึกษาเขียนลงเวบบอร์ด e-learning : ภาษา ความคิด และการสื่อสาร

    (กรณีออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 15 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)

  • สัปดาห์ที่ 16


    บทเรียนสัปดาห์ที่ 16

    คณาจารย์สรุปเนื้อหารายวิชา

    - สรุปและทบทวนความรู้

    - แจ้งแนวข้อสอบ

    กิจกรรม “ทวนความรู้ก่อนสอบ”

    (กรณีออนไลน์-ถ่ายทอดสดการสอนสัปดาห์ที่ 16 ผ่านเพจรายวิชาภาษา ความคิด และการสื่อสาร YRU (https://bit.ly/2Xf5nAj)