โครงสร้างหัวข้อ

  • ระบบพิกัดฉาก

    • แหล่งข้อมูล icon

              ระบบพิกัดหรือพิกัด (coordinate system or coordinate) ในทางเรขคณิต คือระบบที่ใช้
      ตัวเลขในการบอกตำแหน6งของจดุ ในระนาบและปริภูมิ เช6น พิกัดของอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์
      มรภ.รำไพพรณีอยู6ที่ตำแหน6งละติจูด 12 องศาเหนือ 39.78 ฟ5ลิปดา ลองติจูด 102 องศาตะวันออก 06.32 ฟ5ลิปดาและอัลติจูด (ระดับความสูง ) 38 เมตร เหนือะดับน4ำทะเล เป็นต้น
              ระบบพิกัดที่นิยมใช้มีสองระบบใหญ6ๆ คือ ระบบพกิ ดั ฉากหรือคาร์ทีเชียน (rectangular or
      Cartesian coordinate system) และระบบพิกัดเชิงขั4ว (polar coordinate system) ทั4งนี4
      เราสามารถทำการแปลงพิกัดจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งได้

            ระบบพิกัดฉากประกอบด้วยเส้นตรงสองหรือสามเส้นวางตั4งฉากซึ่งกนั และกัน ดังภาพที่ 1.1
      ดังนั4นในการบอกตำแหน6งของจุด P ใดๆ ในระบบพิกัดฉากสองมิติ (ระนาบ) จึงเขียนแทนดว้ ย
      คู6อันดับ และในระบบสามมิติ (ปริภูมิ) จะเขยี นแทนด้วยสามสิ่งอันดับ เมื่อx, y,z
      คือจำนวนจริงใดๆ ที่แทนตำแหน6งบนแกน และ ตามลำดับ

       

  • การแปลงสมการเชิงอนุพันธ์

    • แหล่งข้อมูล icon

      ในการศกึษาเกียวกับเวกเตอร์เชิงอนุพันธ์นั้นจําเป็นต0องมีความรู0พื้นฐานเกี่ยวกับอนุพันธ์ และ

      การหาอนุพันธ์ของฟ2งก์ชันต/างๆ รวมถึงการหาอนพุ ันธ์ย/อย นอกจากนี้แล0วยังต0องมีพื้นฐานเกี่ยวกับ

      เวกเตอร์และการดําเนินการทางเวกเตอร์ ดังนั้นในเอกสารบทนี้เราจะเริ่มจากการอธิบายเกี่ยวกับ

      ความหมายของอนุพันธ์และทบทวนการหาอนุพันธ์และสุดท0ายจะอธิบายถึงอนุพันธ์ของเวกเตอร์และ

      การประยุกต์ใช0ในทางวิทยาศาสตร์

  • สมการเชิงอนุพันธ์ย่อยและการประยุกต์ปริพันธ์

  • การสร้างสมการเพื่อบ่งบอกลักษณะของอุปกรณ์ทางด้านพลังงาน

    • แหล่งข้อมูล icon

      ข้อมูลฐานด้านพลังงาน (Energy Baseline : EnB) เป็นข้อมูลแสดงปริมาณที่ใช้อ้างอิงเพื่อการเปรียบเทียบ

      สมรรถนะด้านพลังงานขององค์กร กระบวนการ ระบบ และ เครื่องจักรหลักที่มีนัยสําคัญ ในช่วงเวลาที่กําหนด

      (ข้อมูลพลังงานในอดีต) กับข้อมูลด้านพลังงานซึ ่งแสดงถึงการเปลี ่ยนแปลงของสมรรถนะด้านพลังงาน

      ในอนาคต (หลังจากการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานหรือช่วงเวลาที่กําหนดให้รายงานผล) ซึ่งอธิบายให้เข้าใจ

      ง่ายขึ้นมันคือการเปรียบเทียบตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน (Energy Performance Indicators : EnPI)

      ในปัจจุบันกับข้อมูลฐานด้านพลังงาน ผลต่างที่เกิดขึ้นคือ สมรรถนะพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป

      ดังนั้นในการกําหนดและจัดทําฐานข้อมูลด้านพลังงาน

  • แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอุปกรณ์ระบบพลังงาน

  • แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน

  • แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของคอมเพรสเซอร์ อุปกรณ์ลดความดัน

    • แหล่งข้อมูล icon

               เนื่องจากความต้องการพลังงานดีมากขึ้นทุกปีในขณะที่ความสามารถในการผลิตพลังงานมีอยู่อย่างจำกัดดังนั้นจะเห็นได้ว่ามีการรณรงค์ในเรื่องการช่วยกันประหยัดพลังงานมากขึ้นโดยประมาณร้อยละ 60 ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านพักอาศัยจะถูกใช้ในส่วนของเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากคือคอมเพรสเซอร์ ซึ่งการทำงานของคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศที่พบเห็นทั่วไปจะทำงานตามอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิที่เรียกว่าเทอร์โมสตัท โดยจะทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าที่ให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อให้อุณหภูมิภายในห้องอยู่ในช่วงที่ต้องการ ทำให้เครื่องปรับอากาศมีลักษณะการทำงานแบบเปิด-ปิด ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานลดลง


  • การจำลองสถานการณ์ของระบบพลังงาน

    • แหล่งข้อมูล icon

              การจำลองสถานการณ์หมายถึง การคำนวณหาตัวแปรที่ไม่ทราบค่าในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นมาแทนการทำงานของระบบจริง เพื่อนำผลการคำนวณจากการจำลองสถานการณ์ของระบบไปช่วยในการออกแบบหรือการหาเงื่อนไขการทำงานแบบเหมาะที่สุด

              การจำลองสถานการณ์ของระบบนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและมีความรู้ของอุปกรณ์ต่างๆ ทุกชิ้นที่ประกอบเป็นระบบที่สามารถทำงานได้อย่างถ่องแท้ เนื่องจากการจำลองสถานการณ์เป็นการเรียนแบบการทำงานจริงของระบบ การศึกษาการจำลองสถานการณ์ในบทนี้จะรวบรวมขั้นตอนและวิธีการตั้งแต่การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบพลังงาน ประโยชน์และการนำการจำลองสถานการณ์ระบบพลังงานไปใช้ การจำแนกปัญหาของการจำลองสถานการณ์ วิธีการแก้ระบบสมการที่ไม่เป็นเชิงเส้นและการจำลองสถานการณ์ระบบพลังงาน



  • เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมของระบบพลังงาน

    • แหล่งข้อมูล icon

              การทำงานแบบเหมาะที่สุด หมายถึง กระบวนการหาเงื่อนไขหรือองค์ประกอบของอุปกรณ์เพื่อการตัดสินใจเรื่องอุปกรณ์ประกอบของระบบเพื่อให้ได้ระบบที่เหมาะที่สุด ระบบที่ทำงานได้อ่านมีอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ออกแบบระบบแสงสว่างซึ่งอาจมีระบบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือใช้เครื่องยนต์เป็นต้น แต่ระบบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์คงไม่เหมาะกับพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เราอาจใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลังดีกว่า แต่ถ้าต้องการใช้ระบบแสงสว่างบนพื้นที่สูงซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้ง่ายหรือสามารถเข้าถึงได้เป็นบางฤดูก็อาจใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นระบบที่เหมาะสมกว่าดังนั้นการหาระบบที่สามารถทำงานได้เหมาะที่สุด จะต้องมีบรรทัดฐานของการหาค่าที่เหมาะที่สุด



  • การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองแบบระบบพลังงาน และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดสินใจทางพลังงาน

    • แหล่งข้อมูล icon

               ในสถานการณ์ปัจจุบันภาวะวิกฤตพลังงานเป็นปัญหาที่สำคัญ และมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจ การใช้พลังงานในประเทศโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาคารและที่พักอาศัยนั้นมีการใช้พลังงานสูง โดยแบ่งสัดส่วนการใช้พลังงานเป็นของระบบปรับอากาศสูงถึงร้อยละ 65  และระบบไฟฟ้าแสงสว่างร้อยละ 25  โดยกระทรวงพลังงานระบุว่าการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรก เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในช่วงปีก่อน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการหาจุดเหมาะสมของการใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งสามารถคำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบและจำลองสถานการณ์แล้วนำเสนอเป็นข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจในการใช้พลังงานให้อยู่ในรูปแบบที่คุ้มค่า