หน่วยนี้เนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของผู้เรียน เกี่ยวกับ ฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ การอ่านฉลากโภชนาการ  อย่าลืมติดตามกันนะ 💡

  • ฉลากโภชนาการ   เป็นฉลากที่แสดงข้อมูลโภชนาการ ซึ่งระบุชนิดและปริมาณสารอาหารของอาหารนั้น ในกรอบสี่เหลี่ยม มีอยู่ 2 รูปแบบ  ได้แก่  
  • 1. ฉลากโภชนาการแบบเต็ม แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารที่สำคัญที่ควรทราบ 15 รายการ

    2. ฉลากโภชนาการแบบย่อ ใช้ในกรณีที่สารอาหารตั้งแต่ 8 รายการ จากจำนวนที่กำหนดไว้ 15 รายการนั้นมีปริมาณน้อยมากจนถือว่าเป็นศูนย์ จึงไม่มีความจำเป็นต้องแสดงให้เต็มรูปแบบ   (ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)   อ่านเพิ่มเติมได้ที่  👉👉 แผ่นพับฉลากโภชนการ ประโยชน์ที่ไม่คววรมองข้าม

  • ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA : Guideline Daily Amount) หรือ ฉลากหวาน มัน เค็ม จะปรากฏบนบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานอย่าง มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้. โดยนำข้อมูลของสารอาหาร 4 ชนิด คือ พลังงาน (กิโลแคลอรี่) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม) และโซเดียม (มิลลิกรัม) มาแสดงให้ผู้บริโภคเห็นได้อย่างชัดเจนและอ่านง่าย  (ที่มา : สสส.)
                                              
 
  • ศึกษา สื่อการสอนการอ่านฉลากโภชนาการ ก่อนทำกิจกรรมนะ

👉👉. อ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ ฉลากอาหาร
📹 📹 บันทึกการสอนออนไลน์ ฉลากโภชนาการ   โดย อาจารย์ ดร.สิทธิพงศ์ สาธะวงค์ 



แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันพฤหัสบดี, 31 มีนาคม 2022, 3:13PM