الخطوط العريضة للقسم

  • ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายวิชา กฎหมายสิทธิมนุษยชน 1-66

    อาจารย์อารยา ชินวรโกมล

    อาจารย์อารยา ชินวรโกมล

  • สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน 7 ฉบับ

    1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)

    1

    2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)

    2

    3. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW)

    3

    4. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child (CRC)

    4

    5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD)

    5

    6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT)

    6

    7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ Convention on the Rights of the Persons with Disabilities (CRPD)

    7

  • สิทธิ

    สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นของพวกเราทุกคน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ ไม่ว่าคุณจะมีความเชื่ออะไร หรือใช้ชีวิตแบบไหนก็ตาม

    สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปได้ แต่บางครั้งสิทธิมนุษยชนอาจถูกจำกัด เช่น ถ้าคุณทำผิดกฎหมาย หรือกระทำการที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ เช่น ความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้น เพราะสิทธิมนุษยชนคือแนวคิดที่ได้รับการนิยาม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

    สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

    ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว จำนวน 7 ฉบับ จากทั้งหมด 9 ฉบับ ทําให้ประเทศไทยมีพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมไปถึงข้อตกลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประชุมระดับโลก โดยองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่หลักในการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย คือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ได้ระบุถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้หลายมาตราด้วยกัน เช่น ในมาตรา 4 นั้นระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" และ ในหมวดที่ 3 ซึ่งเป็นหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตราที่ 25 ถึง 49 ยังได้บรรยายขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในหลายด้านด้วยกัน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ เสรีภาพในการแสดงออก การไม่ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เป็นต้น

    นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดทำ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งจัดทำฉบับแรกในปี 2551 ในขณะที่ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 3 พ.ศ.2557-2561 โดยรัฐบาลได้จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนนําไปใช้ในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิของประชาชนในประเทศต่อไป

    .....

  • วิวัฒนาการสิทธิมนุษยชน 

              เมื่อในหลายประเทศได้พยายามเรียกร้องเพื่อให้มีการรับรองและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชนมากขึ้น จึงนําไปสู่การร่างกฎบัตรสหประชาชาติที่มีบทบัญญัติที่อ้างถึงและ เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอยู่หลายมาตรา สหประชาชาติได้อาศัยบทบัญญัติ ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสนับสนุนให้รัฐสมาชิกได้ตระหนักถึงความสําคัญและ เห็นถึงความจําเป็นในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและให้ความเคารพต่อสิทธิ มนุษยชน โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ถือกําเนิดขึ้นในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทําหน้าที่ในการดูแลความมั่นคงปลอดภัยและ รักษาสันติภาพโลก ซึ่งมีวิวัฒนาการตามลําดับเหตุการณ์ดังนี้ 

              ๑๒ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๑ มีการลงนามในปฏิญญาลอนดอน (London) ระหว่าง ผู้แทนรัฐบาลพลัดถิ่นของฝ่ายสัมพันธมิตร ณ พระราชวังเซนต์เจมส์กรุงลอนดอน โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการรุกรานของฝ่ายอักษะและเพื่อช่วยเหลือกันทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม 

              ๑๔ สิงหาคม ค.ศ.๑๙๔๑ ผู้แทนของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษได้ ลงนามในกฎบัตรแอตแลนติค (Atlantic Charter) บนเรือรบของสหรัฐอเมริกาชื่อ ออกัสตา ณ มหาสมุทรแอตแลนติคเหนือ เพื่อเน้นถึงความร่วมมือของประเทศทั้งสองและ เพื่อเป็นตัวจักรสําคัญในการดําเนินงานขององค์การระหว่างประเทศที่จะได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ 

              ๓๐ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๔๓ มีการลงนามในปฏิญญามอสโค (Moscow Declaration) โดยผู้แทนของประเทศจีน อังกฤษ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ณ กรุงมอสโก โดย เป็นความประสงค์ของสหภาพโซเวียตที่ต้องการมีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศที่ กําลังจะเกิดขึ้นนี้ 

              ๒๑ สิงหาคม ค.ศ.๑๙๔๕ ถึง ๗ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๔๔ ผู้แทนของประเทศจีน อังกฤษ สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา ประชุมร่วมกันเพื่อร่างกฎบัตรสหประชาชาติณ เมืองดัม บาร์ตัน ชานกรุงวอชิงตันดีซี ๒๕ เมษายน ค.ศ.๑๙๔๕ ผู้แทนจาก ๕๐ ประเทศร่วมลงนามในกฎบัตร สหประชาชาติณ เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา 

              ๒๔ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๔๕ ผู้แทนจากประเทศต่างๆทั่วโลกได้ร่วมกันให้สัตยาบันกฎ บัตรสหประชาชาติที่ได้ลงนามไว้ถือเป็นวันที่กฎบัตรสหประชาชาติเริ่มมีผลบังคับใช้ดังนั้น จึงถือว่าวันที่ ๒๔ ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสหประชาชาติตั้งแต่นั้นมา 

              โดยในกฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงเจตจํานงของการก่อตั้งองค์การ สหประชาชาติว่า “เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเจตจํานงที่จะช่วยชนรุ่น หลังให้รอดพ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นําความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณนามาสู่ มนุษยชาติในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว และที่จะยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นพื้นฐานของเกียรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของชายและ หญิงและของประชาชาติใหญ่น้อย และที่จะสถาปนาภาวการณ์อันจะธํารงไว้ซึ่งความ ยุติธรรมและความเคารพต่อข้อผูกพันทั้งปวงอันเกิดจากสนธิสัญญาและที่มาอื่นของ กฎหมายระหว่างประเทศ และที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานชีวิตที่ดี ขึ้นมีอิสรภาพมากขึ้นและเพื่อจุดหมายปลายทางเหล่านี้ที่จะปฏิบัติการผ่อนสั้นผ่อนยาว และดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขดั่งเพื่อนบ้านที่ดีและที่จะรวมกันเพื่อธํารงไว้ซึ่ง สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศและที่จะให้ความมั่นใจว่าจะไม่มีการใช้กําลัง อาวุธนอกจากเพื่อประโยชน์ร่วมกัน โดยการยอมรับในหลักการและวิธีการที่จะได้จัดตั้งขึ้น และที่จะใช้จักรกลระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในทางสังคมและ เศรษฐกิจของประชาชนทั้งปวง”

  • เรื่องเด่น