ลีลา จังหวะ และการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย (อาจารย์กมลรัตน์ คนองเดช) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
สาขาการศึกษาปฐมวัย

ลีลา


ออกแบบการจัดกิจกรรมลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย  โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของสมองและระบบประสาทวิทยา (Neuroscience : NS) และพัฒนาภาษาและการสื่อสารโดยยึดศาสตร์สาขาประสาทวิทยา (Neurolinguistics Science Process : NLSP) และการสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ตามระบบประสาทวิทยาของซีรีเบลลัม (Cerebellum) หรือสมองน้อย กับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษา/วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวผ่านการร้องเพลง เล่นดนตรีเพื่อพัฒนา ลีลา จังหวะ และการเคลื่อนไหว ทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยอายุ ต่ำกว่า 8 ปี โดยคลิปวีดิโอและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ ฝึกปฏิบัติลีลา จังหวะ และการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายเบื้องต้น ผ่านศิลปะการแสดงที่หลากหลาย ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหว เพื่อพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) วิเคราะห์ ประเมิน วางแผน ออกแบบการจัดกิจกรรมลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหว สื่อ อุปกรณ์ ที่ถูกต้องตามหลักการทำงานของสมองสำหรับเด็กปฐมวัย โดยทำงานร่วมกับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น พร้อมออกแบบประเมินเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม นำกิจกรรมที่ออกแบบไว้ไปทดลองกับกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือรายบุคคล เพื่อสะท้อนคิดในการปรับปรุงการออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้ตรงวัตถุประสงค์ และสะท้อนความคิดเพื่อให้มีทักษะในการออกแบบโปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา ลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี ได้อย่างต่อเนื่อง และประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดี มีความรอบรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง