อาหารหมักและเทคโนโลยีการหมัก 2/2566 (อ.ดร.หัสลินดา บินมะแอ และผศ. นุรอัยนี หะยียูโซะ)
สาขาจุลชีววิทยา

ชนิดของอาหารหมัก ชนิดและการเจริญของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก ปัจจัยที่มีผลต่อการหมัก การเตรียมการก่อนการหมัก (Upstream processing) หลักการ ชนิด และการเตรียมของถังหมัก การเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์และการทำให้ผลิตภัณฑ์บริสุทธิ์ การพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตจากกระบวนการหมัก เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการหมัก การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารหมักพื้นบ้านและนานาชาติ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารหมัก ประเด็นทันสมัยที่เกี่ยวข้อง และกรณีศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารหมัก

จุลชีววิทยาอาหารและการเป็นผู้ประกอบการ 2-2566 (อ.ดร.หัสลินดา บินมะแอ ผศ. นุรอัยนี หะยียูโซะ และอ.คอสียาห์ สะลี)
สาขาจุลชีววิทยา

จุลินทรีย์และความสัมพันธ์ในอาหาร หลักการฮาลาลในอาหาร องค์ประกอบของอาหารที่มีผลต่อการเจริญของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียและลักษณะการเน่าเสีย โรคและสารพิษจากจุลินทรีย์ในอาหาร วิธีป้องกันและกำจัดจุลินทรีย์ในอาหาร วิธีการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ตามมาตรฐานในอาหาร มาตรฐานอาหารทางจุลชีววิทยา การถนอมอาหารและแปรรูปทางจุลชีววิทยา ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์เพื่อการค้า ความรู้พื้นฐานแผนธุรกิจ การจัดการต้นทุนเเละรายได้ จริยธรรมทางธุรกิจ การวิเคราะห์ตลาด และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

จุลชีววิทยาอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพ 1/2566 (อ.ดร.หัสลินดา บินมะแอ และอาจารย์นุรอัยนี หะยียูโซะ))
สาขาจุลชีววิทยา

34118309 จุลชีววิทยาอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพ

Industrial Microbiology and Quality Control 6 (4-4-10)

คำอธิบายรายวิชา

จุลินทรีย์ที่มีความสำคัญทางอุตสาหกรรม หลักการคัดเลือก การหาสภาวะที่เหมาะสม การเก็บรักษาสายพันธุ์ และการปรับปรุงสายพันธุ์ในอุตสาหกรรม พื้นฐานเอนไซม์ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพโดยเอนไซม์จากจุลินทรีย์ เทคโนโลยีเอนไซม์จากจุลินทรีย์และการประยุกต์ใช้ กระบวนการหมัก จลนพลศาสตร์ การผลิตผลิตภัณฑ์ เก็บเกี่ยวผลผลิต และการทำให้บริสุทธิ์ในอุตสาหกรรมจากจุลินทรีย์ หลักการจัดการสุขาภิบาล ความปลอดภัย และการประกันคุณภาพตามหลักมาตรฐานทางอุตสาหกรรม ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ประเด็นสมัยใหม่ทางจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม และการศึกษานอกสถานที่

วันอังคาร เช้า 08:00-12:00 น.   บ่าย 13:00-16:00 น.

 ผู้สอนอ.ดร.หัสลินดา บินมะแอ        อ.นุรอัยนี หะยียูโซะ   

 ห้อง 09-417




สหกิจศึกษาทางจุลชีววิทยา 2/2566 (อ.ดร. หัสลินดา บินมะแอ และคณะ)
สาขาจุลชีววิทยา

การฝึกงานทางจุลชีววิทยาในสถานประกอบการหรือสถาบันทาง จุลชีววิทยาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ เพี่อแก้ปัญหาในองค์กร งานที่ได้รับมอบหมายควรเป็นโครงงานอิสระ และมีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน นักศึกษาต้องทำบันทึกการทำงานประจำวัน และนำเสนอผลงานโดยสัมมนาหลังฝึกงาน

จุลชีววิทยาทางการแพทย์ 1 2/2566 (ผศ.ซูไบด๊ะ หะยีวาเงาะ, ดร.สุธิมา ปรีเปรม)
สาขาจุลชีววิทยา

             โรคติดเชื้อ เชื้อก่อโรค การก่อโรคและกลไกการเกิดโรคติดเชื้อ แหล่งที่มาและการแพร่กระจายของเชื้อ การทำให้ปราศจากเชื้อ การทำลายเชื้อ และการควบคุมการติดเชื้อ การติดเชื้อในโรงพยาบาล สารต้านจุลินทรีย์ การใช้ยาปฏิชีวนะทางคลินิก การดื้อต่อสารต้านจุลินทรีย์ พื้นฐานระบบภูมิคุ้มกัน การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ โรคและความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เทคนิคทางภูมิคุ้มวิทยา วัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน หลักการและวิธีการศึกษาทางระบาดวิทยาเบื้องต้น


จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม 2/2565 (อาจารย์นุรอัยนี หะยียูโซะ)
สาขาจุลชีววิทยา

1. รหัสและชื่อรายวิชา

4118352 จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม

Industrial Microbiology

2. จำนวนหน่วยกิต
3 (3-0-6)
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
อ.นุรอัยนี หะยียูโซะ
คำอธิบายรายวิชา
หลักการของเทคโนโลยีกระบวนการชีวภาพ แมเทบอไลท์ขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเซลล์ที่สำคัญทางเทคโนโลยีชีวภาพ การควบคุมกระบวนการชีวภาพและการมอนิเตอร์ตัวแปร การผลิตผลิตภัณฑ์โดยกระบวนการทางจุลินทรีย์ การหาสภาวะที่เหมาะสม การคัดเลือก การปรับปรุงสายพันธุ์ ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการทำให้บริสุทธิ์ การผลิตผลิตภัณฑ์สำคัญโดยจุลินทรีย์ การผลิตและเทคโนโลยีเอนไซม์ การปรับแต่งทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากจุลินทรีย์

ทุกวันพุธ เวลา 13:00 - 16:00 น. ห้อง 09-413



34118106 พื้นฐานจุลชีววิทยา และการใช้เครื่องมือปฏิบัติการ 2/66
สาขาจุลชีววิทยา

ความหมาย ความสำคัญ และประวัติของจุลชีววิทยา โครงสร้างและหน้าที่ ของเซลล์โพรคาริโอต และยูคาริโอต การสืบพันธุ์และการเจริญของจุลินทรีย์ เมแทบอลิซึม การเพาะเลี้ยง พันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์ ความหลากหลายและประเภทของจุลินทรีย์โพรคาริโอตเเละยูคาริโอต นิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ บทนำของจุลชีววิทยาด้านต่างๆได้เเก่ สิ่งแวดล้อม อาหาร อุตสาหกรรม ภูมิคุ้มกันวิทยาและทางการแพทย์ การควบคุมจุลินทรีย์ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ ปฏิบัติการพื้นฐานทางจุลชีววิทยา การใช้เครื่องมือทางจุลชีววิทยาและการบำรุงรักษา การจัดการและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการตามหลักสากล

ภาษาอังกฤษสำหรับนักจุลชีววิทยาทางการแพทย์และอุตสาหกรรม 2/66
สาขาจุลชีววิทยา

การฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรมจากสื่อตีพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ คู่มือการใช้ เครื่องมือ บทความและรายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทักษะการอ่านเพื่อสรุปความ เขียนรายงานนําเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร

วิทยาศาสตร์ชีวภาพพื้นฐาน 2/2566 (อ.นุรอัยนี หะยียูโซะ และอ.คอสียาห์ สะลี)
สาขาจุลชีววิทยา

รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพพื้นฐาน (34118101)
จำนวนหน่วยกิต 6 (4-4-10)

คณาจารย์ประจำวิชา

1. อ.นุรอัยนี  หะยียูโซะ   เวลาเรียน:  วันจันทร์       เวลา 08:00-12:00 น.     

2. อ.คอสียาห์ สะลี        เวลาเรียน:  วันพฤหัสบดี       เวลา 13:00-16:00 น.   

คำอธิบายรายวิชา

          ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ สารเคมีของสิ่งมีชีวิต สมบัติและหน้าที่ของสารชีวโมเลกุล สมบัติของสิ่งมีชีวิต การจัดระบบสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ สมบัติและการทำงานของเอนไซม์     เมแทบอลิซึม พันธุศาสตร์ วิวัฒนาการ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของจุลินทรีย์ พืช และสัตว์ นิเวศวิทยาและพฤติกรรม ปฏิบัติการทางชีววิทยาเเละชีวเคมี