โครงสร้างหัวข้อ

  • 📍ยินดีต้อนรับ📍📍 นักศึกษาเข้าสู่รายวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและการจัดการอัคคีภัย


       
    อ.ฮาฟาณี  อามะ                อ.ดร.เมธิยา  หมวดฉิม

    hafanee.a@yru.ac.th    maytiya.m@yru.ac.th

  • บทที่ 1 หลักการเบื้องต้นของอุบัติเหตุ ความปลอดภัย และการจัดการความปลอดภัย

    อุบัติเหตุ Accident คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ไม่ได้คิดว่าจะเกิด ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า และเมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบด้านลบต่อตัวงาน ผู้ปฏิบัติงาน เกิดความสูญเสีย สูญหาย เสียหาย ไม่ว่าจะเล็กน้อย ปานกลาง ไปจนถึงผลกระทบขนาดใหญ่

    อุบัติการณ์ Incident คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและไม่ได้คิดว่าจะเกิด โดย Incident ใช้สำหรับการระบุเหตุการณ์ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรง หรือไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรเลย ต่อทั้งตัวงานและตัวผู้ปฏิบัติงานเอง 


  • บทที่ 2 เทคโนโลยีและความปลอดภัยในที่ทำงาน

    โรงงานอุตสาหกรรมเทคโนโลยีความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ความสูญเสียที่ตามมาทั้งความสูญเสียจากผู้ปฏิบัติงานจากเครื่องจักร หรือเกิดอันตรายในโรงงานได้ 

    ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย (Safety Management System: SMS) เป็นกระบวนการเชิงระบบในการจัดการด้านความปลอดภัย ซึ่งรวมถึงการจัดโครงสร้างองค์กร การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ การกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติในการจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กรนั้น SMS ขององค์กรจะเปรียบเสมือนบ้านหนึ่งหลัง บ้านที่มีความแข็งแรงคงทนจะต้องมีเสาและฐานรากที่แข็งแรง ซึ่งเสาที่แข็งแรงเปรียบได้กับองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบของระบบการจัดการด้านความปลอดภัย 

    การป้องกันทางด้านความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน ช่วยลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียด้านเวลา ด้านการเงิน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยอาศัยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ประกอบด้วย ความรู้ด้านวิชาการ การฝึกอบรม และมาตรการในการทำงาน


  • บทที่ 3 การวิเคราะห์งานแบบเควายที

    KYT หมายถึง วิธีการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางาน พร้อมทั้งกําหนดมาตรการหรือวิธีการจัดการอันตรายเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

    K คือ KIKEN หมายถึง อันตราย
    Y คือ YOCHI หมายถึง คาดการณ์ หรือทำนายล่วงหน้า
    T คือ TRAINING หมายถึง การฝึกอบรม

  • บทที่ 4 กิจกรรมค้นหาและประเมินอันตราย

    การค้นหาอันตรายในการทำงานด้วย CCCF คือ การตรวจสอบและการค้นหาแบบสมบูรณ์พร้อมทั้ง กำจัดอย่างสมบูรณ์

    ขั้นตอนการจัดทำ CCCF
    1.ประกาศนโยบายความปลอดภัยและกิจกรรม CCCF ต่อพนักงาน
    2.ดำเนินกิจกรรม CCCF อย่างจริงจัง
    3.รับการตรวจสอบ
    4.สนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยสนับสนุนกิจกรรม CCCF
    5.ทบทวนมาตรฐานการทางาน
    6.สำรวจความปลอดภัยโดยผู้บริหาร
    7.ขยายผลดำเนินกิจกรรม CCCF
    8.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน CCCF



  • บทที่ 5 มาตรการและวิธีการควบคุมอุบัติการณ์และอันตรายที่เกิดจากสภาพงาน กระบวนการผลิต เครื่องจักร หม้อนํ้า ภาชนะความดัน

    การป้องกันอุบัติภัยร้ายแรงจากกระบวนการผลิตและองค์ประกอบของมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตตั้งอยู่บน 4 เสาหลัก คือ
    1. แสดงพันธะสัญญาด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Commit to Process Safety)
    2. เข้าใจอันตรายและความเสี่ยงกระบวนการผลิต (Understand Process Hazards and Risk)
    3. จัดการอันตรายและความเสี่ยงกระบวนการผลิต (Manage Process Hazards and Risk)
    4. เรียนรู้และปรับปรุงจากความสำ เร็จและอุบัติการณ์ (Learn and Improve from Success Story and Incident)

    การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร
    1. การอบรมพนักงานให้สามารถใช้งานเครื่องจักรได้อย่างถูกต้อง
    2. ประเมินความเสี่ยงของเครื่องจักรซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ และวางแก้ไข เตรียมพร้อม
    3. ติดตั้งเซฟการ์ดให้กับเครื่องจักรในทุกๆจุด เช่น รั้วกั้น เพื่อดำเนินการแยกส่วนอันตราย
    4. กำชับให้พนักงานใส่อุปกรณ์เซฟตี้เสมอในขณะปฏิบัติงาน
    5. ทำการตรวจเช็คบำรุงรักษาเครื่องจักรสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ชำรุดได้ในขณะปฏิบัติงาน

    การทำงานกับหม้อน้ำเพื่อให้เกิดกิความปลอดภัย
       หม้อนำ้เป็นตัวต้นกำลังในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้การทำงานโรงงานเป็นไปได้ด้วยดี และ อันตรายที่เกิดมาจากหม้อน้ำก็มีอยู่มากมาย ซึ่งมันสามารถสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน ดังนั้น การตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานกับหม้อน้ำ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

    ภาชนะรับแรงดันที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ถังลม ไม่ว่าจะใช้ อากาศ หรือ ไนโตเจน ที่ใช้ในการผลิตก็เข้าข่ายการตรวจ ซึ่งถังพวกนี้มีอายุการใช้งาน เนื่องจากการถูกกัดกร่อน การตรวจสอบต้องวัดความหนาถังเพราะเป็นสิ่งชี้บ่งว่ายังสามารถรับแรงดันได้อยู่หรือไม่
    คำแนะนำ ควรทำการตรวจสอบทุกๆ 1 ปีเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานเพราะถังรับแรงดันมักจะทำงานตลอด 24 ชม. ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ว่ามีอะไรผิดปกติ เช่น ตรวจสอบ safety valve ซึ่งมีหน้าที่ระบายแรงดันในระบบเมื่อมีแรงดันสูงเกินค่าที่ตั้งไว้

  • บทที่ 6 มาตรการและวิธีการควบคุมอุบัติการณ์และอันตรายที่เกิดจากสภาพงาน ระบบไฟฟ้า การเชื่อมโลหะ การซ่อมบำรุง การย้ายวัสดุ

    ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
    กระแสไฟฟ้าจะใช้ทั้งในโรงงานอุตสากรรม สำนักงานหรือตามบ้านเรือน ซึ่งมีอันตรายสูงมากอาจถึงกับเสียชีวิตและยังสูญเสียทรัพย์สิน ดังนั้นผู้ที่ใช้งานหรือมีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

    การเชื่อมโลหะ
    การใช้ความร้อนสูงหลอมเหลวโลหะ เพื่อเชื่อมต่อโลหะหรือตัดโลหะ ให้ออกจากกันมักพบเห็นได้มากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการก่อสร้างต่อเติม รวมไปถึงสถานประกอบกิจการต่างๆ

    ความปลอดภัยเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง
       การซ่อมบำรุงเครื่องมือเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม จัดว่าเป็น สิ่งสำคัญเร่งด่วนซึ่งส่งผลต่อการรักษาสภาพความพร้อมในการปฏิบัติงานและลดอันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ชำรุดขาดการดูแลรักษาที่ดี แม้การซ่อมบำรุงรักษาเป็นสิ่งที่ต้องใช้งบประมาณ และค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่เป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะละเลยไม่ได้

    การเคลื่อนย้ายวัสดุ
       การขนย้ายวัสดุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือจากแหล่งงานหนึ่งไปยังอีกแหล่งงานหนึ่งเป็นระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุที่ได้มีการนำเอาเครื่องมือในการขนย้ายหลายชนิดเข้ามาช่วย ซึ่งในปัจจุบันการเคลื่อนย้ายวัสดุสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ใน แต่ละประเภท
    1. การเคลื่อนย้ายโดยเครื่องจักร เป็นระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุที่ได้มีการนำเอาเครื่องมือในการขนย้ายหลายชนิดเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องจักรแบบธรรมดา ได้แก่ รถยก รถลากจูงประกอบรถพ่วง ปั้นจั่น รางเลื่อน
    2. การเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ การใช้ระบบเคลื่อนย้ายอัตโนมัติโดยอาศัยคอมพิวเตอร์จัดโปรแกรม ควบคุมการทำ งานของชุดเครื่องจักรการใช้ระบบเคลื่อนย้ายอัตโนมัติจะทำ ให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและประหยัดเวลา ได้แก่ ระบบเคลื่อนย้ายวัสดุตามสายพาน ระบบเคลื่อนย้ายอัตโนมัติสำหรับใช้เคลื่อนย้ายวัสดุขึ้นเก็บในที่สูง

  • บทที่ 7 เทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านความปลอดภัยในยุคดิจิตอล

    การพัฒนาเครื่องมือและวัตถุตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี แต่ในปัจจุบันความรู้ในแขนงต่างๆ ได้ถูกค้นพบและกำหนดเป็นทฤษฎีอย่างมากมาย ดังนั้น การพัฒนาทางเทคโนโลยีจึงอยู่บนพื้นฐานของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการออกแบบเชิงวิศวกรรม ประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยี

    การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและคมนาคมอย่างรวดเร็วถึงขีดสุด อีกมุมหนึ่งที่ถือเป็นการเข้าสู่ยุคอนาคตอย่างแท้จริง นั่นก็คือ หุ่นยนต์ หรือ Robot ซึ่งหุ่นยนต์เป็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนให้การใช้ชีวิตของผู้คนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากการเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยที่มนุษย์อาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ที่ใช้ในงานบ้าน หุ่นยนต์ที่ช่วยขนย้ายสิ่งของ ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ในที่ทำงาน และ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

  • บทที่ 8 การป้องกันและควบคุมอัคคีภัยในอุตสาหกรรม

  • บทที่ 9 การเลือกใช้อุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณเตือนภัย

  • บทที่ 10 การจัดทำแผนฉุกเฉินการฝึกซ้อมดับเพลิงเบื้องต้นและการอพยพหนีไฟ

  • บทที่ 11 กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย