Section outline

    • สินสอด ภาษาอาหรับเรียกว่า มะฮัร ตามหลักศาสนาบัญญัติหมายถึง ทรัพย์ซึ่งฝ่ายชายจำเป็นจะต้องให้แก่หญิงคู่สมรส ในขณะที่สินสอด ตามกฎหมายไทย เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณีเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดย มีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ท้าให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียก สินสอดคืนได้

      สำหรับสินสอด (มะฮัร) ตามทัศนะอิสลามมันมิใช่องค์ประกอบหลักของการสมรส หรือเงื่อนไขในองค์ประกอบดังกล่าว เพียงแต่จะมีผลด้านนิติบัญญัติหากฝ่ายชายปฏิเสธการให้สินสอดแก่ฝ่ายหญิง ที่สำคัญส่งเสริมให้ขานจำนวนของสินสอดในการประกอบพิธีสมรส ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาพิพาทที่จะเกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสทั้งสองอัลลอฮฺได้โองการไว้ ความว่า “และเจ้าทั้งหลายจงนำมาให้แก่บรรดาหญิง (คู่สมรส) ซึ่งสินสอดของพวกนางด้วยความเต็มใจ” 

      ในขณะที่ท่านนบี มูฮัมมัดจะทำการสมรสให้ชายผู้หนึ่งท่านได้กล่าวแก่ชายผู้นั้น กล่าวว่า : “ท่านจงมอบอาภรณ์แก่นาง” ชายผู้นั้นกล่าวว่า : “ฉันไม่มี” ท่านนบี กล่าวว่า : ท่านจงมอบให้แก่นางถึงแม้ว่าจะเป็นแหวนที่ทำจากเหล็กก็ตาม”

      นิยาม มะฮัรกับสินสอด   "สินสอด" หมายถึง ทรัพย์น้ำใจที่ทางฝ่ายสามีจะมอบให้แก่บิดามารดาของฝ่ายหญิงในพิธีสมรส ในฐานะที่ทั้งยอมยกลูกสาวให้ตน" ส่วน "มะฮัร" หมายถึง "ทรัพย์ที่ทางสามีจะมอบแก่ภารยาของตนในพิธีสมรส ไม่ใช่บิดามารดาของเธอ" แต่เมื่อเธอได้รับมันแล้ว เธอก็สามารถที่จะมอบทรัพย์บางส่วนแก่ใครก็ได้ที่เธอต้องการ อีกหนึ่งคำนิยาม มะฮัรกับสินสอด  "สินสอด มอบให้พ่อแม่เจ้าสาว เหมือนเป็นค่าน้ำนม"

      มะฮัรฺ มอบให้เจ้าสาวในวันแต่งงานเมื่อผ่านการนิกะห์แล้วเป็นของเจ้าสาวครึ่งหนึ่ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์แล้วเป็นของเจ้าสาวทั้งหมด

      ในศาสนาอิสลามให้ความสำคัญกับเรื่องสินสอดทองหมั้นที่ฝ่ายชายต้องมอบให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเป็นของขวัญวันแต่งงานอย่างมากทีเดียว ถ้าฝ่ายชายละเลยในเรื่องของสินสอด การแต่งงานก็ถือเป็นอันต้องโมฆะไป ซึ่งตามหลักแล้วมูลค่าของสินสอดที่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตกลงกันระหว่างผู้ปกครองของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในรูปของเงินทอง เพชร นิลจินดาเสมอไป อาจแทนด้วยสิ่งมีค่าที่เป็นนามธรรม เช่น การสอนอ่าน พระคัมภีร์อัลกุรอ่านอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น

      แต่ทั้งนี้ มะฮัรกับสินสอดที่ฝ่ายชายนำมามอบในพิธีจะถือเป็นสมบัติของฝ่ายหญิงในทันที เมื่อทำการมอบให้แล้ว การมอบสินสอดของศาสนาอิสลามไม่เหมือนกับประเพณีของบางศาสนา ที่จะต้องให้ผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นผู้มอบสินสอดให้กับฝ่ายชายเพื่อมาแต่งงานกับลูกสาวของตน ซึ่งค่านิยมเช่นนี้ ไม่มีให้เห็นใน ศาสนาอิสลามและซ้ำยังถูกว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกับสตรีเพศ อีกด้วย

      ความสำคัญของมะฮัรกับสินสอด   

      ที่สำคัญสินสอดนั้นเหมือนกับการปฏิบัติในยุคญาฮีลียะห์ ซึ่งที่เวลาบุตรสาวแต่งงาน ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของบิดามารดาทันที โดยที่ลูกสาวนั้นไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ผู้ชายมอบให้ ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับความหมายของมะฮัรในอิสลาม มะฮัรในอิสลามนั้นคือ ทรัพย์สินต่างๆที่ฝ่ายชายมอบให้เพื่อเป็นการแสดงถึงเกียรติของผู้หญิงและบิดามารดานั้นไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์นี้ เว้นแต่ด้วยการยินยอมของบุตรสาว

      จากความหมายข้างต้น เราจะเห็นว่า มะฮัรและสินสอดนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยที่จากคำนิยามของสินสอดนั้น คือ สิ่งที่อิสลามให้การปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง อิสลามกำหนดกฎเกณฑ์ รูปแบบและวิธีการปฏิบัติต่อบทบัญญัติด้านต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มะฮัรเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติอิสลามที่มีกฎเกณฑ์รูปแบบวิธีการและรายละเอียดที่แตกต่างจากสินสอด ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่อิสลามได้กำหนดไว้ มะฮัรจึงเป็นสิ่งหนึ่งในเรื่องราวทั้งหลายแห่งบทบัญญัติอิสลาม อันเป็นกฎเกณฑ์แห่งการปฏิบัติในด้านการสมรส พื้นฐานของมะฮัรจึงถูกสถาปนาไว้อย่างมั่นคงและมีความสร้างสรรค์ในตัวของมันเอง

      ความหมายของมะฮัรในเชิงภาษาศาสตร์

      คำว่า  "มะฮัร" เป็นคำภาษาอาหรับมาจากรากศัพท์ของประโยคว่า "วะก๊อด" มะฮะรอ อัลมัรรอะตะ มีความหมายว่า ( และแท้จริงเขาได้มอบมะฮัรให้แก่สตรี )

      ความหมายของมะฮัรในเชิงวิชาการ

      มะฮัร หมายถึงสิ่งที่วาญิบ (จำเป็น) ด้วยสาเหตุของการสมรส หรือการเสพเมถุนเนรโทษ (การร่วมประเวณีโดยสำคัญผิดตัว) หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยบังคับ

      อันนะวะวีย์ ให้ความหมายของคำว่ามะฮัรว่า ทรัพย์สินที่ชายจำเป็นต้องจ่ายให้แก่หญิงด้วยสาเหตุมาจากสมรสหรือการร่วมประเวณี

      ดุสูกีย์ให้ความหมายของคำว่ามะฮัรว่า ทรัพย์สินที่ชายจำเป็นต้องมอบให้แก่ภริยาเพื่อเป็นการตอบแทนจากการเสพสุขอวัยวะเพศของนาง

      จากความหมายของมะฮัร ตามที่ได้กล่าวมานั้นแม้จะมีสำนวนที่แตกต่างกันแต่ความหมายโดยรวมแล้วมุ่งไปที่ประเด็นเดียวกันคือทรัพย์สินที่ชายจำเป็นต้องมอบให้แก่หญิงอันเนื่องจากการสมรสเพื่อเป็นการตอบแทนแก่นาง

      ความแตกต่างระหว่างสินสอดกับมะฮัร

      สินสอด คือ สิ่งที่ชายต้องมอบให้แก่พ่อแม่ของฝ่ายหญิงเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณค่าเลี้ยงดู โดยสินสอดทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ ภริยาไม่มีสิทธิ์ในสินสอดแต่อย่างใด แต่มะฮัรคือสิ่งที่ชายจำเป็นต้องมอบให้กับภริยา โดยนางมีสิทธิ์ในมะฮัรทั้งหมด โคยนางจะจัดการกับมะฮัรอย่างไรก็ได้ ซึ่งพ่อแม่ไม่มีสิทธิ์ในมะฮัรหากไม่ได้รับการอนุมัติจากนาง

      สินสอดมีความแตกต่างจากของหมั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ 3 ประการดังต่อไปนี้

      1. สินสอดจะต้องเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิง หากให้บุคคลอื่นไม่ถือเป็นสินสอด หรือหากให้แก่หญิงโดยตรงก็ไม่ใช่สินสอดแต่เป็นของหมั้น

      2. สินสอดนั้นไม่จำเป็นต้องให้ขณะทำการหมั้น จะตกลงให้สินสอดหลังสมรสก็ได้ แต่จะต้องมีการตกลงกันเรื่องสินสอดก่อนสมรส หากการตกลงเรื่องการให้ทรัพย์สินแก่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเกิดขึ้นหลังการสมรส เช่นนี้เป็นการให้โดยเสน่หาไม่ใช่สินสอด

      3. สินสอดนั้นต้องให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงขอมสมรส ไม่ใช่เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสเหมือนของหมั้นหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น เพื่อขอขมา ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีสาเหตุมาจากหญิง เช่น หญิงคู่หมั้นเป็นโรคร้ายแรงหรือหญิงคู่หมั้นทิ้งชายไปต่างประเทศไม่ยอมกลับมาอีก ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ แต่ถ้าชาชบิดพลิ้วไม่ยอมสมรส หรือชายหญิงต่างละเลยไม่ไปจดทะเบียนสมรส ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนสินสอด

      สิทธิและอัตราของสินสอด

      สินสอดเป็นสิทธิของฝ่ายหญิงเพียงผู้เดียว ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะจัดการอย่างไรก็ได้ ไม่ว่าจะยกให้ผู้ปกครอง ญาติ บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือแม้กระทั่งมอบกลับคืนให้กับสามีก็ได้

      ศาสนบัญญัติมิได้กำหนดอัตราสินสอดที่แน่นอน เพียงแต่ให้เป็นทรัพย์ หรือสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์ได้ หรือเป็นประโยชน์ก็ตาม เช่น การสอนอัลกุรอาน เป็นต้น บันทึกโดยอิหม่าม บุคอรี :4341/มุสลิม : 1425

      ดังนั้นหากจะสรุปจากคำนิยามตามกฎหมายอิสลามกับกฎหมายไทย สินสอดหรือมะฮัรตามกฎหมายอิสลามจึงไม่เหมือนกับสินสอดตามกฎหมายไทย   

      1. “มะฮัร ” ไม่เท่ากับ สินสอด

      2. “มะฮัร” ไม่ใช่ราคาการซื้อขายส่งมอบฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเป็นราคาของสิ่งนั้น

      3. “มะฮัร” ถูกกำหนดมาเพื่อด้อยค่าเรื่องการตั้งราคาฝ่ายหนึ่งเป็นดั่งสินค้า ซึ่งในยุคมืดที่บิดามารดาเป็นผู้ตั้งราคาและเป็นเจ้าของสินสอดนั้น

      4. “มะฮัร “ มันมี Sense ของของขวัญ การผูกสัมพันธ์ ผูกมัด ความพึงใจ การรวมความรู้สึกร่วมระหว่าง 2 ฝ่ายอยู่ด้วย

      5. “มะฮัร “เป็นสิทธิของเจ้าสาวล้วนๆไม่เกี่ยวกับพ่อแม่

      6. สมฐานะสตรี อันนี้ไม่ได้แปลเป็นราคาหรือมูลค่าของทรัพย์สินอย่างเดียว แม้เงื่อนไขของสิ่งที่นำมาเป็น “มะหัร” ได้ ต้องตีราคาออกมาเป็นมูลค่าการซื้อขายทรัพย์ที่เป็น “มะหัร” นั้นได้ แต่มันยังมี Sense ในเรื่องมูลค่าทางจิตใจด้วย

      7. “มะฮัร ” หมายถึงองค์ประกอบของการตกลงที่จะผูกมัดสองฝ่ายเข้าด้วยกัน เป็นองค์ประกอบของการโอนย้ายหน้าที่ในการดูแล ปกป้อง คุ้มครอง ทะนุทนอม ซึ่งแต่เดิมเป็นหน้าที่ของวะลี (บิดา) สู่ผู้เป็นสามี

      8. “มะฮัร” ดูเหมือนจะให้ความสำคัญของความพึงพอใจของเจ้าสาวอยู่มากเพราะเธอเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน “มะหัร” นั้น น่าจะต้องฟังความพึงใจของเธอให้มาก ไม่ใช่คำนึงแต่ความพึงพอใจของครอบครัวของเธอ

      9. ในเมื่อมันมี Sense ของทรัพย์ที่มากกว่าทรัพย์สินรวมอยู่ด้วย อิสลามจึงกำหนดเรื่อง “นาฟาเกาะฮฺ” มาผูกมัดสำทับผู้เป็นสามีอีกที 

      10. ทำความเข้าใจเรื่อง “มะฮัร ใน sense นอกกระแสแล้ว มันรุ้สึกโรแมนติก

      เหตุผลในการบัญญัติมะฮัร

               อัลลอฮฺ ได้บัญญัติการสมรส อีกทั้งได้วางระเบียบการเพื่อเป็นองค์ประกอบและได้กำหนดเงื่อนไขเพื่อรับรองการสมรส นักกฎหมายอิสลามได้ให้การสมรสเริ่มต้นด้วยสำนวนที่เฉพาะแล้วตามด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆของการสมรส ส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์เหล่านั้น คือ มะฮัร อัลลอฮ.ได้กำหนดให้มะฮัรเป็นหน้าที่ของผู้ชายในการแสวงหาความสุขจากการมีเพศสัมพันธ์กับภริยา ทั้งมีการบัญญัติให้ชายต้องจ่ายมะฮัรให้กับหญิงทั้งใน อัลกุรอานและอัลหะดีษ และมีการห้ามผู้ปกครองยึดเอามะฮัรของบุตรสาวมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง เพราะบุตรสาวนั้นไม่ใช่สินค้าที่จะมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน แต่ทว่านางคือผู้สูงส่งและมีเกียรติยิ่ง ซึ่งนางเปรียบเสมือนของฝาก (อะมานะย์) ที่สามีจะต้องปกป้องรักษาไว้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อผู้ชายต้องการแสวงหาความสุขด้วยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง และแสวงผลประโยชน์จากนางในการใช้ชีวิตร่วมกัน อิสลามได้บัญญัติให้ผู้ชายมอบมะฮัรให้กับหญิงที่ตนได้สมรส เพื่อเป็นการแสดงถึงความจริงใจในความต้องการของชายที่มีต่อหญิง ดังอัลลอฮฺ  ได้กำหนดมะฮัรกับท่านนบีอะดัมขณะที่ท่านด้องการเข้าใกล้นางหะวาอ. โดยมะลาอิกะฮ.ได้กล่าวกับนบีอะดัมว่า โอ้ อะดัมท่านจงออกห่างจากนางจนกว่าจะได้มอบมะฮัรให้แก่นาง แบบอย่างดังกล่าวบ่งบอกว่า ภริยาคือ ผู้เป็นเจ้าของมะฮัรอย่างสมศักดิ์ศรี และเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกันในทุกยุคทุกสมัย (al- Sharbini, 1975 : 3/366)

      ในบทบัญญัติของอิสลามย่อมมีเหตุผลเสมอ ไม่ว่าอิสลามจะมีการบัญญัติเรื่องใดก็ตาม มะฮัรก็เช่นเดียวกัน อัชซูหัยลีข์กล่าวว่า เหตุผลในการบัญญัติมะฮัรนั้นเป็นการเปิดเผยความต้องการอย่างจริงใจของฝ่ายชายในการสมรสและการใช้ชีวิตฉันท์สามีภริยา เป็นการยกย่องและให้เกียรติแก่หญิง เป็นจุดเริ่มต้นของรากฐานแห่งการดำเนินชีวิตคู่อย่างสมเกียรติ เพื่อให้ความตั้งใจในการดำเนินชีวิตคู่นั้นสมบูรณ์และมีความมั่นคง และเพื่อฝ่ายหญิงจะได้เตรียมตัวในสิ่งที่จำเป็นเช่นเครื่องแต่งกายและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการสมรส (al- Zuhayli, 1989: 71253)

                มะฮัรเป็นบทบัญญัติที่อิสลามกำหนดขึ้นเพื่อลบล้างระบบแห่งความงมงาย การกดขี่ข่มเหงของสามีในยุคสมัยก่อนอิสลามที่เห็นผู้หญิงไร้ค่าไม่มีความสำคัญและไม่มีสิทธิ์ครอบครอง ทรัพย์สินอะไรเลย เป็นการวางหลักประกันให้กับนางเพื่อไม่ให้ผู้ชายมักง่ายมองนางเป็นแค่ทางผ่านเพื่อสนองอารมณ์เพียงชั่วครู่ ด้วยการกำหนดมะฮัร ทำให้ชายได้นึกถึงทรัพย์สินที่เขาได้สละไป และมีความเสียดายต่อทรัพย์สิน โดยไม่คิดเปลี่ยนคู่ครองด้วยเหตุผลเพียงเล็กน้อย อัสสิตลานีย์ กล่าวว่า กฎหมายอิสลามได้บัญญัติให้สามีต้องจ่ายมะฮัรให้แก่ภริยา เพื่อเป็นการปลอบใจนาง ยอมรับศักดิ์ศรีของนาง และเพื่อเป็นการลบล้างสภาพความงมงายของชนสมัยก่อนที่เคยเอารัดเอาเปรียบนาง กักตุนนาง เหยียดหยามนาง และเอาทรัพย์สมบัติของนาง ซึ่งมันคือสิทธิส่วนตัวของนาง และเป็นกรรมสิทธิ์ของนาง ไม่มีญาติคนใดเป็นหุ้นส่วนในกรรมสิทธิ์นั้นเลย ดังนั้น นางมีสิทธิ์ที่จะให้ มะฮัรซึ่งเป็นสิทธิของนางกับใครหรือให้ใครยืมมะฮัรของนาง หรือเอามะฮัรไปบริจาคทาน และการใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อิสลามอนุญาติ (al-Sidlan, 1416 : 12-13)

                ดังนั้น มะฮัรจึงเป็นบันไดขั้นแรกของการสมรสที่บ่งบอกถึงความเสียสละของผู้ที่เป็นสามีที่จะต้องมอบให้กับภริยา เพื่อแสดงถึงความรักและความจริงใจที่พร้อมจะให้แก่นาง เพื่อเป็นหลักประกันให้กับตัวนาง ทั้งได้รับรู้ถึงความจริงใจอย่างแท้จริงในการที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตลอดไป และมะฮัรถูกกำหนดเป็นหน้าที่ของชาย เพราะชาย คือ ผู้นำครอบครัวและด้วยรูปลักษณ์และพลังตามสรีระที่พระเจ้าให้กับชายเหนือกว่าหญิงเป็นผู้สืบตระกูลและผู้รับผิดชอบค่าอุปการะเลี้ยงดู อัรรอพีอีย์ ได้กล่าวว่าการบัญญัติมะฮัรเพื่อให้เกิดความรักความห่วงใยระหว่างสามีภริยาและมะฮัรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชายเพราะผู้ชายนั้นแข็งแรง และผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัวและวงศ์ตระกูล (al- Rafi'i, 1997 : 8/230)

                อิสลามได้บัญญัติมะฮัร ไม่ใช่เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างตัวผู้เป็นภริยากับสิ่งมีค่าของสามี แต่มะฮัรคือเกียรติแห่งความดีที่สูงส่งของหญิง ท่านบุรฮาน นุดดีน ได้กล่าวว่า อิสลามได้บัญญัติมะฮัรเพื่อให้เกิดความมีเกียรติแห่งการสมรสไม่ใช่บัญญัติมะฮัรเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเสมือนกับราคาสินค้าจากการซื้อขายหรือเป็นค่าจ้างจากการว่าจ้างเพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว จำเป็นจะต้องระบุมะฮัรก่อนสัญญาสมรสแต่สัญญาสมรสนั้นใช้ได้โดยไม่ต้องระบุมะฮัรในขณะทำสัญญาสมรส (Burhan al-Din, 1315 : 2/434-435)

                สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกที่อัลลอฮฺทรงสร้างมาล้วนแต่มีความสำคัญและมีค่าในตัวของมันเอง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีความแข็งแกร่งหรือมีความอ่อน โดย ผู้ชายและผู้หญิงก็เช่นเดียวกันทั้งสองมีความสำคัญและมีค่าที่แดกต่างกัน ถ้ามองถึงสภาพทั่วไปแล้วชายน่าจะใช้กำลังและความแเข็งแกร่งที่มีอยู่บังคับและขู่เข็ญเพื่อให้ได้นางมาครอบครอง แต่ด้วยความอ่อนโยนความมีค่าในตัวของหญิง จึงทำให้ชายจำขอมที่จะสรรหาและสละในสิ่งที่มีค่าเพื่อแลกกับตัวนาง สิ่งนั้นคือมะฮัรที่อิสลามได้กำหนดให้ชายต้องมอบให้กับหญิงที่เขาสมรส อิสลามได้กำหนดมะฮัรตามสภาพที่เป็นจริงและถูกต้อง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของมนุยย์ทั้งโลก เป็นการให้ความเป็นธรรมและรักษาปกป้องสิทธิซึ่งกันและกัน 

       บทบัญญัติของมะฮัร

      มะฮัรเป็นสิ่งที่วาญิบ ต้องจ่ายให้สตรีเป็นมติเอกฉันท์ของนักกฎหมายอิสลาม โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน

      มะฮัรเป็นสิ่งวายิบที่ชายต้องจ่ายให้ภริยา นักกฎหมายอิสลามมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า มะฮัรเป็นสิ่งที่อิสลามกำหนดให้สามีต้องจ่ายแค่ภิริยาในการสมรส แต่การระบุมะฮัธในขณะทำสัญญาสมรสนั้นไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่จำเป็น

      อิบบุคุดคามะลุ กล่าวว่า อิสลามได้กำหนดมะฮัรเป็นสิ่งวาญิบในทุกครั้งที่การทำสัญญาสมรสโดยสามีต้องจ่ายให้แก่ภริยา แต่ทว่าการระบุมะฮัรในขณะทำสัญญาสมรสนั้นไม่ได้เป็นเงื่อนไขในอันที่จะทำให้สัญญาสมรสนั้นถูกต้องใช้ได้

      ดังนั้นมะฮัรเป็นสิ่งจำเป็นในการสมรส แต่ทว่าบางครั้งได้มีการตกลงอัตรามะฮัรในสัญญาสมรสมาแล้ว ซึ่งจำเป็นต้องง่ายมะฮัรตามอัตราที่ได้ตกลงกันไว้ และบางครั้งไม่ได้มีการตกลงกัน จึงไม่ได้ระบุมะฮัรในขณะทำสัญญาสมรส

      ผู้มีสิทธิ์ในค่ามะฮัร

      1. มะฮัรเป็นสิทธิ์ของสตรีผู้เป็นภริยาเท่านั้นไม่มีใครมีสิทธิ์ร่วมกับนาง นางจึงมีสิทธิ์ครองค่ามะฮัรแต่เพียงผู้เดียว

      2. มะฮัรเป็นสิทธิของภริยาคนเดียว โดยไม่มีใครมีสิทธิในมะฮัรนั้น มะฮัรเป็นสิ่งที่นางจะเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นความต้องการของนาง

      ผู้กำหนดมะฮัร

      เมื่อมะฮัรเป็นสิ่งที่กฎหมายอิสลามกำหนดในการสมรส ดังนั้นการกำหนดมะฮัร ในเรื่องนี้พอที่จะสรุปได้ 2 ประการดังนี้

      1. ช่วงเวลาทำสัญญาสมาสมะฮัร เป็นสิทธิ์แห่งอัลลอฮ.ที่พาดพิงไปถึงหญิงและผู้ปกครอง สำหรับการ

      กำหนดมะตัวเป็นสิทธิ์แห่งอัลลอฮนั่นมีความชัดเจนบางครั้งกำหนดโดยการระบุมะฮัรในการทำสัญญาสมรส บางครั้งโดยการกำหนดจำนวนมะฮัรมิบิล หากไม่ได้ระบุมะฮัรใบสัญญาสมรส สามีกริยาจะตกลงกันปฏิเสธมะฮัร ถือว่าไม่อนุมัติ จึงเป็นสิ่งชี้ชัดว่ามะฮัรเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮ.และอีกอย่างคือบรรดานักกฎหมายอิสลามได้มีข้อกำหนดจำนวนน้อยสุดของมะฮัร การกำหนดจำนวนมะฮัรเป็นข้อกำหนดของกฎหมายอิสลาม และกฎหมายอิสลามก็ไม่ยินยอมให้ระบุจำนวนมะฮัรน้อยกว่าที่กฎหมายอิสลามได้กำหนดไว้ ดังนั้นเมื่อระบุจำนวนมะฮัรน้อยกว่าจำนวนน้อยสุดที่กฎหมาย อิสลามกำหนดไว้จำเป็นจะต้องเพิ่มให้ได้ตามจำนวนน้อยสุดที่กฎหมายอิสลามระบุไว้ ตามทัศนะมัชฮับหะนะฟีย์ได้กำหนดจำนานน้อยสุดของมะฮัรไว้ 10 ดิรฮัม'เมื่อมีการตกลงสมรสในมะฮัรที่น้อยกว่า 10 ดิรฮัม จะต้องเพิ่มให้ครบ 10 ดิรฮัม ด้วยเหตุผลที่ว่า นั้นคือจำนวนที่กฎหมายอิสลามได้กำหนดไว้

      2. เมื่อสัญญาการสมรสเสร็จสิ้นสมบูรณ์ มะฮัรที่ได้ระบุก็เป็นสิทธิของภริยาคนเดียวโดยไม่มีใครมีสิทธิในมะฮัรนั้น มะฮัรเป็นสิ่งที่นางสามารถเอาไปใช้ในสิ่งที่นางมีความต้องการ

              งานแต่งอิสลามใส่ซอง การไปร่วมงานแต่งงานอิสลาม คือ การแสดงความยินดีให้กับบ่าวสาว โดยอาจมีของขวัญไปร่วมยินดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักนิยมให้เงินใส่ซองแทนการไปเลือกของขวัญที่อาจไม่ถูกใจบ่าวสาวก็ได้ ดังนั้น เงินใส่ซองจึงเป็นที่นิยมให้เป็นของขวัญกันมากที่สุด จริงๆ แค่ไปร่วมงานบ่าวสาวก็มีความสุขมากแล้ว เงินใส่ซองเป็นเพียงของขวัญที่มอบเพื่อแสดงความยินดีเท่านั้น