Section outline

    • ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) หรือชาวอะซอบะฮ์ หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิ์รับมรดกทั้งหมดหากบุคคลนั้นเหลือตัวคนเดียว หรือเหลือเพียงกลุ่มกันและเป็นบุคคลที่จะได้รับมรดกส่วนที่เหลือจากชาวฟัรฎู (ทายาทที่เป็นเจ้าของสิทธิ์) ที่ได้กำหนดตาม   อัลกรุอานและอัลฮาดิษ หากบุคคลนั้นอยู่ร่วมกันกับชาวฟัรฎู

      ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

      1. ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) โดยตนเอง

      2. ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) โดยผู้อื่น

      3. ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) ร่วมกับผู้อื่น

       

      ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) โดยตนเอง

      ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) โดยตนเอง คือ ทายาทเพศชายที่ไม่ได้ถูกกั้นกลางระหว่างเจ้ามรดกกับทายาทนั้น         โดยทายาทเพศหญิง ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีสิทธิ์รับมรดกที่เป็น    เพศชาย ยกเว้นสามีและพี่ชายหรือน้องชายร่วมมารดาเดียวกัน โดยมีการแบ่งตามความสัมพันธ์แห่งการสืบสายโลหิตกับเจ้ามรดก

      ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) โดยตนเองนั้นจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม

      กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก คือ ลูกหลานที่เป็นชายของเจ้ามรดก ได้แก่

      1.              ลูกชาย

      2.              หลานชาย (ลูกชายของลูกชาย)

      กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้สืบสายโลหิตของเจ้ามรดก คือ บรรพบุรุษของเจ้ามรดก ได้แก่

      1.              พ่อ

      2.              ปู่

      กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้สืบสันดานของบิดาเจ้ามรดก คือ พี่น้อง ที่ไม่มีสตรีเข้ามาคั่นระหว่างเขากับเจ้ามรดก ได้แก่

      1.              พี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน

      2.              พี่ชายหรือน้องชายร่วมพ่อเดียวกัน

      3.              ลูกชายของพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน

      4.              ลูกชายของพี่ชายหรือน้องชายร่วมพ่อเดียวกัน

      กลุ่มที่ 4 กลุ่มผู้สืบสันดานของปู่ หรือของผู้สืบสายโลหิตที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไปจนสุดสายแล้วแต่ กรณี ได้แก่

      1.              ลุงหรืออาชายร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย

      2.              ลุงหรืออาชายร่วมพ่อเดียวกับพ่อผู้ตาย

      3.              ลูกชายของลุงหรืออาชายร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย

      4.              ลูกชายของลุงหรืออาชายร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย

      ตัวอย่าง  เมื่อผู้ตายทิ้งภรรยา 1 คนลูกชาย 1 คน ผู้มีสิทธิ์รับมรดกได้แก่ ภรรยาที่จะได้รับ ส่วนลูกชายของผู้ตายก็จะได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่าง  เมื่อผู้ตายทิ้งลูกสาว 2 คนและพ่อผู้มีสิทธิ์รับมรดกส่วนที่ได้รับ  ลูกสาว 2 คน จะได้รับ ส่วนพ่อจะได้รับ  และมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) อีกเช่นกัน

       

      ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) โดยผู้อื่น

      ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) โดยผู้อื่นหมายถึงบุคคลที่เป็นเพศหญิงรับอะชอบะฮฺร่วมกับผู้ชายซึ่งอยู่ในระดับชั้นเดียวกันผู้ชายได้รับ 2 ส่วนและผู้หญิงได้รับ 1 ส่วนผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ     (อะซอบะฮฺ) โดยผู้อื่นมีดังนี้

      1.     ลูกสาวรับมรดกร่วมกับลูกชาย

      2.     หลานสาว (ลูกสาวของลูกสาว) รับมรดกร่วมกับหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย)

      3.     พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันรับมรดกกับพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน

      4.     พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาเดียวกันรับมรดกร่วมกับพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดาเดียวกัน

      ตัวอย่าง  เมื่อผู้ตายทิ้งภรรยา 1 คนน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1 คนและน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน ผู้มีสิทธิ์รับมรดกได้แก่ ภรรยาในอัตรา ส่วนน้องสาวและน้องชายจะได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) โดยน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ได้ 1 ส่วน) น้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ได้ 2 ส่วน)

       

      ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) ร่วมกับผู้อื่น

      ผู้ที่ได้รับส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) ร่วมกับผู้อื่นหมายถึง บุคคลที่เป็นเพศหญิงโดยได้รับอะชอบะฮฺร่วมกับผู้หญิงด้วยกันในกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นลูกสาวหรือหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ของผู้ตายซึ่งผู้กินอะซอบะฮฺร่วมกับผู้อื่นมี 2 คนด้วยกันคือ

      1.พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน

      2.พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาเดียวกันตัวอย่างมารดาเดียวกัน

            ตัวอย่าง   เมื่อผู้ตายทิ้งลูกสาว 1 คนและน้องสาวร่วมบิดามารดา 1 คน ซึ่งลูกสาวผู้มีสิทธิ์รับมรดกจะได้รับ  ส่วน และน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน จะได้รับมรดกส่วนเหลือ     (อะซอบะฮฺ)