Section outline

    • เมื่อบุคคลตายทรัพย์สินหรือมรดกของผู้ตายจะตกทอดได้แก่ใครนั้น ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใดก็จะเป็นไปตามพินัยกรรม แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ กฎหมายกำหนดให้มรดกตกทอดแก่ทายาท ซึ่งในการแบ่งทรัพย์มรดกในทางกฎหมายอิสลามได้แยกประเภทของทรัพย์มรดกไว้ 2 ประเภทด้วยกัน คือ

      1. ทรัพย์มรดกที่จะตกแก่ทายาทที่เป็นเจ้าของสิทธิ์โดยแท้ (ฟัรฎู) เช่น สามี ภรรยา บุพการี ผู้สืบสันดาน เป็นต้น

      2. ทรัพย์มรดกที่จะตกเป็นมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ดังนั้นหลักเกณฑ์และอัตราส่วนในการแบ่งทรัพย์มรดกในทางกฎหมายอิสลามนั้นมีอัตราส่วนตัวเลข 6 ประเภทคือ                  สภาพการณ์การก็ย่อมแตกต่างกันออกไปของแต่ละคนซึ่งจะกล่าวรายละเอียดดังนี้

       

      สามี

      ในกรณีที่ภรรยาได้เสียชีวิต การรับมรดกของสามี[1]จะแบ่งการรับมรดกไว้ 2 กรณี คือ

      กรณีที่ 1   สามีจะได้รับมรดก  ของมรดก หากผู้ตายไม่ผู้สืบสันดาน (ทั้งลูกชายและลูกสาว)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 10 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ สามีและลุงของผู้ตาย สามีก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 5 ไร่ ส่วน ที่ดินที่เหลืออีก 5 ไร่ก็จะตกแก่ ลุง ในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 10 ไร่และเงินสดอีก 100,000 บาท และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ สามีและลุงของผู้ตาย 2 คน สามีก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 5 ไร่ เงินสดอีก 50,000 บาท ส่วนที่ดินและเงินสดจำนวน ที่เหลือก็จะตกแก่ ลุงทั้ง 2 คน ในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ       (อะซอบะฮฺ) คือ ที่ดินจำนวน 5 ไร่และเงินสด อีก 50,000 บาท ซึ่งลุงทั้ง 2 คนจะต้องแบ่งเท่า ๆ กัน

      กรณีที่ 2 สามีจะได้รับมรดก   เมื่อผู้ตายมีลูก (ทั้งลูและลูกสาว)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ สามีและลูกชายของผู้ตาย สามีก็จะได้รับมรดกเพียง    คือ ที่ดินจำนวน 3 ไร่ ส่วน ที่ดินที่เหลืออีก 9 ไร่ก็จะตกแก่ลูกชาย ในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ สามีและลูกชายและลูกสาวของผู้ตาย สามีก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 3 ไร่ ส่วน ที่ดินที่เหลืออีก 9 ไร่ก็จะตกแก่ลูกชายและลูกสาว ในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

       

       

       

      ภรรยา

      ในกรณีที่สามีได้เสียชีวิต การรับมรดกของภรรยา[2]จะแบ่งการรับมรดกไว้ 2 กรณี คือ

      กรณที่ 1 ภรรยาจะได้รับมรดก   เมื่อผู้ตายไม่มีลูก (ทั้งลูกชายและลูกสาว) หรือหลานชายหรือหลานสาวที่เกิดจากลูกชาย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ภรรยาและลุงของผู้ตาย ภรรยาก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 3 ไร่ ส่วน ที่ดินที่เหลืออีก 9 ไร่ ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 20 ไร่ และเงินสดอีก 60,000 บาท และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ภรรยาและลุงของผู้ตาย ภรรยาก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 5 ไร่ และเงินสดอีก 15,000 บาท ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 15 ไร่ และเงินสดอีก 45,000 บาท ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 2 ภรรยาจะได้รับมรดก เมื่อผู้ตายมีลูก (ทั้งลูกชายและลูกสาว) หรือหลานชายหรือหลานสาวที่เกิดจากลูกชาย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 8 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ภรรยาและลูกชายของผู้ตาย ภรรยาก็จะได้รับมรดกเพียง  คือ ที่ดินจำนวน 1 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 7 ไร่ ก็จะตกแก่ลูกชายในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ     (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 32 ไร่ และเงินสดอีก 80,000 บาท และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ภรรยาและลูกชายของผู้ตาย ภรรยาก็จะได้รับมรดกเพียง  คือ ที่ดินจำนวน 3 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 29 ไร่ ก็จะตกแก่ลูกชายในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

       

       

       

       

      ลูกสาว

      การรับมรดกของลูกสาว[3]มีจะแบ่งการรับมรดกออก อยู่ 3 กรณีคือ

      กรณีที่ 1 ลูกสาวจะได้รับ    เมื่อผู้ตายมีลูกสาวเพียงคนเดียวและ ผู้ตายไม่มีลูกชายอยู่ด้วย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ลูกสาวของผู้ตายและลุงของผู้ตาย ลูกสาวก็จะได้รับมรดกเพียง    คือ ที่ดินจำนวน 6 ไร่ ส่วน ที่ดินที่เหลืออีก 6 ไร่ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ     (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 24 ไร่ และมีเงินสดอีก 10,000 บาท และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ลูกสาวของผู้ตายและลุงของผู้ตาย ลูกสาวก็จะได้รับมรดกเพียง  คือ ที่ดินจำนวน 12 ไร่ เงินสดอีก 5,000 บาท ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 12 ไร่ และเงินสดอีก 5,000 บาท ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 2 จะได้รับ เมื่อผู้ตายมีลูกสาวมากกว่าหนึ่งคนและผู้ตายไม่มีลูกชายอยู่ด้วย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ ลูกสาวของผู้ตาย 2 คนและลุงของผู้ตาย 1 คนลูกสาวของผู้ตาย ทั้งสองคนจะได้รับมรดกรวมกัน   คือ ที่ดิน 8 ไร่ และแบ่งกัน เท่าๆ กัน เฉลี่ยคนละ 4 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 4 ไร่ ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 45 ไร่ และเงินสดอีก 90,000 บาท และมีญาติของผู้ตายเพียง 4 คน ได้แก่ ลูกสาวของผู้ตาย 3 คน และลุงของผู้ตาย 1 คนลูกสาวของผู้ตาย ทั้งสามคนจะได้รับมรดกรวมกัน  คือ ที่ดิน 30 ไร่ และแบ่งกัน เท่าๆ กัน ตกเฉลี่ยคนละ 10 ไร่ และเงินสดอีก 60,000 บาทและแบ่งกัน เท่าๆ กัน ตกเฉลี่ยคนละ 20,000 บาท ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 15 ไร่และเงินสดอีก 30,000 บาท ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

       

      กรณีที่ 3 กินส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) ร่วมกับพี่ชายหรือน้องชายของตน คือเมื่อผู้ตายมีลูกชายด้วยในสภาพอย่างนี้ผู้ชายได้รับ 2 ส่วนส่วนผู้หญิงได้ 1 ส่วน

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ลูกสาวและลูกชายของผู้ตาย ลูกสาวและลูกชายก็จะได้รับรับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือทั้งหมด 12 ไร่ โดยแบ่งกับ น้องชายของตน ตามสัดส่วน 1 ต่อ 2 คือ ลูกสาวจะได้รับ 4 ไร่ ส่วนลูกชายจะได้รับ 8 ไร่

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 30 ไร่ และเงินสดอีก 60,000 บาทและมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ลูกสาวและลูกชายของผู้ตาย ลูกสาวและลูกชายก็จะได้รับรับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือทั้งหมด 30 ไร่ และเงินสดอีก 60,000 บาท โดยแบ่งกับพี่ชายของตน ตามสัดส่วน 1 ต่อ 2 คือ ลูกสาวจะได้รับ 10 ไร่และเงินสด อีก 20,000 บาท ส่วนลูกชายจะได้รับ 20 ไร่ และเงินสดอีก 40,000 บาท

       

       

       

      หลานสาว

      หลานสาว[4] ในที่นี้หมายถึงลูกสาวของลูกชาย  ซึ่งไม่รวมถึงลูกสาวของลูกสาว

      หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย)  แบ่งออกเป็น 6 กรณีด้วยกัน

       กรณีที่ 1 จะได้รับ  เมื่อผู้ตายมีหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) เพียงคนเดียวหากว่าผู้ตายไม่มีทายาทสืบมรดกนอกจากนางโดยที่นางมารับมรดกแทนตำแหน่งของลูกสาวของผู้ตายนั่นเอง

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ของผู้ตายและลุงของผู้ตาย หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ก็จะได้รับมรดกเพียง คือ ที่ดินจำนวน 6 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 6 ไร่ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 32 ไร่ และเงินสดอีก 100,000 บาท และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ของผู้ตายและลุงของผู้ตาย หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 16 ไร่ และเงินสดอีก 50,000 บาท ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 16 ไร่ และเงินสดอีก 50,000 บาท ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 2 จะได้รับ  เมื่อผู้ตายมีหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) มากกว่าหนึ่งคน หากว่าผู้ตายไม่มีทายาทสืบมรดกนอกจากพวกนางโดยที่พวกนางมารับมรดกแทนตำแหน่งของบรรดาลูกสาวของผู้ตายนั่นเอง

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 4 คน ได้แก่ หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ของผู้ตาย 3 คนและพ่อของผู้ตาย โดยหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ทั้ง 3 คนจะได้รับมรดก  ส่วน จะเท่ากับที่ดิน 8 ไร่ ส่วนพ่อ จะได้รับ ส่วน ซึ่งจะเท่ากับ 2 ไร่ และส่วนที่เหลืออีก 2 ไร่  ก็จะตกแก่พ่อของผู้ตายอีกในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 18 ไร่ และมีเงินสดอีก 18,000 บาท และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ของผู้ตาย 2 คนและพ่อของผู้ตาย โดยหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ทั้ง 3 คนจะได้รับมรดก  ส่วน จะเท่ากับที่ดิน 12 ไร่ และเงินสดอีก 12,000 บาท ส่วนพ่อ จะได้รับ ส่วน ซึ่งจะเท่ากับ 3 ไร่และเงินสดอีก 3,000 บาท และส่วนที่เหลืออีก 3 ไร่และเงินสดอีก 3,000 บาท  ก็จะตกแก่พ่อของผู้ตายอีกในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 3 กินอะซอบะฮฺ (ส่วนเหลือ) ร่วมกับพี่ชายหรือน้องชายของตน กล่าวคือเมื่อผู้ตายมีหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย)  ด้วยในสภาพอย่างนี้ผู้ชายได้รับ 2 ส่วนส่วนผู้หญิงได้ 1 ส่วนหากว่าผู้ตายไม่มีทายาทสืบมรดกนอกจากหลานเหล่านี้คนหลานสาว 1 คน

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ หลานสาว1คน(ลูกสาวของลูกชาย) และหลานชาย 1 คน(ลูกชายของลูกชาย)   หลานสาว1คน(ลูกสาวของลูกชาย) และหลานชาย 1 คน(ลูกชายของลูกชาย)  ก็จะได้รับรับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือทั้งหมด 12 ไร่ โดยแบ่งกัน ตามสัดส่วน 1 ต่อ 2 คือ หลานสาวจะได้รับ 4 ไร่ ส่วนหลานชายจะได้รับ 8 ไร่

      กรณีที่ 4   หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) จะได้รับส่วน   เมื่อผู้ตายมีลูกสาวอยู่ด้วย หากว่าหลานสาวมีมากกว่า 1 คนให้นำส่วน 1 ไปแบ่งให้เท่า ๆ กัน แต่ถ้าหากว่ามีหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) ร่วมรับมรดกด้วยกับหลานสาว หลานสาวก็ จะได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) ร่วมกับหลานชายโดยผู้ชายได้รับ 2 ส่วน ผู้หญิงได้รับ 1 ส่วน

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ ลูกสาว 1 คน หลานสาว 1 คน (ลูกสาวของลูกชาย) และหลานชายอีก 1 คน(ลูกชายของลูกชาย) โดยลูกสาวจะได้รับมรดก   ส่วน คือ ที่ดิน 6 ไร่ ส่วนหลานสาว 1 คน (ลูกสาวของลูกชาย) และหลานชาย 1 คน (ลูกชายของลูกชาย) ก็จะได้รับรับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือทั้งหมด 6 ไร่ โดยแบ่งกัน ตามสัดส่วน 1 ต่อ 2 คือ หลานสาวจะได้รับ 2 ไร่ ส่วนหลานชายจะได้รับ 4 ไร่

       

       

       

       

       

       

      บิดา

      การรับมรดกของบิดา[5]นั้น การรับมรดกของบิดาแบ่งออกเป็น 3 กรณี กล่าวคือ

      กรณีที่ 1 บิดาจะได้รับมรดก   เมื่อผู้ตายมีลูกชายหรือหลานชาย(ลูกชายของลูกชาย)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ พ่อของผู้ตายและลูกชายของผู้ตาย พ่อก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 2 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 10 ไร่ก็จะตกแก่ลูกชายในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 2 บิดาจะได้รับมรดก  และได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)เมื่อผู้ตายไม่มีลูกชายหรือหลานชาย(ลูกชายของลูกชาย)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ลูกสาวของผู้ตายและพ่อของผู้ตาย ลูกสาวก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 6 ไร่ ส่วน ไร่ ส่วนพ่อ จะได้รับ ส่วน ซึ่งจะเท่ากับ 2 ไร่ และส่วนที่เหลืออีก 4 ไร่  ก็จะตกแก่พ่อของผู้ตายอีกเช่นกัน ในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 3 บิดาจะได้รับมรดกเป็นมรดกส่วนเหลือ        (อะซอบะฮฺ)เพียงอย่างเดียว เมื่อผู้ตายไม่มีลูกชาย ลูกสาว หรือหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ภรรยาและพ่อของผู้ตาย ภรรยาก็จะได้รับมรดกเพียง   คือ ที่ดินจำนวน 3 ไร่ ส่วน ที่ดินที่เหลืออีก 9 ไร่ก็จะตกแก่พ่อในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

       

       

       

       

       

      มารดา

      การรับมรดกของมารดา[6] แบ่งออกเป็น 3 กรณี กล่าวคือ

       กรณีที่ 1 มารดาจะได้รับมรดก    เมื่อผู้ตายมีลูกชายหรือลูกสาวหรือหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) คนเดียวหรือมากกว่า 1 คน

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ ลูกสาว 1 คน แม่ และลุงของผู้ตาย 1 คน ลูกสาวจะได้รับมรดก คือที่ดิน จำนวน 6 ไร่ แม่ก็จะได้รับมรดกเพียง คือ ที่ดินจำนวน 2 ไร่ ส่วน ที่ดินที่เหลืออีก 4 ไร่ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ แม่และลูกชายของผู้ตาย แม่ก็จะได้รับมรดกเพียง   ส่วน  คือ ที่ดินจำนวน 2 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 10 ไร่ก็จะตกแก่ลูกชายในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ            (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 2 แม่จะได้รับมรดก เมื่อผู้ตายไม่มีลูกชายหรือไม่มีลูกสาวคนเดียวหรือมากกว่านั้นหรือไม่มีหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือไม่มีหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) คนเดียวหรือมากกว่านั้นหรือไม่มีพี่ชายหรือน้องชายพี่สาวหรือน้องสาว 2 คนหรือมากกว่านั้น

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ แม่และพ่อของผู้ตาย แม่ก็จะได้รับมรดกเพียง ส่วน คือ ที่ดินจำนวน 4 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 8 ไร่ก็จะตกแก่พ่อในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 3 แม่จะได้รับมรดก ส่วนที่เหลือ เมื่อผู้ตายทิ้งแม่ พ่อ และภรรยาหรือสามี

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ พ่อ แม่ และสามีของผู้ตาย วิธีการแบ่งก็คือแบ่งส่วนของสามีไปก่อนหลังจากนั้นจึงแบ่งส่วนของพ่อกับแม่ โดยสามี จะได้รับ  ส่วน คือ ที่ดิน 6 ไร่ หลังจานั้นนำส่วนที่เหลือมาแบ่งระหว่างพ่อกับแม่ คือ แม่ ส่วน คือที่ดิน 2 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 4 ไร่ก็จะตกแก่พ่อในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      ปู่

      ปู่[7]ในที่นี้หมายถึงพ่อของพ่อหรือปู่ทวด (พ่อของพ่อของพ่อ) โดยไม่รวมถึงตาคือพ่อของแม่หรือตาทวด (พ่อของพ่อของแม่) การรับมรดกของปู่มีสภาพการณ์ในการรับมรดกอยู่ 2 กรณี คือรูปแบบที่ 1 เมื่อผู้ตายไม่มีพี่น้อง (พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน) รูปแบบที่ 2 เมื่อผู้ตายมีพี่น้อง (พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน)

      รูปแบที่ 1 เมื่อผู้ตายไม่มีพี่น้อง (พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีด้วยกันทั้งนี้มีเงื่อนไงว่าจะต้องไม่มีพ่อของผู้ตายอยู่ด้วยหากมีพ่อของผู้ตายอยู่ด้วยปู่หรือปู่ทวดก็จะถูกกันโดยไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดก

      กรณีที่ 1 ปู่จะได้รับมรดก  เมื่อผู้ตายมีลูกชายหรือหลานชาย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ปู่และลูกชายของผู้ตาย ปู่ก็จะได้รับมรดกเพียง  ส่วน คือ ที่ดินจำนวน 2 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 10 ไร่ก็จะตกแก่ลูกชายในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 2 ปู่จะได้รับมรดก  และได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) เมื่อผู้ตายไม่มีลูกชายหรือหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ปู่และลูกสาวของผู้ตาย ลูกสาวจะได้รับมรดก ส่วน  คือ ที่ดินจำนวน 6 ไร่ส่วนปู่จะได้รับ  ส่วน คือที่ดิน 2 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 4 ไร่ก็จะตกแก่ปู่อีกเช่นกัน ในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 3 ปู่จะได้รับมรดกเป็นมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) เพียงอย่างเดียว เมื่อผู้ตายไม่มีลูกชาย ลูกสาว หรือหลายชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย)

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ปู้และภรรยาของผู้ตาย ภรรยาก็จะได้รับมรดกเพียง ส่วน  คือ ที่ดินจำนวน 3 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 9 ไร่ ก็จะตกแก่ปู่ในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      รูปแบบที่ 2 เมื่อผู้ตายมีพี่น้องพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน)

       ในรูปแบบที่ 2 นี้เป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่พอสมควร แต่เหล่าบรรดานักวิชาการต่างนำมุมมองของเหล่าซอฮาบะฮ์ (ผู้ติดตามที่ใกล้ชิดของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ))เป็นบรรทัดฐานซึ่งมี 3 มุมมองด้วยกันคือมุมมองของท่านอาลีอิบนิ อบีฏอลิบ มุมมองของท่านเซดอิบนิซาบิต และมุมของท่าน อิบนิมัสตุ๊ด แต่อย่างไรก็ตามจะขอกล่าวมุมมองของท่านอาลีอิบนี้อบฏอลิบซึ่งนำมาเป็นตรากฎหมายใช้ในประเทศอียิปต์โดยมีรายละเอียดดังนี้

      แนวทางหรือมุมมองของท่านอาลีอิบนี้อปัฏอลิบได้ให้นั้นเปรียบเสมือนเป็นพี่น้องคนหนึ่ง (คือมีส่วนได้เท่ากับพี่น้องนั่นเองคือผู้ชายได้รับ 2 ส่วนผู้หญิงได้รับ 1 ส่วน) เมื่อพี่น้องเป็นชายทั้งหมดหรือพี่น้องมีทั้งชายและหญิงปนกันก็ให้พิจารณาว่านั้นเป็นพี่ชายคนหนึ่งโดยมีเงื่อนไงว่าจะต้องได้ไม่น้อยกว่า  

      ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ตายทิ้งปู่พี่ชายน้องชาย (ร่วมบิดามารดาตัวอย่างเดียวกัน) 3 คน  พี่ชาย (ร่วมบิดามารดาเดียวกัน) จะได้รับ 1 ส่วน พี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันคนที่ 2 จะได้รับ 1 ส่วน น้องชาย (ร่วมบิดามารดาเดียวกัน) จะได้รับ 1 ส่วน และ ปู่ ก็จะได้รับ 1 ส่วน เช่นกัน

      ย่าหรือยาย

      ย่า[8] ในที่นี้หมายถึงแม่ของพ่อ ส่วนยาย หมายถึงแม่ของแม่  การรับมรดกของย่าและยายมีแบ่งออกเป็น 2 กรณี

      กรณีที่ 1 ย่าและยายจะได้รับมรดกเมื่อผู้ตาย  เมื่อผู้ตายไม่มีแม่

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ ยายและพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้ตาย ยายก็จะได้รับมรดกเพียง  ส่วน  คือ ที่ดินจำนวน 2 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 10 ไร่ก็จะตกแก่พี่ชายในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 2 ย่าและยายจะได้รับมรดก  ถ้าหากว่าทั้งย่าและยายยังมีชีวิตอยู่รับมรดกโดยรับมรดกร่วมกัน แต่ผู้ตายไม่มีแม่

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ ย่า ยายและพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้ตาย ย่ากับยายก็จะได้รับมรดกเพียง  ส่วนร่วมกัน  คือ ที่ดินจำนวน 2 ไร่แบ่งคนละ 1 ไร ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 10 ไร่ก็จะตกแก่พี่ชายในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 3 ย่าและยาย ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดก หากแม่ของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่

       

      พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน    

      การรับมรดกของพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน[9] มี 3 กรณี คือ

      กรณีที่ 1 พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันจะได้ เมื่อมีคนเดียวโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีพี่ชายหรือน้องชายหรือพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันและผู้ตายจะต้องไม่มีลูกชายหรือลูกสาวหรือหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) และจะต้องไม่มีพ่อร่วมรับมรดกด้วย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ สามีและน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน สามี จะได้รับมรดก  ส่วน  คือ ที่ดินจำนวน 6 ไร่ ส่วนน้องสาว ก็จะได้รับ มรดก  ส่วนเช่นกัน คือที่ดิน 6 ไร่

      กรณีที่ 2 พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันมี 2 คนหรือมากกว่านั้นจะได้ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันและผู้ตายจะต้องไม่มีลูกชายหรือลูกสาวหรือหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือหลานสาวลูกสาวของลูกชาย) และจะต้องไม่มีพ่อร่วมรับมรดกด้วย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 4 คน ได้แก่ แม่ น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันและลูกชายลุงของผู้ตาย แม่จะได้รับมรดก   ส่วน  คือ ที่ดินจำนวน 2 ไร่ ส่วนน้องสาว ก็จะได้รับ มรดก   คือ 8 ไร่ แบ่งเท่า ๆกันตกคนละ 4 ไร่ ส่วนลูกชายลุงจะได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือ 2 ไร่

      กรณีที่ 3 กินมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)ร่วมกับพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยผู้ชายได้ 2 ส่วนและผู้หญิงได้ 1 ส่วน

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตายมีที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 4 คน ได้แก่ ลูกสาวของผู้ตาย พี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1 คนและน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ลูกสาวจะได้รับมรดก   ส่วน  คือ ที่ดินจำนวน 6 ไร่ ส่วนพี่สาว น้องสาวและน้องชายของผู้ตาย ก็จะได้รับ ได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือ 6 ไร่ โดยแบ่งอัตราส่วน ชาย 2 ส่วน หญิง 1 ส่วน น้องชาย 3 ไร่ น้องสาว 1.5 ไร่ พี่สาว 1.5 ไร่

       

      พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาเดียวกัน

      การรับมรดกของพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาเดียวกัน[10]     มี  3 กรณี คือ

      กรณีที่ 1 พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาเดียวกันจะได้ เมื่อมีคนเดียวโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีพี่ชายหรือน้องชายหรือสาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันและจะต้องไม่มีพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดาเดียวกันและผู้ตายจะต้องไม่มีลูกชายหรือลูกสาวหรือหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) รวมถึงพ่อและปู่ของผู้ตายด้วย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 10 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ น้องสาวร่วมบิดาเดียวกัน และลุงของผู้ตาย น้องสาวร่วมบิดาเดียวกัน ก็จะได้รับมรดกเพียง  คือ ที่ดินจำนวน 5 ไร่ ส่วน ที่ดินที่เหลืออีก 5 ไร่ก็จะตกแก่ ลุง ในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 2 พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันมี 2 คนหรือมากกว่านั้นจะได้รับ  โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันและผู้ตายจะต้องไม่มีลูกชาย 3 หรือลูกสาวหรือหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือหลานสาวลูกสาวของลูกชาย) รวมถึงพ่อและปู่ของผู้ตายด้วย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 3 คน ได้แก่ น้องสาวของผู้ตาย 2 คนและลุงของผู้ตาย 1 คนลูกสาวของผู้ตาย ทั้งสองคนจะได้รับมรดกรวมกัน คือ ที่ดิน 8 ไร่ และแบ่งกัน เท่าๆ กัน ตกเฉลี่ย คนละ 4 ไร่ ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 4 ไร่ก็จะตกแก่ลุงในฐานะผู้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)

      กรณีที่ 3 กินอะซอบะฮฺร่วมกับพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดาเดียวกันโดยผู้ชายได้ 2 ส่วนและผู้หญิงได้ 1 ส่วนโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีพี่ชายหรือน้องชายหรือสาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันและจะต้องไม่มีพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดาเดียวกันและผู้ตายจะต้องไม่มีลูกชายหรือลูกสาวหรือหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หรือหลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) รวมถึงพ่อและปู่ของผู้ตายด้วย

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ พี่สาว1คนและหลานชาย 1 คน(ลูกชายของลูกชาย)   พี่สาว และหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย)  ก็จะได้รับรับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือทั้งหมด 12 ไร่ โดยแบ่งกัน ตามสัดส่วน 1 ต่อ 2 คือ หลานสาวจะได้รับ 4 ไร่ ส่วนหลานชายจะได้รับ 8 ไร่

       

       

       

       

      พี่สาวหรือน้องสาวร่วมมารดาเดียวกัน

      การรับมรดกของพี่สาวหรือน้องสาวร่วมมารดาเดียวกัน[11]มี 3 กรณี คือ

      กรณีที่ 1 ถ้าหากมีคนพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันจะได้รับ ถ้าหากมีคนเดียวจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 2 คน ได้แก่ พี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1 คน และน้องสาวร่วมมารดาเดียวกัน 1 คน น้องสาวก็จะได้รับรับมรดก  ส่วน คือ ที่ดินจำนวน 2 ไร่ ส่วน พี่ชายของผู้ตาย จะได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือทั้งหมด 10 ไร่

      กรณีที่ 2 พี่น้องร่วมมารดาเดียวกันจะได้รับ ถ้าหากมีจำนวน 2 คนหรือมากกว่านั้นจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม

      ตัวอย่างเช่น ในขณะเสียชีวิต ผู้ตาย มี ที่ดินอยู่ 12 ไร่ และมีญาติของผู้ตายเพียง 4 คน ได้แก่ แม่ของผู้ตาย พี่ชายร่วมมารดาเดียวกัน 1 คน น้องสาวร่วมมารดา 1 คน และน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1 คน แม่ จะได้รับมรดก  ส่วน คือ ที่ดิน 2 ไร่ พี่ชายและน้องสาวร่วมมารดาเดียวกัน จะได้รับ  คือที่ดิน 4 ไร่ โดยแบ่งสัดส่วน ชาย 2 หญิง 1 และน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน จะได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ) คือ ที่ดิน 6 ไร่

      กรณีที่ 3 พี่น้องร่วมมารดาเดียวกันจะถูกกันสิทธิ์จะไม่มีสิทธิ์รับมรดกใด ๆ เมื่อผู้ตายทิ้งทายาทจากลูกชายลูกสาวหลานชาย (ลูกชายของลูกชาย) หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) พ่อและปู่

      ตัวอย่างเมื่อผู้ตายทิ้งภรรยา 1 คนลูกชาย 1 คนและน้องชายร่วมมารดา 1 คนผู้มีสิทธิ์รับมรดก ภรรยาได้รับภรรยา ลูกชายจะได้รับมรดกส่วนเหลือ (อะซอบะฮฺ)ส่วน น้องชายร่วมมารดาเดียวกันไม่ได้ถูกลูกชายกันสิทธิ์

       

       

       



      [1] อับดุลวะฮาบ เฮาวาส (กับคณะ) คู่มือการแบ่งมรดกตามแบบอิสลาม (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เพ่อนไคโร 2555) หน้า 39.

      [2] เรื่องเดียวกัน หน้า 41.

      [3] เรื่องเดียวกัน หน้า 43

      [4] เรื่องเดียวกัน หน้า 45.

      [5] เรื่องเดียวกัน หน้า 41.

      [6] เรื่องเดียวกัน หน้า 61.

      [7] เรื่องเดียวกัน หน้า 55.

      [8] เรื่องเดียวกัน หน้า 67.

      [9] เรื่องเดียวกัน หน้า 69.

      [10] เรื่องเดียวกัน หน้า 74.

      [11] เรื่องเดียวกัน หน้า 81.