Section outline

    • เมื่อบุคคลตายทรัพย์สินหรือมรดกของผู้ตายจะตกทอดได้แก่ใครนั้นกฎหมายให้ความสำคัญกับความตั้งใจของผู้ตายเป็นหลักว่าจะยกทรัพย์สินให้แก่ใคร ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใดก็จะเป็นไปตามพินัยกรรม แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ กฎหมายกำหนดให้มรดกตกทอดแก่ทายาท

       

      ผู้มีสิทธิ์รับมรดกในกฎหมายอิสลาม

      ผู้มีสิทธิ์รับมรดกในกฎหมายอิสลามนั้น จะแตกต่างจากทายาทตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนื่องจากกฎหมายอิสลามนั้น ได้แยกประเภทผู้มีสิทธิ์ที่ได้รับระหว่างผู้มีสิทธิ์รับมรดกที่เป็นเพศชายและผู้มีสิทธิ์รับมรดกที่เป็นเพศหญิง ดังนี้

       

      ผู้มีสิทธิ์รับมรดกที่เป็นเพศชาย

      ผู้มีสิทธิ์รับมรดกที่เป็นเพศชายมี 15 ท่านคือ

       

       1. บิดา

       2. ปู่

       3. ลูกชาย

       4. ลูกชายของลูกชาย (หลานชาย)

       5. พี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน

       6. พี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดาเดียวกัน

       7. พี่ชายหรือน้องชายร่วมมารดาเดียวกัน

       8. ลูกชายของพี่ชายหรือลูกชายของน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน

       9. ลูกชายของพี่ชายหรือลูกชายของน้องชายร่วมบิดาเดียวกัน

       10. ลุงหรืออาชายพ่อแม่เดียวกับพ่อของผู้ตาย

       11. ลุงหรืออาชายพ่อเดียวกับพ่อของผู้ตาย

       12. ลูกชายของลุงหรือลูกชายของอาพ่อแม่เดียวกับพ่อของผู้ตาย

       13. ลูกชายของลุงหรือลูกชายของอาชายพ่อเดียวกับพ่อของผู้ตาย

       14. สามี

       15. ผู้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระ (นายทาส)

       

      ผู้มีสิทธิ์รับมรดกที่เป็นเพศหญิง

      ผู้มีสิทธิ์รับมรดกที่เป็นเพศหญิงมี 10 ท่านคือ

      1. มารดา

      2. ย่า

      3. ยาย

      4. ลูกสาว

      5. ลูกสาวของลูกชาย (หลานสาว)

      6. พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน

      7. พี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาเดียวกัน

      8. พี่สาวหรือน้องสาวร่วมมารดาเดียวกัน

      9. ภรรยา

      10. หญิงที่ปล่อยทาสให้เป็นอิสระ (นายทาสหญิง)

       

      การสืบทายาทที่จะได้รับมรดก

      นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าสาเหตุในการสืบมรดกนั้น มี 3 ประการ ด้วยกัน

      1. ทายาทหรือความเป็นเครือญาติ ซึ่งได้แก่ทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกในอิสลามญาติ คือมีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิตซึ่งครอบคลุมทาง ลูกหลานของผู้ตายและทางผู้ให้กำเนิด เช่น บิดา ปู่

      2. การสมรสหมายถึงการสมรสที่ถูกต้องตามนิติบัญญัติอิสลามมีการสมรส (นิกะฮ์) กันอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขที่อิสลามกำหนดส่วนการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ แต่ไม่ได้ผ่านการสมรส (นิกะฮ์) ตามที่อิสลามกำหนดซึ่งตรงนี้ไม่เป็นเหตุให้มีสิทธิ์ในการสืบมรดก

       3. การไถ่ทาส ปัจจุบันในประเทศไทยได้ยกเลิกระบบทาสแล้วจึงไม่จำเป็นที่จะต้องสืบมรดกในส่วนนี้

       

      เครือญาติที่ไม่มีสิทธิ์รับมรดก

      เครือญาติ[1] (ซะวิลอัรฮาม) ตามหลักวิชาฟะรออิ๊ด หมายถึงบุคคลที่เป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ตาย แต่ไม่มีสิทธิ์ในกองมรดกนั้น บุคคลที่เป็นเครือญาติ ที่ไม่มีสิทธิ์รับมาตกมีดังนี้

      1. ลูกของลูกสาวของผู้ตายทั้งผู้ชายและผู้หญิงรวมถึงชั้นหลานที่ต่ำลงไปอีก เช่น ลูกชายของลูกสาว ลูกสาวของลูกสาว     ลูกชายของลูกสาวของลูกสาว เป็นต้น

      2. ลูกของลูกสาวของลูกชาย ของผู้ตายทั้งผู้ชายและผู้หญิงรวมถึงชั้นหลานที่ต่ำลงไปอีก เช่น ลูกชายของลูกสาว       ของลูกชาย ลูกสาวของลูกสาวของลูกชาย ลูกชายของลูกสาวของ      ลูกสาวของลูกชาย เป็นต้น

      3. ตา หมายถึงพ่อของแม่ หรือชั้นที่สูงขึ้นไปอีก เช่น    พ่อของแม่ของพ่อ พ่อของแม่ของแม่และพ่อของพ่อของแม่ เป็นต้น

      4. ทวดหญิง หมายถึงยายทวดซึ่งอยู่หลังจากยายของผู้ตายหรือชั้นที่สูงขึ้นไปอีก เช่น แม่ของพ่อของแม่ แม่ของแม่    ของพ่อของแม่ เป็นต้น

       5. ลูกของพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ของผู้ตายทั้งผู้ชายและผู้หญิงเช่นลูกชายของพี่ชายหรือน้องชายร่วมมารดาเดียวกัน ลูกสาวของพี่ชายหรือน้องชายร่วมมารดาเดียวกันหรือชั้นที่ต่ำลงไปอีก

      6. ลูกของพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน   ของผู้ตายทั้งผู้ชายและผู้หญิงเช่นลูกชายของพี่สาวร่ามบิดามารดาเดียวกัน ลูกสาวของน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกัน เป็นต้น

      7. ลูกของพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาเดียวกัน ของผู้ตายทั้งผู้ชายและผู้หญิงเช่นลูกชายของพี่สาวร่วมบิดาเดียวกันเดียวกัน ลูกสาวของน้องสาวร่วมบิดาเดียวกัน เป็นต้น

       8. ลูกสาวของพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน ของผู้ตายเช่นลูกสาวของพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน เป็นต้น

      9. ลูกสาวของพี่ชายหรือน้องชายร่วมบิดาเดียวกัน     ของผู้ตายเช่นลูกสาวของน้องชายร่วมบิดาเดียวกัน เป็นต้น

      10. ลุงข้างแม่

      11. น้าชาย

      12. น้าหญิง

      13. อาหญิง

      14. ป้า

      15. ลูกชายและลูกสาวของลุงข้างแม่

      16. ลูกชายและลูกสาวของน้าชาย

      17. ลูกชายและลูกสาวของน้าหญิง

      18. ลูกชายและลูกสาวของป้า

      19. ลูกชายและลูกสาวของอาหญิง

      20. ลูกชายและลูกสาวของน้าหญิง

      21. ลุงของพ่อข้างแม่

      22. ลุงของพ่อข้างป้า

      23. ลุงของพ่อข้างอาหญิง

      24. ลุงของพ่อข้างน้าหญิง

      25. ลุงของแม่ข้างแม่

      26. ลุงของแม่ข้างป่า

      27. ลุงของแม่ข้างอาหญิง

      28. ลุงของแม่ข้างน้าหญิง

      29. ลูกชายและลูกสาวของลุงของแม่ข้างแม่

      30. ลูกชายและลูกสาวของลุงของแม่ข้างป้า

      31. ลูกชายและลูกสาวของลุงของแม่ข้างอาหญิง

      32. ลูกชายและลูกสาวของลุงของแม่ข้างน้าหญิง

       

      การตัดสิทธิ์ในกองมรดก

      บุคคลที่ถูกตัดสิทธิ์ในกองมรดกในทางอิสลามส่วนนั้นได้แก่

      1. ทายาทที่ฆ่าเจ้ามรดกตาย ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าทางตรงกล่าวคือ เจตนาลงมือฆ่าด้วยตัวเอง ใช้ปืนยิง ใช้มีดฟัน เป็นต้น หรือจะเป็นการฆ่าทางอ้อม เช่น ปล่อยให้เจ้ามรดกคนพิการอดอาหารตาย เป็นต้น

      2. การนับถือศาสนาต่างกัน คนมุสลิมไม่รับมรดกจากคนต่างศาสนา และคนต่างศาสนาห้ามรับมรดกของคนมุสลิม

      3. การเป็นทาส เพราะทาสไม่มีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของสิ่งใดทั้งสิ้น หรือไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเอง

       

      ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

      ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายได้แก่ ญาติ และคู่สมรส คือ สามีและภริยาของผู้ตาย[2]

      ญาติ กฎหมายได้จัดการลำดับญาติไว้แล้ว โดยให้ญาติสนิทที่สุดมีสิทธิ์ได้รับมรดกเหนือกว่าญาติที่ห่างออกไป หากญาติที่สนิทที่สุดยังมีชีวิตอยู่ญาติที่สนิทน้อยลงไปจะไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกเลย ตามหลักที่ว่า “ญาติสนิทพิชิตญาติห่าง” สำหรับลำดับญาตินั้น กฎหมายได้กำหนดไว้เรียงตามลำดับความสนิทดังนี้

      ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ลูกของผู้ตาย ซึ่งอาจจะได้แก่ลูกในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ

      () ลูกที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ได้แก่ ลูกประเภทใดประเภทหนึ่งต่อไปนี้

      (1ลูกที่เกิดจากบิด (ซึ่งเป็นเจ้ามรดกกับมารดาซึ่งบิดามารดานั้นนั้นได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย

      (2ลูกบุญธรรมของเจ้ามรดก กล่าวคือ เป็นบุคคลที่เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับเป็นลูกบุญธรรม

      (3ลูกซึ่งบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดกกับมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังจากที่ลูกได้เกิดแล้ว

      (ลูกนอกกฎหมาย หมายถึง ลูกที่บิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดกไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาแต่มีพฤติการณ์ที่เปิดเผยบางอย่างของบิดาที่เป็นการรับรองว่าเด็กนั้นเป็นลูกของตน เช่น อนุญาตให้เด็กใช้นามสกุลของตน หรือเป็นธุระพาลูกไปฝากเข้าโรงเรียน หรือใครถามก็บอกว่าเป็นลูกของตน เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ามีพฤติการณ์ดังเช่นว่านี้ เด็กนั้นก็มีสิทธิ์รับมรดกของบิดา (เจ้ามรดกเหมือนกับลูกที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ[3]

      ลำดับที่ 2 บิดามารดาของเจ้ามรดก ในกรณีของบิดา บิดานั้นจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กล่าวคือ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกแม้ว่าจะได้มีพฤติการณ์รับรองลูกนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดกเป็นลูกตน ดังกล่าวในข้อ ขก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกของลูกตน ส่วนมารดานั้นย่อมเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะจดทะเบียนสมรสกับบิดาของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม

      ข้อสังเกต

      (1บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของลูกบุญธรรม

      (2ในกรณีที่บิดาหรือมารดาทำการสมรสใหม่ หลังจากขาดการสมรสแล้ว แม่เลี้ยงหรือพ่อเลี้ยงย่อมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของลูกเลี้ยง

      (3ลูกเขยไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกของพ่อตา หรือแม่ยาย และพ่อตาแม่ยายก็ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของลูกเขยเช่นกัน

      (4ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของลูกเขยเช่นกัน

      (5ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามมี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของลูกสะใภ้เช่นกัน

      ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก คือ พี่น้องเจ้ามรดกที่เกิดจากบิดามารเดียวกัน

      ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก (หรือที่เรียกลูกติดพ่อลูกติดแม่)

      ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงนับถือว่าเป็นญาติ

      ลำดับที่ 7 ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก หมายถึง ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่แต่เพียงเรียกว่า ลุง ป้า น้า อา

       

      การแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม

      การแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมนั้น แยกออกเป็น 2 กรณี คือ

      กรณีที่ การแบ่งมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีคู่สมรสในขณะตาย

      ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีคู่สมรส เช่น แต่งงานโดยไม่ได้   จดทะเบียนสมรส หรือคู่สมรสตายไปก่อน หรือจดทะเบียนหย่ากันแล้ว กรณีเช่นนี้ก็ต้องแบ่งมรดกกันในระหว่างญาติเท่านั้น

      ในการพิจารณาว่า ทายาทประเภทญาติจะได้รับมรดกเพียงใดมีดังนี้ กฎหมายได้ให้ทายาทในลำดับที่ 1 กับลำดับที่ 2 ได้รับมรดกร่วมกันก่อนถ้าไม่มีบุคคลทั้งสองลำดับ ทายาทในลำดับที่ 3 จึงจะได้รับมรดก เช่น เจ้ามรดกตาย ในขณะตายเจ้ามรดกไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีลูก มีแต่พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน และมีลุงอีก 1 คน ตามตัวอย่าง พี่น้องจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกเพียงลำดับเดียว ส่วนลุงไม่ได้เพราะเป็นทายาทในลำดับที่ห่าง

      กรณีที่ 2 การแบ่งมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกมีคู่สมรสอยู่ก่อนตาย

      คู่สมรสของเจ้ามรดกนี้ หมายถึง สามีหรือภรรยาของเจ้ามรดกที่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ฉะนั้น หากเป็นคู่สมรสของเจ้ามรดกที่เป็นแต่เพียงอยู่กินกับเจ้ามรดกฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย    คู่สมรสนั้นย่อมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของเจ้ามรดกเลย แต่หากเจ้ามรดกต้องการให้คู่สมรสของตนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมีสิทธิ์ได้รับมรดกของตน ก็จะต้องไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้อง หรืออาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้กับคู่สมรสนั้น

      คู่สมรสของเจ้ามรดกที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นก็ย่อมมีสิทธิ์รับมรดกของเจ้ามรดกเสมอร่วมกับทายาทประเภทญาติที่มีสิทธิ์รับมรดกของเจ้ามรดกทุกลำดับ เพียงแต่ว่าส่วนบ่งคู่สมรสนั้นจะมากน้อยต่างกัน กล่าวคือ ถ้าเจ้ามรดกมีญาติในลำดับต้น ๆ      คู่สมรสก็จะได้ส่วนแบ่งน้อย แต่ถ้าเจ้ามรดกมีญาติ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับท้าย ๆ คู่สมรสก็จะได้รับส่วนแบ่งมรดกมากขึ้นโดยกฎหมายได้ว่างอัตราส่วนมากน้อยไว้แล้ว



      [1] อับดุลวะฮาบ เฮาวาส (กับคณะ) คู่มือการแบ่งมรดกตามแบบอิสลาม (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เพ่อนไคโร 2555) หน้า 89.

       

      [2] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

      [3] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627